ที่มา Thai E-News
โดย ทีมข่าวไทยอีนิวส์
26 พฤศจิกายน 2552
ปชป.โบ้ยตำรวจตอบทำคดีพธม.ยึดสนามบินถึงไหน ขออย่าโทษรัฐบาล
นายสาธิต ปิตุเดชะ ส.ส.ระยอง พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีที่ ครบรอบ 1 ปีเหตุการณ์พันธมิตรยึดสนามบินสุวรรณภูมิ กับเสียงวิพากษ์วิจารณ์ว่า คดีไม่มีความคืบหน้า ว่า เรื่องนี้เจ้าหน้าที่ตำรวจต้องตอบคำถามให้ได้ว่า ขณะนี้คดีไปอยู่ที่ชั้นไหนแล้ว หากผู้ถูกกล่าวหามารับทราบข้อกล่าวหาแล้วตามกฎหมายกำหนดให้ส่งฟ้องต่อศาลภายในระยะเวลา 60 วัน หากผู้ถูกกล่าวหายังไม่มารับทราบข้อกล่าวหา ก็อาจเป็นไปได้ว่าอยู่ระหว่างการสืบหาพยานหลักฐานเพิ่มเติม ซึ่งหากไม่สามารถหาพยานหลักฐานไม่พอ ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจก็ต้องแจ้งประชาชนให้ทราบว่าคดีนี้หาหลักฐานไม่ได้จะไม่สั่งฟ้อง
“เรื่องนี้ต้องไปถามทางตำรวจ จะมาโทษรัฐบาลไม่ได้ แต่กระบวนการกฎหมาย คดีจะต้องเดินทางตลอด จะอ้างว่าอยู่ระหว่างการเปลี่ยนตัวผบ.ตร. หรือผบช.ภ.1 ไม่ได้ เพราะแต่ละคดีจะมีผู้รับผิดชอบชัดเจน” นายสาธิต กล่าว
เนวิน ชิดชอบ กับพล.ต.ท.สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง ผู้คุมคดียึดสนามบิน(รายล่าสุด)ต่อข้อสังเกตว่าเป็นเด็กเนวินนั้น สมยศบอกว่า รักชอบพอ” กับ “เนวิน” เป็นคนประเภทเดียวกัน-นิสัยเหมือนกัน-เป็นไงเป็นกัน ลั่น “ไม่กลัว-ไม่อาย” เพราะถ้าปฏิเสธก็หมายถึงโกหก
เผยเส้นทางดองคดีจนมาถึงเงื้อมมือตำรวจเด็กเนวิน
-ค่ำวันที่ 25 พฤศจิกายน 2551พันธมิตรยึดสนามบินสุวรรณภูมิ
-13 มกราคม 2552 พล.ต.อ.จงรัก จุฑานนท์ รองผบ.ตร.ผู้รับผิดชอบเผยคดีคืบหน้า 70 %
-18 กุมภาพันธ์ 2552 รัฐบาลย้ายตำรวจคุมคดียึดสนามบินเข้ากรุ พล.ต.อ.จงรักพ้นหน้าที่ในการคุมคดี สุเทพ เทือกฯเข้าคุมเอง
-20 กุมภาพันธ์ 2552 พล.ต.ท.ฉลอง สนใจผบช.ภาค1เผยคดีคืบหน้า80%
-21 เมษายน 2552 พล.ต.ท.ฉลองเผยคืบหน้า95%แล้ว เหตุที่ช้าเพราะเป็นคดีก่อการร้ายโทษถึงประหารชีวิต
-27 เมษายน 2552 เปลี่ยนตัวหัวหน้าชุดคุมคดีมาเป็นพล.ต.ท.วุฒิ พัวเวส
- 4 กรกฎาคม 2552 พล.ต.ท.วุฒิ ตั้งข้อหาก่อการร้ายกับพันธมิตรและออกหมายเรียก
-16 กรกฎาคม 2552 พันธมิตรไปชุมนุมที่สโมสรตำรวจ ไม่ขอรับข้อหา และให้เปลี่ยนข้อหา ซึ่งพล.ต.ท.วุฒิขึ้นเวทีบอกว่านธมิตรเป็นผู้ก่อการดี
