ที่มา ประชาไท เป็นการเคลื่อนไหวโดยอิสระของประชาชนที่เขาต่อสู้ ซึ่งอันนี้น่ากลัวยิ่งกว่าที่เคยเป็นมา รัฐบาลผลักดันให้พวกเขาไปอยู่ในสนามรบ ซึ่งจริงๆ พวกผมไม่ปรารถนาสถานการณ์เช่นนั้น เราก็อยากจะเคลื่อนไหวโดยสันติ เคลื่อนไหวโดยเปิดเผย และก็เคลื่อนไหวตามสิทธิเสรีภาพในระบอบประชาธิปไตย ฉะนั้นถ้าเป็นได้ต้องเตือนสติรัฐบาลว่าอย่าลุแก่อำนาจ และก็ทำให้สังคมมืดไร้ทางออก ที่สำคัญคืออย่าหลอกลวงประชาชน และประชาชนก็ต้องเท่าทันรัฐบาลที่จะไม่คล้อยตามสิ่งที่รัฐบาลกำลังสร้าง ตอนนี้ถือว่ารัฐบาลกำลังนั่งอยู่บนปล่องภูเขาไฟ ไม่รู้มันจะระเบิดเมื่อไหร่ และจะรุนแรงไหม มันจะต้องระเบิดขึ้นมาอีกแน่ การจัดงาน 24 มิถุนาเราก็หวังว่าจะเป็นช่องหนึ่งที่ทำให้บ้านเมืองเป็นประชาธิปไตย มีสิทธิเสรีภาพ แต่ถ้ารัฐบาลยังเห็นการเคลื่อนไหวแบบนี้ในทางที่เป็นปฏิปักษ์กับรัฐบาลและหวังจะใช้อำนาจต่างๆ มันก็ปิดประตูทุกปัญหา ผลักไสไล่ส่งให้ประชาชนอยู่เป็นฝ่ายตรงข้ามรัฐบาล ก็เท่ากับว่าทำตนเป็นเผด็จการทุกรูปแบบหลังออกแถลงการณ์ถามหาความรับผิดชอบการสลายการชุมนุมของรัฐบาล และประกาศจัดงาน 24 มิถุนา 78 ปีประชาธิปไตย แกนนำกลุ่ม 24 มิถุนา และ บ.ก.นิตยสาร Voice of Taksin, ไทยเรดนิวส์ ก็ถูกจับกุมตัวพร้อมๆ กับ อ.สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ โดยไม่มีความผิดทางอาญา ผ่านไป 2 สัปดาห์อาจารย์ยิ้มได้รับการปล่อยตัว กระทั่ง 13 มิ.ย. ศาลยกคำร้องขอควบคุมตัวต่อเป็นครั้งที่ 3 ของ ศอฉ. สมยศ พฤกษาเกษมสุข จึงได้รับอิสรภาพ และเขายังยืนยันว่าการรวมตัววันที่ 24 มิ.ย.นี้ จะเป็นการพิสูจน์ว่าประชาชนยังมีสิทธิเสรีภาพตามระบอบประชาธิปไตย ที่ยืนของเสรีภาพ "คือมันเป็นงานประเพณีอยู่แล้ว และเราก็ต้องจัดไม่ว่าจะมี พ.ร.ก.ฉุกเฉินหรือไม่มี" แต่ไม่ใช่ที่สนามหลวงแล้ว "โรงแรมรัตนโกสินทร์ ไม่อยากทำให้เป็นเรื่อง แต่ก็ไปจัดโรงแรมสัมมนาพูดคุยกัน ถ้าเขาห้ามอีกหรือมาจับอีกก็จะได้รู้ว่าอะไรเป็นอะไร งานนี้ก็คงเป็นกิจกรรมปกติ เป็นการรวมตัวและก็การประชุม การแสดงความคิดเห็นทางการเมืองตามปกติ คนเสื้อแดงเขาก็เข้มแข็งและก็เรียกว่าผ่านประสบการณ์การต่อสู้ด้วยตัวเองมา 3-4 ปีแล้ว คืออย่างไรไม่มีทางที่จะทำให้เขาเปลี่ยนใจไปอย่างอื่นได้ เพราะฉะนั้นคนพวกนี้ก็ยังอยู่เหมือนเดิม การเคลื่อนไหวก็อาจจะมากขึ้นด้วย และทั้งนี้ทั้งนั้นต้องโทษรัฐบาลที่ทำให้เขาไปเคลื่อนในทางใต้ดิน เพียงแต่ว่าทางเลือกของกลุ่ม 24 มิถุนา รัฐบาลน่าจะยอมรับให้เป็นการชุมนุมเคลื่อนไหวตามสิทธิเสรีภาพ และก็ยังสามารถเจรจาหรือพูดคุยกันได้" มีความเป็นไปได้ว่าจะถูกจับด้วยข้อหาชุมนุมทางการเมืองเกิน 5 คน "ก็จับตัวไปขัง ก็ได้แค่นั้น ไม่รู้จะทำอย่างไร เราอยากจะให้คนตรวจสอบแล้ว เป็นงานประเพณีทำมาทุกปี จะเรียกว่ากิจกรรมทางการเมืองก็แล้วแต่ ถ้าถูกจับก็เดินเข้าคุก ก็เข้าไป ก็สู้กันไป ถ้าสั่งจำคุกก็ไปอยู่ 2 ปี ก็ไม่น่าจะมีปัญหาอะไรในระยะ 2 ปี แต่ว่ารัฐบาลต้องเจอกับคำถามที่สังคมจะถาม และต่อไปก็ไม่ใช่แค่คนไทยเท่านั้น กรณีผมมันอาจจะมีลักษณะพิเศษ เพราะผมไม่มีประวัติก่อความรุนแรง อย่างน้อยก็มีผลงานให้กับกรรมกรมาบ้าง อันนี้ก็แล้วแต่รัฐบาลจะคิด เพราะคนเขาจะถามว่าเขามาจัดงาน 78 ปีประชาธิปไตย แล้วคุณไปจับกุมเขา และมันไม่ใช่มีกลุ่มเดียวที่จะจัดนะ เขาจัดกันทุกกลุ่ม เชียงใหม่ก็มี คุณจะทำยังไง แต่เราหวังว่านี่คือการต่อสู้อย่างสันติจริงๆ ถ้าเกิดคุณยังคุกคามอยู่นั่นคือคุณปิดประตูการต่อสู้อย่างสันติ คุณก็ต้องไปศึกษาบทเรียนจากถนอม-ประภาส" "ครั้งที่ผมแถลงข่าวหน้ามูลนิธิ 111 เจ้าหน้าที่เขาบอกว่าไม่อยากให้จัดงานวันที่ 24 มิ.ย.เลย แต่เราก็ยืนยันว่ามันไม่ใช่งานที่มีปัญหา เราก็อยากจะต่อสู้ เพราะว่า พ.ร.ก.ฉุกเฉินมันต้องใช้เฉพาะ จะมาใช้มั่วไม่ได้ ผมไม่ใช่คนที่ไปทำการยึดถนน ปิดสนามบิน เราก็จัดมาไม่เคยมีปัญหา ที่สนามหลวงเดินขบวนก็สั้นๆ และส่วนใหญ่ของเราไม่ปักหลัก ก็ไม่น่ามีปัญหาอะไร เพราะฉะนั้นถ้าคิดว่าสิ่งเหล่านี้มีปัญหาแล้วจะอธิบายกรณีหมอตุลย์อย่างไร หมอตุลย์จัด 3-4 ครั้ง คนมากกว่าเราอีก มากกว่ากลุ่ม 24 มิถุนาอีก และก็เป็นการชุมนุมทางการเมืองชัดเจนกว่าเราอีก อย่างของเราไปแถลงข่าวหน้าบ้านเลขที่ 111 ไป 3 คน (สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ, ยอดเยี่ยม ศรีมันตระ) ศอฉ.