WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Tuesday, August 2, 2011

ผลัดใบไม่พอ ต้องปลูกใหม่ทั้งต้น

ที่มา มติชน





โดย นิธิ เอียวศรีวงศ์

(ที่มา หนังสือพิมพ์มติชนรายวัน ฉบับประจำวันที่ 1 สิงหาคม 2554)


คน ทำสื่อจากภาคใต้คนหนึ่งบอกผมว่า แม้ ปชป.กวาดที่นั่งทางใต้ได้หมดก็จริง แต่คะแนนเสียงของผู้ชนะกลับลดลง (กว่าการเลือกตั้งครั้งก่อน) เป็นส่วนใหญ่ แสดงว่ามีแฟน ปชป.ที่ไม่ได้ลงคะแนนให้ ปชป.จำนวนหนึ่ง ส่วนหนึ่งคงเลือกพรรคอื่น อีกส่วนหนึ่งอาจโหวตโน (ซึ่งได้การสนับสนุนน้อยจนน่าสงสาร) และอีกส่วนหนึ่งนอนอยู่บ้านเฉยๆ

อะไร ในโลกนี้มันก็บ่แน่หรอกนาย ภาคใต้อาจไม่ใช่ของ ปชป.อย่างเด็ดขาดในอนาคตก็ได้ อันที่จริง ปชป.เพิ่งครอบครองภาคใต้อย่างเป็นชิ้นเป็นอันครั้งแรกในการเลือกตั้ง 2519 และในการเลือกตั้งที่ ปชป.ตกอับที่สุดในการเลือกตั้ง 2522 จำนวน ส.ส.ที่ได้จากภาคใต้ก็ลดลงเกือบครึ่งหนึ่ง หรือน้อยกว่าครึ่งหนึ่งที่เคยได้ในการเลือกตั้ง 2531

การ ครองภาคใต้อย่างเด็ดขาดของ ปชป.นั้นเปราะบาง จำเป็นต้องมีการปกป้องอย่างแข็งขันและปรับเปลี่ยนอยู่ตลอดมา คนใต้ไม่เลือกเสาไฟฟ้าอยู่บ่อยๆ

ในระดับประเทศ ปชป.ไม่เคยชนะการเลือกตั้งมาเกือบ 20 ปีแล้ว และหันไปดูว่าตลอด 20 ปีนี้ เกิดอะไรขึ้นในการเมืองเรื่องเลือกตั้งของไทย ก็จะพบว่า มีแนวโน้มของการรวมกลุ่มกันของผู้กุมคะแนนเสียงในแต่ละภาคและจังหวัด ตั้งขึ้นเป็นพรรค หรือขยายจากพรรคขนาดกลางขึ้นเป็นพรรคขนาดใหญ่ ปชป.ไม่เคยเอาชนะพรรคใหญ่ที่เป็นคู่แข่งได้เลย ที่สามารถจัดตั้งรัฐบาลได้ก็ด้วย "อุบัติเหตุ" ทางการเมือง

ความพ่าย แพ้ในครั้งนี้ อาจหนักข้อกว่าทุกครั้งด้วย เพราะค่อนข้างชัดเจนว่า จำนวนไม่น้อยของคะแนนเสียงที่พรรคคู่แข่งได้ไป มาจากคนที่ตั้งใจจะไม่เลือกพรรคประชาธิปัตย์ จึงไม่เคยมีครั้งไหนที่ประชาธิปัตย์พ่ายแพ้ด้วยความสะใจของผู้คนเท่าครั้ง นี้

แม้กระนั้น ตราบเท่าที่การเมืองในรัฐสภาไทยยังเป็นอย่างปัจจุบัน ปชป.ก็ยังมีภาษีที่เป็นพรรคฝ่ายค้านเพียงพรรคเดียวที่คนเชื่อว่ามีศักยภาพจะ ตั้งรัฐบาลแข่งได้ แต่พอถึงเดือน พ.ค.ปีหน้า คนบ้านเลขที่ 111 ก็จะได้รับการปลดปล่อยสู่เวทีการเมืองใหม่ จึงอาจเกิดพรรคใหม่, เกิดการขยายสถานะของพรรคเก่า ฯลฯ

