WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Saturday, March 26, 2011

เปิดสำนวน ป.ป.ช. "ภูมิธรรม " พ้นพงหนาม หลุด 7 ข้อกล่าวหา"ไทยเดินเรือทะเล"

ที่มา มติชน



ปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา นายอภินันทน์ อิศรางกูร ณ อยุธยา เลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้แถลงว่า เมื่อที่ 24 มีนาคม 2554 ได้มีการประชุมคณะกรรมการ ป.ป.ช. หนึ่งในเรื่องสำคัญคือ เรื่องกล่าวหา นายภูมิธรรม เวชยชัย อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม( ในรัฐบาลพ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร ) และสภากรรมการบริษัท ไทยเดินเรือทะเล จำกัด กระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่

ก่อนหน้านี้ คณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้มีมติแต่งตั้งคณะอนุกรรมการไต่สวน เพื่อดำเนิน การไต่สวนข้อเท็จจริง เรื่องกล่าวหา นายภูมิธรรม เวชยชัย เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการ กระทรวงคมนาคม และสภากรรมการบริษัท ไทยเดินเรือทะเล จำกัด กรณีร่วมกันกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ ให้บริษัท ไทยเดินเรือทะเล จำกัด เข้าร่วมทุนกับกลุ่มบริษัทเจ้าของเรือไทยเพื่อจัดตั้งบริษัท บทด จำกัด โดยเอื้อประโยชน์ให้กับกลุ่มบริษัทเจ้าของเรือไทยหลายประการ โดยมีนายเมธี ครองแก้ว กรรมการ ป.ป.ช. เป็นประธานอนุกรรมการไต่สวน นั้น

คณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้พิจารณาสำนวนการไต่สวนข้อเท็จจริงของ คณะอนุกรรมการไต่สวนแล้ว ปรากฏข้อเท็จจริง ดังนี้

1. กรณีกล่าวหาว่า ร่วมทุนกับบริษัทเอกชนตั้งกองเรือพาณิชย์ โดยไม่เสนอแผนงานให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติพิจารณา ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535

ข้อเท็จจริง ฟังได้ว่า เมื่อประมาณปี 2548 บริษัท ไทยเดินเรือทะเล จำกัด (บทด.) ได้ดำเนินโครงการตั้งกองเรือพาณิชย์แห่งชาติ โดยร่วมทุนระหว่าง บริษัท ไทยเดินเรือทะเล จำกัด กับบริษัท เอกชน จำนวน 23 บริษัท และได้มีการจัดตั้งบริษัทร่วมทุนคือ บริษัท บทด จำกัด ซึ่งได้มีการเสนอให้กระทรวงการคลัง และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) พิจารณาก่อนเสนอคณะรัฐมนตรี โดยหน่วยงานทั้งสองได้ให้ความเห็นชอบในการจัดตั้งบริษัทร่วมทุนแล้ว

ต่อมาวันที่ 15 พฤศจิกายน 2548 คณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติโครงการดังกล่าว และสำนักงานอัยการสูงสุดได้ตรวจร่างสัญญาจัดตั้งบริษัทร่วมทุน เห็นว่า การจัดตั้งกองเรือพาณิชย์สามารถดำเนินการได้ เป็นการดำเนินธุรกิจปกติ ไม่เป็นไปตามนิยามของคำว่า “ร่วมงานหรือดำเนินการ” ตามพระราชบัญญัติว่า ด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535

2. กรณีกล่าวหาว่า แก้ไขข้อบังคับเพื่อยุบเลิกธุรกิจของบริษัท ไทยเดินเรือทะเล จำกัด และเลิกจ้างพนักงาน โดยมิชอบ

ข้อเท็จจริง ฟังได้ว่า ในการแก้ไขข้อบังคับของบริษัท ไทยเดินเรือทะเล จำกัด เป็นไปเพื่อให้ บริษัท ไทยเดินเรือทะเล จำกัด สามารถเข้าร่วมทุนกับบริษัทเอกชนได้ ในอัตรา 30:70 (จากเดิม บริษัท ไทยเดินเรือทะเล จำกัด ถือหุ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 51% ของจำนวนหุ้นทั้งหมด) เพื่อแปรรูปกิจการ และเพิ่มบทบาทให้กับภาคเอกชน

