ที่มา thaifreenews
โดย วาทตะวัน สุพรรณเภษัช www.vattavan.com/detail.php
มีผู้ตั้ง ‘ปุจฉา’ กับผมว่า
ถ้ามีการรัฐประหารอีกครั้ง โค่นรัฐบาลปัจจุบันของนายมาร์ค มุกควาย แล้วพวกยึดอำนาจใหม่ จัดแจงแต่งตั้งกรรมการสอบสวน อย่างเดียวกับ ค.ต.ส. ขึ้นมาจัดการนักการเมืองพรรคกะโหลกกะลา โดยงัดเอาตั้งแต่เรื่อง ส.ป.ก. 4-01, การทุจริตยางพารา, การงาบแบบ ‘มูมมาม’ ในงบไทยเข้มแข็ง และงบอื่นๆ, การทุจริตในกระทรวงสาธารณสุข, การเรียกค่า “หัวคิว” ในกระทรวงต่างๆ ฯลฯ มาดำเนินคดี โดยตั้งผู้เป็นปฏิปักษ์กับพรรคดักดาน เข้าไปเป็นคณะกรรมการสอบสวนทั้งชุด
คนถามเขาอยากรู้ว่า
นักกินเมืองของพรรคนี้ จะร้อง “เอ๋ง” กันบ้างหรือเปล่า!?
ท่านผู้อ่าน คงตอบแทนผมได้กระมัง!!
การใช้อำนาจอย่างไม่เป็นธรรม ของคณะรัฐประหารพวก “ไอ้บังกบฏ” สร้างความขุนเคืองและคาใจ ผู้รักประชาธิปไตยและความเป็นธรรมยิ่งนัก ท้ายบทความฉบับก่อน ผมจึงบอกท่านผู้อ่านว่า
จะเขียน “จดหมายฟ้องโลก” เรื่องกระบวนการยุติธรรมของไทย ซึ่งเคยมีมาตรฐานที่โลกพอรับได้ แต่ต้องกลับกลายเป็นกระบวนการที่ “เลวร้าย” โดยมีต้นเหตุจากคณะรัฐประหารอัปรีย์
ที่สร้างกระบวนการยุติธรรม “เวอร์ชั่น-เผด็จการ” ขึ้นมาใหม่ เพื่อใช้จัดการกับนายกฯ ทักษิณ ชินวัตร โดยเฉพาะ!
ที่ผมใช้คำว่า “ฟ้องโลก” เพราะเคยเห็นจดหมายของอเมริกันชน ที่เขียนบอกชาวโลกถึงความเปลี่ยนแปลงของสหรัฐ หลังจากเกิดเหตุการณ์ 9/11 เขาขึ้นต้นด้วยคำว่า “Dear World” หมายถึง การแจ้งข่าวสารให้ชาวโลกได้ทราบทั่วกัน
แรงดลใจสำคัญ ที่ทำให้ผมเขียน “จดหมายฟ้องโลก” ก็เพราะมีคำวินิจฉัยของ “ท่านกีรติ กาญจนรินทร์” ผู้พิพากษาศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ที่เสมือนน้ำทิพย์ชโลมหัวใจของผู้ที่รักความเป็นธรรมในบ้านนี้เมืองนี้ ทำให้ผมเกิดความคิดว่า
น่าจะทำเป็นจดหมาย แจ้งไปยังสถานเอกอัครราชทูตต่างๆ และองค์กรสำคัญของโลกอย่างสหประชาชาติ องค์กรสิทธิมนุษยชนต่างๆ สำนักข่าวต่างประเทศที่สำคัญ สื่อมวลชนสาขาต่างๆ มหาวิทยาลัยต่างประเทศที่มีความโดดเด่นในการศึกษากฎหมาย ฯลฯ เป็นต้น ทั้งนี้ เพื่อเพื่อนร่วมโลกอารยะ จะได้รับรู้ถึงความไม่ชอบธรรมในการยึดอำนาจ ของ “ไอ้บังกบฏ” กับพวก อีกทั้งแจ้งให้โลกรับรู้ถึง กระบวนการที่ ‘ไม่’ ยุติธรรมของไทย ในการจัดการกับนายกฯ ทักษิณ ชินวัตร ดังปรากฏตามจดหมายที่ท่านจะได้อ่าน ดังต่อไปนี้
Dear World,
On the 19th of September 2006, while Pol.Lt. Col. Thaksin Shinawatra was attending the United Nations summit in New York City, USA, a group of military officers staged a coup d’etat in Thailand and overthrew the country’s democratic system.