ตั้งข้อกล่าวหาว่าชุมนุมกันเกิน 5 คน นี่จะต้องอาศัยนักข่าวเป็นพยาน วันนั้นผมไป 3 คน มีนักข่าวอีกรวมกันแล้วก็เกือบ 30 คน เจ้าหน้าที่มูลนิธิอีกประมาณ 4-5 คน หมายจับผมในศาลก็คิดว่ากิจกรรมครั้งนั้นเป็นการชุมนุมทางการเมือง ผมยืนกัน 3 คน ให้สัมภาษณ์แล้วก็กลับบ้าน ก็ตั้งข้อกล่าวหาว่าชุมนุมทางการเมืองเกิน 5 คน พันธมิตรฯ แถลงข่าวมากกว่าผมอีก ไม่เห็นเป็นไร เพราะฉะนั้นนี่เป็นเรื่องที่เราต้องการให้พิสูจน์" น่าสังเกตว่ากรณี อ.ยิ้ม (ดร.สุธาชัย) จู่ๆ เจ้าหน้าที่ก็ปล่อยตัว แต่สำหรับสมยศศาลยกคำร้องของ ศอฉ.ที่ขอคุมตัวเขาต่อครั้งที่ 3 "จริงๆ ก็ไม่แปลกอะไรนะ เพราะว่า อ.สุธาชัยแกเป็นข้าราชการ อยู่จุฬาฯ ด้วย มีสถานภาพทางสังคม ส่วนผมเป็นสามัญชน เป็นไพร่ก็ต้องติดคุกนานหน่อย โดนลงโทษแตกต่าง ความผิดเดียวกัน แต่เลือกปฏิบัติได้ เพราะฐานะทางสังคมแตกต่าง อันนี้คือความเป็นจริง ก็ต้องขอบคุณ ศอฉ.ที่ทำให้ซาบซึ้งคำว่าไพร่ ถูกเลือกปฏิบัติอย่างไร ผมก็อยู่นานกว่าหน่อย ที่จริงเขาก็อยากจะให้ครบกำหนดและก็ขออนุญาต แต่ศาลเห็นว่าตำรวจไม่ค่อยทำการบ้าน เขียนคำร้องแบบเดิม ส่งมาอีกแล้ว 3 อาทิตย์ 3 รอบคำร้อง ก็เลยเห็นว่าไม่มีเหตุที่จะต้องคุมตัวต่อ ก็เป็นอำนาจของศาลที่จะให้ปล่อย" สมยศ เริ่มเคลื่อนไหวต่อต้านรัฐประหาร 19 ก.ย. กับกลุ่มคนวันเสาร์ไม่เอาเผด็จการ กระทั่งมาเป็นแกนนำกลุ่ม 24 มิถุนาประชาธิปไตย แต่ไม่ได้เข้าร่วมกับการชุมนุมของกลุ่มเสื้อแดงหนนี้ "ไม่ได้ยุ่งเลยนะ จริงๆ ไม่เข้าร่วมมานานแล้ว ไม่เคยขึ้นเวทีกับกลุ่มสามเกลอตั้งแต่เขาจัดครั้งแรกที่ธันเดอร์โดม ครั้งที่สองที่ราชมังคลาฯ ครั้งที่สามสนามศุภชลาศัย ไม่เคยเข้าร่วม ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา จนกระทั่งมาถึงจุดที่ขัดแย้งแบบแยกกันชัดๆ คือกรณีถวายฎีกา ซึ่งขณะนั้นเราเห็นว่าการถวายฎีกาควรจะครอบคลุมคนทุกคนที่ได้รับผลกระทบจากการรัฐประหาร รวมไปถึงดารณี ชาญเชิงศิลปกุล (ดา ตอร์ปิโด) ซึ่งก็ควรได้รับการนิรโทษกรรมหรือว่าถวายฎีกา ทุกคนที่ได้รับผลกระทบมีเยอะแยะไปหมดที่ติดคุกติดตะรางด้วยคดีต่างๆ อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากการรัฐประหาร 19 ก.ย. นี่คือจุดที่เห็นแตกต่างกันและหลังจากนี้ก็ไม่ได้มีความสัมพันธ์อะไร เราก็ดำเนินการในกลุ่ม 24 มิถุนา แยกออกมา" จุดยืนที่กลุ่ม 24 มิถุนา ต่างจาก นปช.แดงทั้งแผ่นดิน และแดงสยาม คือการเคลื่อนไหวในประเด็นสิทธิเสรีภาพตามระบอบประชาธิปไตย "มันมีความต่างทั้งในแง่การรวมตัวและความต่างในแง่เป้าหมาย และกลุ่มบุคคลก็แตกต่าง พื้นฐานที่แตกต่างกันมากที่สุดคือว่าถ้าเป็น นปช.มากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ เป็นผู้ที่ประสงค์จะลงสมัครรับเลือกตั้ง นั่นหมายความว่าเขามีเป้าหมายไปสู่อำนาจรัฐ หรือเข้าไปสู่สภาผู้แทนราษฎร แต่ว่ากลุ่ม 24 มิถุนา เป็นลักษณะการรวมตัวของประชาชน มีเป้าหมายทางการเมืองที่ชัดเจนในแง่ที่ไปสานต่อภารกิจของคณะราษฎร คือนโยบาย 6 ประการ ซึ่งเราเห็นว่าการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 24 มิถุนา และก็หลัก 6 ประการยังไม่บรรลุเป้าหมาย ประชาธิปไตยที่ฝ่ายคณะราษฎรปรารถนาหรืออำนาจสูงสุดเป็นของราษฎรทั้งหลายยังไม่บรรลุเป้าหมาย เพราะภารกิจนี้ยังไม่แล้วเสร็จ เราก็มารวมตัวกันเป็นกลุ่ม 24 มิถุนา เพราะฉะนั้นแนวหลักๆ ของเราจะเป็นลักษณะผลักดันนโยบายมากกว่ามุ่งเข้าสู่อำนาจรัฐ เพราะฉะนั้นคนของเราก็จะเป็นประชาชนคนธรรมดา มากกว่ามุ่งเข้าสู่อำนาจรัฐ เป็นนักธุรกิจบ้าง เป็นคนขับแท็กซี่ เป็นกรรมกรโรงงาน ชาวบ้าน และก็ไม่มีเส้นสายหรือเชื่อมโยงกับพรรคการเมือง เป็นความสัมพันธ์ที่ชัดเจนในแง่ที่ว่าเราไม่ใช่มีเป้าหมายทางการเมืองและก็ไม่ใช่สมาชิกพรรคการเมือง" "การชุมนุมวันที่ 12 มี.ค. นปช.เขามีเป้าหมายเรื่องยุบสภา และก็การเลือกตั้ง เพราะเขามองว่ารัฐบาลได้อำนาจมาโดยไม่ถูกต้อง มาโดยวิถีทางที่เรียกว่ามาทางลัด จัดตั้งในค่ายทหาร และก็ใช้ยุทธวิธีงูเห่า ดึงกลุ่มเนวินเข้ามาจัดตั้งด้วย ตรงนี้เขาก็มองว่าไม่ชอบธรรม อันที่สองเขาว่ามีปัญหาเรื่องสองมาตรฐาน ก็เลยต่อสู้เรียกร้องให้ยุบสภาเพื่อเลือกตั้ง ในขณะที่ทางพวกผมไม่เห็นด้วยตั้งแต่ครั้งแรกกับคำว่ายุบสภา ตอนที่อภิสิทธิ์เข้ามาใหม่ๆ เพราะจริงๆ คำว่ายุบสภามันไม่ใช่เพิ่งเกิดเมื่อ 12 มี.