WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Wednesday, January 6, 2010

ศาลรธน.

ที่มา thaifreenews

ที่มา กรุงเทพธุรกิจ

ศาลรธน.เล็งรวบส.ส.-ส.ว.ถือหุ้นขัดรธน.เป็นคดีเดียว

ศาลรธน.สรุปปี48-51จำนวน128คดี ปี52 มี31คดี จำหน่ายไป47คำร้อง 14ม.ค.นัดไต่สวน"สุรเดช"ลาออกปชป. เผยเล็งรวมคำร้องส.ส.-ส.ว.ถือหุ้นเป็นคดีเดียว

วันนี้(3 ม.ค.) นายเชาวนะ ไตรมาศ เลขาธิการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ กล่าวถึงการสรุปผลการดำเนินการของศาลรัฐธรรมนูญในรอบ พ.ศ.2552 ได้พิจารณาไปแล้ว 128 เรื่อง ซึ่งเป็นคดีค้างเก่าตั้งแต่ พ.ศ.2548 -2551 จำแนกเป็นคำร้องที่รับไว้พิจารณาและมีคำวินิจฉัยแล้ว 20 เรื่อง คำร้องที่คณะตุลาการได้พิจารณามีคำสั่งรับไว้พิจารณาและอยู่ในกระบวนการพิจารณาจำนวน 58 เรื่อง โดยเป็นคำร้องจากปี 2551 จำนวน 27 เรื่อง และในปี 2552 จำนวน 31 เรื่อง และคดีที่ไม่รับไว้พิจารณาและให้จำหน่ายคำร้องจำนวน 47 คำร้อง

สำหรับคดีสำคัญและได้รับความสนใจจากประชาชนที่ศาลรับไว้พิจารณา และอยู่ในกระบวนการพิจารณามี 3 คดี คือ 1.คดีที่ประธานวุฒิสภาได้ส่งความเห็นของคณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตาม มาตรา 91 แห่งรัฐธรรมนูญ กรณี ส.ว. จำนวน 16 คนสิ้นสุดสมาชิกภาพลงตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 119 (5) เพราะถือหุ้นลักษณะต้องห้ามตาม มาตรา 48 ประกอบมาตรา 265 แห่งรัฐธรรมนูญ

2.คดีที่ประธานสภาผู้แทนราษฎรมีหนังสือส่งความเห็นของ กกต.ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยกรณีสมาชิกภาพของ ส.ส.จำนวน 13 คนของพรรคประชาธิปัตย์ สิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 106 (6) เนื่องจากมีการกระทำที่เข้าข่ายถือครองหุ้นในกิจการสื่อและบริษัทที่รับสัมปทานจากภาครัฐ ซึ่งเป็นการกระทำต้องห้ามตาม มาตรา 48 ประกอบ 265 แห่งรัฐธรรมนูญ และ 3.คดีที่ประธานสภาผู้เทนราษฎรส่งความเห็น กกต.ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย สมาชิกภาพของส.ส.จำนวน 16 คน สิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญมาตรา 106 (6)

รายงานข่าวแจ้งว่า สำหรับการพิจารณาทั้ง 3 คำร้องเกี่ยวกับคุณสมบัติของส.ส.และส.ว. ในเรื่องการถือหุ้นต้องห้ามนั้น คณะตุลาการกำลังพิจารณาประชุมเพื่อลงความเห็นให้รวมคำร้องทั้ง 3 เข้าด้วยกัน เพราะคำร้องทั้ง 3 มีลักษณะเหมือนกัน บริษัทเอกชนที่ถือหุ้นอยู่ส่วนใหญ่ก็เป็นบริษัทซ้ำกัน จึงสามารถสืบพยานรวบไปในครั้งเดียวได้ โดยประเด็นที่ต้องพิจารณา คือ บริษัทที่ส.ส.หรือส.ว.ถือหุ้นนั้น เป็นบริษัทเกี่ยวกับโทรคมนาคม ผูกขาดสัมปทานของรัฐ ซึ่งเป็นสิ่งต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญหรือไม่เท่านั้น หากพิจารณาได้ว่าเป็นหุ้นในบริษัทต้องห้ามจริง เท่ากับว่าส.ส.และส.ว.ย่อมขาดคุณสมบัติในการดำรงตำแหน่ง

อย่างไรก็ตาม ในวันที่ 14 ม.ค.นี้ คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ โดยนายชัช ชลวร ประธานตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ได้นัดไต่สวนพยานทั้ง 10 ปากของฝ่ายผู้ถูกร้อง ในคดีที่ประธานวุฒิขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 91 กรณีสมาชิกภาพของนาย สุรเดช จิรัฐิติเจริญ ส.ว.ปราจีนบุรี ว่าสิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญมาตรา 119 (4)และมาตรา 115 (6) จากกรณีนายสุรเดช ได้ลาออกจากสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ไม่ถึง 5 ปีตามกฎหมายกำหนด ซึ่งการพิจารณาคุณสมบัติของนายสุรเดชนั้น หลังจากที่คณะตุลาการออกนั่งบัลลังก์สืบพยานในวันที่ 14 ม.ค. คาดว่าจะสามารถนัดวันพิจารณาได้เลย