WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Tuesday, January 5, 2010

กรุณาโหนกระแสเจ้านิยมสุดขั้วอย่างระมัดระวัง

ที่มา ประชาไท

ผู้เขียนกลับมาจากสหรัฐอเมริกาได้ไม่ถึงเดือนดีก็พบว่า เดี๋ยวนี้สื่อไทยจำนวนมิน้อยกำลังโหนกระแสเจ้านิยม (หรือที่คนอื่นอาจเรียกว่า นิยมเจ้า) กันอย่างสุดขั้ว


ตัวอย่างแรก

“เปิดโปงขบวนการล้มเจ้า” ... ชื่อบทความนี้เป็นเรื่องจากปกของนิตยสารข่าวฉบับหนึ่งซึ่งมีเนื้อหาบางส่วนในบทความดังต่อไปนี้ “ดังนั้น เพื่อเป็นการแสดงถึงความจงรักภักดี นิตยสาร ก. [ผู้อ้างขอปิดชื่อนิตยสารไว้ก่อน] จึงเห็นว่าถึงเวลาแล้วที่พสกนิกรทั้งหลายจะต้องเปิดหูเปิดตาค้นหาความจริงได้แล้วว่า “ขบวนการล้มเจ้าตัวจริง” คือใครกันแน่” (จากหน้า 5 ของนิตยสารฉบับนี้)

แล้วเราไปดูตอนท้ายของบทความนี้กันต่อ ซึ่งอยู่หน้า 7 “และขอเรียกร้องให้ประชาชนไทยทั้งในประเทศและต่างประเทศจะต้องร่วมกันประณามพวกเขาในฐานะ “ขบวนการล้มเจ้าตัวจริง” และให้หยุดการกระทำดังกล่าวเสีย เพื่อให้สถาบันพระมหากษัตริย์มีความผุดผ่องดังเดิมสืบไป”

ตัวอย่างที่สอง

พาดหัวบทความจากนิตยสาร ข. “เหลือเชื่อนักการเมือง ค. [ขออุบชื่อนักการเมืองไว้ก่อน] ร้องเพลงชาติคนเดียวไม่ได้”

ส่วนหนึ่งในบทความนี้เขียนว่า “ที่สังเกตเห็นได้ชัดคือ การอ้าปาก หุบปากร้องเพลงของ [นักการเมือง ค.] ไม่สอดคล้องกับเนื้อเพลงที่คนอื่นร้องร่วมกัน จึงอดสงสัยไม่ได้ หรือว่า [นักการเมือง ค.] ร้องเพลงชาติไทย คนเดียวไม่ได้ ร้องเพลงชาติไทยคนเดียวไม่จบ ... ระวังเมื่อไปราชการแถวชายแดนไม่ว่าจะเป็นฝั่งพม่า ฝั่งลาว หรือฝั่งกัมพูชา เจอเจ้าหน้าที่ตัวน้อยๆ จำหน้า [นักการเมือง ค.] ไม่ได้ แล้วสั่งให้ร้องเพลงชาติไทย เพื่อตรวจสอบว่าเป็นคนไทยหรือไม่? แล้วจะโดนขับไล่ให้พ้นแผ่นดินเขตแดนไทยไป เพราะร้องเพลงชาติไทยคนเดียวไม่ได้

“เพลงสรรเสริญพระบารมี ก็อดสงสัยต่อไปไม่ได้ว่า จะร้องได้หรือไม่ ...”

ผู้อ่านพอเดาได้ไหมว่า นิตยสารข่าวทั้งสองฉบับชื่ออะไรบ้าง หลายคนอาจฟันธงไปแล้วว่าต้องเป็นสื่อฝ่ายเสื้อเหลืองเจ้าเก่าอย่างเอเอสทีวีผู้จัดการ หรือไทยโพสต์ ... แต่ไม่ใช่ โอ้พระเจ้าจอร์จ นี่สื่อแดงหรือนี่

