ที่มา thaifreenews
โดย bozo
เขียนโดย JJ_Sathon
The case of Walter Bau claiming damages from the Thai Government
July 15, 2011, 3:04 pm
On 14 July 2011, Foreign Minster Kasit Piromya gave a press conference at the
Ministry of Foreign Affairs about the case of Walter Bau, a German company,
claiming damages from the Thai Government. Gist as follows:
1. The said case is a legal dispute between Walter Bau and the Thai
Government. Walter Bau is a claimant seeking damages from the Thai
Government in respect of an alleged breach of the Don Muang Tollway
contract since 2005 and in accordance with the 2002 Treaty between Thailand
and Germany concerning the Encouragement and Reciprocal Protection of
Investments. On 1 July 2009, the arbitral tribunal issued an award against
Thailand to compensate damages to Walter Bau in the amount of around 30
million Euros plus interest and legal costs of around 2 million Euros.
2. As the United States is party to the 1958 Convention on the Recognition and
Enforcement of Foreign Arbitral Awards (the “New York” Convention), Walter
Bau brought the matter before the United States District Court, Southern
District of New York on 26 March 2010 seeking enforcement of the arbitral
award. The Southern District Court of New York ruled in favour of Walter Bau
and the Thai Government, through its Office of the Attorney-General, is in the
process of appealing the Court’s decision.
3. Concurrently, Walter Bau filed a claim with the German Civil Court seeking
enforcement of the arbitral award. On 11 July 2011, the German court ordered
the seizure of the assets of the Thai Government without seeking information
from the Thai side which led to the temporary impounding of the airplane
owned by HRH Crown Prince Maha Vajiralongkorn, which was parked in Munich
Airport, on 12 July 2011, under the mistaken belief that the airplane belonged
to the Thai Government.
4. The Foreign Minister said that the impounding by the German side was a
grave error based on a misunderstanding as the aforementioned airplane was
privately owned and not an asset of the Thai Government. Upon being
informed of the incident, the Thai side immediately contacted the German
authorities through every available channel to provide them with the correct
information and evidence about the private ownership of the said airplane. The
Thai Embassy in Berlin conveyed the above information to the German Federal
Foreign Office, the Foreign Minister has sent a letter to his counterpart to
express Thailand’s serious concerns and requesting the German side to
immediately revoke the impounding of the said airplane, and he also had a
telephone conversation with the State Secretary of the German Federal Foreign
Office. Furthermore, the Ministry of Foreign Affairs invited the Chargé d'affaires
of the German Embassy in Thailand to be briefed on the facts, and a team of
Thai legal experts led by the Attorney-General and Deputy Director-General of
the Department of Treaties and Legal Affairs has already arrived in Munich. At
the same time, the Thai ambassador to Berlin has arranged for a German
lawyer to be a legal advisor. Additionally, the Foreign Minister will be traveling to
Berlin on the night of 14 July 2011 to meet the German Federal Foreign Office
in the afternoon of 15 July 2011, to seek the release of the said airplane as
soon as possible.
5. The Foreign Minister emphasized that the incident was a matter between
Walter Bau and the Thai Government. The Thai Government respects and has
no intention to interfere in the judicial process of Germany as well as
understands that resolving the issue may require some time. Be that as it
may, the Thai Government hopes that the situation would be rectified as soon
as possible.
6. As for the legal case between Walter Bau and the Thai Government, the
Office of the Attorney-General, which has been appointed by the Thai
Government as the lead agency for the said case, is in the process of
appealing the decision of the Southern District Court of New York which will
proceed in accordance with the due judicial process.