ถึงตอนนั้นภาษีที่ ปชป.มีก็ย่อมลดลงเป็นธรรมดา

ปชป.มี ภาพพจน์หรือมโนภาพที่คนทั่วไปเห็นว่า เป็นพรรคที่ร่วมมือกับอำนาจนอกระบบตลอดมา น่าประหลาดที่ว่ามโนภาพที่ว่า ปชป.เป็นพรรคการเมืองที่ยืนหยัดเพื่อประชาธิปไตยนั้น เกิดขึ้นได้เพราะประเทศไทยตกอยู่ภายใต้ระบอบเผด็จการมายาวนาน ปชป.เป็นพรรคการเมืองเพียงพรรคเดียวที่มีอยู่ (มีแค่เงา) โดยคณะยึดบ้านยึดเมืองไม่ได้ผนวกเข้าไปร่วมถืออำนาจ (ระหว่าง 2491-2516)

แต่พอประชาธิปไตยเริ่มจะมีความสม่ำเสมอในบ้านเมืองมากขึ้น มโนภาพนั้นก็จางลงทุกที

อัน ที่จริง ตั้งพรรค ปชป.ได้ปีเดียว พรรคนี้ก็ร่วมมือกับทหารทำรัฐประหารล้มรัฐธรรมนูญและรัฐบาลที่มาจากการเลือก ตั้งใน พ.ศ.2490 ปชป.ไม่เคยมีประวัติลุกขึ้นต่อสู้กับรัฐบาลทหาร ซ้ำยังพร้อมจะเปิดทางให้ผู้คุมกองทัพขึ้นเป็นนายกฯ ทั้งๆ ที่ตนเองได้รับเลือกตั้งมาจำนวนมากที่สุด เพราะได้ "ข้อมูลใหม่" และท้ายที่สุดก็ยอมเป็นเครื่องมือให้กองทัพจัดตั้งรัฐบาลขึ้นในค่ายทหาร

ตราบ เท่าที่สังคมไทยยอมรับให้อำนาจนอกระบบเข้ามากำกับควบคุมการเมืองได้อย่าง อิสระ ประวัติความร่วมมืออย่างดีกับอำนาจนอกระบบของ ปชป.ก็อาจเป็นจุดแข็ง เพราะ ปชป.คือตัวกลางที่จะประนีประนอมผลประโยชน์ระหว่างชนชั้นนำ กับคนทั่วไปได้โดยสงบราบรื่น

แต่สังคมไทยได้เปลี่ยนไปแล้ว

เพราะ มีคนจำนวนมากขึ้น (ซึ่งเรียนรู้การจัดองค์กรได้อย่างดีด้วย) ไม่ต้องการให้อำนาจนอกระบบเข้ามาแทรกแซงการเมืองอีกต่อไป ประวัติความสยบยอมของ ปชป.ต่ออำนาจนอกระบบ จึงเป็นจุดอ่อนไป

และน่าจะเป็นจุดอ่อนที่ชัดเจนมากขึ้นแก่คนทั่วไปด้วย

มโนภาพ ด้านอื่นของ ปชป.ไม่ได้ช่วย ปชป.มากนัก เมื่อสังคมไทยได้เปลี่ยนไปแล้ว เช่น ปชป.คือพรรคของชนชั้นนำ (พรรคนิยมเจ้า, พรรคของข้าราชการ, พรรค "ผู้ดี", พรรคเสรีนิยม-แบบไทย--ฯลฯ), เป็นพรรคที่มีขันติธรรมสูงพอจะอยู่ร่วมกับพรรคเล็กได้ทุกพรรค ไม่ว่าอ้อมกอดของเขาจะเจือกลิ่นเน่าอะไร, อภิปรายได้น่าประทับใจ แต่บริหารงานไม่เป็นนอกจากปล่อยให้ราชการดำเนินงานของตนไป จึงเป็นพรรคที่ไม่มีวิสัยทัศน์

