WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Friday, January 8, 2010

มองความไร้วุฒิภาวะของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะผ่านกรณีหวยออนไลน์

ที่มา ประชาไท

จากบทความของจาตุรนต์ ฉายแสง ( "จาตุรนต์ โต้ นายกรัฐมนตรี:กรณีหวยออนไลน์") มีการแสดงความคิดเห็นต่อกรณีการยกเลิกหวยออนไลน์ของนายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้อย่างแจ่มชัด โดยชี้ให้เห็นว่าการตัดสินที่เกิดขึ้นเป็นการตัดสินใจที่ไม่เป็นมืออาชีพและไม่รับผิดชอบต่อผลเสียที่จะเกิดขึ้น ด้วยเหตุผลอย่างธรรมดาตามที่จาตุรนต์ได้อธิบายอย่างตรงไปตรงมาอาจกล่าวได้ว่านายอภิสิทธิ์ย่อมสามารถรับรู้และตระหนักได้ถึงเหตุและผลเหล่านี้ แต่การที่นายอภิสิทธิ์ได้เลือกที่จะตัดสินใจไปอีกทางหนึ่งซึ่งเป็นการตัดสินใจที่ไร้เหตุไร้ผลนั้นเป็นประเด็นที่ควรแก่การอภิปราย ดังที่จะได้กล่าวถึงต่อไป
บทความนี้มิได้มุ่งหมายที่จะนำเสนอในประเด็นที่ซ้ำกับบทความของจาตุรนต์ ฉายแสง แต่ต้องการที่จะนำเสนอมุมมองอีกด้านหนึ่งของปรากฏการณ์นี้ในแง่ที่ว่าการที่นายอภิสิทธิ์ตัดสินใจยกเลิกหวยออนไลน์เพราะมีสาเหตุมาจากความต้องการแสวงหาความนิยมทางการเมืองเป็นสำคัญ ทั้งนี้การตัดสินใจดังกล่าวเป็นการตัดสินใจที่ไม่ได้คำนึงว่าจะก่อให้เกิดความเสียหายมากน้อยเพียงใด
ตามคำชี้แจงของนายอภิสิทธิ์ที่ว่าต้องการยกเลิกหวยออนไลน์เพราะไม่ต้องการทำสิ่งผิดกฎหมายให้เป็นสิ่งถูกกฎหมายมีนัยว่านายอภิสิทธิ์ในฐานะหัวหน้ารัฐบาลเป็นผู้มีจริยธรรมสูงส่งจะทำการสิ่งใดย่อมคำนึงถึงความถูกต้องชอบธรรมเป็นหลัก และมีความหมายสืบเนื่องไปว่ารัฐบาลที่นำโดยนายอภิสิทธิ์บริหารประเทศด้วยศีลธรรม ชักนำให้ประชาชนหลีกเลี่ยงจากอบายมุขและไม่ต้องการให้ประชาชนมีความหวังลมๆ แล้งๆ ว่าจะสามารถร่ำรวยได้ด้วยการถูกหวยโดยไม่ต้องทำงาน (ผิดกับนายอภิสิทธิ์ที่เคยหวังว่าจะก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีโดยไม่ต้องชนะการเลือกตั้ง)
การสร้างภาพลักษณ์ของความเป็นผู้อุดมด้วยคุณธรรมดังกล่าวย่อมส่อให้เห็นถึงความมุ่งหมายของนายอภิสิทธิ์ที่ต้องการได้รับคะแนนนิยมทางการเมืองเพิ่มขึ้นจากการตัดสินใจยกเลิกหวยออนไลน์และเร่งรุดสื่อสารให้ประชาชนรับทราบในวันหยุดราชการ ทั้งนี้สำหรับคนชั้นกลางที่มีความเข้าใจในเรื่องศีลธรรมอย่างผิวเผินย่อมเห็นดีเห็นงามกับการตัดสินใจในครั้งนี้ไปด้วย ซึ่งการดำเนินกลยุทธ์เช่นนี้ย่อมเป็นที่คาดหมายได้ว่านายกรัฐมนตรีจะได้รับคะแนนนิยมทางการเมืองที่เพิ่มสูงขึ้น แต่การแสวงหาคะแนนนิยมทางการเมืองดังกล่าวไม่ได้คำนึงถึงผลกระทบที่จะตามมา ทั้งนี้ประเด็นสำคัญที่จาตุรนต์ ฉายแสงได้กล่าวไว้คือการที่รัฐบาลไม่ปฏิบัติตามสัญญากับเอกชนโดยไม่มีเหตุผลอันเพียงพอซึ่งย่อมส่งผลกระทบกับการตัดสินใจที่จะลงทุนในประเทศไทยเพราะการตัดสินใจของรัฐบาลขาดความแน่นอน นอกจากนี้ตามที่จาตุรนต์ได้กล่าวแล้วว่าการยกเลิกหวยออนไลน์ได้ทำลงหลังจากที่ได้ปล่อยให้เวลาล่วงเลยมาจนเกิดความเสียหายซึ่งกล่าวได้ว่าเป็นการตัดสินใจที่ไม่รู้จักเวลา(กาลัญญุตา)