The junta set up an ad hoc committee and empowered it to investigate the ousted Prime Minister on alleged corruption charge.
The committee comprised of the Lt. Col. Thaksin’s nemeses, advised by the country’s leading lawyers who had had experience working with the junta in the past and were willing to serve like ‘Butler Lawyers’ for the junta who would reward them.
Apart from spearheading the drafting of the hideous constitution for the usurpers, these butler lawyers also suggested the junta to set up a special investigating committee in place of the existing investigating officers, and endow it with all the powers under, and much beyond, the law in effect then.
All the people selected for the committee were the ex-PM’s opponents. This was met with criticism because it did not comply with the Criminal Procedural law (the law in effect then as now) concerning the investigating officers, which formed an essential element of the due process.
The butler lawyers attempted to justify this investigating committee by urging it to submit the investigation dossier and the commentary to the Attorney-General who may decide to file the lawsuit to the court. But should the Attorney-General decide not to, the investigating committee could still use the state budget to hire private lawyer to bring the case to the court as they see fit. And the process conducted by the Attorney-General and the court would be deemed lawful according to the Criminal Procedural law that was in effect then.
Incredibly, this lawsuit which the Attorney-General decided not to file, but which the investigating committee used the state budget to hire private lawyer to file instead, charging PM and his cabinet for corruption and demanding thousands of million U.S. dollars in compensation was entirely dismissed by the court, bringing severe humiliation to the junta’s investigating committee.
There is one unbelievable occurrence in Thailand, so strange in its nature that it is worthy of a place in the Guinness book, which is the Supreme Court judgment stating that commands issued by the conspirators of a successful coup d’etat are deemed lawful.
In many precedents, even when the country has regained its democracy, the commands of the junta are still viewed as lawful and legitimate by the judges of the Thai Supreme Court.
One Supreme Court judge, H.E. Kirati Kanjanarintara, wrote a remarkable dissenting opinion, objecting the legitimacy of the Junta as follows;
...The first question to be examined is whether the petitioner is entitled to file this petition. The judge is of the opinion that since sovereignty belongs to the people, the court, itself a part of that people-constituted sovereignty, must therefore act creatively to serve the people by making a deliberation that would result in the protection of people’s rights and freedom. Otherwise, the rule of law and the judicial process would be challenged and disrupted.
Moreover, the court should take action to protect the rule of law as well people’s rights and freedom from the abuse of power, and also abide by its covenant to protect the democracy. Usurpation of the power of the state by undemocratic means, that is to say, in the absence of people’s consent, is the demolition of the democratic system. Considering that a coup d’etat is an overthrow of the constitution, a criminal offense pursuant to Article 113 of the Criminal Code, it is obvious that it is the usurpation of state’s power by undemocratic means.
If the court approves a person or a body which staged the coup d’etat as a sovereign, the court would be neither protecting the people from the abuse of power nor the democracy. It would also be a neglect of the principle of natural justice that a person may not be rewarded from his own fraud or wrongdoing, which, in turn, would perpetuate the vicious cycle of government and coup d’etat. Above all, it would allow the usurper to manipulate the law to its service.
It is a fact generally acknowledged that in this age of globalization, countries nowadays are under democratic governments, which shun a coup-derived government. Therefore, considering this departure from the past, the court could no longer approve the usurpers as sovereign.