ค. มันเกิดมาเป็นปีแล้ว ทันทีที่ประชาธิปัตย์มาเป็นรัฐบาลทางนี้ก็มีข้อเรียกร้องให้ยุบสภา เรียกร้องให้ลาออก ตอนนั้นเราก็ยังรู้สึกไม่ตื่นเต้นกับข้อเรียกร้องนี้ แต่ก็ไม่ได้คิดว่าเป็นข้อรังเกียจกับข้อเรียกร้องพวกนี้ เราก็ไปเข้าร่วมได้ อย่างที่ผ่านฟ้าฯ ราชประสงค์ ครั้งที่ผ่านมาผมก็ไปดูเหตุการณ์ ไปทำข่าวบ้าง ไปพบปะคนที่รู้จัก" แต่ไม่เคยขึ้นเวที "ไม่เคยขึ้นเวที ไม่ได้ชุมนุม ไม่ได้ค้างคืน ไปชั่วโมงสองชั่วโมงก็กลับ ไปดูว่ามีอะไรเกิดขึ้นบ้าง" สาเหตุหลักที่ถูกค้นบ้านจึงน่าจะมาจากการแถลงข่าววันที่ 21 พ.ค. "ก่อนหน้านั้นก็มีอยู่บ้างในแง่ของหนังสือ Voice of Taksin ซึ่งกล่าวหาว่ามีลักษณะหมิ่นเหม่ต่อสถาบัน ก็มีการดูแลตรงนี้อยู่บ้าง และที่เป็นปัญหาอีกอันคือ การทำข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเหตุการณ์วันที่ 10 เม.ย. อันนี้เราทำออกมาชุดหนึ่ง เป็นการเผยแพร่ภาพ ซึ่งเขาบอกว่าภาพพวกนี้ก่อให้เกิดความกระด้างกระเดื่องต่อรัฐบาล ตรงนั้นเราก็ยืนยันว่าเป็นภาพปกติ เป็นการทำงานตามวิชาชีพสื่อมวลชนธรรมดาที่มีภาพและก็มาเผยแพร่ ก็มีการยึดภาพนั้นจากที่นี่ จับไปหนหนึ่ง แต่ว่าก็ไม่มีประเด็นที่จะจับกุมคุมขัง และภาพบางภาพก็เผยแพร่กันทั่วไป" เป็นหนึ่งในขบวนการปลุกกระแสเรื่องล้มเจ้า เช่นเดียวกับชื่อของ อ.สุธาชัย ที่ปรากฏอยู่ใน mind map ศอฉ. "ใช่ แต่ก็ไม่เป็นผล เพราะว่าข้อมูลที่ตำรวจจะนำมาใช้เป็นข้อมูลของ ASTV ซึ่งเป็นการตีความของ ASTV ไปตีความกันเอง ก็ไปเชื่อมโยงว่าแกไปประกันตัวดา ตอร์ปิโด แค่นี้ก็บอกว่ามีความเชื่อมโยงกัน หรือนิตยสารที่นี่จักรภพ เพ็ญแข เขียนอยู่เรื่อย อย่างนี้ก็บอกว่าเชื่อมโยงกันแล้วว่ามีความสัมพันธ์กับการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ในทางกฎหมายก็ไม่เพียงพอที่จะเอาผิด แต่ว่าเขาเชื่อมโยงกันง่ายๆ หยาบๆ" ด้านหนึ่งก็ต้องยอมรับว่าปกของนิตยสาร Voice of Taksin หมิ่นเหม่ให้อีกฝ่ายตีความได้ "มันต้องดูให้ครบ ไม่ใช่ดูแค่หน้าปก หรือดูรูปแล้วตีความ มันต้องไปดูเนื้อความที่เรานำเสนอด้วย ที่เรานำเสนอนี่เรานำเสนอในลักษณะที่ว่า คือเราไม่ต้องการให้เกิดการให้ร้ายป้ายสีหรือนำสถาบันมาใช้ทำลายคนอื่น เพราะเราจะเห็นได้ว่าปัญหาที่เกิดขึ้นมากที่สุดคือตอนพันธมิตรฯ ปิดสนามบิน ปิดถนนราชดำเนิน ยึดทำเนียบรัฐบาล ยึด NBT ก็คือว่าได้ใช้ข้ออ้างเรื่องสถาบัน เพราะฉะนั้นเราก็เห็นว่าการกระทำเช่นนั้นไม่เหมาะสม ดังนั้นเราก็ไม่เห็นด้วยที่จะปกป้องตนเองด้วยการอ้างสถาบัน และไปทำลายคนอื่น เรื่องนี้เราก็เลยนำเสนอสถานการณ์บ้านเมืองด้วยความห่วงใยว่าในที่สุดแล้วจะเกิดอะไรขึ้น-บางรายการของ NBT ก็เลยเอาปกไปตีความเป็นประเด็น ซึ่งเรื่องนี้ถ้าดำเนินคดีฝรั่งคงจะหัวเราะ คือมันไม่รู้จะสื่ออะไร ไพ่สำรับหนึ่ง 52 ใบ possibility ก็มีเยอะแยะ เราก็ชี้แจงไปแล้วว่าอาจจะหมายถึงประยุทธ์ จันทร์โอชา ก็ได้ไพ่ใบนั้น และเราก็ไม่ได้บอกว่านี่เป็นไพ่ นี่คือไพร่ ฉะนั้นนี่ก็เป็นเรื่อง แล้วแต่คนตีความ" ต้องถือว่ากรณี อ.สุธาชัย และสมยศ เป็นความผิดพลาดในการใช้อำนาจของรัฐบาล เพราะแบ็กกราวด์ของทั้งสองคือนักวิชาการและนักเคลื่อนไหวด้านแรงงาน จึงไม่แปลกที่จะมีกระแสกดดันจากเอ็นจีโอและนักสิทธิมนุษยชนทั่วโลกให้ปล่อยตัว "เราก็งงนะที่ออกหมายจับ และของอาจารย์ยิ้มนี่ก็คือว่าแกยังไม่รู้เลยว่าโดนจับ รู้แต่ว่าให้ไปรายงานตัว แกก็นัดตำรวจรับไปรายงานตัว รายงานตัวเสร็จ อ้าว ถูกจับด้วย ถูกจับเพื่อไปควบคุมตัวในฐานะผู้ต้องสงสัย ทีนี้เรามาดูข้อกฎหมายมันก็น่าเศร้า คือ พ.ร.ก.ฉุกเฉินมันต้องเป็นสถานการณ์เฉพาะ สองมันต้องภาวะคับขัน สามสงคราม สี่ก่อการร้าย ซึ่งเราไม่เข้าเลย การแถลงข่าว 3 คนก็ไม่สามารถนำมาสู่ความวุ่นวายทางการเมือง สองภาวะสงครามไม่ต้องพูดถึง และที่เราประกาศจะทำนั่นทำนี่ เช่น ไปชุมนุมที่ราชบุรีก็เป็นนอกเขต พ.ร.ก. การจัดงานวันที่ 24 มิ.ย. ก็จัดกันทุกปี เพราะฉะนั้นเราก็เลยเห็นว่าไม่สามารถนำมาใช้กับเราได้ แต่รัฐบาลก็เอามาใช้ และตัวร่างของ พ.ร.ก.