แต่บริษัท ไทยเดินเรือทะเล จำกัด เป็นนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นในรูปบริษัทจำกัด การดำเนินการต่าง ๆ จะต้องอยู่ภายใต้กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งมีข้อกำหนดว่าการแก้ไขข้อบังคับของบริษัทจะต้องผ่านความเห็นชอบจากที่ประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นบริษัท ซึ่งที่ประชุมสภากรรมการบริษัท ไทยเดินเรือทะเล จำกัด ได้มีมติอนุมัติเห็นชอบในเบื้องต้นให้แก้ไขข้อบังคับของบริษัท ไทยเดินเรือทะเล จำกัด ก็เพื่อจะได้นำเข้าที่ประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อขออนุมัติด้วยมติพิเศษ

โดยที่ประชุมผู้ถือหุ้นของ บริษัท ไทยเดินเรือทะเล จำกัด ที่มีกระทรวงการคลังเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ (99.99%) ก็ได้มีมติเห็นชอบให้แก้ไขข้อบังคับ และได้รับความเห็นชอบจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ก่อนที่จะเสนอคณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้จัดตั้งบริษัทร่วมทุน เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2548

ส่วนกรณีที่มีการแก้ไขข้อบังคับให้ บริษัท ไทยเดินเรือทะเล จำกัด ร่วมทุนกับเอกชนในอัตรา 30:70 แล้วจะทำให้อำนาจในการบริหารตกไปอยู่กับบริษัทเอกชนตามที่ถูกกล่าวหาหรือไม่ นั้น ฟังได้ว่า การพิจารณาในเรื่องสำคัญๆ ต้องอาศัยมติพิเศษ ซึ่งต้องมีเสียงไม่น้อยกว่า 3 ใน 4 ของผู้ถือหุ้นทั้งหมด หากผู้ถือหุ้นของ บริษัท ไทยเดินเรือทะเล จำกัด ไม่เห็นด้วย เรื่องก็ตกไป

ส่วนเรื่องส่วนแบ่งของการขนส่งทางทะเล เรือแต่ละประเภทก็มีลักษณะการใช้งานต่างกัน มีลูกค้าที่ต่างกัน และบริษัทเอกชน 23 บริษัท ถือหุ้นในบริษัท บทด จำกัด ประมาณบริษัทละ 3% เท่านั้น จึงไม่มีบริษัทใดบริษัทหนึ่งจะได้ฐานลูกค้าส่วนใหญ่ไปเพียงผู้เดียว เพราะแต่ละบริษัทก็จะแข่งขันกันประกอบธุรกิจตามประเภทเรือของตน อีกทั้งไม่ปรากฏว่ามีการแลกหุ้นกับบริษัทเอกชนตามที่มีการกล่าวหาแต่อย่างใด

สำหรับกรณีการเลิกจ้างพนักงาน นั้น ฟังได้ว่า เป็นการดำเนินโครงการ “ร่วมใจจากด้วยความยินดีทั้งสองฝ่าย” ซึ่งได้รับความเห็นชอบจาก กระทรวงการคลัง สำนักงานคณะกรรมการกำกับนโยบายรัฐวิสาหกิจ และพนักงานที่เข้าร่วมโครงการฯ ซึ่งจะได้รับผลประโยชน์ตอบแทนโดยใช้หลักเกณฑ์ของกระทรวงการคลังและเงินชดเชยตามกฎหมายแรงงาน

ส่วนกรณีที่พนักงานของ บริษัท ไทยเดินเรือทะเล จำกัด ได้ร้องเรียนต่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ นั้น สำนักนายกรัฐมนตรีได้มีหนังสือแจ้งให้ทราบแล้วว่า บริษัท ไทยเดินเรือทะเล จำกัด ได้ดำเนินการถูกต้องตามระเบียบ กฎหมายแล้ว กรณีที่มีการยุบเลิกตำแหน่งและปรับผังองค์กร ก็เพื่อให้สอดคล้องกับความเป็น HOLDING COMPANY ที่ให้เหลือพนักงานเท่าที่จำเป็นเท่านั้น และพนักงานที่ถูกเลิกจ้างก็ได้รับผลประโยชน์ตอบแทนตามกฎหมายไปแล้ว

