ที่มา มติชน สร้างความแตกตื่นตระหนกไปกันเกือบทั่วประเทศ โดยเฉพาะชาวจังหวัดเชียงรายที่อยู่ตามแนวชายแดนเช่น อ.แม่สาย อ.เชียงแสน และจังหวัดเชียงใหม่ สำหรับเหตุแผ่นดินไหวขนาด 6.7 ริกเตอร์ เมื่อคืนวันที่ 24 มี.ค. ที่ผ่านมา โดยมีศูนย์กลางอยู่ในเขตประเทศพม่าห่างจากชายแดนไทย-พม่า ด้าน อ.แม่สาย ไปทางทิศเหนือประมาณ 56 กิโลเมตร ส่งผลทำให้มีผู้เสียชีวิต 1 รายและมีบ้านเรือนของราษฎรได้รับความเสียหาย และยังมีอาร์ฟเตอร์ช็อคตามมาอีกหลายระลอกด้วยกันกระทั่งถึงเช้าวันที่ 25 มี.ค.นี้ นับ 10 ครั้ง นอกจากนี้ ยังส่งผลให้สิ่งปลูกสร้าง โบราณสถานที่สำคัญต่างๆ ทางภาคเหนือ ได้รับความเสียหายหลายพื้นที่ ทั้งนี้ มติชนออนไลน์ จึงได้รวบรวมภาพความเสียหายของวัด และโบราณสถานเก่าแก่ทางภาาคเหนือที่มีอายุ นับพันปีมาให้ได้รับทราบกัน
ส่วนปลายของยอดเจดีย์ หักลงมากระแทกกับพระธาตุองค์เล็กเมืองประวัติศาสตร์เชียงแสน วัดพระธาตุเจดีย์หลวง ได้รับความเสียหาย
ส่วนปลายของยอดเจดีย์ หักลงมากระแทกกับพระธาตุองค์เล็กเมืองประวัติศาสตร์เชียงแสน วัดพระธาตุเจดีย์หลวง ได้รับความเสียหาย
ส่วนปลายของยอดเจดีย์ หักลงมากระแทกกับพระธาตุองค์เล็กเมืองประวัติศาสตร์เชียงแสน วัดพระธาตุเจดีย์หลวง ได้รับความเสียหาย
องค์พระจ้าตนหลวง วัดศรีโคมคำ (หนานหลวงพ่อใหญ๋)จ.พะเยา ได้รับความเสียหายหลายแห่ง
จิตรกรรมฝาผนัง วัดภูมินทร์ เกิดรอยแตกร้าว
จิตรกรรมฝาผนัง วัดภูมินทร์ เกิดรอยแตกร้าว
พระประธานจตุทิศ 2 ใน 4 ด้านทิศตะวันตกและทิศใต้ วัดภูมินทร์ แตกร้าวหลายจุด
พระประธานจตุทิศ 2 ใน 4 ด้านทิศตะวันตกและทิศใต้ วัดภูมินทร์ แตกร้าวหลายจุด
พระประธานจตุทิศ 2 ใน 4 ด้านทิศตะวันตกและทิศใต้ วัดภูมินทร์ แตกร้าวหลายจุด
รอยปริร้าวและปูนกะเทาะเพิ่มขึ้น ที่วิหารหลวง วัดพระธาตุแช่แห้ง
รอยปริร้าวและปูนกะเทาะเพิ่มขึ้น ที่วิหารหลวง วัดพระธาตุแช่แห้ง
รอยปริร้าวและปูนกะเทาะเพิ่มขึ้น ที่วิหารหลวง วัดพระธาตุแช่แห้ง
องค์พระธาตุลำปางหลวง อายุเก่าแก่กว่า 1,329 ปี อ.เกาะคา จ.ลำปาง รวมถึงโบราณสถานโดยรอบ ไม่พบรอยแตกร้าว