ถึงตอนนี้ ปชป.ต้องเลือกหัวหน้าพรรคใหม่

ถ้า ปชป.เชื่อว่า การเมืองไทยจะไม่เปลี่ยนไปกว่านี้ นั่นคืออำนาจนอกระบบจะเข้ามากำกับควบคุมการเมืองต่อไป โดยที่สังคมยอมรับการแทรกแซงนั้น สมาชิก ปชป. ก็ควรเลือกคุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ กลับมาดำรงตำแหน่งใหม่อีกครั้ง เพราะคุณอภิสิทธิ์นั้นได้รับความไว้วางใจอย่างสูงจากอำนาจนอกระบบทุกประเภท อย่างที่ไม่อาจหาได้จากสมาชิกพรรคทุกคน ทั้งนี้ เพราะคุณอภิสิทธิ์ไม่มีพลังต่อรองอะไรเหลืออยู่

อันที่จริง ไม่มีมนุษย์คนไหนในโลกที่ไม่มีพลังต่อรองเอาเสียเลย แต่ด้วยเหตุใดก็ตาม คุณอภิสิทธิ์ใช้พลังนั้นไม่เป็น นับตั้งแต่ตกอยู่ในอ้อมกอดอำมหิต หากคุณอภิสิทธิ์รู้จักใช้พลังต่อรองของตน พรรคภูมิใจไทยจะไม่ได้ที่นั่งใน ครม.มากเท่านี้ หรือกุมตำแหน่งสำคัญระดับนี้ เพราะถึงคุณอภิสิทธิ์ต้องการพรรคภูมิใจไทยก็จริง แต่พรรคภูมิใจไทยก็ต้องการคุณอภิสิทธิ์เช่นกัน และต้องการยิ่งกว่าด้วย

เมื่อ ขึ้นรับตำแหน่งนายกฯ แรกๆ ดูเหมือนคุณอภิสิทธิ์จะพยายามสร้างความปรองดองให้สำเร็จ เพราะความปรองดองจะเพิ่มพลังต่อรองให้แก่คุณอภิสิทธิ์

แต่แผนปรองดองของคุณอภิสิทธิ์นั้น ทั้งน้อยไปและช้าไป จนกระทั่งเกิดสงกรานต์เลือดขึ้น

นับ จากนั้นคุณอภิสิทธิ์ก็ตกอยู่ในกระดองหอยของกองทัพเต็มตัว ดังนั้น จึงกลายเป็นเพียงเบี้ยตัวหนึ่งของอำนาจนอกระบบเท่านั้น หลังจากนั้นก็พฤษภามหาโหด และชัยชนะถล่มทลายของพรรคเพื่อไทย

ดังนั้น คุณอภิสิทธิ์จึงเป็นเบี้ยที่อำนาจนอกระบบเคยไม้เคยมือ หากได้โอกาสเลือกนายกฯคนใหม่โดยไม่ต้องฉีกรัฐธรรมนูญอีก ชนชั้นนำส่วนหนึ่งย่อมพอใจจะเลือกคุณอภิสิทธิ์ ตราบเท่าที่ยังไม่อาจหาคนอื่นให้เลือกแทนได้

ยิ่งกว่านี้ คุณอภิสิทธิ์ยังมีชนักติดหลังกรณีสังหารหมู่ประชาชนในเหตุ การณ์พฤษภามหาโหด จึงยิ่งอ่อนแอจนไม่มีอำนาจต่อรองอะไรเหลืออยู่เลย ที่เคยเซื่องอยู่แล้ว ก็จะเซื่องขึ้นไปกว่านั้นอีก

แต่ข้อได้เปรียบ ของคุณอภิสิทธิ์ข้อนี้ไม่จีรังยั่งยืนอะไรนัก เพราะชนชั้นนำอยากได้เบี้ยที่ปวกเปียกเช่นนี้หรือ คำตอบคือไม่ใช่ แต่หากเพราะไม่มีตัวเลือกอื่นให้เลือกต่างหาก ถ้าเขาพบใครที่น่าไว้วางใจไม่น้อยไปกว่าคุณอภิสิทธิ์ ซ้ำยังสามารถทำงานให้เป็นที่ถูกใจของประชาชนด้วย (และตัวเขาเองด้วย)