ฉุกเฉินมันเป็นกฎหมายที่ถูกใช้ในสถานการณ์ความรุนแรงของ 3 จังหวัดภาคใต้ ซึ่งอันนั้นชัดเจนมีการสู้รบกัน แต่การชุมนุมแยกราชประสงค์เป็นปัญหาที่ต้องตั้งคำถามว่ามีความชอบธรรมในการใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินหรือไม่ ลักษณะการสลายการชุมนุมก็ผิด หนึ่งผิดตั้งแต่เอาตัวกฎหมายมาใช้ สองผิดเพราะใช้กำลังทหาร กำลังทหารที่นำมาใช้ก็ผิดอีก คือใช้สไนเปอร์ เขาเรียกพลซุ่มยิง บวกกับหน่วยจู่โจมซึ่งคนเหล่านี้ถูกฝึกมาอีกแบบหนึ่ง หน่วยจู่โจมก็ฝึกมาอีกแบบหนึ่ง การยิงฝ่ายตรงข้ามด้วยอาวุธสงคราม เช่น เอ็ม 16 ปืนทราโว จะต้องวางแผนยุทธการ ต้องมีรถหุ้มเกราะบุกเข้าไปทลายสิ่งกีดขวาง รถหุ้มเกราะก็ติดปืนกล เพราะฉะนั้น หนึ่งตัวกฎหมายก็ผิด กำลังทหารก็ผิด วิธีการสลายก็ผิด ยกตัวอย่างสไนเปอร์หลักของมันต้องใช้เพื่อยิงสไนเปอร์ฝ่ายศัตรู สองคุณเห็นแล้วว่าฝ่ายตรงข้ามกำลังถือปืน เป็นหัวหน้าหน่วย คุณถึงจะยิงฝ่ายตรงข้าม ในสถานการณ์สู้รบที่เป็นสงคราม สไนเปอร์ถูกฝึกมาแบบนั้น หน่วยจู่โจมก็คือว่าประชิดศัตรูเลย จะเข้ามายึดพื้นที่ทำลายศัตรู ซึ่งก็ต้องชัดเจนว่าศัตรูอยู่ตรงหน้า คืออริราชศัตรู กำลังมาละเมิดอธิปไตยในดินแดน อย่างนี้ถึงจะใช้ แต่คนที่มาชุมนุมคุณไปพลิกศพดูก็ได้ว่าไม่ใช่ผู้ก่อการร้าย จำนวนมากเป็นคนที่อายุอย่างพวกเรา มีอายุ 50, 60 ซึ่งไม่มีศักยภาพก่อความรุนแรง อย่างอายุพวกนี้ถ้าจับปืนก็ต้องใส่แว่นตาเล็ง เพราะฉะนั้นมันไม่สามารถทำได้" พูดอย่างนี้อีกฝ่ายหนึ่งก็เถียงว่าเสื้อแดงเองก็ติดอาวุธ "คือเท่าที่เห็นเป็นภาพเดียว คือวันที่ 10 เม.ย. ภาพนั้นเป็นภาพที่เอามาหมุนเวียนในสถานนีโทรทัศน์ เท่าที่นับดูมี 4 คน ในภาพเหตุการณ์นั้น ซึ่งขณะนี้ก็ยังจับกุม 4 คนนั้นไม่ได้ ผู้ก่อการร้ายก็เป็นคำที่ถูกสร้างขึ้น เป็นนิยายที่ถูกสร้างขึ้น เหมือนเหตุการณ์ 6 ตุลา นักศึกษากลายเป็นผู้ก่อการร้าย เอาปืนไปไว้ในธรรมศาสตร์ มีการถ่ายรูปออกมาโชว์สื่อมวลชน ก็เห็นได้ชัด เหตุการณ์ก็ซ้ำรอย และในที่สุดนักศึกษา 3,000 คน ก็กลายเป็นผู้ก่อการร้ายตามที่รัฐบาลสร้างภาพ ต้องไปสู้รบในชนบทจนกระทั่ง พล.อ.เกรียงศักดิ์เห็นว่าไปไม่ไหวก็นิรโทษกรรม ขณะนั้นถือว่ารัฐบาลของคณะรัฐประหารเติมกำลังให้ฝ่ายคอมมิวนิสต์ ตอนนี้โชคดีที่ในชนบทไม่มีแล้ว พวกเขาก็ไม่รู้จะหนีไปไหน แต่ว่ามันทำให้คนคิดว่าเขาเป็นผู้ก่อการร้าย ซึ่งถือว่ารัฐบาลเป็นคนสร้างขึ้นมา" สถานการณ์บนปล่องภูเขาไฟ เวลานี้ยังมีคนเสื้อแดงที่ถูกควบคุมตัวและถูกดำเนินคดีตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉิน โดยไม่มีข้อหาความผิดทางอาญาอีกจำนวนมาก จนรัฐบาลมีแนวคิดที่จะนิรโทษกรรมบางส่วนที่เข้าร่วมชุมนุมแต่ไม่ได้ทำความผิดร้ายแรงเข้าข่ายก่อการร้าย "เอาเข้าจริงๆ ผมว่างานนี้จะเป็นปัญหามาก คำว่าผู้ก่อการร้ายมันก็น่าจะมี แต่ว่าใครล่ะ มันต้องจำแนก ทีนี้มันจะไปเชื่อมโยงกับคนจำนวนมากอย่างไร จะไปเชื่อมโยงกับแกนนำก็ไม่ถึงเพราะฉะนั้น DSI ปวดหัว จะหาหลักฐานอะไรมาบอกเขา นอกจากความผิดตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉิน แล้วมันจะจับเขายังไง จับไป 400 แล้วคนอีก 5,000 ทำยังไง ก็เป็นปัญหาในทางปฏิบัติ แล้วครั้นจะไปเชื่อมโยงกับแกนนำทุกคนไหม ก็ไม่ได้ ก็เชื่อว่าไม่ถึง นี่คือปัญหาในทางปฏิบัติ" ในที่สุดข้อหาก่อการร้ายก็แค่การสร้างความหวาดกลัว "คุณต้องหาหลักฐานให้เจอว่าใครเป็นคนนำอาวุธเข้ามาไว้ในที่ชุมนุม ไอ้โม่งคือใครมันต้องไปตาม และเอาเข้าจริงๆ ไอ้โม่งเหล่านี้ก็คือใครก็ไม่รู้ ถึงแม้จับได้คุณก็ต้องเอาผิดเฉพาะคนกลุ่มนี้เท่านั้น นี่คือปัญหาใหญ่ อันที่สองเรื่องวางเพลิง คือมันเป็นลักษณะของจลาจลทั่วไป ซึ่งประเทศไทยก็เคยเกิดมาแล้ว 14 ตุลาก็มีการเผากรมประชาสัมพันธ์ กองสลาก พฤษภาก็เผา สน.นางเลิ้ง ทำลายสัญญาณจราจร ราชประสงค์ก็จบที่เผา เพราะอะไร ถ้าสมมติว่าคนเหล่านี้มีการเตรียมการก็หมายความว่า 14 ตุลามีการเตรียมการ 6 ตุลาก็เตรียมการ พฤษภาทมิฬก็เตรียมการ นี่เหตุการณ์ผ่านมา 30 กว่าปี แต่ตรงนี้หมายความว่าอย่างไร หมายความว่าถ้าเกิดสถานการณ์จลาจลรัฐบาลต้องรู้ทันทีว่าโอกาสจะเกิดเหตุการณ์ทำนองนี้มีขึ้นแน่นอน และก็แน่นอนถ้าคุณใช้กำลังทหารไปเข่นฆ่าอีกฝ่าย โอกาสที่จะก่อจลาจลด้วยการเผามีมากที่สุด เพราะฉะนั้นงานนี้ถือว่ารัฐบาลบกพร่องในการปกป้องทรัพย์สิน คุณจะต้องรู้ว่าอาจจะเกิดความโกรธแค้น ดังนั้นถ้ามองในแง่วิธีการสลายการชุมนุมคุณทำแบบกระชับวงล้อมไม่ได้ การกระชับวงล้อมเป็นการกระทำที่สามานย์ที่สุด โหดเหี้ยมอำมหิตที่สุด ไม่ใช่การสลายการชุมนุม ถ้าเกิดคุณตั้งใจจะสลายการชุมนุม คุณต้องเข้าทางประตูน้ำ เพื่อให้คนหนีลงไปข้างล่าง คุณอาจจะปิดแค่สี่แยกตรงพารากอน เพลินจิต และก็บีบเขาลงมา เพื่อให้คนมีโอกาสหนีออกไป หนีออกไปคลองเตย หนีออกไปหัวลำโพง สีลมอาจจะต้องปิดเพราะทรัพย์สินมันเยอะ ธุรกิจเยอะ และพอคุณบีบมาทางนั้นได้คุณค่อยมาปกป้องทรัพย์สิน