ที่มา Thai E-News
โดย สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล
ที่มา กระดานสนทนาชุมชนฟ้าเดียวกัน
3 มกราคม 2552
ในฐานะนักประวัติศาสตร์ ผมอดสะดุดใจในองค์ประกอบบางอยาง ของ สคส.ปีนี้ ไม่ได้ คือ ในตอนล่างที่เขียนว่า "ก.ส.9 ปรุง 152527 ธ.ค.52" นั้น ไม่ตรงกับลักษณะที่เคยทรงประดิษฐ์ สคส.เองในปีที่ผ่านๆมา โดยเฉพาะเมื่อเปลี่ยนจาก สคส.ภาพทรงประดิษฐ์เองมาเป็น สคส.ภาพถ่าย
ก่อนอื่นขอให้ดู ภาพ สคส.จากปี 2530 ถึงปัจจุบันที่นี่
(ข้อมูลเกี่ยวกับ สคส. พระราชทาน ที่ว่า เพิ่งเริ่มต้นปี 2530 หรือ 2531 ที่พูดกันเป็นเอกฉันท์ทางเน็ตนั้น ผิด
ใครทีเคยอ่าน บทความ "เราสู้" ของผม น่าจะทราบดี "เราสู้"ส่งท้ายปีเก่า 2518 ส.ค.ส.2519 รับปีใหม่เป็น สคส.พระราชทานฉบับแรกนั่นแหละครับ)
*สคส.พระราชทาน ปีพ.ศ.2521
ปี 2548 ไม่ได้มี สคส.พระราชทาน ดูเหตุผลที แก้วสรร วัชโรทัย ให้ไว้ที่นี่
ปีถัดมา คือ 2549 ลักษณะ สคส. จึงเปลี่ยน จากเดิม ที่เคยเป็นภาพทรงประดิษฐ์เอง จากการ "ปรุ-ปรุง" ด้วยคอมพิวเตอร์ มาเป็น ภาพถ่าย
นี่คือปีสุดท้าย ทีเป็นภาพทรงประดิษฐ์เอง
นีคือปีแรกที่เปลี่ยนเป็นภาพถ่าย
ปีนี้ คำ "ก.ส.9 ปรุง 152527 ธ.ค.52" ถ้าดูจากภาพ (ข้างล่าง) ก็คงเดาไม่ยากว่า หมายถึง เวลา 15.25 ของวันที่ 27 ธค. 2552 (ตรงตามเวลาที่แสตมป์ไว้ในภาพถ่าย - เรื่องนี้น่าสนใจอีกเหมือนกันว่า ตามวันและเวลาดังกล่าว จะต้องทรงอยู่ที่ศิริราช แต่ผมนึกไม่ออกว่า ศิริราช มีสวนลักษณะนี้ ตรงไหน )
แต่ที่ผมบอกว่า ไม่ตรงกับลักษณะ สคส.ที่เคยทรงประดิษฐ์เอง โดยเฉพาะ เมื่อมีการเปลี่ยนเป็นภาพถ่ายในปี 2549 แล้ว คือ
ที่ผานมา ตัวเลขหลังคำวา "ก.ส.9 ปรุง" นั้น เข้าใจวา น่าจะหมายถึง วันที่ และ เวลา ที่ทรงประดิษฐ์ โดยจะทรงเรียง วันที่ ก่อน แล้วจึงตามด้วยเวลาเสมอ แล้วจึงต่อด้วยเดือนและปี (ไม่ใช่ เวลา วันที่ เดือนปี แบบปีนี้)
ผมขอยกตัวอย่าง บางปีมาดังนี้ (ขอให้ดูรูปประกอบจาก wiki ตาม link ข้างต้น ผมไม่อยากนำมาลง เพราะเท่านี้ ก็ต้องลงหลายภาพแล้ว จะเต็มพื้นที่เกินไป)
2537 - ก.ส. 9 ปรุง 311239 ธ.ค.2536 (หมายถึง วันที่ 31 เวลา 12.39 น. เดือนธันวาคม 2536)