เขาก็ย่อมทิ้งคุณอภิสิทธิ์ แล้วหันไปเลือกคนใหม่

การ เลือกคุณอภิสิทธิ์นั้นมีอันตรายต่อชนชั้นนำและอำนาจนอกระบบ เพราะเป็นการตอกย้ำว่าอำนาจนอกระบบรับรองการล้อมปราบประชาชนในเหตุการณ์พฤษ ภามหาโหด (ซึ่งติดตัวคุณอภิสิทธิ์อย่างแกะไม่ออก ทั้งๆ ที่คุณอภิสิทธิ์เองก็อาจเป็นแค่เหยื่ออีกตัวเท่านั้น) ยิ่งกว่านี้ คุณอภิสิทธิ์บริหารความแตกร้าวและแตกแยกไม่เป็น แม้แต่ในพรรคเองยังแตกแยกกัน (ดังคำให้สัมภาษณ์ของคุณพิเชษฐ พันธุ์วิชาติกุล)

ฉะนั้น ในระยะยาวแล้วจึงอาจเป็นอันตรายต่อผลประโยชน์ของชนชั้นนำเอง

และ ดังที่กล่าวในตอนต้น หากเชื่อว่าอำนาจนอกระบบจะเข้ามาอุ้มประชาธิปัตย์ขึ้นเป็นรัฐบาลอีก ก็ขอให้เลือกคุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นหัวหน้าพรรค แต่ต้องเลือกด้วยความสำนึกด้วยว่า แม้แต่สังคมยังเหมือนเดิมโดยไม่เปลี่ยนแปลงอะไรเลย เงื่อนไขที่ทำให้คุณอภิสิทธิ์ได้เปรียบในฐานะเบี้ยของชนชั้นนำและอำนาจนอก ระบบ ก็เป็นเงื่อนไขที่ไม่จีรังยั่งยืน

แต่หากสมาชิก ปชป.มองเห็นว่า สังคมไทยไม่เหมือนเดิมเสียแล้ว และกำลังเปลี่ยนไปสู่สภาวะใหม่ซึ่งทำให้ชนชั้นนำและอำนาจนอกระบบมีอิทธิพล น้อยลง ปชป.จะอยู่รอดในสังคมชนิดใหม่นี้ได้ ก็ต้องไม่เลือกคุณอภิสิทธิ์กลับมาเป็นหัวหน้าพรรคอีก

เพราะ ปชป.จะต้องไม่ดำรงอยู่เฉยๆ แต่ต้องเร่งปรับเปลี่ยนตัวเองไปสู่การเป็นพรรคการเมืองที่มีฐานเสียงขยาย กว้างขวางขึ้นทั่วประเทศ เป็นตัวแทนของผลประโยชน์, จุดยืน, หลักการ, หรือกลุ่มคนใดที่ชัดเจน จะไม่ฉวยโอกาสชิงอำนาจด้วยการร่วมมือกับอำนาจนอกระบบอีกต่อไป

ถ้า อย่างนั้นก็ต้องคิดอะไรให้กว้างกว่าแค่หัวหน้าพรรค แต่ต้องคิดถึงการบริหารพรรคเพื่อจะนำไปสู่การปรับเปลี่ยนดังกล่าว แม้จะต้องเสียคะแนนของชาวใต้ในบางท้องที่ไปบ้าง ก็ต้องยอม เพราะถ้าสังคมกำลังเปลี่ยนจริง ในที่สุด ปชป.ก็จะได้แฟนหน้าใหม่เข้ามาอีกมาก

เพื่อการนี้ต้องทำอะไรกันอีกบ้างนั้นไม่สามารถคิดแทนได้ แต่แค่หัวหน้าพรรคไม่ใช่คำตอบ