ใครย่างกรายเข้ามาจะเผาคุณก็ยิงเขา นี่คือโหดที่สุดแล้วที่พอจะมองเห็น แต่รัฐบาลทำด้วยวิธีการกระชับวงล้อม พอคุณกระชับวงล้อมคือทุกคนรู้ว่าตัวเองตาย ต้องหนีความตาย ไปวัดปทุมฯ ซึ่งเป็นภาพที่ไม่ถูกต้อง และมีคนตายที่วัดปทุมฯ ยิ่งไปกันใหญ่ เขาวางแผนแบบทหาร กระชับวงล้อมตั้งแต่วันที่ 14 ใครเข้าไปยิงๆ คนตายจำนวนมากสะสมตั้งแต่วันที่ 14 และก็บีบวงล้อม จริงๆ มันก็คือการสลายการชุมนุม แต่อย่างว่าผิดตั้งแต่ตัวกฎหมาย ผิดตั้งแต่ยุทธวิธีทางการทหาร เราถึงสูญเสียมากทั้งชีวิตคนและก็ทรัพย์สิน" จึงยากที่รัฐบาลจะทำความจริงให้ปรากฏได้ ซึ่ง 'ความจริง' เป็นเงื่อนไขสำคัญที่จะนำไปสู่ความปรองดอง "เรื่องปรองดองถ้าเกิดคนมีสติฟังดีๆ จะรู้ว่าเป็นเรื่องเหลวไหล อภิสิทธิ์รับปากว่าจะมีการเลือกตั้ง 14 พ.ย.ทำไมไม่ทำ แสดงว่าขณะที่เสนอแผนปรองดองในขณะนั้นมีเป้าหมายเพื่อทำลายฝ่ายตรงข้ามมากกว่าการปรองดอง ไม่ได้มาจากสำนึก ถ้ามาจากสำนึกคุณก็ต้องทำแล้ว 14 พ.ย.ประกาศให้แล้วเสร็จ ซึ่งปรองดองมากที่สุด เพราะหมายถึงว่าประชาชนก็ตัดสินใจ อยากได้เพื่อไทยก็เอากลับมา อยากได้ประชาธิปัตย์ท่านก็ได้กลับมาอยู่แล้ว ทำไมไม่เลือกตั้ง นี่ก็เป็นประเด็นที่สะท้อนว่าไม่จริงใจ สองมันก็เหมือนกับคณะกรรมการสมานฉันท์ของคุณดิเรก ถึงฝั่ง สุดท้ายจบตรงไหน ได้เอกสารมาชิ้นหนึ่งมีใครได้อ่านไหม ไม่มีใครได้อ่าน ไม่มีรู้เรื่อง แต่มีข้อเสนอ 6 ประเด็นปรากฏเป็นข่าว คุณอภิสิทธิ์ก็ไม่ทำ ขณะนั้นคุณอภิสิทธิ์ใช้คำว่าสมานฉันท์ ไม่ต่างจากคำว่าปรองดอง สุดท้ายไม่มีอะไร ฉะนั้นสุดท้ายแผนปรองดองก็คงจะเหมือนกัน แล้วคุณก็จะเอาแผน 6 ข้อมาปัดฝุ่นกันใหม่อีกเหรอ ตลกไหม" ก็ไม่ต่างอะไรกับการตั้งคณะกรรมการแก้ไขรัฐธรรมนูญในขณะนี้ "แล้วยังไง คุณก็ไม่ต้องทำอะไร มาเถียงกัน เชิญนักวิชาการบ้าบอคอแตกมานั่งเถียงกันแล้วก็กินกาแฟ ได้ข้อเสนอแล้วรัฐบาลก็บอกว่าทำไม่ได้ หรือไม่ทำ สมัยหนึ่งเคยมีหมอประเวศเป็นประธานคณะกรรมการปฏิรูปการเมือง สมัยคุณชวน หลีกภัย ตั้งขึ้นมาขนาบ สุดท้ายคุณชวนก็ไม่ทำ ข้อเสนอของคณะกรรมการปฏิรูปการเมืองของหมอประเวศ แล้วมาทำเอาสมัยคุณบรรหาร ฉะนั้นโดยบุคลิกภาพ วิธีการทำงานแก้ปัญหาเฉพาะหน้าของประชาธิปัตย์ เขาทำอยู่สองอย่าง อย่างที่หนึ่งตั้งคณะกรรมการ เกิดปัญหาอะไรไม่รู้ตั้งไว้ก่อน คณะกรรมการก็จะตั้งอนุกรรมการตามมา นี่คือ step ของเขาเลย พอตั้งอนุกรรมการเสร็จก็จะตั้งคณะทำงาน ใช้เวลาก็ 2-3 เดือน แค่ตั้งอย่างเดียวนะ อันนี้คือสไตล์การทำงาน อันที่สองใช้วาทกรรม เหมือนขอคืนพื้นที่ กระชับวงล้อม ปรองดอง ซึ่งไม่มีสาระเลย ถ้าใครติดตามจะรู้จักคุณอภิสิทธิ์โดยลึกซึ้ง ผมเคยเขียนจดหมายถึงคุณอภิสิทธิ์ ตอนที่อยู่ค่ายทหาร ส่งไปให้ เพราะติดตามดูแล้วแกเป็นคนไม่อยู่กับร่องกับรอย พูดอย่างทำอย่าง จับได้หลายครั้ง เช่นเรื่องรัฐธรรมนูญ ตอนเป็นหัวหน้าฝ่ายค้านก็บอกว่ารับๆ ไปก่อนมาแก้ทีหลัง คนเขาก็รับไปก่อน ถึงเวลาเขาเป็นผู้นำรัฐบาลก็ไม่แก้ หรือบอกว่าวิกฤติชาติเกิดจากนักการเมือง เพราะนักการเมืองโสเภณี นักการเมืองให้เช่า นักการเมืองที่เร่ร่อน สุดท้ายคุณอภิสิทธิ์ก็ต้องยอมที่จะจับมือกับนักการเมืองเร่ร่อนแบบคุณเนวิน ส.ส.ให้เช่าก็ยังต้องเกรงใจ ต้องทำงานร่วมกับเขาทั้งที่คุณอภิสิทธิ์เคยบอกจะไม่ทำงานกับเขาเพราะตัวเองเป็นนักการเมืองอาชีพ คุณอภิสิทธิ์บอกว่าต้องเปลี่ยนแปลงอย่างสันติตอนที่พันธมิตรฯ สู้กับรัฐบาลสมชาย มีคนตาย 2 คนรัฐบาลต้องรับผิดชอบลาออก ยุบสภา พอวันนี้คนตาย 80 กว่าศพ คุณอภิสิทธิ์ลืมคำพูด ทีนี้ถ้าเป็นผู้ก่อ การร้ายมันก็ไม่ใช่อีก แสดงว่าผู้บริสุทธิ์ตาย ความรับผิดชอบต้องมีแน่นนอน" ที่ประหลาดคือคนชั้นกลางในกรุงเทพฯ ไม่รู้สึกว่ารัฐบาลต้องรับผิดชอบต่อการเสียชีวิตของคนเกือบร้อย "เพราะว่าสังคมยังเป็นอย่างนี้ ไม่น่าเชื่อ แล้วรัฐบาลก็ยังทำตัวเป็นนักเลงไล่จับคนนั้นตั้งข้อหาคนนี้ไปค้นบ้านนั้นไปค้นบ้านนี้ สังคมก็ยืนดูเฉยๆ สมน้ำหน้าพวกเสื้อแดง เราทำให้บทเรียนในอดีตลืมไป คนชั้นกลางเป็นคนไร้ราก และเป็นชนชั้นที่หาผลประโยชน์อยู่ตลอดเวลา ต้องการความสะดวกสบาย ต่อไปก็ขึ้นอยู่กับคนชั้นล่างที่จะเป็นความหวังมากที่สุด แต่ว่าประชาธิปไตยมันไปถึงข้างล่าง มันหยั่งรากลึกพอสมควร มันถึงมีเสื้อเหลืองเสื้อแดง มีการเรียกร้องมีการต่อสู้ทางการเมือง ช่วงนี้เป็นช่วงที่มันจะพัฒนาการต่อ" คนชั้นกลางเป็นฐานสนับสนุนรัฐบาล และก็เป็นข้ออ้างที่รัฐบาลยังคง พ.