WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Monday, February 13, 2012

แด่สื่อ: จากปาฐกถา 11 ก.พ. ของธงชัย วินิจจะกูล

ที่มา ประชาไท

ในการปาฐกถาเรื่อง ระบอบสังคมการเมืองที่ฝืนการเปลี่ยนแปลงคืออันตรายที่แท้จริง เมื่อวันที่ 11 ก.พ. ที่ผ่านมา หลายช่วงตอนที่ธงชัย วินิจจะกูล กล่าวถึงสื่อในฐานะปัจจัยสำคัญสำหรับการเรียนรู้ของสังคมไทยเฉกเช่นเดียวกับ ระบบการศึกษา

ในภาวะเปลี่ยนผ่าน ปลายรัชสมัย ที่สังคมการเมืองไทยถูกครอบงำด้วยอิทธิพลของ Hyper-royalism ซึ่งเป็นหลักพิงของประชาธิปไตยอำมาตย์ ‘สื่อ’ คือผู้มีบทบาทอย่างยิ่งต่อการเปลี่ยนแปลงในทางดีหรือเลว และจะปฏิเสธความรับผิดชอบนี้ไปไม่ได้ เมื่อมองย้อนจากโลกอนาคตในอีก 50 ปีข้างหน้า แต่ก็ดูเหมือนว่าสื่อมวลชนจำนวนไม่น้อยในประเทศนี้กลับมีลักษณะ Hyper-royalism เสียเอง

ประชาไท คัดถ้อยความที่ธงชัย กล่าวย้ำถึงสื่อมวลชนในประเทศนี้ โดยเขาวิพากษ์พร้อมเรียกร้องหลายครั้งให้สื่อทำหน้าที่ตามจรรยาบรรณ เริ่มตั้งแต่หมายเหตุก่อนเริ่มการปาฐกถาซึ่งเขากล่าวกับสื่อโดยตรงว่า ผู้จัดงานได้แจกเอกสารฉบับเต็มให้กับสื่อแล้ว ดังนั้น หากการแก้ไขบิดเบือนผิดเพี้ยนไปจากที่เขาพูด ก็ถือเป็นความรับผิดชอบของบรรณาธิการของสื่อนั้นๆ

ธงชัยกล่าวถึงสภาวะที่ลัทธิกษัตริย์นิยมเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตปกติ ทางสังคมและชีวิตประจำวันของปัจเจกชนอย่างมากยิ่งกว่ายุคใดๆในประวัติศาสตร์ คือ เข้มข้นกว่ายุคราชาธิปไตยหรือยุคสมบูรณาญาสิทธิราชย์ และเข้มข้นขึ้นเป็นลำดับตลอด 40 ปีที่ผ่านมา ดัชนีประการหนึ่งที่บ่งชี้สภาวะดังกล่าวคือ ปริมาณพื้นที่และเวลาของชีวิตประจำวันและประจำปีที่ลัทธิกษัตริย์นิยมเข้า ครอบครอง โดยช่องทางที่สำคัญก็คือ “สื่อ”

“หลักฐานชัดๆ คือปริมาณของกิจกรรมของทุกหน่วยงานทั้งเอกชนและราชการ รายการโทรทัศน์ วิทยุ สื่อมวลชนทั้งหลายที่เกี่ยวข้องกับสถาบันกษัตริย์ พิธีเฉลิมฉลองครบรอบวาระสำคัญทั้งหลายที่เกี่ยวข้องกับสถาบันกษัตริย์ทั้ง ชนิดประจำปีและชนิดพิเศษเฉพาะปี ถูกผลิตขึ้นมากมายถี่ยิบในเกือบ 40 ปีที่ผ่านมา ส่วนมากเป็นประเพณีประดิษฐ์ (invented traditions) คือ อ้างว่าเป็นของเก่าแต่ที่จริงผลิตขึ้นใหม่”

