WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Monday, November 23, 2009

คำวินิจฉัย ผู้พิพากษา 'กีรติ กาญจนรินทร์' ประเด็นอำนาจไม่ชอบธรรมของคณะรัฐประหาร

ที่มา Thai E-News

โดย คุณวาทตะวัน สุพรรณเภษัช
ที่มา เวบไซต์ vattavan
22 พฤศจิกายน 2552

...... ผมเคยเขียนบทความ ชื่อ “คณะผู้พิพากษาต้องเป็น ‘ธงนำ’ ในการต่อต้านรัฐประหาร" ลงในผู้จัดการออนไลน์ เมื่อ 17 ก.ค.2550 (คมช.ยังอยู่ในอำนาจด้วยซ้ำ!)

กระตุ้นให้ผู้พิพากษาทั้งหลาย ซึ่งพิพากษาในพระปรมาภิไธยของพระมหากษัตริย์ อย่าก้มหัวให้อำนาจปากกระบอกปืน และนำลงรวมเล่ม ในหนังสือ“รัดทำมะนวย-ฉบับหัวคูณ!” ที่ดังลั่นสนั่นเมือง

จากนั้นอีก 1 ปี ผมได้เขียนกระแทกเข้าไปอีก ด้วยบทความชื่อ “วันรพี” ...เตือนใจท่านผู้พิพากษา ให้กล้าหาญ ต่อต้านเผด็จการ!!! ลงหนังสือพิมพ์ ประชาทรรศน์ รายวัน เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2551

บอกตรงๆว่า ที่เขียนนั้น ผมไม่ได้คิดว่า จะมีผลทำให้ผู้พิพากษาซึ่งถึงแม้จะเห็นด้วย ออกมาสนับสนุน ว่าการยึดอำนาจนั้น เป็นความเลวทรามต่ำช้า เป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะคนเราส่วนใหญ่นั้น กลัวการบังคับด้วยอาวุธด้วยกันทั้งนั้น

แต่ท่านผู้อ่านครับ บัดนี้ ได้มีแสงสว่างผุดขึ้นที่ปลายอุโมงค์ มีผู้พิพากษาท่านหนึ่ง ที่อยากให้ท่านทั้งหลาย จำชื่อนี้ไว้ให้มั่น คือ ท่านกีรติ กาญจนรินทร์

ชายชาตรีผู้หาญกล้ารายนี้ ท่านเป็นผู้พิพากษา แห่งศาลฎีกาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ท่านเขียนคำวินิจฉัยในคดีหนึ่ง มีประเด็นที่เกี่ยวกับการใช้อำนาจที่ไม่ชอบของคณะรัฐประหาร คำพิพากษามีอย่างนี้ครับ

...ปัญหาต้องวินิจฉัยว่า ผู้ร้องมีอำนาจฟ้อง (ยื่นคำร้อง) คดีนี้หรือไม่ เห็นว่าอำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน ศาลเป็นหนึ่งในอำนาจอธิปไตย ซึ่งเป็นของประชาชน ศาลจึงต้องใช้ อำนาจดังกล่าวเพื่อประชาชนอย่างสร้างสรรค์ ในการวินิจฉัยคดีเพื่อให้เกิดผลในทางที่ขยายขอบเขตการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน และหากศาลไม่รับใช้ประชาชน ย่อมทำให้ระบบกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมถูกท้าทายและสั่นคลอน

นอกจากนี้ศาลควรมีบทบาทในการพิทักษ์ความชอบด้วยกฎหมาย รวมถึงพันธกรณีในการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน จากการใช้อำนาจโดยมิชอบและพันธกรณีในการปกปักรักษาประชาธิปไตยด้วย

การได้อำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการ ซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางของระบอบประชาธิปไตย กล่าวคือการได้อำนาจในการปกครองประเทศ โดยความไม่ยินยอมพร้อมใจจากประชาชนส่วนใหญ่ เท่ากับเป็นการล้มล้างระบอบประชาธิปไตย การปฏิวัติหรือรัฐประหาร เป็นการล้มล้างรัฐธรรมนูญ เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 113 ย่อมเป็นการได้อำนาจในการปกครองประเทศ โดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางของระบอบประชาธิปไตย

หากศาลรับรองอำนาจของบุคคล หรือคณะบุคคลที่ทำการปฏิวัติ หรือรัฐประหารว่า เป็นรัฏฐาธิปัตย์แล้ว เท่ากับศาลไม่ได้รับใช้ประชาชน จากการใช้อำนาจโดยมิชอบ และเพิกเฉยต่อการปกปักรักษาประชาธิปไตยดังกล่าวมาข้างต้น ทั้งเป็นการละเลยหลักยุติธรรมตามธรรมชาติที่ว่า บุคคลใดจะรับประโยชน์จากความฉ้อฉล หรือความผิดของตนเองหาได้ไม่ รวมทั้งเป็นการส่งเสริมให้เกิดการปฏิวัติหรือรัฐประหาร เป็นวงจรอุบาทว์อยู่ร่ำไป ยิ่งกว่านั้น ยังเป็นช่องทางให้บุคคลหรือคณะบุคคลดังกล่าวยืมมือกฎหมายเข้ามาจัดการสิ่งต่างๆ

ข้อเท็จจริงเป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปว่า ปัจจุบันอยู่ในกระแสโลกาภิวัตน์ นานาอารยะประเทศส่วนใหญ่ปกครองในระบอบประชาธิปไตย ซึ่งไม่ยอมรับอำนาจที่ได้มาจากการปฏิวัติหรือรัฐประหาร ฉะนั้นเมื่อกาละและเทศะในปัจจุบันเปลี่ยนไปแล้วจากอดีต ศาลจึงไม่อาจที่จะรับรองอำนาจของบุคคลหรือคณะบุคคลที่ทำการปฏิวัติหรือรัฐประหารว่าเป็นรัฎฐาธิปัตย์

ด้วยเหตุผลดังกล่าวข้างต้น เมื่อข้อเท็จจริงเป็นที่รู้กันอยู่ทั่วไปเช่นกันว่า ผู้ร้องประกอบด้วยคณะกรรมการที่เป็นผลพวงของคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข (คปค.) แต่ คปค. เป็นคณะบุคคลที่ทำการปฏิวัติหรือรัฐประหาร เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 113 จึงเป็นการได้อำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางของระบอบประชาธิปไตยดังเหตุผลข้างต้น ย่อมไม่อาจถือได้ว่าเป็นรัฏฐาธิปัตย์ แม้จะได้รับการนิรโทษกรรมภายหลังก็ตาม หาก่อให้เกิดอำนาจที่จะสั่งการหรือกระทำการใดอย่างรัฏฐาธิปัตย์

ผู้ร้องประกอบด้วยคณะบุคคลที่เป็นผลพวงของ คปค. ย่อมไม่มีอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันปราบปรามการทุจริต พุทธศักราช 2542 ด้วยเช่นกัน ผู้ร้องจึงไม่มีอำนาจฟ้อง (ยื่นคำร้อง) คดีนี้ อำนาจฟ้อง (ยื่นคำร้อง) เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลมีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัย เมื่อวินิจฉัยดังนี้แล้ว ปัญหาว่าผู้คัดค้านจงใจยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและเอกสารประกอบด้วยข้อความอันเป็นเท็จ และปกปิดข้อเท็จจริงที่ควรแจ้งให้ทราบหรือไม่ จึงไม่จำต้องวินิจฉัย

วินิจฉัยให้ยกคำร้องของผู้ร้อง

นายกีรติ
กาญจนรินทร์



ขอสารภาพตรงไปตรงมาว่า อ่านคำวินิจฉัยของท่านกีรติฯแล้ว น้ำตากลบ ได้แต่ยกมือท่วมหัว แล้วร้องว่า

“สาธุ...สาธุ...สาธุ!!!”