ที่มา thaifreenews
บทความโดย...ลูกชาวนาไทย
ผลการเลือกตั้งซ่อมที่จังหวัดมหาสารคาม เขต 1 เมื่อวันอาทิตย์ที่ 4 มกราคม 2553 ผ่านไปสดๆ ร้อนๆ นะครับ ผลการเลือกตั้งพรรคเพื่อไทยชนะเลือกตั้งแบบเฉียดฉิว โดยมีผลการเลือกตั้งอย่างไม่เป็นทางการ ดังนี้
หมายเลข 2 นายประยุทธ์ ศิริพาณิชย์ สังกัดพรรคเพื่อไทย ล่าสุดได้คะแนน111,394 คะแนน
หมายเลข 1 นางคมคาย อุดรพิมพ์ สังกัดพรรคภูมิใจไทย ซึ่งคะแนนที่ได้ 110,158 คะแนน
แม้ว่าจะเป็นชัยชนะ แต่ก็ถือได้ว่า "เฉียดฉิว" น่าตกใจและจะต้องเก็บมาเป็นบทเรียน เพื่อการวางแผนและการสรุปบทเรียนต่อไปในอนาคต ผลการเลือกตั้งมหาสารคาม ในทางการเมือง คงจะนิ่งเฉยไม่ได้ และฝ่ายยุทธศาสตร์ของคนเสื้อแดงและพรรคเพื่อไทย คงไม่อาจนิ่งเฉยการเลือกตั้งครั้งนี้ได้
สำหรับยุทธวิธีใหม่ของฝ่ายอำมาตย์ที่นำมาใช้ครั้งนี้ผ่านพรรคภูมิใจไทยของเนวิน ผมคิดว่าคุณ Fanny แห่งเว็บประชาไทได้สรุปเอาไว้อย่างชัดเจน ผมขออนุญาตเอามาลงไว้เพื่อเป็นกรอบในการวิเคราะห์ต่อไปนะครับ เป็นโจทย์ที่เราต้องแก้
[url]http://www.prachataiwebboard.com/webboard/id/13153[/url]
---------------------------
fanny''s picture
Mon, 01/04/2010 - 18:38 by fanny Vote to close topic
ควันหลง การเลือกตั้งมหาสารคาม...ยุทธศาสตร์ใหม่ (?)ของอำมาตย์.....
ยุทธวิธีที่อำมาตย์นำมาใช้ในการเลือกตั้งซ่อมที่ มหาสารคามนี้ จะว่าใหม่ก็ๆ จะว่าเก่า ก็เก่า...
เพราะเป็นยุทธวิธีที่ได้มีการพูดกันตั้งแต่สมัยเลือกตั้งใหญ่ครั้งก่อน (สมัย พลเอก สุรยุทธิ์ เป็นนายก) แล้ว...
คือเป็นยุทธศาสตร์ที่ตั้งธงขึ้นว่า ต้องการชัยชนะให้ได้จากพรรคฝ่ายประชาธิปไตย..โดยจะให้พรรคไหนก็ได้เป็นฝ่าย ชนะ แต่ ไม่ให้พรรคฝ่ายประชาธิปไตย (พลังประชาชน - เพื่อไทย) ชนะเป็นอันขาด...
ยุทธวิธี...คือ การรวมคะแนนของทุกพรรค เอามาสู้ กับพรรคฝ่ายประชาธิปไตย (พลังประชาชน - เพื่อไทย) พรรคไหน ที่ได้คะแนนเป็นที่ 2รองจากพรรคฝ่ายประชาธิปไตย คือ พรรคที่จะมีสิทธิ์ส่งคนลงรับเลือกตั้ง...โดยพรรคที่ 3 - 4 - 5 -6 ที่นอกจากจะต้องหลีกทางให้ พรรคที่ได้คะแนนเป็นที่ 2 โดยการไม่ส่งคนเข้าแข่งแล้ว..
ก็จะต้องช่วยนำหัวคะแนนไปร่วมด้วยช่วยหาเสียงให้....
ส่วนในจังหวัดเลือกตั้งอื่นๆ ...ก็ให้ทำในลักษณะเดียวกัน....