ร.ก.ฉุกเฉินต่อไปเพื่อไม่ให้บ้านเมืองวุ่นวาย "ก็คงเป็นภาวะชั่วคราว สถานการณ์จะคลี่คลาย ความเป็นจริงก็จะค่อยๆ ปรากฏ ไม่น่ามีปัญหา แต่ พ.ร.ก.ฉุกเฉินถ้าคงต่อไปนานแค่ไหนมันก็เป็นผลร้ายต่อรัฐบาลกับระบบเศรษฐกิจ คำว่าภาวะฉุกเฉินคือภาวะสงคราม ดังนั้นการท่องเที่ยวได้รับผลกระทบแน่ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจโรงแรม การประชุมสัมมนา สองรัฐบาลจะพูดได้อย่างไรว่าบ้านเมืองนี้สงบ การยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉินคือการทำให้การสมานฉันท์เกิดขึ้น การผ่อนคลายเกิดขึ้น แต่ไม่ใช่คุณไปนั่งบีบอีกฝ่ายขณะที่คุณบอกว่าปรองดอง คือคุณเอาตีนถีบหัวคนอยู่แล้วคุณพูดสมานฉันท์" การปรองดองควรจะเกิดในภาวะที่เป็นจริงของประเทศ ไม่ใช่เอากฎหมายมากดอีกฝ่ายไว้ "มันเป็นการปรองดองฝ่ายเดียว สร้างเพื่อกลบกระแส คู่ขัดแย้งของคุณไปกดเอาไว้แล้วคุณปรองดองกับใครล่ะ ในเมื่อคู่ขัดแย้งที่คุณควรปรองดองคือคนเสื้อแดง แต่คุณพยายามจะไล่ล่าฆ่าเขาให้ตาย มันเป็นน้ำยาบ้วนปากของอภิสิทธิ์เท่านั้นเอง และบ้วนออกกี่ครั้งก็แล้วแต่ยังลบกลิ่นคาวเลือดไม่ได้ ยังคละคลุ้งไปทั่วแผ่นดินไทย เพราะคนตายจำนวนไม่ใช่น้อย แค่ยิงเสธ.แดงก็น่าเกลียดแค่ไหน การสลายการชุมนุมกับการสไนเปอร์ยิงหัวฝ่ายตรงข้าม เพราะอะไร เพราะว่าคนพวกนี้เขาไม่รู้ตัวว่าจะตายด้วยสไนเปอร์ เขาไม่ได้สู้กับคุณ คุณไม่นักเลงจริงไม่ใช่สุภาพบุรุษจริง การซุ่มยิงมันไม่ใช่สุภาพบุรุษแล้ว แม้กระทั่งในทางการสงครามเขาก็เยาะเย้ยคุณ คุณไม่ใช่นักรบ คุณรบกับใครคุณซุ่มยิงเขา" ถือได้ว่าหนนี้เสื้อแดงเพลี่ยงพล้ำมาก ทำลายตัวเองจนถูกปฏิเสธจากกระสังคมวงกว้าง "ก็คงเป็นบทเรียนที่สำคัญ เพราะว่ามันไปผูกพันกับการต่อสู้เพื่อแย่งชิงอำนาจรัฐ ก็ถือว่าเป็นบทเรียนครั้งใหญ่ที่ประชาชนคนเสื้อแดงจะได้สรุปบทเรียน น่าจะเป็นก้าวสำคัญที่ดี แต่ตอนนี้ถือว่ารัฐบาลกำลังนั่งอยู่บนปล่องภูเขาไฟ ไม่รู้มันจะระเบิดเมื่อไหร่ และจะรุนแรงไหม มันจะต้องระเบิดขึ้นมาอีกแน่ คราวนี้ที่เราจัดเราก็หวังว่าจะเป็นช่องหนึ่งที่ทำให้บ้านเมืองเป็นประชาธิปไตย มีสิทธิเสรีภาพ แต่ถ้ารัฐบาลยังเห็นการเคลื่อนไหวแบบนี้ในทางที่เป็นปฏิปักษ์กับรัฐบาลและหวังจะใช้อำนาจต่างๆ มันก็ปิดประตูทุกปัญหา ผลักไสไล่ส่งให้ประชาชนอยู่เป็นฝ่ายตรงข้ามรัฐบาล ก็เท่ากับว่าทำตนเป็นเผด็จการทุกรูปแบบ เราถึงยืนยันว่าจะต้องจัดกิจกรรมนี้ต่อ" "เวลานี้คนเสื้อแดงก็จะเป็นการเคลื่อนไหวโดยอิสระของประชาชนที่เขาต่อสู้ ซึ่งอันนี้น่ากลัวยิ่งกว่าที่เคยเป็นมา รัฐบาลผลักดันให้พวกเขาไปอยู่ในสนามรบ ซึ่งจริงๆ พวกผมไม่ปรารถนาสถานการณ์เช่นนั้น เราก็อยากจะเคลื่อนไหวโดยสันติ เคลื่อนไหวโดยเปิดเผย และก็เคลื่อนไหวตามสิทธิเสรีภาพตามระบอบประชาธิปไตย ฉะนั้นถ้าเป็นได้ต้องเตือนสติรัฐบาลว่าอย่าลุแก่อำนาจ และก็ทำให้สังคมมืด ไร้ทางออก ที่สำคัญคืออย่าหลอกลวงประชาชน และประชาชนก็ต้องเท่าทันรัฐบาลที่จะไม่คล้อยตามสิ่งที่รัฐบาลกำลังสร้าง" ความเข้มแข็งเทกลับมาที่กลุ่มอำมาตย์ ฝ่ายจารีตนิยม "ก็เข้มแข็งขึ้นในลักษณะที่ยังยิ้มได้บนปล่องภูเขาไฟ รอวันระอุและระเบิด ซึ่งวันนั้นคุณอภิสิทธิ์อาจจะพ้นจากตำแหน่งไปแล้ว แต่ว่าบ้านเมืองจะพลิกฟ้าคว่ำแผ่นดินขนาดไหน นี่เรากำลังทำหน้าที่เตือนรัฐบาล แต่รัฐบาลไม่ฟังเสียงตือน คือเหมือนกับว่าเวลานี้รัฐบาลพอมาดูกระจกยี่ห้อ Voice of Taksin แล้วเห็นหน้าตัวเองรู้สึกว่ามีรอยเปื้อนเลือด หน้าหม่นหมอง คุณอภิสิทธิ์ก็เลยทุบกระจกบานนี้ทิ้ง ในเมื่อเลือกที่จะหลีกหนีความจริง คุณอภิสิทธิ์ก็ต้องหนีความจริงไปตลอด ต้องหนีประชาชนคนอีสานที่ลูกหลานเขาเสียชีวิตหรือพ่อแม่เขาเสียชีวิต หลีกหนีความจริงจากภาคเหนือเพราะไปไม่ได้ ไม่รู้ว่าอะไรจะเกิดขึ้นในเมื่อประชาชนเขาคับแค้นใจ ฉะนั้นถ้าคุณอภิสิทธิ์ตั้งสติ อนาคตยังอีกไกล ถอยออกมา พ้นจากตำแหน่ง คุณอภิสิทธิ์ได้กลับมาอีกก็จะมั่นใจขึ้น สถานะดีขึ้น แต่ ณ วันนี้หลงเข้าไปในกับดักของฝ่ายอำมาตย์ คุณอภิสิทธิ์ควรเรียนรู้จากผู้นำทางการเมือง สุดท้ายคุณอภิสิทธิ์ต้องรู้ตัวว่าวันนี้มันเป็นแค่ภาวะชั่วคราวของอำนาจ หลายคนจบจากอำนาจอย่างน่าเจ็บปวดขมขื่นใจ พล.อ.อาทิตย์ กำลังเอก พล.อ.เกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ อีกหลายๆ คน พล.อ.ชาติชาย กระทั่งทักษิณ ชินวัตร จอมพล ป.