WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Wednesday, March 23, 2011

สมดุลยวิถี” เครื่องมือสลายความเหลื่อมล้ำสังคมไทย

ที่มา ประชาไท

ความขัดแย้งทางสังคมหลายๆ ประเทศ นั้นมีมายาวนานต่อเนื่องและส่วนใหญ่เป็นความขัดแย้งทั้งทางชาติพันธุ์และศาสนา เช่น ระหว่างชาวเซิร์บและชาวโครแอธ ในบอสเนีย ระหว่างชาวไอริชนิกายคาทอลิก กับโปรเตสแตนท์ในไอร์แลนด์เหนือ ระหว่างชาวมุสลิมอุยกูร์และชาวจีนฮั่น ในมณฑลซินเจียงของจีน หรือ ระหว่างชนเผ่า ฮูตู กับ ทุตซี ในรวันดา ความแตกต่างเหล่านี้นำไปสู่การปฏิบัติที่เหลื่อมล้ำทุกมิติในสังคม นอกเหนือจากความแตกต่างทางชาติพันธุ์และศาสนาแล้ว ในทุกสังคมมักจะปรากฏร่องรอยของความไม่เสมอภาคทั้งทาง สังคม เศรษฐกิจ และการเมือง ตามมาเสมอโดยผู้กุมอำนาจรัฐเป็นกลไกสำคัญที่เป็นบ่อเกิดของความเหลื่อมล้ำจนนำไปสู่ความขัดแย้งของคนในสังคม ขัดแย้งรุนแรงขึ้น และต่อเนื่องจนไม่อาจหาข้อยุติได้

ความขัดแย้งในสังคมไทยก็เช่นกันแม้ว่าความหวาดวิตกภัยคุกคามจากลัทธิคอมมิวนิสต์หมดไป แต่แล้วความขัดแย้งในสังคมไทยได้เคลื่อนตัวออกจากประเด็นของอุดมการณ์ พัฒนาสู่ปัญหาใหม่ภายใต้บริบทของการพัฒนา เมื่อความต้องการของมนุษย์สวนทางกับความยั่งยืนของธรรมชาติโดยมีรัฐเป็นกลไกจัดการทรัพยากร รวมทั้งเป็นผู้กำหนดนโยบายสาธารณะต่างๆ ส่งผลให้เกิดปัญหาความขัดแย้งเกี่ยวกับสิทธิและอำนาจในการจัดการทรัพยากร นำไปสู่ความขัดแย้งระหว่างการคงวิถีความเป็นอยู่ดั้งเดิม กับทิศทางการพัฒนาประเทศ ส่งผลให้เกิดปัญหาสาธารณะที่ไม่สามารถจัดการได้ ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในยุคปัจจุบันจึงเป็นความขัดแย้งที่เป็นผลพวงจากการแย่งชิงและการจัดการทรัพยากร อันเกิดจากการจัดการของรัฐที่ไม่มีดุลยภาพภายใต้โครงสร้างอำนาจนิยม(Authoritarianism) คนยากจนมักจะถูกเบียดขับจากโอกาสทางสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง ไม่อาจเข้าถึงสิ่งเหล่านี้ จนกระทั่งโอกาสในการดำรงชีวิตอย่างปกติ

ความขัดแย้งเพิ่มมากขึ้นซับซ้อนมากขึ้น ทั้งได้พัฒนาและขยายตัวไปพร้อมๆ กับยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศซึ่งเน้นการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ในขณะที่โครงสร้างอำนาจนิยม(Authoritarianism) ยังไม่เปลี่ยนแปลง ดังนั้นแนวโน้มการแก้ปัญหาความขัดแย้งระหว่างภาครัฐกับประชาชนจึงหลีกไม่พ้นเรื่องการใช้อำนาจ ด้วยรูปแบบต่างๆ ตลอดมา เช่น เหตุการณ์นองเลือด 14 ตุลาคม 2516 เหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 และพฤษภาทมิฬ 2535 กระทั่งหลังสุดเหตุการณ์นองเลือดที่ราชประสงค์ ซึ่งล้วนแล้วเกิดจากโครงสร้างอำนาจนิยม(Authoritarianism)ทั้งสิ้น

เมื่อการใช้สิทธิและอำนาจตามกฎหมายของรัฐมิได้ใช้อย่างเปิดเผย ชอบธรรม และยุติธรรมด้วยหลักนิติรัฐ รวมทั้งตรวจสอบได้ตามหลักธรรมาภิบาล(good governance) หากแต่มีแนวโน้มที่มีวาระซ่อนเร้น (hidden agenda) ซุกซ่อนเป็นประโยชน์ทับซ้อน(conflict of interest)เสมอ รัฐกับประชาชนจึงกลายเป็นคู่กรณี(actor) คู่เอกของความขัดแย้งสาธารณะ(Public conflict) การมีส่วนร่วมทางการเมือง(Political Participation) ในหลายมิติที่รัฐพยายามกล่าวถึง ไปๆ มาๆ เป็นเพียงวาทกรรมทางการเมืองของผู้ปกครองเท่านั้น