2540 - ก.ส. 9 ปรุง 301929 ธ.ค.2539 (หมายถึง วันที่ 30 เวลา 19.29 น. เดือนธันวาคม 2539)
2545 - ก.ส. 9 ปรุง 311859 ธ.ค.2544 (หมายถึง วันที่ 31 เวลา 18.59 น. เดือนธันวาคม 2544)
ที่ผมบอกว่า นี่คือความต่าง ของปีนี้ กับในอดีต เมื่อยังทรงใช้ภาพประดิษฐ์ ด้วยคอมพิวเตอร์ อยู่
และเมื่อมาเปรียบเทียบกับ หลังปี 2549 เมื่อเปลี่ยนเป็น ภาพถ่ายแล้ว จะยิ่งเห็นความแตกต่าง ที่เพิ่มขึ้นมา คือ
ปีนี้ นอกจากการเรียงลำดับตัวเลข กลายเป็น เวลา-วันที่-เดือน-ปี (คือเรียงตาม"ปกติ" ที่คนทั่วไปเรียงกัน แต่ขอให้สังเกตว่า ในอดีต ไม่ได้ทรงเรียงแบบนี้ คือ เรียง วันที่ แล้วจึง เวลา แล้วจึง เดือนและปี)
ตัวเลขของปีนี้ ล้วนเอามาจาก ตัวเลขที่แสตมป์บนภาพถ่ายโดยตรง ดูให้ชัดๆอีกที
จะเห็นว่า "ก.ส.9 ปรุง 152527 ธ.ค.52" ตรงกับเวลาของภาพถ่ายทุกประการ
แต่ถ้าดูของปี 2549, 2550, 2551 และ 2552 คือ 4 ปีทีผ่านมา จะเห็นว่า นอกจากการเรียงตัวเลข จะทรงเรียงเหมือนกับที่ทรงเรียง ในอดีตสมัยเป็นภาพประดิษฐ์ คือ วันที่-เวลา-เดือน-ปี แล้ว ใน 4 ปีที่ผ่านมา เวลาที่ทรง "ปรุง" จะไม่ใช่เวลาในภาพถ่ายแต่อย่างใด ซึ่งก็เป็นธรรมดา เพราะภาพถ่าย ย่อมถ่ายก่อน ที่จะมาใส่ตัวหนังสือด้วยคอมพิวเตอร์ จะให้ตรงกันได้อย่างไร ระหวาง เวลาของภาพถ่าย กับเวลา ที่ทรง "ปรุง"
ดูตัวอย่างปี 2549 ข้างบน ซึ่งเป็นปีแรกของ สคส.ภาพถ่าย
เวลาภาพคือ 16.44 น. วันที่ 7 ธันวาคม 2548 แต่เวลา "ก.ส.9 ปรุง" คือ "272149 ธ.ค.2548" คือ วันที่ 27 เวลา 21.49 น. เดือนธันวาคม 2548 (และดังที่กล่าวไปแล้วว่า การเรียงตัวเลข มิได้ทรงเรียงตามแบบทั่วไป)
ปี 2550 เวลาภาพคือ 18.00 น. วันที่ 28 ธันวาคม 2549 แต่เวลา "ก.ส.9 ปรุง" คือ "292306 ธ.ค.2549" คือ วันที่ 29 เวลา 23.06 น. เดือนธันวาคม 2549
ปี 2551 เวลาภาพคือ 16.52 น. วันที่ 21 ธันวาคม 2550 แต่เวลา "ก.ส.9 ปรุง" คือ "232010 ธ.ค.2550" คือวันที่ 23 เวลา 20.10 น. เดือนธันวาคม 2550
ปี 2552 เวลาภาพคือ 17.11 น. วันที่ 12 ธันวาคม 2551 แต่เวลา "ก.ส.9 ปรุง" คือ "191231 ธ.ค.2551" คือวันที่ 19 เวลา 12.31 น. เดือนธันวาคม 2551
