WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Wednesday, January 6, 2010

เขายายเที่ยงและปัญหาการจัดการที่ดินในสังคมไทย

ที่มา Thai E-News


โดย ประชา ธรรมดา
6 มกราคม 2553

“คนเสื้อแดง” ประกาศจะระดมประชาชนคนจนผู้ยากไร้ ไม่มีที่ดินเข้ายึดครองที่ดินบริเวณเขายายเที่ยงเพื่อเข้าทำกินในวันที่ 11 มกราคมนี้ โดยมองกันว่าการครอบครองที่ดินบนเขายายเที่ยงของอดีตนายกรัฐมนตรีสุรยุทธ์ มีข้อเคลือบแคลงสงสัยว่าถูกต้องชอบธรรมตามกฎหมายหรือไม่ ? คนจนมีสิทธิ์ที่จักกระทำแบบเดียวกันได้หรือ? หรือว่ากฎหมายไทยมีสองมาตรฐาน?




ความขัดแย้งในการจัดการที่ดินโดยมีการเข้ายึดครองทำกินบนที่ดิน ของประชาชนผู้ยากไร้ได้เกิดขึ้นทั่วประเทศ เช่น ในเขตพื้นที่จ.ลำพูน จ.เชียงใหม่ จ.เชียงราย จังหวัดสุราษฎธานีย์ จังหวัดกระบี่ จังหวัดภูเก็ต ฯลฯ

ทั้งที่เป็นไปเองและกระทำการในนาม”สมัชชาคนจน” และ”เครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่งประเทศไทย” ในอีกด้านหนึ่งย่อมสะท้อนถึงความไม่เป็นธรรมในการจัดการที่ดินในสังคมไทย

ปัญหาที่ดินนั้น ในปัจจุบันถึงขั้นวิกฤตแล้ว เนื่องจากยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศที่ไม่เอื้อให้กับคนส่วนใหญ่โดยเฉพาะเกษตรกร ซึ่งเป็นผลพวงที่สำคัญให้ที่ดินเกิดการกระจุกตัว และพบว่าปัญหาที่ดินซึ่งนับวันทวีความรุนแรงมากขึ้น

เนื่องจากว่าคนเพียง 10 เปอร์เซนต์กลับถือครองที่ดินตั้งแต่ 100 ไร่ขึ้นไป ขณะที่คนกว่า 90 เปอร์เซนต์มีที่ดินเพียง 1ไร่เท่านั้น

รวมทั้งพบว่า ในภาคเกษตรซึ่งมีประชากรอยู่ประมาณ 2 ล้านครอบครัว (10 ล้านคน) มีประชากรประมาณ 800,000 ครอบครัว ไม่มีที่ดินเป็นของตัวเอง และมีเกือบล้านครอบครัว ที่มีที่ดินแต่ไม่เพียงพอ ต้องเช่าที่ดินจากผู้อื่นทำกิน

นอกจากนี้แล้ว จากการใช้ที่ดินไม่เต็มที่ประเทศไทยต้องสูญเสียทางเศรษฐกิจโดยการประเมินขั้นต่ำ 127,384.03 ล้านบาทต่อปี และการเก็งกำไรที่ดินที่ผ่านมาทำให้เศรษฐกิจเสียหายไม่ต่ำกว่า 2 ล้านล้านบาท

รวมทั้งยังพบว่าที่ดินส่วนมากยังมีการใช้ประโยชน์ไม่เต็มที่ประมาณว่าที่ดินร้อยละ 70 เปอร์เซ็นต์ ของประเทศนั้นใช้ประโยชน์ไม่เต็มที่หรือไม่ได้ใช้ประโยชน์เลย

สิ่งเหล่านี้ย่อมชี้ให้เห็นการกระจุกตัวของที่ดินนั้น ได้มีผลเสียหายต่อเศรษฐกิจของประเทศชาติโดยรวม

แม้ว่าประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 6 จะระบุว่า …หากบุคคลนั้นทอดทิ้งไม่ทำประโยชน์ในที่ดิน หรือปล่อยที่ดินให้รกร้างว่างเปล่า เกินกำหนดเวลา ดังต่อไปนี้ (1)สำหรับที่ดินที่มีโฉนด เกินสิบปีติดต่อกัน (2)สำหรับที่ดินที่มีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ เกินห้าปีติดต่อกัน ให้ถือว่าเจตนาสละสิทธิในที่ดินเฉพาะส่วนที่ทอดทิ้งไม่ทำประโยชน์ หรือปล่อยให้เป็นที่รกร้างว่างเปล่า เมื่ออธิบดีได้ยื่นคำร้องต่อศาลและศาลได้สั่งเพิกถอนหนังสือแสดงสิทธิในที่ดิน ดังกล่าว ให้ที่ดินนั้นตกเป็นของรัฐเพื่อดำเนินการตามประมวลกฎหมายนี้ต่อไป

แต่ในภาคปฏิบัติไม่เป็นจริงตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย

เมื่อปี พ.ศ.2532 ธนาคารโลกได้สนับสนุนเงินประมาณ 200 ล้านบาทให้มีการเร่งรัดออกโฉนดที่ดิน เป็นผลให้ที่ดินกลายเป็นสินค้า ให้ความสำคัญกับถือครองที่ดินโดยระบบกรรมสิทธิ์ปัจเจกชนนั้น นำมาสู่ความเปราะบางในการสูญเสียที่ดินของเกษตรกร หรือที่ดินหลุดมือได้ง่ายมากขึ้น เนื่องจากผู้ถือครองมีกรรมสิทธิ์เบ็ดเสร็จ ขาดการควบคุมโดยระบบเครือญาติและชุมชนที่ใช้ความเชื่อจารีตประเพณีเป็นการควบคุม ดังนั้นแนวคิดทำที่ดินเป็นสินค้าจึงสุ่มเสี่ยงมากที่จะทำให้ที่ดินกลายเป็นของนายทุน

อย่างไรก็ตาม ความขัดแย้งในการจัดการปัญหาที่ดินในประเทศไทยซึ่งเมื่อมีกระบวนการตรวจสอบการออกเอกสารสิทธิ์และการใช้ประโยชน์ที่ดิน พบว่า มีกระบวนการออกเอกสารสิทธิ์ที่ดินโดยมิชอบ เช่น การออกเอกสารสิทธิ์ในที่สาธารณะประโยชน์ การออกเอกสารสิทธิ์ในที่ป่าชุมชนที่ชาวบ้านดูแลร่วมกัน การออกเอกสารสิทธิ์ในพื้นที่ลาดชันเกิน 35 เปอร์เซ็นต์ การออกเอกสารสิทธิ์ในที่ดินของคนอื่นที่มี ส.ค.1 อยู่แล้ว การปลอมแปลงเอกสารเพื่อออกเอกสารสิทธิ์ในที่ดิน ทีดินรกร้างว่างเปล่ารอเก็งกำไรจากการขาย ที่ดินรกร้างว่างเปล่าติดหนี้ธนาคาร เป็นต้น

ซึ่งมีรูปแบบการฉ้อโกง เช่น กรณี ส.ค.บินมาจากต่างที่ กรณีการกล่าวอ้างการได้สิทธิโดยมีชื่อมาจากคนตาย หรืออ้างชื่อเจ้าของสิทธิว่าตายไปแล้วทั้ง ๆ ที่ยังมีชีวิตอยู่ปัจจุบัน รวมทั้งกรณีการออก สปก.4-01 ให้นายทุนอิทธิพลมิใช่เกษตรกร เป็นต้น

ซึ่งล้วนแล้วเป็นขบวนการโกงที่ดินโดยการร่วมมือกันของกลุ่มนายทุนอิทธิพล เจ้าที่ดิน นักการเมือง ฉ้อฉลกับข้าราชการบางหน่วยบางคนทั้งสิ้นซึ่งประชาชนคนธรรมดาคงมิอาจทำได้แน่นอน

อย่างไรก็ตาม จากที่กล่าวมาข้างต้น ได้ให้บทเรียนสำคัญในการแก้ไขปัญหาที่ดินของสังคมไทยว่า ถ้าตราบใดไม่เปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาที่ดิน

หรืออีกด้านหนึ่งการปล่อยให้กรมที่ดินหรือสำนักงานปฏิรูปที่ดิน(สปก.) ผูกขาดอำนาจจัดการที่ดินแต่ฝ่ายเดียว จะนำมาสู่การคอรัปชั่นฉ้อฉลของข้าราชการบางหน่วยส่วนบางคนร่วมกับกลุ่มนายทุนอิทธิพล ซึ่งนำพามาสู่ความล้มเหลวต่อการแก้ไขปัญหาที่ดินในที่สุด และมีข้อเสนอเบื้องต้นคือ

1.ต้องสำรวจและเปิดเผยข้อมูลเพื่อความโปร่งใสว่า ใครถือครองที่ดินเท่าไหร่

2พื้นที่ สปก.60 ล้านไร่อยู่ในความครอบครองของนายทุนเท่าใด เพื่อเป็นข้อมูลและหาแนวทางการแก้ไขปัญหาที่ดินที่ถูกต้องต่อไป รวมทั้งให้ชุมชนมีส่วนร่วมสำรวจพื้นที่รกร้างว่างเปล่า 30 ล้านไร่อยู่ที่ไหนบ้าง เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐาน ในการแก้ไขปัญหาที่ดิน

3.ต้องคำนึงถึงหลักการมีส่วนร่วมของประชาชนในการปฏิรูปที่ดิน โดยเฉพาะเกษตรกรผู้ไร้ที่ดินหรือมีที่ดินไม่เพียงพอ รวมทั้งต้องนำหลักการจัดการที่ดินโดยการควบคุมของชุมชนหรือเคารพสิทธิชุมชนมากกว่าให้ความสำคัญเพียงระบบกรรมสิทธิ์เอกชนเพียงอย่างเดียว

4. ต้องมีมาตราการภาษีที่ดินที่ก้าวหน้า เพื่อให้เกิดการกระจายการถือครองที่ดิน

5.ต้องมีมาตรการกำจัดการถือครองที่ดิน เพื่อสร้างความเป็นธรรม ความเสมอภาคในสังคมไทย

และสำหรับกรณีเขายายเที่ยงจะเหมือนปัญหาที่ดินอื่นๆในสังคมไทยหรือไม่ ? ไม่นานคงได้ข้อสรุปว่า ที่ดินผืนนั้น ท่านได้แต่ใดมา ได้มาอย่างไร

ถูกต้องชอบธรรมหรือไม่ ?