ยุทธวิธีนี้ ได้มีการเสนอมาตั้งแต่ เลือกตั้งใหญ่ครั้ง ธค 2550 แต่ตอนนั้นพรรคร่วมอื่นๆ ไม่เข้าร่วมมือด้วย จึงเหลือพรรคเข้าร่วมโครงการเพียงพรรค เพื่อแผ่นดิน... ยุทธวิธี นี้ จึงถูกพับเก็บไป
ต่อมายุทธวิธีนี้นี้ ได้นำมาปัดฝุ่นใช้ในการเลือกตั้งซ่อมมหาสารคามในครั้งนี้...
เพื่อเป็น "โมเดลทดลอง" ที่จะใช้ในการเลือกตั้งครั้งหน้า....
การที่พรรคเพื่อไทย มีชัยชนะอย่างฉิวเฉียด...(อาจดูเหมือนอำมาตย์แพ้)..
แต่เป็น "โมเดลทดลอง" ที่รับรองได้ว่า ทำให้ฝ่ายเสธฯ ของ อำมาตย์ยิ้มได้พอสมควร..
และทำให้ โมเมนตั้มของการ "ยุบสภา" มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น...
แต่ถึงกระนั้น ณ. นาทีนี้ ยังคงไม่มีใครฟันธงไปได้ว่า "อำมาตย์ใหญ่ เค้าจะเลือกใช้วิธีไหนในการเดินเกมต่อไป....
ยุบสภา?....หรือ...ทางเลือกพิเศษกวาดล้มทั้งกระดาน (ซึ่งเป็นวิธีที่ดูเหมือนได้ผลเร็วแต่ผลที่ตามมายากต่อการควบคุม)
แต่การ ที่พรรคเพื่อไทย เอาชนะ ยุทธวิธี นี้ มาได้....นั่นก็ย่อมแสดงให้เห็นว่า กระแสของท่านนายกทักษิณ และคนเสื้อแดงนั้น ก็ไม่ธรรมดา ไม่แผ่วอย่างที่ลิ่วล้ออำมาตย์พยายามปั่นกระแส.......
สรุปว่า....ชัยชนะของ ฝ่ายประชาธิปไตย ที่มหาสารคามนี้.....มี 2 นัยยะ...คือ
1) หากมองในนัยยะของ เก้าอี้ ที่เพิ่มขึ้น.... ฝ่ายประชาธิปไตย ได้เก้าอี้เพิ่มขึ้น ได้ชัยชนะ ได้ ส.ส. เพิ่มอีก 1 คน..
2) แต่หากมองในเรื่อง ยุทธศาสตร์.....การเลือกตั้งที่มหาสารคามนี้ ผลออกมา "เสมอกัน..."
เพราะยุทธวิธีของฝ่ายอำมาตย์อันนี้ ถือว่า "ใช้ได้" ....
เป็น ยุทธวิธี ที่ "หวังผล" ได้....ในการต่อสู้เลือกตั้งในครั้งหน้า
ส่วน ยุทธวิธี ของฝ่ายประชาธิปไตย...ก็ถือว่า "ใช้ได้".....
ในมุมที่สามารถต้านการ "รุมกินโต๊ะ" จากพรรคที่ 2+3+4+5 +6 ได้
โดยเฉพาะยังสามารถต้านกระแส "ใบสีเทา 2 ใบ" ที่ฝ่ายอำมาตย์ใช้โปรยหว่าน...รวมทั้ง ยังสามารถต้านทาน
การ "โปรยหว่านแบบใช้งบของรัฐ" ด้วย...
"โปรยหว่านแบบใช้งบของรัฐ" .....เช่น เมื่อกรณีต้นเดือน ธค 52....ที่มีการนำคนของ จังหวัดมหาสารคาม และ ปราจีนบุรี มาเที่ยวงานใน กทม.....
กิน เที่ยว ในงานแบบฟรีตลอดงาน....ก็ถือว่าเป็นการ "หว่าน" อีกแบบหนึ่ง
ทั้งยังเป็นการ "หว่าน" ที่ได้ 2 เด้ง คือ...
1) ได้ "หว่าน" ล่วงหน้า...