Considering that the Council for Democratic Reform (CDR) was a body that staged the coup d’etat, a criminal offense pursuant to Article 113 of the Criminal Code, and usurped the state’s power through undemocratic means that despite its subsequent amnesty it still could neither be deemed sovereign nor act like one; therefore, the petitioner, itself generally known as a committee germinated from CDR, is not empowered by the Organic Law on Counter Corruption 1999 and thereby not entitled to file this petition. Since standing (locus standi) is a matter of public order, the court may by itself raise this to deliberate. And upon the deliberation that the petitioner lacks standing, the problem as to whether the respondent intentionally submits an account showing particulars of assets and liabilities and supporting documents with false statements being included therein or fails to disclose facts which should have been disclosed need not be deliberated.
The petition should be dismissed.
Therefore, I plead that you will disseminate this judge’s dissenting opinion far and wide, so that the light of the democracy may finally shine upon the people of Thailand like those of all civilized nations.
Yours sincerely,
Vattavan Supunpaysaj
Columnist
vattavan.com, Thailand
(****โปรดดู คำแปลภาษาไทย ‘ท้ายบท’)
**********
ท้ายบท
คำแปลจดหมาย
กรุงเทพ
25 พฤศจิกายน 2552
เพื่อนร่วมโลก ที่รักทั้งหลาย
เมื่อ 19 ก.ย.2549 ขณะที่พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เดินทางไปประชุมที่องค์กรสหประชาชาติ นครนิวยอร์ค สหรัฐอเมริกา คณะทหารได้ก่อรัฐประหารขึ้นในประเทศไทย โค่นล้มระบอบการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
คณะผู้เผด็จการได้ตั้งคณะกรรมการพิเศษขึ้นมาคณะหนึ่ง ให้มีอำนาจในการสอบสวน พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ที่ถูกโค่นอำนาจ ในข้อกล่าวหาว่า
“คอรัปชั่น”
คณะกรรมการดังกล่าว ประกอบด้วยบุคคลที่เป็นปฏิปักษ์กับ พ.ต.ท.ทักษิณทั้งหมด โดยคณะผู้เผด็จการได้รับคำแนะนำจากนักกฎหมายชั้นแนวหน้าของไทย ที่มีประสบการณ์ในการทำงานร่วมกันผู้เผด็จการทหารในอดีต และเต็มใจทำงานให้กับคณะผู้เผด็จการ คล้ายเป็น “Butler Lawyer” (เนติบริกร) โดยตัวเขาการสมนาคุณจากพวกเผด็จการ
Butler Lawyer นี้ นอกจากเป็นหัวหอกร่างรัฐธรรมนูญฉบับอัปลักษณ์ ให้คณะผู้เผด็จการแล้ว ยังแนะนำให้ตั้งคณะกรรมการสอบสวนพิเศษขึ้นมา แทนพนักงานสอบสวนตามกฎหมายที่มีใช้อยู่แต่ให้มีอำนาจกว้างขวางกว่ามาก
กลุ่มคนที่พวกเขาตั้งขึ้นมานั้น ล้วนเป็นปรปักษ์กับอดีตนายกฯทั้งสิ้น ซึ่งก็ได้รับการทักท้วง เพราะเป็นการกระทำที่ไม่ปฏิบัติตามกฎหมายที่มีอยู่ คือประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ซึ่งมีใช้อยู่ในขณะนั้น และยังคงใช้สืบเนื่องมาจนกระทั่งปัจจุบัน) ในเรื่องที่เกี่ยวกับตัวพนักงานสอบสวน ซึ่งเป็นสาระสำคัญอย่างยิ่ง ของกระบวนการยุติธรรม
“Butler Lawyer” พยายามสร้างความชอบธรรมให้คณะผู้สอบสวน ด้วยการให้พวกเขาส่งสำนวนการสอบสวนพร้อมความเห็นไปให้อัยการ เป็นผู้พิจารณาส่งฟ้องศาล แต่ถ้าอัยการสั่งไม่ฟ้อง คณะผู้สอบสวนก็สามารถใช้งบประมาณแผ่นดิน จ้างทนายความฟ้องร้องคดี ตามความเห็นของพวกเขาได้ และให้ถือว่าการดำเนินการของพนักงานอัยการ และผู้พิพากษาของศาล เป็นเรื่องที่ชอบธรรมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ที่มีใช้อยู่นั่นเอง
ไม่น่าเชื่อว่า คดีที่พนักงานอัยการของรัฐไม่ยอมเป็นผู้ฟ้องให้ แต่คณะผู้สอบสวนใช้เงินของรัฐ ว่าจ้างทนายความเอกชนเป็นผู้ฟ้องแทน โดยคำฟ้องได้บรรยายว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และคณะรัฐมนตรีของเขาทุจริต และขอให้ชดใช้เงินกับรัฐนับหลายพันล้านดอลลาร์นั้น
ศาลได้ยกฟ้องไปทั้งหมด!