เขาอธิบายลักษณะของ Hyper-royalism เป็นลัทธิความเชื่อชนิดหนึ่งซึ่งไม่ได้อยู่บนความมีเหตุผล แต่กลับขึ้นอยู่กับศรัทธา ความเชื่อ และความกลัว ทั้งกลัวจะละเมิดโดยไม่ตั้งใจและกลัวว่าคิดต่างจากคนอื่นแล้วจะถูกรังเกียจ ถูกสังคมปฏิเสธ และสื่อที่อยู่ภายใต้สังคมที่ถูกครอบด้วยลักษณะ Hyper-royalism ก็ตกต่ำลงจากจุดเริ่มต้นของความกลัวมาสู่การประจบสอพลอโดยคิดว่าเป็นสิ่งที ต้องทำในที่สุด





Hyper-royalism ทำให้การสื่อสารอย่างโปร่งใสในทางสาธารณะมีขีดจำกัดจนบางเรื่องเชื่อถือไม่ ได้ เริ่มจากความกลัว หมายถึงสื่อมวลชนทั้งหลาย ต่อมากลายเป็นการคุมตัวเอง ต่อมากลายเป็นการร่วมมือเผยแพร่ข่าวด้านเดียว ต่อมากลายเป็นการร่วมประจบสอพลอ แต่ในขณะเดียวกัน ข่าวสารข้อมูลความเห็นกลับหลบลงใต้ดิน เรากล้าพูดความจริงได้ไหม สื่อมวลชนทั้งหลาย คนทั้งสังคมรู้อยู่ว่าข่าวลือเต็มไปหมด และบ่อยครั้งมีความจริงมากว่าข่าวสารสาธารณะเสียอีก เรากล้ายอมรับความจริงกันได้ไหมว่าวัฒนธรรมการนินทาเจ้าแผ่ไปทั้งสังคมแล้ว นักวิชาการบางท่านเรียกร้องให้ประเทศไทย สังคมไทย รู้จักวัฒนธรรมการวิจารณ์ ผมอยากเรียนท่านอาจารย์ที่นับถือท่านั้นว่านี่ไงการนินทาเจ้า คือวัฒนธรรมการวิจารณ์แบบไทยๆ อย่างหนึ่ง บ่อยครั้งไม่สร้างสรรค์ แต่ไม่มีทางเลือกอื่น เพราะในที่สาธารณะอนุญาตให้มีแต่การประจบสอพลอและแข่งกันจงรักภักดี เรากล้ายอมรับความจริงได้ไหมว่า วัฒนธรรมที่ชนชั้นสูงและพวกกษัตริย์นิยมเองจำนวนไม่น้อย อาเศียรวาทสดุดีในที่แจ้ง แต่นินทาว่าร้ายในที่ส่วนตัว เป็นเรื่องปกติของผู้นิยมเจ้าและของประชาชนทั่วไปจำนวนไม่น้อย”

“สื่อมวลชนส่วนข้างมากคุณภาพตกต่ำไร้ความรับผิดชอบ และน่ารังเกียจ เริ่มจากความกลัว ต่อมากลายเป็นความเคยชิน ละทิ้งจรรยาบรรณทางวิชาชีพจนเป็นเรื่องปกติ แรกๆ ก็บอกว่าทำเพื่อความอยู่รอด นานๆ เข้าก็ปกป้องตัวเองว่าทำถูกต้องแล้ว ลงท้ายพวกเขาถูกกลืนเป็นส่วนหนึ่งของสังคมที่ตอแหล ให้ความชอบธรรมแก่สิ่งที่ตนร่วมกระทำ บางแห่งถึงขนาด “ร่วมล่าแม่มด” ร่วมโฆษณาชวนเชื่อ ทำร้ายประชาชน”

ลักษณะไฮเปอร์รอยัลลิสต์ที่แสดงออกจนล้นเกินนำมาสู่ความวิปลาสใน สังคมอย่างเห็นได้ชัดเจนจากหลายปรากฏการณ์ เป็นความวิปลาสที่สังคมไทยไม่รู้สึก ไม่เห็นถึงความผิดปกติ แม้ว่านานาอารยะประเทศจะอิดหนาระอาใจกับลักษณะพิเศษอันวิปลาสของสังคมไทยมาก แล้วก็ตามทีโดยเขายกตัวอย่างหนึ่งของความวิปลาสจากลักษณะไฮเปอร์รอยัลลิสต์ ของสื่อมวลชนรายหนึ่ง