2) ได้ทำให้คนมาเที่ยวเต็มงาน แสดงความยิ่งใหญ่ของ นายห้อยผู้จัดงาน...ว่า...."สุดยอด ดดดดดดดดดดดด"
ที่สำคัญ..."คนหว่าน "ไม่ต้องชักเนื้อจากปากห้อยๆ ของตัวเอง...ซะอีก
------------------
จากความเห็นของคุณ Fanny ข้างต้น ผมมองว่ายุทธวิธีนี้ของอำมาตย์เป็นยุทธวิธีที่ "ค่อนข้างใช้ได้ของฝ่ายอำมาตย์" ถือเป็นการ "เอาไม้ซีกรวมกันเพื่องัดไม้ซุง" เป็นยุทธวิธีที่ดีทีสุด ที่จะสามารถรับกับสถานการณ์เช่นนี้ได้
ผมคิดว่ายุทธวิธีนี้จะได้ผลอย่างยิ่งเลยทีเดียว หากการเมืองไทยยังเป็น "การเมืองระบบหลายขั้ว" เหมือนการเมืองก่อนปี 2540 ที่มีพรรคการเมืองกระจัดกระจาย แบ่งออกเป็นหลายๆ พรรค และประชาชนยังไม่ได้มี"จิตสำนึกการเลือกตั้งแบบเลือกแบบร่วมกัน"
นั่นเป็นกลยุทธ์ที่ดีเท่าที่จะสามารถใช้ได้ของอำมาตย์แล้วครับ
แต่ปีนี้ปี 2553 ปีที่ การขัดแย้งทางการเมือง เนิ่นนานมาเป็นเวลานาน จนทำลาย "กรอบความคิดแบบเดิมในใจของประชาชนไปหมดสิ้นแล้ว ผมว่า ตัวแปรสำคัญในช่วง "ร่วมสมัย" นี้คือ
1. พฤติกรรมการเลือกตั้งของประชาชนเปลี่ยนเป็นเลือกพรรคมากกว่าตัวบุคคล อันนี้พิสูจน์ให้เห็นได้อย่างชัดเจนในการเลือกตั้งหลังปี 2540 มาหลายครั้งแล้ว
2. การเมืองไทยปัจจุบันมีเพียงสองขั้ว โดยแบ่งอย่างง่ายๆ คือ เหลืองกับแดง หรือพูดให้ชัดคือ ขั้วทุนนิยมโลกาภิวัฒน์ (เสรีนิยมอาจรวมสังคมนิยมแบบก้าวหน้าด้วย) กับขั้วอนุรักษ์นิยม ไม่มี "ทางเลือกที่สาม" ให้กับพรรคเล็ก ไม่มีพื้นที่ให้ยืนได้มากนัก นอกจากพื้นที่เขตอิทธิพลท้องถิ่นมานาน แบบสุพรรณบุรี แต่ก็ถูกกระแสความขัดแย้งดูดกลืนเข้าสู่สภาพการเมืองแบบสองขั้วสองพรรคไปมากแล้ว เหลือพื้นที่ทางอุดมการณ์ให้กับพรรคเล็กแทบไม่มี เมืองสุพรรณที่ไม่มีตระกูลศิลปอาชาลงแบบเต็มๆ อาจเสียพื้นที่ให้กับขั้วเสรีนิยมก้าวหน้า (เพื่อไทย) ก็เป็นได้
3. อบต./อบจ. มีบทบาททดแทน ความต้องการงบประมาณลงพื้นที่ จาก สส.เขตไปแทบหมดสิ้นแล้ว ประชาชนต้องการ สส.ในบทบาทระดับชาติ มากกว่าสร้างถนน สร้างบันไดศาลาวัด อะไรพวกนี้แล้ว อบต./อบจ. ทำหน้าที่แบบ ผู้ว่าฯ กทม. ไปแล้ว สส.จึงหมดความสำคัญส่วนนี้ไป บทบาทระหว่างการพัฒนาท้องถิ่น กับการเมืองระดับชาติมีเส้นพรมแดนที่ค่อนข้างชัดเจนแล้ว