นิตยสาร ก. ได้แก่ Voice of Taksin ซึ่งมีสโลแกนว่า “อ่านคุณภาพใหม่ที่สื่อใหญ่ไม่กล้าตีพิมพ์” ฉบับที่ 11 ปักษ์หลัง ธันวาคม 2552 (หน้า 5-12) ส่วนนิตยสาร ข. ก็คือ Thai Red News ซึ่งมีข้อความพาดเหนือหัวนิตยสารว่า “คืนอำนาจให้ประชาชน เพื่อทดแทนคุณพ่อหลวงและแผ่นดิน ยุบสภา!” [1] ฉบับวันที่ 11-17 ธันวาคม 2552 (หน้า 24) นักการเมืองที่นิตยสารนี้กล่าวหาก็ได้แก่ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ที่ไปเติบโตใช้เวลาอยู่อังกฤษเสียหลายปี แล้วเราลองมาดูอีกสักตัวอย่างจากหนังสือพิมพ์ราย 3 วันของกลุ่มเสื้อแดงที่ชื่อ มหาประชาชน ฉบับความจริงวันนี้ ลองดูหน้า 16 และ 17 ของฉบับวันที่ 15-17 ธันวาคม 2552 ที่พาดหัวว่า “จุดเทียนชัยถวายพระพร วันรัฐธรรมนูญ” ซึ่งเราจะเห็นรูปคนเสื้อแดงจำนวนมากยืนถือเทียนกลางถนนราชดำเนิน นี่ถ้าเปลี่ยนสีเสื้อเป็นเหลือง แล้วหัวชื่อหนังสือพิมพ์เป็นเอเอสทีวีผู้จัดการรายวัน ก็อาจคิดว่าเป็นการรวมพลของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อ “ประชาธิปไตย” เป็นแน่แท้

ปรากฎการณ์นี้น่าจะเรียกได้ว่า เป็นปรากฎการณ์การเมืองยุคปลายรัชกาล ซึ่งคงมีการวิ่งเต้นมองหาแนวร่วมใหม่ๆ re-positioning ทางการเมืองเผื่ออาจเกิดบริบทางการเมืองใหม่ที่จะมาถึงในอนาคตอันไม่ไกลเกินไป

ใครจะมองเรื่องนี้ว่าอย่างไรก็ขอให้คิดเอาเอง แต่ผู้เขียนขอเตือนว่าโปรดระวังอันตรายในการโหนกระแสเจ้านิยม เพราะการปั่นกระแสคลั่งเจ้ามันไม่น่าเป็นประโยชน์กับประชาธิปไตยและสิทธิเสรีภาพในระยะยาว การพาดหัวและเสนอความเห็นทำนองนี้ (ไม่ว่าสื่อนั้นจะจริงใจหรือไม่ก็ตาม) สุดท้ายแล้วมันย่อมนำไปสู่การลิดรอนสิทธิในการคิดเห็นต่าง และคิดอย่างเท่าทันต่อสถาบันฯ ที่น่ากลัวคือ ณ วันนี้ ทุกคนดูเหมือนจะเล่นเกมนี้กันไปหมด เหมือนปั่นหุ้น หากเกิดการแบ่งเค้กอย่างลงตัวในอนาคต ปีกซ้ายของเสื้อแดงย่อมมีสิทธิถูกจัดการสูง และไม่ว่าคุณจะมีเสื้อสีอะไรหรือไม่ใส่เสื้อก็ตาม การเล่นเกมแบบนี้ถือเป็นความตกต่ำอีกระดับหนึ่งของประชาธิปไตยแบบไทยๆ

ป.ล. ผู้เขียนได้โทรไปคุยกับเสื้อแดงที่ชื่อ สมบัติ บุญงามอนงค์ และบ่นเรื่องกระแสแดงคลั่งเจ้าให้ฟัง นายสมบัติก็ตอบว่า “หนึ่ง พวกนี้ปอดแหก มันกลัวจะโดนเอาเก้าอี้ตี [2] มันก็เลยพยายามจะโหนกระแส สอง มันเป็นการโหนกระแสเอาไว้ทิ่มแทงฝ่ายตรงข้าม โดยส่วนตัวผมเห็นว่าไม่ควรมาใช้เป็นเครื่องมือ การพูดถึงสถาบัน พูดได้ แต่ไม่ควรถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือ”

หมายเหตุ

[1] โปรดสังเกตคำว่า เพื่อแทนคุณพ่อหลวง แล้วเทียบกับสโลแกนหนังสือพิมพ์ประชาทรรศน์ อดีตสื่อแดงที่กลายเป็นสื่อน้ำเงินอมชมพู ซึ่งเขียนว่า “สงบ สันติ สามัคคี ทำความดีถวายพ่อ” และพาดหัวหน้า 1 ฉบับวันที่ 4 มกราคม 2553 ว่า “เปิดแผนบัดซบ! ‘แดง’ ล้มสถาบัน” สรุปแล้ว ทั้งสามฝ่ายไม่ว่าจะเป็นแดง เหลือง หรือน้ำเงินอมชมพู ก็เป็นรอยัลลิสต์สุดขั้วไปเสียแล้ว?

[2] ว่าด้วยเรื่องเก้าอี้ กรุณาศึกษากรณีเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 จากงานเขียนของนักประวัติศาสตร์ เช่น สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล ชาญวิทย์ เกษตรศิริ ฯลฯ