WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Wednesday, March 23, 2011

สื่อต้องทำหน้าที่

ที่มา Thai E-News


ที่สื่อไม่สามารถทำหน้าที่ได้อย่างอิสระนั้น สืบเนื่องมาจากถูกแทรกแซงโดยอำนาจทุน และอำนาจรัฐ ขณะที่รายได้หลักของสื่อมาจากการโฆษณาของหน่วยงานรัฐและเอกชน ซึ่งส่วนใหญ่ตกอยู่ภายใต้การควบคุมนักการเมือง ที่ยิ่งทำให้สื่อถูกครอบงำได้ง่ายขึ้น


โดย ชำนาญ จันทร์เรือง
23 มีนาคม 2554

ใครจะว่าอย่างไรก็แล้วแต่ จากการติดตามการอภิปรายไม่ไว้วางใจในระหว่างวันที่ 15-19 มีนาคมที่ผ่านมา ผมเห็นว่าดีขึ้นและมีประโยชน์ขึ้น

ถึงแม้ว่าจะมี ส.ส.บางคนแสดงธาตุแท้หรือสันดานเดิมออกมาด่าคนอื่นว่า “พ่อมึงเหรอ” “ไอ้นั่น” ฯลฯ

และถึงแม้ว่ากองเชียร์ของแต่ละฝ่ายต่างก็ไม่เปิดใจกว้างรับข้อมูลของอีกฝ่ายก็ตาม

และที่สำคัญผมไม่เชื่อโพลต่างๆที่ออกมาว่าใครแพ้ ใครชนะ หรือการอภิปรายครั้งนี้ก็เหมือนๆเดิม หรือไม่มีข้อมูลใหม่ เพราะผมไม่เชื่อกลุ่มตัวอย่างที่สำนักโพลทั้งหลายสำรวจมานั้นจะฟังการอภิปรายกันทุกคนและเกือบตลอดเวลาการอภิปราย

เผลอๆกลุ่มตัวอย่างก็ฟังเอาจากสื่อต่างๆ หรือจากการพูดคุยกันเท่านั้นเอง

แต่ที่แน่ๆผมเห็นว่าการอภิปรายไม่ไว้วางใจทุกครั้งเป็นการเรียนรู้ทางการเมืองที่ดีอย่างหนึ่ง แม้ว่าอาจจะได้ตัวอย่างที่ไม่ดีจาก ส.ส.บางคนก็ตาม

ส่วนผลการลงคะแนนเสียงนั้นก็เป็นที่รู้ๆกันอยู่แล้วว่า ผลจะออกมาเป็นอย่างไร แต่ก็เป็นที่น่าสังเกตว่า ผู้ที่ถูกอภิปรายแล้วแก้ข้อกล่าวได้แย่ที่สุดกลับได้คะแนนมากที่สุด ซึ่งก็เป็นเรื่องของหมากกลทางการเมืองที่น่าศึกษาว่า วิชามารต่างๆในทางการเมืองย่อมมีเล่ห์เหลี่ยมใหม่ๆอยู่เสมอ

จากข้อมูลที่นำมาใช้ในการอภิปรายไม่ไว้วางใจในครั้งนี้ ทั้งฝ่ายค้านและฝ่ายรัฐบาลต่างฝ่ายต่างตีความเข้าข้างตนเอง เช่น กรณีการเผาห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลเวิลด์ คนที่อยู่กลางๆฟังข้อมูลทั้งสองฝ่ายแล้วไม่สามารถบอกได้ว่าใครพูดจริง ใครพูดเท็จ

เพราะต่างฝ่ายต่างนำเสนอข้อมูลที่เป็นประโยชน์เข้าข้างตนเอง แต่ในด้านข้อมูลด้านข้าวของราคาแพง หรือเรื่องน้ำมันปาล์มนั้นต้องยอมรับว่าฝ่ายค้านทำการบ้านมาค่อนข้างดี แต่ก็ยังไม่ดีถึงที่สุด เพราะไม่สามารถสืบสานถึงต้นตอตัวบุคคลที่ทำการทุจริตจนสร้างความเดือดให้แก่ชาวบ้านได้ มีแต่ใช้ตัวย่ออ้อมไปอ้อมมา