นำความเสียหน้า มาให้กับคณะผู้สอบสวนของคณะผู้เผด็จการเป็นอย่างยิ่ง
มีเรื่องที่เหลือเชื่อเกี่ยวกับประเทศไทย ซึ่งเป็นความแปลกประหลาดเป็นอย่างยิ่ง จนน่าจะลงไว้ในกินเนสส์บุค นั่นคือ
หากใครเป็นทำรัฐประหารสำเร็จ ศาลฎีกาของไทยมีคำพิพากษาที่น่าทึ่งเอาไว้ว่า คำสั่งของคณะรัฐประหารจะเป็นคำสั่งโดยชอบด้วยกฎหมาย
ถึงแม้บ้านเมืองจะกลับเข้าสู่ระบอบประชาธิปไตยแล้ว แต่คดีขึ้นศาลต่อๆมา คำสั่งของคณะผู้เผด็จการยังคงเป็นเรื่องที่ถูกต้อง ชอบธรรม ในทัศนะของผู้พิพากษา ในศาลฎีกาของไทยอยู่นั่นเอง
มาถึงวันนี้ ได้มีผู้พิพากษาศาลฎีกาคนหนึ่ง ชื่อ “ท่านกีรติ กาญจนรินทร์’ ซึ่งเป็นเสียงข้างน้อย ได้มีคำวินิจฉัยในคดีหนึ่ง ไม่ยอมรับอำนาจของคณะผู้เผด็จการ โดยท่านเขียนคำวินิจฉัยเอาไว้ อย่างน่าสนใจดังต่อไปนี้
ปัญหาต้องวินิจฉัยว่า ผู้ร้องมีอำนาจฟ้อง (ยื่นคำร้อง) คดีนี้หรือไม่ เห็นว่าอำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน ศาลเป็นหนึ่งในอำนาจอธิปไตย ซึ่งเป็นของประชาชน ศาลจึงต้องใช้ อำนาจดังกล่าวเพื่อประชาชนอย่างสร้างสรรในการวินิจฉัยคดีเพื่อให้เกิดผลในทางที่ขยายขอบเขตการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน และหากศาลไม่รับใช้ประชาชน ย่อมทำให้ระบบกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมถูกท้าทายและสั่นคลอน
นอกจากนี้ศาลควรมีบทบาทในการพิทักษ์ความชอบด้วยกฎหมายรวมถึงพันธกรณีในการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนจากการใช้อำนาจโดยมิชอบและพันธกรณีในการปกปักรักษาประชาธิปไตยด้วย
การได้อำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางของระบอบประชาธิปไตย กล่าวคือการได้อำนาจในการปกครองประเทศโดยความไม่ยินยอมพร้อมใจจากประชาชนส่วนใหญ่ เท่ากับเป็นการล้มล้างระบอบประชาธิปไตย การปฏิวัติหรือรัฐประหารเป็นการล้มล้างรัฐธรรมนูญ เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 113 ย่อมเป็นการได้อำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางของระบอบประชาธิปไตย
หากศาลรับรองอำนาจของบุคคลหรือคณะบุคคลที่ทำการปฏิวัติหรือรัฐประหารว่าเป็นรัฏฐาธิปัตย์แล้ว เท่ากับศาลไม่ได้รับใช้ประชาชน จากการใช้อำนาจโดยมิชอบและเพิกเฉยต่อการปกปักรักษาประชาธิปไตยดังกล่าวมาข้างต้น ทั้งเป็นการละเลยหลักยุติธรรมตามธรรมชาติที่ว่าบุคคลใดจะรับประโยชน์จากความฉ้อฉลหรือความผิดของตนเองหาได้ไม่ รวมทั้งเป็นการส่งเสริมให้เกิดการปฏิวัติหรือรัฐประหารเป็นวงจรอุบาทว์อยู่ร่ำไป ยิ่งกว่านั้นยังเป็นช่องทางให้บุคคลหรือคณะบุคคลดังกล่าวยืมมือกฎหมายเข้ามาจัดการสิ่งต่างๆ