3. กรณีกล่าวหาว่า เอื้อประโยชน์โดยมิชอบให้บริษัท ร่วมทุน ใช้ชื่อว่า “บริษัท บทด จำกัด”

ฟังได้ว่า การใช้ชื่อว่า “บริษัท บทด จำกัด ” เป็นนโยบายของนายภูมิธรรม เวชยชัย เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ที่ต้องการให้สาธารณชนทราบว่า รัฐมีส่วนร่วมในการลงทุนในบริษัท บทด จำกัด ซึ่งการจดทะเบียนบริษัท นายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทจะรับจดทะเบียนเฉพาะชื่อภาษาไทยเท่านั้น และจะไม่รับจดชื่อย่อของบริษัท

เนื่องจากไม่มีกฎหมายกำหนดให้รับจดชื่อย่อ ซึ่งกรณี บริษัท บทด จำกัด นั้น ไม่ปรากฏว่าซ้ำกับชื่อที่ได้จดทะเบียนไว้ และนายทะเบียนฯ ก็ไม่อาจทราบได้ว่า “บทด” เป็นชื่อย่อของบริษัท ไทยเดินเรือทะเล จำกัด จึงได้รับจดทะเบียนให้ และในการดำเนินการเรื่องนี้ก็ไม่ปรากฏว่า นายภูมิธรรม เวชยชัย ได้เข้าไปแทรกแซงการจดทะเบียนบริษัทฯ หรือได้รับผลประโยชน์จากการใช้คำว่า “บทด” แต่อย่างใด

4. กรณีกล่าวหาว่า จัดตั้งบริษัท บทด จำกัด โดยให้บริษัท ไทยเดินเรือทะเล จำกัด เข้าร่วมทุนกับกลุ่มบริษัทเจ้าของเรือไทย และบริษัท ไทยเดินเรือทะเล จำกัด ได้จ่ายเงินชำระค่าหุ้นให้บริษัท บทด จำกัด ทั้งที่ไม่มีเงินเพียงพอที่จะจ่ายเป็นค่าหุ้น

ฟังได้ว่า คณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติให้ บริษัท ไทยเดินเรือทะเล จำกัด ลงทุนจำนวน 200 ล้านบาท โดยไม่ได้ระบุให้แน่ชัดว่าจะให้บริษัท ไทยเดินเรือทะเล จำกัด ใช้วันใดเป็นเกณฑ์ในการคำนวณเงินลงทุน จำนวน 200 ล้านบาท ดังนั้น บริษัท ฯ จึงใช้ช่วงวันหลังจากที่คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติ แต่ปรากฏว่า ในการคำนวณเงินสดและค่าใช้จ่ายหรือภาระผูกพันที่คาดว่าจะเกิดขึ้น

ในอนาคตของบริษัท ไทยเดินเรือทะเล จำกัด ในช่วงแรก นั้น ได้มีการคำนวณคลาดเคลื่อนจากมาตรฐานการบัญชี แต่จากข้อมูลที่เกิดขึ้นจริงในเวลาต่อมาพบว่า มีเงินสด จำนวน 200 ล้านบาทเศษซึ่งเพียงพอต่อการลงทุนตามที่สภากรรมการบริษัท ไทยเดินเรือทะเล จำกัด ได้คำนวณไว้แล้ว

ส่วนการจ่ายเงินชำระค่าหุ้น นั้น บริษัท ไทยเดินเรือทะเล จำกัด ไม่ต้องดำเนินการตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจำหน่ายหุ้นและซื้อหุ้นของส่วนราชการ พ.ศ. 2535 เพราะบริษัท ไทยเดินเรือทะเล จำกัด มีฐานะเป็นรัฐวิสาหกิจ ไม่ใช่ส่วนราชการ และบริษัท ไทยเดินเรือทะเล จำกัด ไม่ได้ซื้อหุ้นหรือขายหุ้น แต่เป็นการร่วมลงทุนโดยไปจัดตั้งบริษัทใหม่