แล้วเราควรจะทำอย่างไรต่อไป

ถึงแม้ว่าการอภิปรายไม่ไว้วางใจในครั้งนี้จะไม่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง แต่ก็ทำให้เราได้รู้อะไรมากขึ้น ถึงแม้ว่าจะไม่มากเท่าไหร่ก็ตาม

แต่มันมีประเด็นที่ทำให้ชวนติดตามให้กระจ่าง มิใช่ปล่อยให้ผ่านเลยไปเหมือนทุกครั้งที่ผ่านๆมา การค้นหาความจริงเราจะหวังพึ่งจากภาครัฐนั้นเป็นไปได้ยาก ฉะนั้น จึงเหลือแต่เพียงการค้นหาความจริงจากภาคประชาชน และสื่อสารมวลชนที่เป็นอิสระ

ลำพังแต่เพียงภาคประชาชน ย่อมเป็นไปได้ยาก เพราะข้อมูลต่างๆล้วนแล้วแต่อยู่ในการครอบครองของฝ่ายรัฐ และสื่อมวลชนที่มีทั้งบุคคลากรและเทคโนโลยีที่ใช้ในการบันทึกข้อเท็จจริง

ที่สำคัญสื่อสารมวลชนมีความเป็นมืออาชีพมากกว่าประชาชนธรรมดาอย่างแน่นอนในการค้นหาความจริง แต่ประเด็นก็คือว่าสื่อจะทำหน้าที่หรือไม่ทำเท่านั้นเอง

จากบทบาทของสื่อในช่วงหลังจากการรัฐประหารในปี 49 ที่ผ่านมาพบว่า สื่อถูกสร้างขึ้นมาอย่างมากมาย และถูกนำมาใช้เพื่อบรรลุเป้าหมายทางการเมือง ได้นำเสนอความคิดเห็นและความเชื่อมากกว่าความจริง ไม่ได้นำเสนอข้อเท็จจริงที่มีข้อมูลอย่างรอบด้าน

ในทางตรงกันข้าม มีการนำเสนอข่าวด้านเดียวในลักษณะโฆษณาชวนเชื่อ มีความลำเอียง มีอคติ ยั่วยุให้เกิดความขัดแย้ง แตกแยก เกลียดชัง จนถึงขั้นทำลายล้างต่อฝ่ายที่มีจุดยืน และความคิดเห็นที่แตกต่างกับฝ่ายของตัวเอง

แต่ก็เป็นเข้าใจว่า ที่สื่อไม่สามารถทำหน้าที่ได้อย่างอิสระนั้น สืบเนื่องมาจากถูกแทรกแซงโดยอำนาจทุน และอำนาจรัฐ

ตลอดจนในยุคบริโภคนิยม ก็ทำให้สื่อต้องนำเสนอข่าวสารตามความต้องการของผู้บริโภค เกิดการนำเสนอข่าวที่เน้นถึงความรุนแรง จนก่อให้เกิดความขัดแย้งมากกว่า การให้สาระความรู้ หรือข้อเท็จจริงในเรื่องนั้นๆ

ขณะที่รายได้หลักของสื่อมาจากการโฆษณาของหน่วยงานรัฐและเอกชน ซึ่งส่วนใหญ่ตกอยู่ภายใต้การควบคุมนักการเมือง ที่ยิ่งทำให้สื่อถูกครอบงำได้ง่ายขึ้น

มิหนำซ้ำผู้สื่อข่าว หรือReporterนั้น แทนที่จะมีหน้าที่นำเสนอข่าวเพียงอย่างเดียว กลับใส่ความเห็นเข้าไปในข่าวจนไม่รู้ว่าอันเป็นข้อเท็จจริงอันไหนเป็นความเห็น