เริ่มที่เขตเมืองประวัติศาสตร์เชียงแสน วัดพระธาตุเจดีย์หลวงตั้งอยู่ในเขตเทศบาล ต.เวียงเชียงแสน อ.เชียงแสน พบว่าส่วนปลายของยอดเจดีย์ตั้งแต่ระวังคว่ำด้านบนสุดได้หักโค่นลงมาและกระทบกับเจดีย์เล็กที่ตั้งอยู่ใกล้ฐานของพระธาตุเจดีย์หลวงซึ่งตั้งอยู่ทางฝั่งทิศตะวันออก จนทำได้แตกหักทั้งยอดเจดีย์และพระธาตุองค์เล็ก นอกจากนี้ยังมีการพังทลายของอิฐและคอนกรีตฉาบด้านนอกเป็นโพลงขนาดใหญ่ ซึ่งพระธาตุเจดีย์หลวงเป็นโบราณสถานที่เป็นเจดีย์ทรงระฆังแบบล้านนาที่มีความขนาดใหญ่มากที่สุดในเชียงแสน โดยความสูง 88 เมตรและฐานกว้าง 24 เมตร อายุเก่าแก่ประมาณ 667 ปีสร้างโดยพระเจ้าแสนภูซึ่งเป็นพระราชนัดดาของพ่อขุนเม็งรายมหาราชปฐมกษัตริย์แห่งอาณาจักรล้านนาเมื่อปี พ.ศ.1887
ขณะที่วัดพระธาตุจอมกิตติ ซึ่งเป็นพระธาตุที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งคู่เมืองเชียงแสน ยอดฉัตรขององค์พระธาตุก็คดงอเนื่องจากแรงสั่นสะเทือนแต่ไม่ถึงขั้นหักลงมา
ที่จังหวัดพะเยา พระเจ้าตนหลวง พระพุทธรูปเก่าแก่อายุนับ 900ปี วัดศรีโคมคำ (หนานหลวงพ่อใหญ๋) ต.เวียง เทศบาลเมืองพะเยา จ.พะเยา ซึ่งมีความสูงประมาณ 30-35เมตร หน้ากว้าง 10-15เมตร ก็พบบริเวณใต้ข้อศอกด้านขวาลงมาถึงนิ้วมือ ของพระจ้าตนหลวง มีรอยแตกมองเห็นประมาณ 1-2 ซ.ม. ยาวประมาณ 70-80 นิ้ว หรือเกือบ 1 เมตร เป็นแนวยาวและเป็นรอยแตกใหม่ๆ ที่ได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหว
ส่วนที่ จังหวัดน่าน บริเวณวิหารวัดภูมินทร์ เจดีย์โบราณวัดสวนตาล เขตเทศบาลเมืองน่าน อ.เมืองน่าน พบจิตรกรรมฝาผนังที่สร้างไว้สมัยร.5 เกิดรอยแตกร้าวเพิ่มขึ้น 3 เมตร ติดต่อจากรอยเดิมที่ชำรุดอยู่แล้วประมาณ 5 เมตร โดยปูนรองพื้นปริกะเทาะออก ทำให้ภาพจิตกรรมด้านบนประตูทิศเหนือได้รับความเสียหาย
นอกจากนั้นองค์พระประธานจตุทิศ 2 ใน 4 ด้านทิศตะวันตกและทิศใต้ แตกร้าวหลายจุดที่บริเวณฐานรองรับและไหล่ แขนและมือข้างซ้าย-ขวา รวมทั้งขาหน้าตักสองข้าง รวมมูลค่าความเสียหายประมาณ 1.2 ล้านบาท
ทางด้านวิหารหลวง วัดพระธาตุแช่แห้ง อ.ภูเพียง จ.น่าน อายุกว่า 600 ปี ส่วนใหญ่เป็นรอยร้าวจากการชำรุดอยู่เดิมเพราะปูนหมดสภาพ ผิวร้าวและกะเทาะออกตามอายุ
ขณะที่องค์พระธาตุลำปางหลวง อายุเก่าแก่กว่า 1,329 ปี อ.เกาะคา จ.ลำปาง รวมถึงโบราณสถานโดยรอบ ไม่พบว่ามีส่วนใดขององค์พระธาตุลำปางหลวงเกิดรอยร้าว รวมถึงโบราณสถานเก่าแก่ที่ขึ้นทะเบียนกรมศิลปากร ที่ตั้งอยู่โดยรอบ ได้แก่ วิหารหลวง วิหารพระพุทธ และวิหารต้นแก้ว ต่างก็ไม่ได้รับผลกระทบจนเกิดความเสียหายแต่อย่างใด