5. กรณีกล่าวหาว่า ดำเนินการจัดจ้างโดยวิธีพิเศษ ให้บริษัท บทด จำกัด เป็นผู้บริหารจัดการงานด้านธุรกรรม ไม่ชอบด้วยระเบียบ บริษัท ไทยเดินเรือทะเล จำกัด ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2537

ฟังได้ว่า สภากรรมการ บริษัท ไทยเดินเรือทะเล จำกัด ได้ว่าจ้างบริษัท บทด จำกัด ให้เป็นผู้รับจัดการขนส่งของต่างๆ ของบริษัท ไทยเดินเรือทะเล จำกัด โดยวิธีพิเศษ แต่ไม่มีการส่งมอบธุรกรรมให้แก่ บริษัท บทด จำกัด อีกทั้ง ได้มีการปฏิบัติให้เป็นไปตามระเบียบบริษัท ไทยเดินเรือทะเล จำกัด ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2537 โดยถูกต้องแล้ว ไม่ปรากฏว่า มีการดำเนินการอันเป็นการเอื้อประโยชน์ให้ แก่บริษัท บทด จำกัด แต่อย่างใด

6. กรณีแต่งตั้งผู้รักษาการผู้อำนวยการ บริษัท ไทยเดินเรือทะเล จำกัด ทั้งที่บุคคลดังกล่าวมีอายุเกินกว่าหกสิบปีบริบูรณ์ อันเป็นการขัดต่อพระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2518

ฟังได้ว่า สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) กระทรวงการคลัง ได้กำหนดแนวทางในการแต่งตั้งและกำหนดค่าตอบแทนผู้รักษาการแทนผู้บริหารสูงสุด ว่า ในกรณีที่กฎหมายจัดตั้งรัฐวิสาหกิจกำหนดไว้ ก็ให้ปฏิบัติตามที่กำหนด แต่หากกฎหมาย ไม่กำหนดคุณสมบัติหรือกฎหมายให้คณะกรรมการรัฐวิสาหกิจแต่งตั้งบุคคลใดให้รักษาการแทนได้ ให้คณะกรรมการรัฐวิสาหกิจแต่งตั้งจากพนักงานในระดับรองผู้บริหารสูงสุดของรัฐวิสาหกิจหรือกรรมการของรัฐวิสาหกิจ

ซึ่งบริษัท ไทยเดินเรือทะเล จำกัด ก็มีระเบียบให้สามารถตั้งกรรมการในสภากรรมการ บริษัท ไทยเดินเรือ
ทะเล จำกัด ดำรงตำแหน่งรักษาการผู้อำนวยการได้

ดังนั้น ในการแต่งตั้งกรรมการบริษัทฯ ซึ่งแม้จะมีอายุเกินกว่าหกสิบปีบริบูรณ์เป็นกรรมการรักษาการผู้อำนวยการ จึงไม่ขัดต่อพระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2518 ดังนั้น การดำเนินการของสภากรรมการบริษัท ไทยเดินเรือทะเล จำกัด จึงเป็นไปโดยชอบแล้ว

7. กรณีกล่าวหาว่า เอื้อประโยชน์ให้บริษัท บทด จำกัด ใช้สิทธิการใช้เรือเสมือนหนึ่งเรือไทยโดยมิชอบ

ฟังได้ว่า ภายหลังจากการจัดตั้งบริษัท บทด จำกัด แล้ว บริษัท ไทยเดินเรือทะเล จำกัด ได้ว่าจ้างบริษัท บทด จำกัด บริหารงานและดำเนินธุรกิจในนามบริษัท ไทยเดินเรือทะเล จำกัด ซึ่งปรากฏว่า มีบริษัทตัวแทนเรือของบริษัท ไทยเดินเรือทะเล จำกัด แห่งหนึ่ง ได้ใช้สิทธิการใช้เรือเสมือน หนึ่งเรือไทยตามมติคณะรัฐมนตรีโดยมิชอบ ซึ่งบริษัท บทด จำกัด ในฐานะผู้บริหารงานและดำเนินธุรกิจ แทนบริษัท ไทยเดินเรือทะเล จำกัด ได้มีหนังสือแจ้งไปยังบริษัทตัวแทนเรือเอกชนนั้น ให้เลิกการกระทำดังกล่าวและจะไม่รับผิดชอบเรื่องนี