- 9 กันยายน 2552 เปลี่ยนตัวหัวหน้าชุดคุมคดีอีกครั้งมาเป็นพล.ต.ท.สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง ผช.ผบ.ตร. โดยระบุจะออกหมายเรียกครั้งที่2ก่อน ยังไม่ออกหมายจับ
-25 พฤศจิกายน 2552 ครบรอบ 1 ปีการยึดสนามบิน โดยยังไม่มีการดำเนินคดี รวมทั้งไม่มีการออกหมายจับ
คดียึดสนามบินมาอยู่ในมือตำรวจเด็กเนวิน เครื่องมือต่อรองทางการเมืองชั้นดีของห้อย
มีการตั้งข้อสังเกตว่าสนธิ ลิ้มทองกุล มักหาเรื่องได้ทุกฝ่าย โดยไม่กลัวเกรง แต่น่าแปลกที่ว่าไม่เคยวอแวกับเนวิน ชิดชอบ ผู้นำพรรคตัวจริงภูมิใจไทยเลย "เหมือนสนธิลิ้มกลัวเนวิน"
ความจริงที่น่าตั้งข้อสังเกตก็คือหลังการเปลี่ยนหัวหน้าชุดมาเป็นพล.ต.ท.สมยศ คนสนิทเนวิน แทนที่จะเดินหน้าออกหมายจับ ก็กลับถ่วงคดีด้วยการไปรวบรวมหลักฐานทำสำนวนคดีใหม่ เสมือนกับเป็นเกมการต่อรองทางการเมืองของเนวินกับสนธิลิ้ม
เวบไทยอินไซเดอร์รายงานถึงความสัมพันธ์ของเนวินกับสมยศในหัวข้อเรื่อง สมยศ” ตร.สีน้ำเงิน” แอ่นอกรับ “รักชอบพอ” กับ “เนวิน” เป็นคนประเภทเดียวกัน-นิสัยเหมือนกัน-เป็นไงเป็นกัน ลั่น “ไม่กลัว-ไม่อาย”
สำหรับคดียึดสนามบินนั้น พล.ต.ท.สมยศ กล่าวว่า ถ้าผู้ถูกกล่าวหาไม่มารับทราบข้อกล่าวหา จากพนักงานสอบสวน ตามหมายเรียก ก็เป็นหน้าที่ของพนักงานสอบสวน จะออกหมายเรียก หรือทำเรื่องไปถึงศาล เพื่อขออออกหมายจับ แต่ตามป.วิอาญา ไม่ได้บอกว่า จะต้องออกหมายเรียกกี่ครั้ง อยู่ที่ดุลยพินิจของพนักงานสอบสวน
อย่างไรก็ตามแทนที่จะเดินหน้าออกหมายจับ แต่สิ่งที่พล.ต.ท.สมยศ ทำก็คือกลับไปตั้งแท่นทำสำนวนใหม่ โดยได้เรียกประชุมคณะพนักงานสอบสวนชุดใหม่ โดยอ้างว่า ต้องการสอบสวนเพิ่มเติมในประเด็นที่ยังไม่สมบูรณ์เพื่อจะให้คดีเดินหน้าต่อไปในบางประเด็นที่จะต้องทำให้ครบถ้วน เช่น การหาพยานแวดล้อม โดยเฉพาะประชาชน และนักธุรกิจที่ได้รับผลกระทบ ซึ่งยังไม่ค่อยให้ความร่วมมือกับพนักงานสอบสวนเท่าที่ควร เช่น นักธุรกิจต่างๆที่อ้างว่าได้รับผลกระทบเสียหายหลายสิบล้านแต่เมื่อถึงเวลาต้องมาเป็นพยานกลับไม่ยอมให้ความร่วมมือ ก็ขอให้บุคคลที่ได้รับผลกระทบช่วยเข้ามาเป็นพยานให้กับเจ้าหน้าที่ด้วย ซึ่งตรงนี้ก็ถืออีกส่วนหนึ่งที่มีความสำคัญ
**********
ขัดหมายเรียกต้องออกหมายจับ แต่ตำรวจเด็กเนวินไปตั้งต้นทำสำนวนใหม่ ต้องติดคุกฐานละเว้นต่อหน้าที่!?
