โดย เสาวณิต อังคะทายาท
(ไม่ระบุวันที่)
กรณี ขายหุ้นชินคอร์ป
1. กรณีที่หนึ่ง ดร.ทักษิณและภรรยามีหุ้นชินคอร์ปฯ 49% ตั้งบริษัทเอง 22 ปีก่อน เข้าตลาดหุ้น 15 ปีก่อน หุ้นทั้งหมดนี้หากขายให้ลูก คือ พาน/พิณ ทั้งหมด 49% ในตลาดหุ้น จะไม่มีภาษี (เหมือนคนครึ่งล้านที่ลงทุนในตลาดหุ้นอยู่ทุกวัน) เมื่อพาน/พิณ ขายต่อให้ใคร ก็ไม่มีภาษีอีกเช่นกัน เพราะฉะนั้น เป็นสิทธิ์พื้นฐานที่มีอยู่แล้วของ ดร.ทักษิณ และ ลูก คือนักลงทุนบุคคล ไม่มีภาษีจากการขายหุ้นในตลาดหุ้น
* ดังนั้น ดร.ทักษิณไม่จำเป็นต้องทำอะไรซับซ้อนเพื่อเลี่ยงภาษี (เช่นแอมเพิลริช) เพราะไม่มีภาษีให้ลด
* ที่ดร.ทักษิณทำแอมเพิลริชในปี 42 เพราะจะเอาชินคอร์ปฯเข้าตลาดหุ้นสหรัฐ (ดู หนังสือถึงตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ใน เอกสารประกอบ) ตอนหลังตลาดหุ้นสหรัฐตกมาก เลยหยุดแผน (ดู ข่าวชินคอร์ประงับเข้าตลาดแนสแดค ในเอกสารประกอบ) แต่หุ้นชินคอร์ปฯ 11% ก็อยู่ที่แอมเพิลริชไปเรื่อยๆ ปลายปี 43 ก่อนเป็นนายกฯ ดร. ทักษิณก็ขายโอนแอมเพิลริชให้ลูก
2. กรณีที่สอง ต้นปี 49 ที่จริงพาน/พิณสามารถขายแอมเพิลริช (ที่ถือหุ้นชินคอร์ปฯอยู่) ให้ผู้ซื้อในต่างประเทศได้เลย ไม่มีภาษี เป็นสิทธิพื้นฐานเช่นกัน แต่เงินจะอยู่นอกประเทศ (อาจโดนว่าเก็บเงินนอกประเทศ)
3. กรณีที่สาม ดังนั้น เพื่อจะขายให้เงินอยู่ในประเทศ พาน/พิณ ในฐานะเจ้าของแอมเพิลริช ทำการโอนหุ้นชินคอร์ปฯที่แอมเพิลริชถืออยู่ มาถือเองโดยตรง และเมื่อขายให้ผู้อื่นในตลาดหุ้น ทั้งส่วน 38% แรกที่ถือตรงอยู่แล้ว บวกกับอีก 11% ที่มาถือตอนหลังโอนมาจากแอมเพิลริช (คืนสู่เหย้า)รวม 49% ก็ไม่มีภาษี
* ปรากฏว่า ส่วนแอมเพิลริช 11% ถูกกล่าวหาว่าหนีภาษี ทั้งที่เป็นสิทธิ์แต่เดิมที่ไม่มีภาษี หากขายแอมเพิลริชในต่างประเทศเหมือนในกรณีที่สอง หรือหากถือตรงมาตลอดโดยไม่มีแอมเพิลริชเหมือนในกรณีที่หนึ่ง
สรุป
กรณีที่ 1
หาก พาน / พิณ ถือหุ้นชิน โดยตรง 49% มาตลอด(ไม่มีแอมเพิลริช) แล้วขายในตลาดหุ้นภาษี = 0 เป็นสิทธิ์พื้นฐาน
กรณีที่ 2
หาก พาน / พิณ ขายแอมเพิลริชในต่างประเทศเลย (หุ้นชินส่วน 11% ติดไป) ภาษี = 0 (แต่เงินจะอยู่นอกไทย)