ซึ่งการแสดงความเห็นนั้นควรเป็นหน้าที่ของผู้เชี่ยวชาญในด้านนั้นๆ ผู้สื่อข่าวบางคนไม่ได้จบการศึกษาในด้านสื่อสารมวลชนมา(หรือแม้ว่าจะจบมาก็ตาม) จึงทำให้ไม่ตระหนักถึงบทบาทและจริยธรรมในวิชาชีพ แม้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะมีการฝึกอบรม และให้ความรู้ในเรื่องนี้บ้างก็ตาม แต่ก็ไม่เพียงพอและไม่ทั่วถึง

ที่ผ่านมาคู่ขัดแย้งทางการเมืองแต่ละฝ่ายได้ใช้สื่อเพื่อสร้างสงครามการเมือง ส่งผลให้สังคมมองบทบาทสื่อมวลชนโดยรวมว่า เป็นสื่อที่นำไปสู่วิกฤตการณ์ความขัดแย้งทางการเมือง และนำมาซึ่งปัญหาความยุ่งยากในปัจจุบัน

สื่อกระแสหลักเลือกที่จะเสนอความจริงเพียงบางส่วน บางแง่บางมุม ข่าวสารการบ้านการเมือง โดยสื่อของรัฐที่เคยถูกสังคมวิพากษ์วิจารณ์กันมาอย่างไร ก็ยังคงเป็นเช่นนั้นอยู่จนถึงปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสื่อของกรมประชาสัมพันธ์และ อสมท.ที่ถูกฝ่ายรัฐบาลทุกรัฐบาล เอามาใช้โฆษณาชวนเชื่อเพื่อโจมตีฝ่ายตรงข้าม โดยไม่มีความละอายใจเลยแม้แต่น้อย ว่าการกระทำเช่นนั้นกระทบต่อการทำหน้าที่ของวิชาชีพสื่ออย่างร้ายแรง

บทบาทของสื่อของรัฐกระแสหลักเหล่านี้ เวลาเสนอข่าวจะเลือกเสนอเพียงบางประเด็นที่คิดว่า จะไม่ทำให้รัฐบาลขุ่นข้อง หมองใจ หรือโกรธเคือง นั่นคือเรื่องราวของฝ่ายตรงข้ามรัฐบาลจะถูกตัดทิ้งไป ไม่นำเสนอ หรือหากจะเสนอก็เสนออย่างเสียไม่ได้ เป็นต้นว่าพูดสรุปสั้นๆ ไม่ลงรายละเอียด ไม่มีภาพประกอบ หรือให้ดูภาพประกอบ แต่ไม่ปล่อยเสียงคนพูดให้ผู้ชมได้ยิน ไม่พูดถึงสาเหตุที่แท้จริงของปัญหา ผลกระทบเป็นอย่างไรก็ไม่กล่าวถึง

ทางออกของปัญหาควรจะเป็นอย่างไรก็ไม่สนใจ

ฉะนั้น จึงเป็นอันว่าสิ้นหวังกับสื่อภาครัฐ ซึ่งเปรียบเสมือนหนึ่งว่า ได้ตายไปแล้วจากความเป็นสื่อตามตามอุดมการณ์ของการเป็นสื่อที่แท้จริง ที่เหลืออยู่ที่จึงเป็นสื่อที่มิใช่สื่อของรัฐ และรวมไปถึงสื่อทางเลือก หรือสื่อออนไลน์ยุคใหม่ที่สามารถสร้างผลกระทบต่อสังคมได้อย่างมหาศาล ที่ภาคประชาชนจะต้องให้ความร่วมมือ หรือให้ข้อมูล เพื่อที่ความจริงทั้งหลายจะได้ถูกเปิดเผยออกมาให้จงได้

ถึงแม้ว่าจะใช้ระยะเวลายาวนานสักเพียงใดก็ตาม


-------------------

หมายเหตุ เผยแพร่ครั้งแรกในกรุงเทพธุรกิจฉบับประจำวันพุธที่ 23 มีนาคม 2554