ต่อมาบริษัท ไทยเดินเรือทะเล จำกัด ได้ยกเลิกการเป็นตัวแทนของบริษัทตัวแทนเรือเอกชนนั้นแล้ว เนื่องจากตรวจสอบพบว่า บริษัทดังกล่าวมีส่วนร่วมทุจริตกับอดีตพนักงานบริษัท ไทยเดินเรือทะเล จำกัด ซึ่งได้มีการส่งเรื่องดังกล่าวมาให้คณะกรรมการ ป.ป.ช.ดำเนินการไต่สวนข้อเท็จจริงแล้ว ไม่ปรากฏว่า บริษัท ไทยเดินเรือทะเล จำกัด ปล่อยปละละเลยให้ บริษัท บทด จำกัด ดำเนินการโดยมิชอบแต่อย่างใด

สำหรับกรณีกล่าวหาว่า เอื้อประโยชน์ให้ บริษัท บทด จำกัด ขนส่งสินค้าของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย โดยมิได้ใช้เรือไทยและไม่ได้รับอนุญาตให้ใช้เรืออื่นที่มิใช่เรือไทย ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการพาณิชยนาวี พ.ศ. 2521 นั้น

ฟังได้ว่า ตามระเบียบสำนักส่งเสริมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวี เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการในการอนุญาตให้บุคคลที่สั่งหรือนำของเข้าจากต่างประเทศบรรทุกของโดยเรืออื่นที่มิใช่เรือไทย ได้กำหนดว่า ในกรณีที่รัฐวิสาหกิจเป็นผู้สั่งซื้อของจากต่างประเทศโดยว่าจ้างหรือมอบหมายให้ผู้รับจัดการขนส่งเป็นผู้นำเข้านั้น ให้ผู้รับจัดการขนส่งดังกล่าวยื่นคำขออนุญาตแทนรัฐวิสาหกิจที่ตนกระทำแทน

ดังนั้น เมื่อบริษัท ไทยเดินเรือทะเล จำกัด ได้ว่าจ้างให้บริษัท บทด จำกัด บริหารองค์กรและดำเนินธุรกิจแทนแล้ว บริษัท ไทยเดินเรือทะเล จำกัด จึงได้ยื่นขออนุญาตบรรทุกของในนาม การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยมาโดยตลอด

แต่สำนักส่งเสริมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวี กำหนดให้ต้องยื่นหนังสือมอบอำนาจ ซึ่งไม่เคยกำหนดมาก่อน และปรากฏจากหนังสือของ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ว่า การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยมีหนังสือถึงอธิบดีกรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวี ยืนยันว่า บริษัท ไทยเดินเรือทะเล จำกัด เป็นผู้ดำเนินการในฐานะตัวแทนของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย

ซึ่งต่อมากรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวี ได้ออกหนังสืออนุญาตย้อนหลังให้บริษัท ไทยเดินเรือทะเล จำกัด ดังนั้น เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการตีความและเรียกใบมอบอำนาจซึ่งในทางปฏิบัติไม่เคยเรียกมาก่อน จึงเป็นสาเหตุให้บริษัท ไทยเดินเรือทะเล จำกัด ยื่นขออนุญาตบรรทุกของโดยเรืออื่นไม่ทัน ซึ่งต่อมาได้มีการอุทธรณ์และได้มีการออกใบอนุญาตย้อนหลังแล้ว ไม่ปรากฏว่า มีการเอื้อประโยชน์ให้ บริษัท บทด จำกัด ขนส่งสินค้าของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย โดยไม่ใช้เรือไทยหรือไม่ได้รับอนุญาตให้ใช้เรืออื่นที่มิใช่เรือไทยแต่อย่างใด

คณะกรรมการ ป.ป.ช. จึงมีมติว่า ข้อกล่าวหาทั้ง 7 ข้อกล่าวหาไม่มีมูล ให้ข้อกล่าวหาตกไป