แม้ว่านายอภิสิทธิ์จะกล่าวว่าการตัดสินใจยกเลิกหวยออนไลน์เป็นการตัดสินใจในเชิงนโยบาย แต่การตัดสินใจนี้ก็ไม่ควรเนิ่นช้ากว่าการที่คณะกรรมการสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลได้ตัดสินใจที่จะให้มีการจำหน่ายหวยออนไลน์ เพราะเหตุว่าการตัดสินในในเชิงนโยบายควรจะทำในเชิงการกำหนดหลักการและกำกับทิศทางซึ่งควรเป็นการตัดสินใจเพื่อเหตุการณ์ในวันข้างหน้า ไม่ใช่การตัดสินใจย้อนหลังไปแก้ไขสิ่งที่ได้เกิดขึ้นมาแล้วดังเช่นการตัดสินใจของนายอภิสิทธิ์ ทั้งนี้ความล่าช้าในการตัดสินใจนี้อาจเป็นความคิดชั่วแล่นของนายกรัฐมนตรีที่คิดหากลยุทธ์ในการเพิ่มคะแนนนิยมทางการเมืองที่คิดขึ้นมาได้ในช่วงเทศกาลส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ โดยนัยนี้คำกล่าวที่ว่าบ้านเมืองของเราบริหารด้วยเด็กเล็กจึงเห็นเป็นจริงมากขึ้น
อย่างไรก็ตามข้อผิดพลาดอันฉกาจฉกรรจ์ของการตัดสินใจในครั้งนี้คือความไม่รับผิดชอบทางการเมืองของนายอภิสิทธิ์ ในเมื่อเป็นผู้ตัดสินและเป็นผู้บริหารสูงสุดของรัฐบาลก็ควรจะรับผิดชอบผลของการตัดสินใจด้วยตนเองและควรกำหนดแนวทางในการคลี่คลายปัญหาด้วยตนเองอย่างฉับพลัน แต่นายอภิสิทธิ์กลับโยนความรับผิดชอบไปให้ประธานคณะทำงานศึกษาข้อกฎหมายเพื่อพิจารณายกเลิกการออกสลากออนไลน์ซึ่งแต่งตั้งจากประธานคณะผู้แทนการค้าไทย[1] ซึ่งไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้อง ให้เป็นผู้หาแนวทางในการยกเลิกสัญญากับเอกชน
กรณีศึกษาการยกเลิกหวยออนไลน์นี้ชี้ให้เห็นว่ารัฐบาลซึ่งนำโดยนายอภิสิทธิ์มุ่งเน้นแต่การโฆษณาประชาสัมพันธ์ ดังจะเห็นได้จากช่วงครึ่งปีหลังของปี 2552 รัฐบาลได้ขึ้นป้ายโฆษณาทั่วกรุงเทพว่าสามารถปฏิบัตินโยบายสำคัญได้สำเร็จในสองเรื่องใหญ่ๆ คือนโยบายเรียนฟรี 15 ปี และนโยบายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ซึ่งทั้งสองนโยบายไม่ต้องอาศัยวิริยภาพและความสามารถในการบริหารจัดการของฝ่ายการเมืองเลยแต่เป็นเรื่องที่สามารถทำสำเร็จลงได้โดยง่ายด้วยกลไกของระบบราชการที่มีอยู่แล้ว นอกจากนี้เราจะเห็นได้จากข่าวโทรทัศน์ว่าวาระงานที่สำคัญของนายอภิสิทธิ์คือการไปปรากฏตัวตามงานต่างๆและการแสดงวาทศิลป์ผ่านการปาฐกถาในต่างกรรมต่างวาระ มากกว่าที่จะคิดวางแผน นโยบายและทิศทางในการบริหารประเทศซึ่งเป็นหน้าที่ซึ่งหัวหน้าฝ่ายบริหารพึงกระทำ เรียกได้ว่าไม่รู้จักตน (อัตตัญญุตา) ไม่รู้จักหน้าที่ ทั้งนี้อาจเป็นเพราะนายอภิสิทธิ์มุ่งหวังว่าจะใช้โอกาสทางการเมืองอันหาได้ยากยิ่งนี้เก็บเกี่ยวคะแนนนิยมจนสามารถชนะการเลือกตั้งในครั้งต่อไปได้
ด้วยเหตุว่าแรงบีบคั้นจากการต่อสู้แย่งชิงอำนาจในการเมืองไทยในช่วงไม่กี่ปีมานี้ได้ทำให้รัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์เป็นทางเลือกเดียวที่สามารถดำรงอยู่ได้โดยที่บ้านเมืองยังสงบราบคาบ อย่างไรก็ตามการดำรงอำนาจทางการเมืองของรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ไม่อาจจะก้าวผ่านพ้นเงื่อนตายที่ว่าพรรคประชาธิปัตย์ไม่สามารถชนะการเลือกตั้งทั่วไปได้ เพราะตั้งแต่รัฐบาลพรรคไทยรักไทยเป็นต้นมาประโยชน์โภชน์ผลจากการดำเนินนโยบายของรัฐบาลที่ผู้ออกเสียงเลือกตั้งได้รับได้กลายเป็นปัจจัยที่สำคัญยิ่งในการกำหนดชัยชนะในการเลือกตั้ง กว่าหนึ่งปีที่ผ่านมานโยบายที่มีความเฉพาะเจาะจงว่าเป็นของพรรคประชาธิปัตย์และเหนือกว่าพรรคการเมืองอื่นยังมิได้ปรากฏสู่การรับรู้ของสาธารณชน หากจะมีความเหนือกว่าก็เป็นไปในทางการโฆษณาชวนเชื่อและวาทศิลป์