ออกหมายเรียกไปแล้ว ผู้ก่อการร้ายพันธมิตรขัดหมายเรียก ตามกฎหมายต้องถูกสั่งจำคุก 3 เดือน และออกหมายจับ แต่ทำไมตำรวจเด็กเนวิน กลับไปเริ่มต้นที่ทำสำนวนคดีใหม่ ต่อไปนี้คือความรู้เรื่องหมายเรียกกับหมายจับ ซึ่งความจริงแล้วหากละเว้น พล.ต.ท.สมยศคนของเนวินควรต้องโดนดำเนินคดีติดคุกฐานละเว้นต่อหน้าที่ไปแล้ว
หมายเรียก
หมายเรียกคือหนังสือที่พนักงานสอบสวนหรือพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่หรือศาลทำขึ้นเพื่อให้บุคคลใดมาที่พนักงานสอบสวน หรือมาที่พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่หรือมาศาล เนื่องในการสอบสวน การไต่สวนมูลฟ้อง การพิจารณาคดี หรือการอย่างอื่น ฯลฯ (ป.วิ.อาญา มาตรา 52)
บุคคลที่ถูกออกหมายเรียกควรต้องปฏิบัติตามความในหมายนั้น หากขัดขืนโดยไม่มีข้อแก้ตัวอันควรอาจเป็นความผิดทางอาญาได้
ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสถานะของบุคคลผู้ถูกออกหมายเรียก กล่าวคือ
1.หากผู้ถูกออกหมายเรียกอยู่ในฐานะผู้เสียหายหรือพยานไม่มาตามหมายเรียก จะเป็นความผิดอาญาฐานขัดขืนคำบังคับตามกฎหมายของพนักงานสอบสวนฯ ซึ่งให้มาเพื่อให้ถ้อยคำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับไม่เกินห้าร้อยบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (ป.อาญา มาตรา 168)
2.หากผู้ถูกออกหมายเรียกอยู่ในฐานะผู้ต้องหา ไม่มาตามหมายเรียก จะไม่มีความผิดฐานขัดหมายเรียกฯ ตาม 1. แต่จะเป็นเหตุให้ออกหมายจับ
(เทียบเคียงฎีกาที่ 1341/2509)
หมายจับ
หมายจับคือหนังสือบงการที่ออกตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาสั่งให้เจ้าหน้าที่ทำการจับ ฯลฯ (ป.วิ.อาญา มาตรา 2 (9))
หมายจับต้องทำเป็นหนังสือและมีข้อความเกี่ยวกับสถานที่ออกหมาย วันเดือนปีที่ออกหมายเหตุที่ต้องออกหมาย ต้องระบุชื่อหรือรูปพรรณของบุคคลที่จะจับ ลายมือชื่อและประทับตราของศาล (ป.วิ.อาญา มาตรา 60) เดิมพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่มีอำนาจออกหมายจับได้เช่นเดียวกับศาล
ต่อมาได้มี พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 22) พ.ศ. 2547 ยกเลิกอำนาจการออกหมายจับของพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่ลงโดยให้ศาลเท่านั้นเป็นผู้มีอำนาจออกหมายจับ
เหตุที่จะออกหมายจับมีดังนี้
1.มีหลักฐานตามสมควรว่าบุคคลใดน่าจะได้กระทำความผิดอาญา ซึ่งมีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงเกินสามปี หรือ
2.มีหลักฐานตามสมควรว่าบุคคลใดน่าจะได้กระทำความผิดอาญาและมีเหตุอันควรเชื่อว่าจะหลบหนี หรือจะไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน หรือก่อเหตุอันตรายประการอื่น
ถ้าบุคคลนั้นไม่มีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง หรือไม่มาตามหมายเรียก หรือตามนัด โดยไม่มีข้อแก้ตัวอันควร ให้สันนิษฐานว่าบุคคลนั้นจะหลบหนี (ป.วิ.อาญา มาตรา 66)
การออกหมายจับตาม 1. นั้น ดูอัตราโทษเป็นเกณฑ์