“คำกล่าวประเภทว่า พ่อแม่ไม่สั่งสอน” นี้ ในแง่หนึ่ง สะท้อนจิตใจและรสนิยมต่ำของผู้พูดเอง แต่ถ้าเป็นสื่อมวลชนในอารยะสังคมจะถูกประณาม ถูกเรียกร้องให้ขอโทษ ถ้าไม่ขอโทษหรือต่อให้ขอโทษก็มักจะถูกถอดรายการเพราะถือเป็นความไม่รับผิด ชอบต่อสังคม คุณเห็นข่าวบ่อยๆ ฝรั่งเขาพูดเบากว่านี้เยอะแยะก็ถูกถอดรายการเลย การที่เขาไม่ถูกลงโทษ แม้กระทั่งจากเจ้านายเขาเอง สะท้อนความตกต่ำของมาตรฐานสื่อมวลชนไทย เรารู้กันอยู่ว่าเดอะเนชั่น พยายาม กระเสือกระสนอยากจะเป็นสากล การที่เดอะเนชั่นไม่ลงโทษคนของตัวที่พูดแบบนี้ ไม่มีทางติดอันดับสากลอีกไกล ผู้ใหญ่ในเนชั่นรู้ข้อนี้ดี เขารู้จักสังคมต่างประเทศดี แต่กลับไม่ทำ”

และอีกตัวอย่างหนึ่ง

“เมื่อนิติราษฎร์ถูกขู่ ถูกคุกคาม ก็ถูกเรียกร้องให้สอบสวนลงโทษและถูกจำกัดพื้นที่ ในอารยะสังคม เขาเรียกร้องอาการทำนองนี้ว่าเป็นการลงโทษเหยื่อที่ถูกข่มขืน โปรดตระหนักว่าความวิปริตข้อนี้อยู่ในสังคมไทยมานานแล้ว เพราะความวิปริตข้อนี้มีมูลเหตุอันเดียวกับการที่คนจำนวนมากยืนดูการแขวนคอ และเผาทั้งเป็น และตอกอกได้โดยไม่เข้าช่วยเหลือ ยับยั้ง สามารถแสดงความพึงพอใจได้ในขณะที่มีคนใช้เก้าอี้ฟาดร่างที่ไร้ชีวิต”

ธงชัยย้ำอีกครั้งในตอนท้ายของปาฐกถาว่าสองวิชาชีพที่พึงรับผิดต่อความอ่อนแอทางปัญญาของสังคมไทยก็คือ ระบบการศึกษาและสื่อมวลชน

“ความอ่อนแอทางปัญญา สะท้อนออกมาในสองวงการที่คุณภาพต่ำอย่างน่าวิตก คือ ระบบการศึกษาและสื่อมวลชน ... 2 วิชาชีพ นี้เพราะมีบทบาทสำคัญต่อการสร้างปัญญาที่จะช่วยให้สังคมรู้จักคิด ฝ่าการเปลี่ยนแปลงอย่างมีสติและความรู้ หรือสร้างปัญหา กล่อมประสาทตอแหลหลอกลวงตัวเองจะสายเกินการณ์.... ความตกต่ำของวิชาชีพทางปัญญาเป็นเหตุหนึ่งของความวิปลาสยามสังคมเผชิญความ เปลี่ยนแปลงแล้วเอาแต่ขัดฝืนฉุดรั้ง ในทางกลับกัน ครั้นความวิปริตวิปลาสเหล่านี้เกิดจนเป็นปกติ ผู้คนไม่รู้สึกอะไร ไม่ถูกทัดทาน ไม่ต้องขอโทษ ไม่ถูกปลด ไม่ถูกสอบสวน มาตรฐานทางการเมืองก็ไม่ต้องรับผิด ความไม่รู้จักผิดชอบชั่วดีพรรค์นี้เองที่มีส่วนทำให้มาตรฐานและจรรยาบรรณ ของวงวิชาการและสื่อมวลชนตกต่ำอย่างน่าวิตก”