กรณีที่ 3
พาน / พิณ ซื้อหุ้นชิน ส่วน 11% คืนกลับจากแอมเพิลริช (เจ้าของเดียวกัน) แล้วขายในตลาดหุ้นภาษี = 0 (เพื่อให้เงินอยู่ในไทย)
*** ไม่จำเป็นต้องเลือกเอากรณี ใดกรณีหนึ่ง เพื่อลดภาษีเพราะทั้ง 3 กรณีไม่มีภาษีอยู่แล้ว
4. ข้อกล่าวหาคือ การที่แอมเพิลริชโอนหุ้นชินคอร์ปฯให้ พาน/พิณ ที่ราคาพาร์ 1 บาท ทั้งคู่ต้องเสียภาษีเพราะมีเงินได้เพิ่ม (ได้มา 1 บาท ขาย 49 บาท เป็นกำไร 48 บาทที่ต้องเสียภาษี) หรือจะเป็นเหมือนกรณีบริษัทออกหุ้นจูงใจพนักงานในราคาถูกพิเศษ (สต็อกออปชั่น หรือ ESOP) ว่า ต้องเสียภาษีส่วนต่างระหว่างราคาหุ้นชินคอร์ปฯที่ ซื้อขายในตลาดกับราคาที่ได้มา (ได้มา 1 บาท ในวันที่หุ้นชินคอร์ปฯราคา 42 บาท เป็นกำไร 41 บาท ซึ่งหากจะเสียภาษีต้องจ่ายวันที่ซื้อ ไม่ใช่วันที่ขายที่ 49 บาทไม่มีภาษีเพราะได้เป็นเจ้าของหุ้นนั้นแล้ว)
5. ข้อกล่าวหานี้ เป็นการตีความคนละหลักการ
* เพราะทั้ง พาน/พิณ เป็นเจ้าของแอมเพิลริช ก็ถือว่าเป็นเจ้าของหุ้นชินคอร์ปฯ 11% นี้อยู่แล้ว เป็นบุคคลเดียวกันดังที่รายงานตลาดหุ้นมาตลอด ดังนั้น การที่แอมเพิลริชโอนหุ้นชินคอร์ปฯ 11% ที่ถืออยู่ ให้พาน/พิณ ถือเองโดยตรงในราคาพาร์ ไม่ทำให้ พาน/พิณ มีรายได้เพิ่ม เพราะเป็นหุ้นและต้นทุนของตนแต่เดิม
* เป็นคนละกรณีกับ นายจ้างจ่ายผลตอบแทนลูกจ้างด้วยการออกหุ้นใหม่ขายให้ในราคาพิเศษ หรือ การให้รางวัลจับสลาก หรือ การขายตั๋วสัญญาใช้เงินที่มีส่วนลดหน้าตั๋ว ล้วนทำให้ผู้ซื้อมีรายได้เพิ่ม ต้องเสียภาษี
* ประเด็นนี้หารือกับสรรพากรตั้งแต่กลางปีที่แล้ว สรรพากรก็ยืนยันว่าเรื่องนี้ถูกต้อง แต่ก็ไม่ฟังกัน กล่าวหาว่าลูก นายกฯ หนีภาษี นายกฯไม่มีจริยธรรม สรรพากร ผิดจรรยาบรรณ เพราะตีความเข้าข้างรับใช้นายกฯ
6. หากแคลงใจในแง่กฎหมาย ก็ควรให้ศาลเป็นผู้ตัดสิน ไม่ควรเอาเป็นประเด็นโจมตีทางการเมืองไปที่นายกฯ และ สรรพากร และเป็นสิทธิ์ของประชาชนตามกฎหมาย ที่มีหน้าที่เสียภาษีเท่าที่จำเป็น
หากเสียภาษีเกิน ยังไปเรียกคืนจากสรรพากรได้ ตามที่พวกเราทำยื่นแบบกันทุกปี (เปรียบเหมือนถนนข้างล่างว่างขับรถได้เร็วอยู่แล้ว แต่กลับถูกกล่าวหาว่าการไม่ขึ้นทางด่วนและเสียเงินค่าทางด่วน เป็นการหลีกเลี่ยง)