หากโทษจำคุกอย่างสูงเกินสามปีก็สามารถออกหมายจับได้ แม้ผู้นั้นจะไม่มีพฤติการณ์หลบหนีหรือจะไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน หรือไม่ก่อเหตุอันควรประการอื่น
ส่วนการออกหมายจับตาม 2. นั้น หากความผิดนั้นมีอัตราโทษจำคุกตั้งแต่สามปีลงมาต้องมีพฤติการณ์หลบหนี หรือไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน หรือไปก่อเหตุอันตรายประการอื่น จึงจะออกหมายจับได้ (ยึดอัตราโทษและพฤติการณ์เป็นหลัก)
แต่องค์ประกอบที่สำคัญของ 1. และ 2. ก็คือ ต้องมีหลักฐานตามสมควรว่าบุคคลนั้นน่าจะได้กระทำผิดอาญาตามที่ถูกกล่าวหา (ข้อพิจารณาประกอบ พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 22) พ.ศ.2547 โดยนายจรัญ ภักดีธนากุล กับคณะ สำนักประธานศาลฎีกา)
ถ้าผู้ต้องหาไม่มีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง หรือไม่มาตามหมายเรียก หรือตามนัดโดยไม่มีข้อแก้ตัวอันควรให้สันนิษฐานว่าบุคคลนั้นจะหลบหนีตามความในมาตรา 66 (2) วรรคท้าย เป็นเพียงข้อสันนิษฐานของกฎหมาย
หากสามารถพิสูจน์ได้ว่าข้อเท็จจริงหาได้เป็นไปตามข้อสันนิษฐานก็ไม่สามารถออกหมายจับได้ หากออกหมายจับแล้วก็ถอนหมายคืนได้
ศาลจะออกหมายจับตามที่เห็นสมควร หรือโดยมีผู้ร้องขอก็ได้ (ป.วิ.อาญา มาตรา 59) โดยก่อนออกหมายจับจะต้องปรากฏพยานหลักฐานตามสมควรที่ทำให้ศาลเชื่อได้ว่า มีเหตุที่จะออกหมายจับตาม มาตรา 66 (ป.วิ.อาญา มาตรา 59/1)
เมื่อได้ออกหมายจับแล้วเป็นหน้าที่ของพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจต้องจัดการให้เป็นไปตามหมายนั้น (ป.วิ.อาญา มาตรา 61)
และในกรณีของหมายจับคงใช้ได้อยู่จนกว่าจะจับได้ เว้นแต่ความผิดอาญาตามหมายนั้นขาดอายุความ หรือศาลซึ่งออกหมายนั้นได้ถอนหมายคืน (ป.วิ.อาญา มาตรา 68)
อย่างไรก็ตาม หากบุคคลได้รับหมายเรียกที่ออกโดยชอบแล้ว มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตาม หากมีเหตุผลอันควรที่ไม่สามารถปฏิบัติตามหมายนั้นได้ ก็ควรจะต้องแจ้งต่อเจ้าพนักงานผู้ออกหมายทราบ
แนะลากคอมาร์ค-เทือก-ตำรวจเด็กเนวินเข้าคุกสังเวยปล่อยผู้ก่อการร้ายลอยนวล
ประชาชน ที่ติดตามคดีผู้ก่อการร้ายพันธมิตรยึดสนามบินได้เรียกร้องให้มีการแจ้ง ดำเนินคดีฐานละเว้นหน้าที่ต่อนายกรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรีด้านความมั่นคง และพล.ต.ท.สมยศหัวหน้าชุดดำเนินคดียึดสนามบินตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ฐานละเว้นต่อหน้าที่ ไม่ออกหมายจับผู้ก่อการร้ายพันธมิตร หลังจากเนิ่นมามาจวนครบ 1ปี
"ผมเห็นเงียบไปเลย หลังจากเจ้าของคดีชมว่าเป็นผู้ก่อการดี พันธมิตรก็ไล่กลับให้ไปเปลี่ยนข้อหา ตำรวจก็ดันบ้าจี้จะไปเปลี่ยนข้อกล่าวหาให้พวกมัน ตามกฎหมายแล้วให้เกียรติกันออกหมายเรียก ตามขั้นตอนเมื่อออกหมายเรียกแล้วไม่มารายงานตัว (แต่เสือกมาม็อบกดดัน ตร. แทน) ขั้นตอนต่อไปก็ต้องออกหมายจับไม่ใช่เหรอ" คือข้อความในกระทู้ที่บอร์ด ประชาไท