WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Saturday, February 18, 2012

นักรบไซเบอร์เรียกร้องหมอเหวงจัดการคดีพันธมิตร

ที่มา Thai E-News



16 กุมภาพันธ์ 2555
โดย เรดด์ เลิฟ


สิ่งที่หมอเหวงต้องทำไม่ใช่แค่เร่งรัดเจ้าหน้าที่ให้ดำเนินคดีกับสนธิ ลิ้มทองกุล ที่ออกมาพูดยุยงให้ทหารทำรัฐประหาร แต่สิ่งที่หมอเหวงและรัฐบาลนี้ต้องเร่งรัดคือ

กลุ่มพันธมิตรฯ มีคดีความที่ถูกฟ้องร้องดำเนินคดีในระหว่างการชุมนุมรวมทั้งสิ้น 36 คดี

อย่างไรก็ตามข้อเท็จจริง
ในส่วนของคดีอาญาในการดำเนินการกับกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยในคดีก่อการร้ายนั้นมีการตั้งข้อสังเกตว่าล่าช้ามาก(ข้อเท็จจริงอย่างหนึ่งคือการสั่งเลื่อนฟ้องร้องของพนักงานอัยการที่มากกว่า 10 ครั้งแล้วในปัจจุบัน) เมื่อเทียบกับกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการซึ่งพนักงานอัยการมีการสั่งเลื่อนฟ้องเฉพาะคดีบุกทำเนียบเท่านั้น

โดยจะเห็นได้ว่ากลุ่มแกนนำพ
ันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยไม่มีใครเลยที่ต้องเข้าเรือนจำแม้แต่วันเดียวในข้อหาก่อการร้าย ความล่าช้านี้นำมาสู่วาทะแห่งปี 2551 ม็อบมีเส้นของ พล.ต.อ.โกวิท วัฒนะ โดยท่านกล่าวในขณะดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยว่า

“ทุกคนก็ทราบดีว่าม็อบนี้เป็นม็อบมีเส้น หากเป็นม็อบธรรมดาเรื่องจบไปนานแล้ว”

อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 19 มกราคม พ.ศ.2554 นายไชยวัฒน์ สินธุวงศ์ ได้ถูกจำคุก โดยตำรวจได้ฝากขังตามประมวญ
กฎหมายอาญา มาตรา 135/1 อันเป็นความผิดฐานก่อการร้าย ก่อนออกจากเรือนจำเมื่อวันที่ 27 มกราคม พ.ศ.2554 หลังมีคำสั่งศาลให้ปล่อยตัวชั่วคราว

ซึ่งเท่ากับว่าแกนนำพันธมิต
รประชาชนเพื่อประชาธิปไตยได้ถูกเข้าเรือนจำในข้อหาก่อการร้ายเพียงคนเดียว และ เพียง 8 วัน จากที่ตำรวจฝากขัง 12 วัน โดยคดีความที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ที่สำคัญ ได้แก่

กรณีการบุกยึดทำเนียบรัฐบาล

หลังจากเหตุการณ์บุกเข้าใช้ทำเนียบรัฐบาลเพื่อใช้เป็นสถานที่ชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรฯ ในวันที่ 27 สิงหาคม องค์คณะผู้พิพากษาศาลอาญาไต่สวนคำร้องขออนุมัติออกหมายจับและได้อนุมัติออกหมายจับ 9 แกนนำกลุ่มพันธมิตรฯ ได้แก่ สนธิ ลิ้มทองกุล, พลตรีจำลอง ศรีเมือง, พิภพ ธงไชย, สมศักดิ์ โกศัยสุข, สมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์, สุริยะใส กตะศิลา, เทิดภูมิ ใจดี, อมร อมรรัตนานนท์ และ ไชยวัฒน์ สินสุวงศ์

โดยระบุว่า ผู้ต้องหาที่ 1-9 ใช้กำลังประทุษร้ายเพื่อล้ม
ล้างอำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร หรืออำนาจตุลาการแห่งรัฐธรรมนูญ ผู้นั้นกระทำความผิดฐานเป็นกบฏ ต้องระวางโทษประหารชีวิต หรือจำคุกตลอดชีวิต ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 113, ผู้ใดสะสมกำลังพลหรืออาวุธ ตระเตรียมการ หรือสมคบกันเพื่อเป็นกบฏ ระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 3-15 ปี มาตรา 114, มั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป ใช้กำลังประทุษร้ายหรือกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใด ให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง และเมื่อเจ้าพนักงานสั่งผู้ที่มั่วสุมให้เลิกแล้วไม่เลิก ระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 6,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ตามมาตรา 215 และ 216

ต่อมา ในวันที่ 3 ตุลาคม ขณะที่นายไชยวัฒน์ สินสุวงศ์ ที่ถูกหมายจับข้อหาเป็นกบฏได้เดินทางไปที่บ้านของนายไกรศักดิ์ ชุณหะวัณ เพื่อผลัดเปลี่ยนเสื้อผ้าและเดินทางกลับด้วยรถยนต์ส่วนตัว ได้ถูก พ.ต.อ.ปรีชา ธิมามนตรี เข้าจับกุมตัวและนำตัวไปกักขังไว้ที่กองบังคับการตำรวจตระเวนชายแดนภาค 1 คลอง 5 ปทุมธานี ถัดมา เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม ซึ่งตรงกับวันเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พล.ต.จำลอง ศรีเมือง ได้ออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งและถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจเข้าจับกุม โดยนำไปควบคุมตัวที่เดียวกับนายไชยวัฒน์ แต่ พล.ต.จำลองแสดงความจำนงว่าไม่ต้องการประกันตัวเช่นเดียวกับนายไชยวัฒน์

อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม ศาลอุทธรณ์ได้มีคำสั่งให้เพิกถอนหมายจับข้อหากบฏ 9 แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยและข้อหาซ่องสุมกำลัง โดยที่ศาลได้ให้เหตุผลในการถอนหมายจับว่าเป็นการตั้งข้อหาเลื่อนลอย แต่ศาลอุทธรณ์ยังให้คงหมายจับข้อหาผู้ใดกระทำการเพื่อให้เกิดการปั่นป่วนกระด้างกระเดื่องในหมู่ประชาชน ระวางโทษจำคุกไม่เกิน 7 ปี มาตรา 116 ข้อหามั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป ใช้กำลังประทุษร้ายหรือกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง และเมื่อเจ้าพนักงานสั่งผู้ที่มั่วสุมให้เลิกแล้วไม่เลิก ระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 6 พันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ตามมาตรา 215 และ 216 ในวันเดียวกันนี้ ศาลยังได้อนุมัติให้พลตรีจำลอง ศรีเมือง และนายไชยวัฒน์ สินสุวงศ์ประกันตัวอย่างไม่มีเงื่อนไข

คดีอาญาการบุกสถานีวิทยุโทร
ทัศน์แห่งประเทศไทย

ศาลลงโทษจำคุกนักรบศรีวิชัยของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยสูงสุด 6เดือน 8เดือน 9เดือน 1ปี 1ปี4เดือน 1ปี 6เดือน 2ปี สูงสุด 2ปี 6เดือน ปรับสูงสุด 1,500 บาท

คดีแพ่งการบุกยึดทำเนียบรัฐบาล

นอกจากนี้ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรียังเข้าแจ้งความต่อแกนนำพันธมิตร 6 คนที่ร่วมกันบุกรุกทำเนียบรัฐบาลทำให้สวนหย่อมด้านหน้าเสียหาย เป็นมูลค่ากว่า 6 ล้านบาท ซึ่งคดีกำลังอยู่ในระหว่างการพิจารณา

คดีจี้รถเมล์

ศาลอาญามีคำสั่ง จำคุก 5 การ์ดพันธมิตร ในข้อหามีอาวุธปืนและระเบิด เพื่อใช้ข่มขู่บังคับพนักงานรถเมล์และผู้โดยสารรถเมล์ให้ไปยังรัฐสภาโดยร่วมกันใช้อาวุธจี้ มีความผิด ฐานร่วมกันข่มขืนใจและกักขักหน่วงเหนี่ยว มีอาวุธปืนและระเบิดโดยไม่ได้รับอนุญาติ และใช้ในที่สาธารณะ รวมจำคุก 2 ปี ปรับ 66 บาท และฐานมีวิทยุสื่อสารในโดยไม่ได้รับอนุญาติ (คนเดียว)รวมจำคุก 2 ปี ปรับเพิ่มอีก 2000 บาท ผู้ต้องหาขอประกันตัวและยื่นต่อศาลอุทธรณ์ ศาลอนุญาติ

คดีอาญาการบุกยึดท่าอากาศยานดอนเมืองและสุวรรณภูมิ

การบุกยึดท่าอากาศยานดอนเมืองและสุวรรณภูมิของกลุ่มพันธมิตรส่งผลให้ถูกดำเนินคดีความโดยสามารถแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่

คดีการบุกรุกท่าอากาศยานดอนเมือง โดยพนักงานสอบสวนได้แจ้งข้อหาดำเนินคดีกับแกนนำกลุ่มพันธมิตรฯ รุ่น 1 และ 2 รวมทั้ง ผู้ประกาศเอเอสทีวีที่ร่วมดำเนินรายการเวทีปราศรัย รวม 27 คน ใน 4 ข้อหาตามประมวลกฎหมายอาญาในมาตรา 116 , 215 , 216 ที่มั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไปกระทำการใดๆ เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในกฎหมายแผ่นดิน เพื่อให้เกิดความปั่นป่วน หรือกระด้างกระเดื่องในหมู่ประชาชน ถึงขนาดที่จะก่อความไม่สงบขึ้นในราชอาณาจักร โดยเจ้าหน้าที่สั่งให้เลิกแล้วไม่เลิก และมาตรา 364 ที่บุกรุกสำนักงานในความครอบครองของผู้อื่น ซึ่งโทษสูงสุดอยู่ที่มาตรา 116 คือ ระวางโทษจำคุกไม่เกิน 7 ปี

ส่วนคดีบุกรุกท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ โดยพนักงานสอบสวนได้แจ้งข้อหาดำเนินคดีกับแกนนำกลุ่มพันธมิตรฯ รุ่น 1 และ 2 รวมทั้งผู้ประกาศเอเอสทีวี ที่ร่วมดำเนินรายการเวทีปราศรัย รวม 25 คน ใน 7 ข้อหาตามประมวลกฎหมายอาญาในมาตรา 116 , 215 , 216 และ 364 ซึ่งเป็นข้อหาเดียวกับสำนวนบุกรุกท่าอากาศยานดอนเมือง ส่วนข้อหาที่เพิ่มขึ้นมาอีก 3 ข้อหา ตามพระราชกำหนด แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. 2546 ในมาตรา 135/1, 135/2, 135/3, 135/4 และประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 358 โดยมีโทษสูงสุด คือ ประหารชีวิต

ปัจจุบันแม้เวลาจะผ่านมา 2 ปี ครึ่งแต่คดีนี้ยังไม่แล้วเสร็จอัยการได้ทำการเลื่อนฟ้องไม่ต่ำกว่า 10 ครั้ง

สิ่งที่หมอเหวงและรัฐบาลควรจะเร่งรัดคือเรื่องพวกนี้ ไม่ใช่พูดแต่เรื่องปรองดอง