พิบูลสงคราม ก็ตกอยู่ในสภาพนี้ ระบอบอำมาตย์ใช้แล้วก็เขี่ยทิ้ง คุณสนธิ ลิ้มทองกุล ก็น่าจะรู้ดี ไม่อย่างนั้นคงไม่โดนยิง หลายคนเริ่มรู้แล้ว" "ถ้าปิดอีก ก็ต้องสู้กัน" "ประกาศมา 3 ครั้งก็มีชื่อผม เขาตั้งใจอย่างมากที่จะ freeze ให้ได้ 3 ครั้ง ก็ freeze ไปก็ไม่มีปัญหา เราก็จะผลิตต่อ เป็น Red Power จะออกวันที่ 1 ก.ค.นี้ เปลี่ยนหัวหนังสือ" ถ้าโดนปิดอีกล่ะ นั่นเพราะชื่อของนิตยสารที่ทำให้ถูกโยงว่าเป็นสื่อของทักษิณ "มันเป็นแค่เครื่องหมายการค้า และถ้าคุณอ่านด้วยความระมัดระวัง Tak ไม่ใช่ทักษิณ แต่เป็นตากสิน รวมทั้งคำว่าทักษิณก็อาจจะหมายถึงภาคใต้ด้วย แต่ถึงอย่างไรก็ตามเราต้องทำเพราะว่าคนอ่านของเราเป็นคนที่เขานิยมทักษิณ เป็นกลุ่มเป้าหมายของหนังสือ เป็นฐานคนอื่นที่ปริมาณมากและก็พูดได้ว่าธุรกิจมันฟื้นขึ้นโดยไม่จำเป็นต้องใช้เงินของทักษิณ เพราะว่าคนที่รักศรัทธาทักษิณเป็นผู้สนับสนุนเรา บัญชีที่หมุนเวียนอยู่แค่ 3 แสน เราผลิตก็ใช้เงิน 2 แสน กำไรก็ 4-5 หมื่นต่อเดือน หมุนกันไปใช้หนี้บ้างอะไรบ้าง มันก็เป็นธุรกิจปกติ" แม้สมยศจะเป็นนักต่อสู้เคลื่อนไหวด้านแรงงานมานาน แต่การถูกคุมตัวในค่ายอดิศรถือเป็นการถูกจำกัดอิสรภาพเป็นครั้งแรก "เป็นสนามขี่ม้า ก็จะมีรั้วสีขาว สำหรับเวลาคนไปหัดขี่ม้าหรือฝึกม้า เขาก็เอาเต็นท์ไปวาง 2 เต็นท์ เต็นท์หนึ่ง อ.สุธาชัย เต็นท์หนึ่งของผม มีลวดหนามขึงล้อมรอบเต็นท์ และก็มีทหารเฝ้าทุกจุดประมาณ 20 นาย กลางคืนนอนก็ต้องนอนมองไฟ ปิดไฟไม่ได้เพราะเขาจะได้เห็นว่าเรานอน" ออกนอกเต็นท์ได้ไหม "ได้ ภายในรั้วลวดหนาม แต่ไม่อนุญาตให้คุยกัยใคร กับ อ.สุธาชัยต้องตะโกนใส่กัน คุยได้ก็แค่ เป็นไงอาจารย์ นอนหลับไหมครับ ก็พยักหน้า คุยมากกว่านี้ไม่ได้ กลางวันต้องถอดเสื้อ ร้อนมาก ต้องนั่งสมาธิเอา ต้องปรับจิตใจให้มันเป็นไปตามหลักธรรมะ กินข้าวรสชาติเดียวตลอด กินเพื่อมีชีวิตอยู่ไม่ได้กินเพื่อรสชาติ อากาศร้อนไม่เป็นไรทำใจให้เย็น ควบคุมไว้ไม่ให้คลั่ง ไม่ได้ติดต่อกับใครคุยคนเดียวก็ได้ ฝึกสมาธิไปในตัว" อยู่ในเต็นท์เกือบสองอาทิตย์ เขาก็ตัดสินใจเขียนจดหมายลงบนกล่องขนมฝากไพโรจน์ พลเพชร ผ่านไปถึงคณะกรรมการสิทธิฯ "ผมเขียนเอาไว้ก่อนนั้น เพราะไม่มีอะไรทำ เขาห้ามติดต่อสื่อสาร เลยหาเศษกระดาษเขียนใส่กล่องขนม พอไพโรจน์เขามาก็เลยฝากกลับไป ฝากไป 3 ฉบับที่เขียนไว้ล่วงหน้า ปรากฏว่าหลังจากนั้นเขาก็ห้ามเลย ใครมาเยี่ยมเขาก็เช็กเลยว่าไม่มีเอกสารหลุดออกไป คนที่มาเยี่ยมก็ต้องดูว่าไม่มีหนังสือการเมือง ไม่มีหนังสือพิมพ์" สามฉบับนั้นคือส่งให้คณะกรรมการสิทธิฯ ฉบับที่สองถึงนายกฯ และในฉบับสุดท้ายเขียนถึงความรู้สึกส่วนตัว เล่าถึงการสอบสวน วันรุ่งขึ้นหมอนิรันดร์ก็มาเยี่ยม "หลังจากส่งจดหมาย หมอนิรันดร์มาเยี่ยมเขาเลยย้ายจากที่เต็นท์ขึ้นมาที่ห้อง แล้วเอาลวดหนามมากั้นหน้าห้อง" ได้รับการปฏิบัติเสมือนหนึ่งเป็นบุคคลผู้กระทำความผิดแล้ว "คือเขายังไม่เคยมีประสบการณ์ว่าต้องทำยังไง แต่ว่าทหารที่นั่นนี่ดีมาก เขาก็ดูแลช่วยเหลือเราเต็มที่ ส่วนใหญ่ก็เข้าใจว่าเราไม่ใช่ผู้ต้องหา เขาก็อำนวยความสะดวก" แต่ ศอฉ.ก็ยังยื่นคำร้องขอคุมตัวต่อเป็นครั้งที่ 3 "ตอนนี้มันใช้อำนาจโดยเหิมเกริม โดยไม่จำแนกแยกแยะ ใช้เพื่อทำลายฝ่ายตรงข้าม" นี่คือเนื้อความจากจดหมายร้องเรียนต่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติที่ สมยศ เขียนลงในกล่องขนมฝากผ่าน ไพโรจน์ พลเพชร เลขาธิการสมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน จากการที่รัฐบาลโดยนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และนายสุเทพ เทือกสุบรรณ อาศัยอำนาจ ศอฉ.ตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉินออกหมายจับเพื่อควบคุมตัวข้าพเจ้านายสมยศ พฤกษาเกษมสุข และ ดร.สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ ว่าเป็นผู้ต้องสงสัยจะก่อเหตุร้ายแรงขัดต่อ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน โดยที่ข้าพเจ้าและ ดร.สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ ได้เข้ามามอบตัวต่อพนักงานตำรวจกองปราบปรามเพื่อแสดงความบริสุทธิ์ใจ เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2553 ที่ผ่านมา และถูกนำตัวมาควบคุมไว้ที่ค่ายอดิศร จ.สระบุรี การกระทำของรัฐบาลเป็นการละเมิดสิทธิเสรีภาพและละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างรุนแรงโดยมีข้อเท็จจริงดังต่อไปนี้ 1.