สรุปแล้ว ปีนี้ ลักษณะตัวเลขของ "ก.ส.9 ปรุง" ไม่เหมือนกับปีที่ผ่านมาเลย ทั้งในแง่ การเรียงลำดับ (จาก วันที่-เวลา-เดือน-ปี มาเป็น เวลา-วันที่-เดือน-ปี) และในแง่ วันเวลาที่ลง ที่ผ่านมาไม่เคยเป็นวันเวลาของภาพถ่าย แต่ต้องเป็นวันเวลาหลังจากภาพถ่าย แต่ปีนี้ เป็นวันเวลาเดียวกับภาพถ่าย (ซึ่งแสดงว่า ไมใช่เวลาประดิษฐ์จริง เพราะจะถ่ายภาพแล้วประดิษฐ์เสร็จพร้อมกันได้อย่างไร)
ทำไม จึงเกิดการแตกต่างเช่นนี้ ผมบอกไม่ได้ครับ แต่เห็นว่า น่าสนใจดี เลยเอามาเล่าสู่กันฟัง
ผมขออธิบายเพิ่มเติมอีกนิดว่า ทำไม การเปลี่ยนแปลงที่ผมเล่าข้างต้นจึงน่าสนใจ (สำหรับท่านทั้งหลายที่อาจจะไม่ได้จงรักภักดี ติดตามงานพระราชนิพนธ์โดยใกล้ชิดเหมือนผม)
คือ ภาษาไทยของในหลวง มีลักษณะที่เรียกว่า "เอกลักษณ์เฉพาะพระองค์" ที่เรียกตามภาษาสามัญว่า เป็น "เสน่ห์" อย่างหนึ่ง
เช่นกรณีตัวเลขที่ผมพูดข้างบน ผมเชื่อวา คนทั่วไป หรือแม้แต่พวกข้าราชการที่เอา สคส.มาเผยแพร่ ไม่ทราบว่า ตัวเลขหลัง "ก.ส.9ปรุง" นั้น หมายถึงอะไร (ผมไม่เคยได้ยินการอธิบายเรืองตัวเลขนี้ ผมอาจจะพลาดไปก็ได้)
เช่น หนึ่งในตัวอย่าง ข้างต้น ปี 2537 "ก.ส. 9 ปรุง 311239 ธ.ค.2536" มีสักกี่คนที่จะเฉลียวใจทันทีว่า 311239 หมายถึง วันที่ 31 เวลา 12.39 น. แล้วจึงค่อยตามด้วย เดือนและปี ถ้าบางคนดูแล้ว อาจจะคิดโดยอัตโนมัติว่า 12 ตรงกลาง หมายถึง เดือน 12 คือ ธันวาคม ก็ได้ แต่ถ้าเช่นนั้น ก็จะอธิบาย 39 ไม่ได้ เพราะปีเพิ่งเป็นปี 36 เท่านั้น - นี่คือลักษณะ mysterious บางอย่าง ที่เป็น "เสน่ห์" ของ "ภาษาไทย" ของพระองค์
(ผมคิดว่า ผมมีทฤษฎีที่จะอธิบายความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะพระองค์ของภาษาไทยของในหลวงนี้อยู่ แต่ขอไม่อธิบายในที่นี้)
ทีนี้ ถ้าดูจาก สคส.ปีนี้ "ก.ส.9 ปรุง 152527 ธ.ค.52" แล้วดูที่ภาพถ่าย เห็นเวลาที่แสตมป์ในภาพ ตรงกันทุกประการ ด้านที่มีลักษณะ mysterious หรือ "เอกลักษณ์เฉพาะ" บางอย่างที่เคยเห็น ก็หายไป ....
ที่จริง ยังอภิปรายได้อีกครับเรื่องนี้ แต่ผมขอเท่านี้ก่อน