เมื่อเวลา 15.00 น.วันที่ 15 ก.ค.ที่ผ่านมา เว๊บไซต์กระทรวงการต่างประเทศ ได้เผยแพร่
ข่าว คดีบริษัทวาลเทอร์ เบา ของเยอรมนี ฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจากรัฐบาลไทยมีใจความว่า
วันที่ 14 กรกฎาคม 2554 นายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
ให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวที่กระทรวงการต่างประเทศ เกี่ยวกับคดีบริษัทวาลเทอร์ เบา (Walter Bau)
ของเยอรมนี ฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจากรัฐบาลไทย สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
1. คดีดังกล่าวเป็นเรื่องระหว่างบริษัทวาลเทอร์ เบา ของเยอรมนีกับรัฐบาลไทย
โดยบริษัทฯ เป็นโจทก์ฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจากรัฐบาลไทย
กรณีผิดสัญญาโครงการทางด่วนดอนเมืองโทลเวย์ ตั้งแต่ปี 2548
ตามสนธิสัญญาระหว่างไทยกับเยอรมนี
เกี่ยวกับการส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุนต่างตอบแทน ค.ศ. 2002
ซึ่งคณะอนุญาโตตุลาการได้ตัดสินชี้ขาด เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2552
ให้รัฐบาลไทยชดใช้ค่าเสียหายแก่บริษัทฯ เป็นเงินประมาณ 30 ล้านยูโร บวกดอกเบี้ย
และค่าดำเนินการของคณะอนุญาโตตุลาการอีกเกือบ 2 ล้านยูโร
2. โดยที่สหรัฐฯ เป็นภาคีอนุสัญญาว่าด้วยการยอมรับนับถือและการใช้บังคับ
คำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการต่างประเทศ ค.ศ. 1958
(Convention on the Recognition and Enforcement of Foreign Arbitral Awards)
บริษัทฯ จึงได้นำคดีฟ้องต่อศาลนครนิวยอร์ก เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2553
เพื่อขอให้บังคับคดีตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ
ซึ่งต่อมาศาลนครนิวยอร์กได้ตัดสินให้ไทยปฏิบัติตามคำชี้ขาดของอนุญาโต ตุลาการ
รัฐบาลไทยโดยสำนักงานอัยการสูงสุดอยู่ระหว่างการอุทธรณ์คำตัดสินของศาล นิวยอร์ก
3 . ขณะเดียวกัน บริษัทฯ ได้ยื่นฟ้องต่อศาลแพ่งเยอรมนีอีกทางหนึ่งเพื่อให้มีการบังคับคดี
ซึ่งศาลเยอรมนีได้มีคำสั่งเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2554 ให้ยึดทรัพย์สินรัฐบาลไทย
โดยมิได้มีการสอบถามหรือไต่สวนฝ่ายไทย
ซึ่งนำไปสู่การอายัดเครื่องบินพระที่นั่งของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯสยามมกุฏราชกุมาร
ซึ่งจอดอยู่ที่ท่าอากาศยานนครมิวนิก เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2554
โดยเข้าใจผิดว่าเป็นเครื่องบินของรัฐบาลไทย
4 . รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศกล่าวว่า
การดำเนินการดังกล่าวของฝ่ายเยอรมันเป็นความผิดพลาดอย่างร้ายแรงอันเกิดจากความเข้าใจผิด
เนื่องจากเครื่องบินลำดังกล่าวเป็นเครื่องบินส่วนพระองค์ มิใช่ทรัพย์สินของรัฐบาลไทย
ฝ่ายไทยได้ดำเนินการติดต่อทางการเยอรมันทันทีที่ได้รับทราบเรื่องในทุกช่องทาง
เพื่อให้ข้อมูลที่ถูกต้องและหลักฐานยืนยันว่า เครื่องบินลำดังกล่าวเป็นทรัพย์สินส่วนพระองค์
โดยในการดำเนินการของฝ่ายไทยนั้น สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเบอร์ลิน
ได้ให้ข้อมูลข้างต้นแก่กระทรวงการต่างประเทศเยอรมนี และรัฐมนตรีว่าการฯ
ได้มีหนังสือถึง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเยอรมนี
แสดงความกังวลอย่างยิ่งของฝ่ายไทย
และขอให้ฝ่ายเยอรมันถอนการอายัดเครื่องบินลำดังกล่าวในทันที
และได้สนทนาทางโทรศัพท์กับปลัดกระทรวงการต่างประเทศเยอรมนี
กระทรวงฯ ได้เชิญอุปทูตสถานเอกอัครราชทูตเยอรมนีประจำประเทศไทย
มารับทราบข้อเท็จจริง และคณะผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมาย
นำโดยอัยการสูงสุดและรองอธิบดีกรมสนธิสัญญาฯ ได้เดินทางไปถึงนครมิวนิคแล้ว
ขณะที่เอกอัครราชทูต ณ กรุงเบอร์ลิน ได้ติดต่อทนายความเยอรมัน
เป็นที่ปรึกษาประเด็นด้านกฎหมาย นอกจากนั้น รัฐมนตรีว่าการฯ
จะเดินทางไปกรุงเบอร์ลินในคืนวันที่ 14 กรกฎาคม 2554
เพื่อพบกระทรวงการต่างประเทศเยอรมนีในบ่ายวันที่ 15 กรกฎาคม 2554
เพื่อให้มีการถอนอายัดเครื่องบินลำดังกล่าวโดยเร็วที่สุด
5 . รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศย้ำว่า กรณีที่เกิดขึ้นเป็นเรื่อง
ระหว่างบริษัทวาลเทอร์ เบา กับรัฐบาลไทย รัฐบาลไทยเคารพและไม่มีความตั้งใจ
ที่จะแทรกแซงกระบวนการยุติธรรมของเยอรมนี ตลอดจนเข้าใจว่าการดำเนินการเรื่องนี้
อาจต้องใช้เวลาบ้าง อย่างไรก็ตาม
รัฐบาลไทยหวังว่า กรณีที่เกิดขึ้นจะได้รับการแก้ไขโดยเร็วที่สุด
6 . สำหรับคดีฟ้องร้องระหว่างบริษัทวาลเทอร์ เบา กับรัฐบาลไทย สำนักงานอัยการสูงสุด
ซึ่งได้รับการแต่งตั้งโดยรัฐบาลไทยให้เป็นผู้รับผิดชอบในคดีดังกล่าว
กำลังอุทธรณ์คำตัดสินของศาลนครนิวยอร์ก
ซึ่งเป็นกระบวนการทางกฎหมายที่จะต้องดำเนินต่อไป
http://www.go6tv.com/2011/07/case-of-walter-bau-claiming-damages.html