ข้าพเจ้าไม่ได้เป็นแกนนำ นปช.มาตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2552 เป็นต้นมา ไม่เคยมีส่วนร่วมการประชุมหรือมีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ กับแกนนำ นปช.ทุกระดับชั้น ไม่ได้เข้าร่วมการชุมนุมที่สะพานผ่านฟ้าฯ และที่ราชประสงค์ ระหว่างวันที่ 14 มีนาคม-19 พ.ค.2553 2.ข้าพเจ้าเป็นบรรณาธิการบริหารนิตยสารรายปักษ์ Voice of Taksin ทำหน้าที่สื่อมวลชนวิชาชีพในการนำเสนอข้อมูลข่าวสารความเป็นจริง แสดงความคิดเห็นและวิพากษ์วิจารณ์นโยบายของรัฐบาลตามปกติ ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวของใดๆ กับอดีตนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ชื่อหนังสือ Voice of Taksin เป็นเพียงเครื่องหมายการค้าและได้จดทะเบียนชื่อหนังสือนิตยสารถูกต้อง 3.การที่ข้าพเจ้า, ดร.สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ, อ.เยี่ยมยอด ศรีมันตะ ได้จัดการแถลงข่าวเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 53 เวลา 12.30 น.ที่หน้าสำนักงานมูลนิธิบ้านเลขที่ 111 มีเพียง 3 คน จึงไม่ใช่การชุมนุมทางการเมืองตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป การแถลงข่าวในวันดังกล่าวเป็นการแสดงความคิดเห็นแตกต่างไปจากรัฐบาลและได้เสนอข้อเรียกร้อง 5 ข้อเพื่อสร้างความสงบสุขและการปรองดองอย่างแท้จริง การแถลงว่าจะจัดการชุมนุมในวันที่ 30 พ.ค.53 ที่สวนสาธารณะเขาแก่นจันทร์ จ.ราชบุรี เป็นการประกาศล่วงหน้า 10 วัน มีกำหนดการเริ่มต้นเวลา 15.00 น.และสิ้นสุดเวลา 21.00 น.เป็นการประชุมที่ศาลาอเนกประสงค์ บรรจุผู้เข้าร่วมได้ราว 500 คนเท่านั้น การชุมนุมดังกล่าวจัดขึ้นในจังหวัดราชบุรี นอกเขต พ.ร.ก.ฉุกเฉิน และการจัดกิจกรรมในสวนสาธารณะมีกำหนดการแน่นอน และหัวข้ออภิปรายชัดเจน จึงเป็นการชุมนุมโดยสงบ ไม่ก่อความเดือดร้อนต่อสาธารณะ ไม่ก่อให้เกิดสถานการณ์ร้ายแรง เป็นการใช้สิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ ส่วนการประกาศจัดงานครบรอบ 78 ปี การเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นกิจกรรมวิชาการเป็นการให้ความรู้ต่อประชาชน ซึ่งกลุ่ม 24 มิถุนาประชาธิปไตยจัดให้มีขึ้นทุกปีอยู่แล้ว โดยจัดขึ้นที่โรงแรมรัตนโกสินทร์ หรือที่สนามหลวง ถ้าหากรัฐบาลเห็นว่าการกระทำดังกล่าวก่อให้เกิดความไม่สงบ รัฐบาลมีอำนาจตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉินออกคำสั่งให้ยุติหรือมีคำสั่งห้าม แต่รัฐบาลกลับใช้อำนาจควบคุมตัว จำกัดสิทธิเสรีภาพอันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน 4.การควบคุมตัวโดยไม่ให้ติดต่อสื่อสาร ทำให้ข้าพเจ้าและ ดร.สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ ไม่มีโอกาสปรึกษาหารือกับทนายความ ไม่มีโอกาสนำเสนอข้อเท็จจริง พยานหลักฐานในกระบวนการยุติธรรม จึงเป็นการกล่าวหาตั้งข้อสงสัยฝ่ายเดียวทำให้ข้าพเจ้าไม่ได้รับความเป็นธรรม 5.รัฐบาลเสนอแผนปรองดอง แต่กลับใช้อำนาจเกินขอบเขตควบคุมกักขังข้าพเจ้าโดยไม่มีการพูดเจรจาเพื่อการปรองดอง 6.การใช้อำนาจหน้าที่ของรัฐบาลในการจับกุมตัวและควบคุมตัวข้าพเจ้าและ ดร.สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ ก่อให้เกิดความเสียหายในชีวิต ทรัพย์สิน ทั้งในด้านครอบครัว และอาชีพการงานอย่างรุนแรง ระหว่างการควบคุมตัว ข้าพเจ้าได้รับความสะดวกสบายและมิตรไมตรีจากทหารในค่ายอดิศรเป็นอย่างดีทุกประการ แต่การใช้อำนาจเกินขอบเขตของรัฐบาลเป็นการละเมิดสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ จึงขอร้องเรียนต่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติได้พิจารณาข้อร้องเรียนของข้าพเจ้าและ ดร.สุธาชัยเป็นกรณีเร่งด่วนเพื่อคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของประชาชนต่อไป. ที่มา: เว็บไซต์ไทยโพสต์
คุยกับสมยศที่ออฟฟิศ Voice of Taksin ในสภาพที่มีเพียงโต๊ะ-เก้าอี้ไม่กี่ตัว เพราะคอมพิวเตอร์นับสิบเครื่องถูกตำรวจยกไปตรวจสอบก่อนหน้านี้และยังไม่มีทีท่าว่าจะเอามาคืน พร้อมๆ กับชื่อของเขาที่ยังติดอยู่ในโผห้ามทำธุรกรรมการเงิน
"เหลืออีกตัวสุดท้ายแล้ว ถ้าปิดอีกก็จะเลิกกิจการ เจ๊งเลยถ้ามันปิดบ่อยๆ ไม่รอด ไม่ได้เจ๊งเพราะไม่มีคนอ่านแต่เจ๊งเพราะถูกไล่ล่า แต่คิดว่าถ้าปิดอีกรอบก็ต้องสู้กัน ไม่อย่างนั้นจะทำมาหากินยังไง และเสรีภาพแสดงความคิดเห็นผมไม่มีเหรอ"