ความเหลื่อมล้ำในหลายมิติล้วนนำไปสู่ความขัดแย้งที่ได้รุกฆาตวิถีชีวิตของคนในสังคมตลอดมา ทั้งนี้มีสาเหตุที่นำไปสู่ความขัดแย้งจึงประกอบด้วยเงื่อนไขสำคัญ 3 ประการ กล่าวคือ

เงื่อนไขเชิงภาวะวิสัย (Objective Condition )ซึ่งเกี่ยวข้องกับสภาพปัญหาความทุกข์ยากเดือดร้อนของประชาชนอันเนื่องมาจากความเหลื่อมล้ำทั้งทางสังคม การเมือง และเศรษฐกิจ ที่ก่อให้เกิดความแตกต่างเป็นอย่างมาก ระหว่าง คนรวยกับคนจน คนเมืองกับคนชนบท ซึ่งเป็นเรื่องระหว่างการมีอำนาจกับไม่มีอำนาจ คนไม่มีอำนาจมักจะถูกเอารัดเอาเปรียบเสมอมา ทั้งจากรัฐและระบบเศรษฐกิจทุนนิยม

เงื่อนไขเชิงอัตวิสัย (Subjective Condition ) ที่เป็นทั้งความเชื่อแนวคิดหรืออุดมการณ์ทางชนชั้น ที่ตระหนักถึงความไม่เป็นธรรม ความไม่เสมอภาค รวมทั้งปฏิเสธการรัฐประหารทุกรูปแบบเพื่อนำสังคมไทยไปสู่ประชาธิปไตย เป็นการปะทะทางอุดมการณ์ระหว่างประชาชนที่ต้องการความเสมอภาคกับรัฐที่มีโครงสร้างเชิงอำนาจนิยม อันเป็นความสัมพันธ์เชิงอำนาจที่ประชาชนตกเป็นเบี้ยล่างเสมอมา

และเงื่อนไขเสริม ( Facilitating Condition) ซึ่งเป็นเงื่อนไขที่เอื้ออำนวยให้เกิดการรวมกลุ่มเรียกร้องเข้าสู่ขบวนการทางสังคม ไม่ว่าความอ่อนแอของรัฐบาล การแย่งชิงอำนาจของกลุ่มการเมือง การเกิดผู้นำที่ได้รับศรัทธาและมีความสามารถในการรวบรวมมวลชน การนำเสนอข้อมูลข่าวสาร รวมทั้งการสนับสนุนจากแนวร่วมกลุ่มอื่นๆ ดังที่เราได้เห็นมาแล้วในช่วงที่ผ่านมา

ซึ่งทั้งสามเงื่อนไขดังกล่าวนี้ ได้ผลักดันให้เกิดการรวมตัวและเคลื่อนไหวจนนำไปสู่ความขัดแย้งแตกแยก และความรุนแรงในสังคมไทยตามมา การแก้ไขปัญหาความขัดแย้งจึงต้องเข้าใจบริบททางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม ที่เป็นเงื่อนไขนำไปสู่ความขัดแย้ง หากที่ผ่านมาปัญหาความขัดแย้งนำไปสู่การเข่นฆ่าทำลายล้างต่อกันได้เตือนอะไรให้สังคมไทยได้บ้างนั้น จุดเริ่มต้นคือคนไทยทุกคนต้องช่วยกันป้องกันมิให้เงื่อนไขแห่งความขัดแย้งเกิดขึ้นและช่วยกันชักฟืนออกจากไฟ รัฐและกลไกของรัฐในฐานะผู้ปกครองต้องเริ่มปรับเปลี่ยนโครงสร้างอำนาจนิยม โดยเปิดพื้นที่ให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมทั้งทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม ให้ประชาชนได้กำหนดนโยบายสาธารณะตามวิถีของชุมชนเพื่อลดช่องว่างของความเหลื่อมล้ำลงและสิ่งสำคัญที่สุดทุกฝ่ายต้องร่วมกันสร้างดุลยภาพให้เกิดขึ้นในสังคมทุกๆมิติ เพื่อนำสังคมไปสู่ “สมดุลยวิถี” เป็นเครื่องมือสลายความเหลื่อมล้ำและขับเคลื่อนสังคมไทยออกจากความขัดแย้งไปสู่ความสันติสุขและสมานฉันท์ต่อไป