ทางออกที่ละมุนละม่อมที่สุดของการเมืองไทยในปัจจุบันคือการที่รัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์สามารถแสดงฝีมือในการบริหารประเทศให้เป็นที่ประจักษ์และได้รับการยอมรับนับถือจากประชาชนในทุกระดับโดยเฉพาะอย่างยิ่งชาวชนบทซึ่งเป็นฐานเสียงที่สำคัญของพรรคไทยรักไทย แต่เท่าที่กาลเวลาหนึ่งปีได้พิสูจน์ผู้เขียนเห็นว่าเป็นไปได้ยาก ดังนั้นหากประชาชนผู้สนับสนุนรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์มองการเมืองด้วยสายตาที่กว้างไกลออกไปจากความขัดแย้งที่ดำรงอยู่เฉพาะหน้าก็ควรทำใจยอมรับกับความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองโดยเฉพาะอย่างการเมืองที่กำหนดผลแพ้ชนะด้วยการเลือกตั้ง ทั้งนี้บทเรียนจากในอดีตที่ได้รับจากรัฐบาลชวน หลักภัยซึ่งตั้งขึ้นด้วยการลัดวงจรทางการเมืองในปี 2540 ด้วยสาเหตุจากความสิ้นหวังในนักการเมืองฝ่ายตรงข้ามสามารถชี้ให้เห็นถึงความไร้สามารถในการบริหารประเทศของรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ได้เป็นอย่างดี ซึ่งนับจากเหตุการณ์ในครั้งนั้นกาลเวลาได้ล่วงเลยมากว่า 10 ปีแล้ว หากรัฐบาลอภิสิทธิ์ได้บริหารประเทศเนิ่นนานออกไปเท่าไรอาจจะหมายถึงการสูญเสียโอกาสในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทยบนเส้นทางของการแข่งขันในระดับโลกที่ทวีความเข้มข้นทุกขณะ
กล่าวสำหรับนายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์เมื่อได้ชื่อว่าได้ก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งนากรัฐมนตรีสมดังความมุ่งมาดปรารถนาอันอุดมไปด้วยเกียรติยศชื่อเสียงแล้ว ก็ควรจะหาโอกาสอันควรในการยุบสภาในเร็ววัน เพราะเหตุว่ายิ่งอยู่นานไปประชาชนผู้ออกเสียงเลือกตั้งย่อมรับรู้ได้ถึงความอ่อนด้อยของความสามารถในการบริหารมากขึ้นทุกวัน เมื่อมนต์ขลังของลมปากและโฆษณาชวนเชื่อเสื่อมทรามลง โอกาสในการชนะการเลือกตั้งครั้งถัดไปของพรรคประชาธิปัตย์ก็จะริบหรี่ลงและทำให้ความเป็นไปได้ของการเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาลทวีความยากลำบากมากกว่าการจัดตั้งรัฐบาลในครั้งนี้ นอกจากนี้นายอภิสิทธิ์อาจจะเป็นนายกรัฐมนตรีที่ถูกลืมเฉกเช่นหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์หลายๆ ท่านในอดีต





[1] ในอดีตอันใกล้บุคคลท่านนี้เคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์(เงา) ซึ่งแต่งตั้งโดยพรรคประชาธิปัตย์ การแต่งตั้งบุคคลผู้มีความรู้ความสามารถสูงไปทำในเรื่องที่ไม่เป็นเรื่อง สะท้อนให้เห็นถึงความไร้สามารถในเชิงการบริหารได้เป็นอย่างดี เรียกได้ว่าไม่รู้จักคน (ปุคคลปโรปรัญญุตา) ในทางที่ควรบุคคลท่านนี้น่าจะได้เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์