ข้อเท็จจริงเป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปว่า ปัจจุบันอยู่ในกระแสโลกาภิวัตน์ นานาอารยะประเทศส่วนใหญ่ปกครองในระบอบประชาธิปไตย ซึ่งไม่ยอมรับอำนาจที่ได้มาจากการปฏิวัติหรือรัฐประหาร ฉะนั้นเมื่อกาละและเทศะในปัจจุบันเปลี่ยนไปแล้วจากอดีต ศาลจึงไม่อาจที่จะรับรองอำนาจของบุคคลหรือคณะบุคคลที่ทำการปฏิวัติหรือรัฐประหารว่าเป็นรัฎฐาธิปัตย์
ด้วยเหตุผลดังกล่าวข้างต้น เมื่อข้อเท็จจริงเป็นที่รู้กันอยู่ทั่วไปเช่นกันว่า ผู้ร้องประกอบด้วยคณะกรรมการที่เป็นผลพวงของคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข (คปค.) แต่ คปค. เป็นคณะบุคคลที่ทำการปฏิวัติหรือรัฐประหาร เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 113 จึงเป็นการได้อำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางของระบอบประชาธิปไตยดังเหตุผลข้างต้น ย่อมไม่อาจถือได้ว่าเป็นรัฏฐาธิปัตย์ แม้จะได้รับการนิรโทษกรรมภายหลังก็ตาม หาก่อให้เกิดอำนาจที่จะสั่งการหรือกระทำการใดอย่างรัฏฐาธิปัตย์
ผู้ร้องประกอบด้วยคณะบุคคลที่เป็นผลพวงของ คปค. ย่อมไม่มีอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันปราบปรามการทุจริต พุทธศักราช 2542 ด้วยเช่นกัน ผู้ร้องจึงไม่มีอำนาจฟ้อง (ยื่นคำร้อง) คดีนี้ อำนาจฟ้อง (ยื่นคำร้อง) เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลมีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัย เมื่อวินิจฉัยดังนี้แล้ว ปัญหาว่าผู้คัดค้านจงใจยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและเอกสารประกอบด้วยข้อความอันเป็นเท็จและปกปิดข้อเท็จจริงที่ควรแจ้งให้ทราบหรือไม่ จึงไม่จำต้องวินิจฉัย
วินิจฉัยให้ยกคำร้องของผู้ร้อง
ข้าพเจ้า จึงขอแจ้งให้ท่านทราบ และขอให้กรุณาสนับสนุนคำของผู้พิพากษาท่านนี้ ให้กว้างไกลออกไป เพื่อช่วยเหลือประเทศไทยที่น่าสงสาร พ้นจากการกดขี่ของเผด็จการที่มาทั้งในรูปรัฐประหารและเผด็จการ เพื่อที่พลเมืองไทยจะได้รับแสงสว่างแห่งประชาธิปไตย เหมือนประชาชนในอารยะประเทศด้วยเถิด.
ขอแสดงความนับถือ
วาทตะวัน สุพรรณเภษัช
คอลัมน์นิสต์
vattavan.com, ประเทศไทย