7. ตลาดหลักทรัพย์ ตั้งใจส่งเสริมให้บุคคลธรรมดาที่ซื้อขายหุ้นในตลาดไม่มีภาษีจากกำไร เพราะไม่งั้นเสียเปรียบบริษัทนิติบุคคลที่สามารถทำงบกำไรขาดทุน ที่สามารถนำการขาดทุน การเสียภาษีเงินปันผล การเสียภาษีกำไรขายหุ้น ไปหักลบในงบกำไรขาดทุน ทำให้เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลน้อยลง
* บุคคลธรรมดาทำงบไม่ได้ หากขาดทุน เสียภาษี หักลบอย่างอื่นไม่ได้เลย หากตลาดหลักทรัพย์ไม่ส่งเสริมเช่นนี้ นักลงทุน 500,000 คนต้องไปตั้งบริษัทกันหมด วุ่นวายกันใหญ่ ทั้งทำบัญชี สอบบัญชี
8. ทั้งตัว ดร.ทักษิณ ครอบครัว บริษัท และพนักงานกว่า 12,000 คน เสียภาษีทุกรูปแบบ ทั้งเงินได้จากเงินปันผล เงินได้บุคคลธรรมดาและนิติบุคคล รวมถึงค่าสัมปทานต่างๆ ทั้งมือถือ ดาวเทียม ฯลฯ ปีละหลายหมื่นล้านบาท สิบกว่าปีนี้หลายแสนล้านบาท เป็นผู้จ่ายภาษีรายใหญ่ที่สุดรายหนึ่งของประเทศไทย ร่วม 5% ของยอดจัดเก็บของสรรพกร ทำขนาดนี้ ทั้งผู้ก่อตั้งและตัวบริษัทเอง เป็นผู้เสียภาษีที่รักชาติไม่น้อยกว่าใครที่มาโจมตี (หลายปีก่อนตอนยังทำธุรกิจ ดร.ทักษิณเคยเป็นบุคคลที่เสียภาษีสูงสุดของไทย ปีละหลายร้อนล้านบาทหลายปี)
9. กลุ่มบริษัทชินคอร์ปฯ ได้ชื่อว่า เป็นบริษัทดีเด่นของไทย มูลค่าทางตลาดรวมในตลาดหลักทรัพย์ (Market Capitalization) กว่า 350,000 ล้านบาท เท่ากับ 7% ของทั้งตลาดหุ้นไทย เป็นหนึ่งในสามบริษัทไทยที่ติด 500 อันดับแรกของบริษัทใหญ่ที่สุดในโลกจัดโดยฟอร์จูน (อีกสองบริษัทคือปูนซีเมนต์ไทยและปตท) ได้รับรางวัลจาก ตลาดหลักทรัพย์ไทยและสถาบันการเงินระหว่างประเทศจำนวนมาก ในความดีเด่นในแง่ผู้บริหาร การจัดการ ธรรมธิบาล การรายงานการเงิน ความเชื่อถือทางการเงิน (เครดิตทางการเงินของเอไอเอส ในเครือชินคอร์ปฯคอร์ป สูงกว่าของรัฐบาลไทย) ทำได้ขนาดนี้ ต้องมีความสามารถและจริยธรรมเพียงพอแน่นอน
อ่านเพิ่มเติม
ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับ ทักษิณ ชินวัตร และ ชินคอร์ป ‹ สาระสนเท่ห์
เพื่อไทย
Tuesday, November 24, 2009
ข้อสรุปเรื่องหุ้นชินคอร์ป (อีกครั้ง)
ที่มา Thai E-News