และสิ่งที่เขาทิ้งท้ายขอร้องสื่อมวลชนก็คือ





“ขอความกรุณาสื่อมวลชน ขอแค่ทำตามจรรยาบรรณแค่นั้นนะฮะ ไม่ขอมากกว่านี้ เราต้องการวุฒิภาวะทางปัญญาและการเมืองชนิดที่จะคุยกันอย่างอารยะชน มิใช่แข่งขันกันแสดงความจงรักภักดีอย่างขาดสติ กรุณาคิดถึงอนาคต นิติราษฎร์เขาทำเพราะเขาคิดถึงอนาคตไปไกล ไม่ใช่คิดถึงการเมืองระยะสั้น สังคมไทยที่พึงปรารถนาควรจะใจกว้าง อยู่กันได้ รวมทั้งระหว่างคนรักเจ้าไม่เท่ากัน แบบต่างๆ กัน คนที่ไม่ยินดียินร้าย และคนที่ไม่รักเจ้าเลยก็ควรจะอยู่ได้ ตราบเท่าที่เขาไม่ใช้ความรุนแรงบังคับข่มเหงคนอื่น ไม่ใช้ความรุนแรงในการเปลี่ยนแปลงระบอบการเมืองควรจะยอมรับกันได้

ผมไม่ทราบจริงๆ ว่าจะเกิดอะไรขึ้นในอนาคตอันใกล้ แต่ผมค่อนข้างมั่นใจว่าในอีก 50 ปีข้างหน้า ประวัติศาสตร์จะย้อนมองกลับมาปัจจุบัน จะเห็นมูลเหตุของวิกฤต 3 ประการที่กล่าวมา จะเห็นว่าวิกฤตของระบอบประชาธิปไตย เกิดจากประชาธิปไตยของอำมาตย์ ที่สร้างความสำเร็จ แล้วความสำเร็จนั้นย้อนกลับมาท้าทายระบอบนั้นเอง แต่ระบอบนั้นกลับไม่สามารถปรับตัวมาได้ เหตุที่ปรับตัวไม่ได้ก็เพราะ Hyper-royalism ผมมั่นใจว่าอีก 50 ปีข้างหน้าประวัติศาสตร์จะบันทึกความพยายามของคนจำนวนหนึ่ง รวมทั้งของนิติราษฎร์ และ ครก.112 ที่จะหาทางออกให้กับสังคมไทยด้วยความปรารถนาดี แต่ผมไม่ทราบว่าลงท้าย การขัดฝืนปัจจุบันจะจบลงอย่างไร สังคมไทยจะปรับตัวได้หรือไม่ ณ วันนี้เราบอกได้แต่เพียงว่า อันตรายที่แท้จริงเกิดจากการฉุดรั้งขัดฝืนความเปลี่ยนแปลงจะถูกถอดชนวนได้ ทันกาล หรือจะดึงดันไปถึงจุดสุดท้ายของอภิชนาธิปไตย ผมไม่ทราบ สังคมไทยจะปลดล็อก เปิดประตู แล้วเดินเข้าประตูการปรับตัวหรือไม่ นิติราษฎร์ และ ครก.112 ช่วยเสนอทางปลดล็อกให้ทางหนึ่งแล้ว เราทุกคนในสังคมไทย ผมรู้ผมกำลังพูดถึงคนอีกเยอะที่ไม่ใช่แค่ที่นี่ เราทุกคนมีส่วนในการตัดสินใจเพื่ออนาคตของสังคมไทย และลูกหลานของเรา ว่าอยาก ว่าต้องการ และจะพยายามเดินเข้าสู่ประตูของการปรับตัวนั้นหรือไม่ ตัดสินใจกันเถอะครับ”