4. พรรคเล็ก ไม่มีผลต่อนโยบายเศรษฐกิจในระดับมหภาคมากมายนัก และนโยบายเศรษฐกิจระดับมหภาคมีผลต่อ "เงินในกระเป๋า" ของชาวบ้านหรือความกินดีอยู่ดี" มากกว่า "ความต้องการพัฒนาท้องถิ่นมากแล้ว คือ "ความยากแค้นด้านโครงสร้างพื้นฐาน" แบบยุคก่อนๆ บรรเทาลงไปมากแล้ว ผมยังจำได้ สมัยก่อนจะเลือกตั้งเมื่อ 20 ปีที่แล้ว สส.จะเอารถเกรดมาเกรดถนนให้ แต่ พ.ศ. 2553 ทำแบบนี้ไม่เพียงพอแล้ว อบจ./อบต. ทำแทนไปแล้ว
5. ระบบการเลือกตั้งแบบ แบ่งรวมเขต จะฆ่าพรรคเล็กแทบจะสูญพันธุ์ ยกเว้นจะมีการแก้ไข รธน.ในส่วนนี้ แต่หากพรรคใหญ่ไม่เอาด้วย การแก้ไข รธน.ในส่วนนี้ ก็เป็นเรื่องที่เป็นไปได้ยาก
6. มนต์ขลังเรื่องความซาบซึ้ง ไม่เป็นปัจจัยให้ได้คะแนนอีกต่อไป ผมเชื่อว่าพรรคที่ชูธงเรื่อง self-sufficient จะไม่ได้คะแนน แต่คนไม่กล้าแย้งออกมาทำให้คิดว่ายังมีมนต์ขลัง แต่เชื่อว่าพรรคที่ชูความซาบซึ้ง กับพรรคที่ชู "ทักษิณ ชินวัตร" ผมคิดว่าพรรคทักษิณ จะชนะถล่มทลาย ความซาบซึ้งไม่ได้ช่วยให้หายอดอยาก และมันสะท้อนถึงความสองมาตรฐาน ความไม่เป็นธรรมต่างๆ และที่สำคัญคนเริ่มคิดได้ว่า "ซาบซึ้ง" ไป ก็ไม่ได้ขึ้นสวรรค์ ไม่มีศาสนาใดสนับสนุน นอกจากความงมงายไปชั่วครู่
ผมว่าเงื่อนไขเหล่านี้ได้ "บั่นทอน" ยุทธวิธีนี้ของอำมาตย์ ทำให้ไม่ได้ผลเท่าที่ควร
แต่พรรคเพื่อไทยก็ไม่ควรประมาทในเรื่องนี้ เพราะเขาอาจใช้ยุทธวิธีนี้+การโกง ก็อาจได้ชัยชนะในบางพื้นที่
ดังนั้น การเร่งการจัดตั้งเครือข่ายของคนเสื้อแดงลงไปยังชนบทจึงเป็นสิ่งสำคัญ
และที่สำคัญ "ต้องขายประชาธิปไตยกินได้" ไม่ใช่ "ประชาธิปไตยแบบอุดมการณ์"
คือต้องมี "แผนฟื้นฟูเศรษฐกิจ" แบบที่พรรคไทยรักไทยเคยทำ ต้องเริ่มทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจที่ชัดเจนได้แล้ว เพราะประชาชน "หวังในส่วนนี้จากทักษิณ" ไม่ใช่ "นิยมทักษิณเพราะซาบซึ้งทักษิณเฉยๆ" แต่นิยมทักษิณเพราะทักษิณทำให้พวกเขามีอยู่มีกิน ชีวิตมีความหวัง ลูกได้เรียน ได้โอกาส ครอบครัวมีโอกาสที่จะมีชีวิตที่ดีขึ้น
ต้องพัฒนา "ส่วนที่กินได้" ของประชาธิปไตยให้สมบูรณ์เหมือนพรรคไทยรักไทย
โอกาสของพรรคเพื่อไทยนั้นเหนือกว่าพรรคอื่นๆ รวมถึงพรรคประชาธิปัตย์ เพราะคนประชาชนเชื่อถือในตัวท่านทักษิณ ชินวัตร อยู่แล้ว แต่ก็ต้องมีแผนงานโครงการต่างๆ ที่เป็น package ชัดเจน จับต้องได้ มีวิธีการปฏิบัติที่เชื่อถือได้ ไม่เพ้อฝันเลื่อนลอย
พรรคเล็กๆ แบบเนวินจะหาเสียงได้เพียงโครงการ แบบใช้เงินงบประมาณเท่านั้น เช่น ถนนไร้ฝุ่น พวกนี้ ซึ่งประเด็นเหล่านี้มีบทบาทน้อยกว่า นโยบายเศรษฐกิจ ต่างๆ ที่เป็นภาพรวมใหญ่ ๆ ทำให้โอกาสของเนวินนั้นลดลง
แต่ก็ประมาทไม่ได้