WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Tuesday, February 14, 2012

เครือข่ายผู้หญิงฯ หนุน “นลินี” นั่ง ปธ.กองทุนพัฒนาบทบาทสตรีฯ

ที่มา MCOT



สำนัก ข่าวไทย 14 ก.พ.- เครือข่ายผู้หญิงฯ หนุน "นลินี ทวีสิน" เป็นประธานกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีแห่งชาติ จะช่วยให้งานขับเคลื่อนกองทุนฯ เดินหน้าได้ เพราะมีหลายหน่วยงานมาร่วมทำงาน ไม่ปล่อยให้ พม.หน่วยงานเดียวเหมือนแต่ก่อน เตรียมยื่นข้อเสนอจากภาคีเครือข่ายสตรี ต่อนายกฯ วันที่ 18 ก.พ.นี้

ดร.สุธาดา เมฆรุ่งเรืองกุล ผู้ประสานงานเครือข่ายผู้หญิงพลิกโฉมประเทศไทย กล่าวถึงกรณีคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเมื่อวันที่ 7 ก.พ. 2555 แต่งคณะกรรมการกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีแห่งชาติ โดยมีการเปลี่ยนองค์ประกอบคณะกรรมการใหม่ จากเดิมที่มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เป็นประธาน เป็นให้มีหลายหน่วยงานมาทำงานร่วมกัน โดยให้ นางนลินี ทวีสิน รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน รมว.พม. เป็นรองประธาน เพิ่มรองประธาน 2 คน ประกอบด้วย รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (มท.) และ เลขาธิการนายกรัฐมนตรี โดยมีคณะทำงานระดับปลัดกระทรวง อธิบดี ลดบทบาท พม. ลง ซึ่งเชื่อว่าดีกว่าเดิมเนื่องจากมี 2-3 กระทรวง เข้ามาช่วยทำงาน ซึ่งจะช่วยขับเคลื่อนงานกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีฯ เดินหน้าได้ โดยคณะกรรมการกองทุนฯ มีหน้าที่ศึกษารูปแบบ กรอบการดำเนินงาน, ติดตามเร่งรัดการดำเนินงานให้เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาล, แต่งตั้งคณะอนุกรรมเพื่อมาทำงาน และ ดำเนินการอื่นใดตามที่นายกรัฐมนตรี มอบหมาย มีผลตั้งแต่ 9 ก.พ.ที่ผ่านมา

ดร.สุธาดา กล่าวต่อว่า วันที่ 18 ก.พ.นี้ เครือข่ายสตรีฯ จะรวบรวม ความเห็นจากภาคีเครือข่ายสตรีทั่วประเทศต่อ "กองทุนพัฒนาบทบาทสตรี" พร้อมข้อเสนอต่อการจัดตั้งกองทุน พัฒนาสตรีฯ จังหวัดละ 100 ล้านบาท (รวม 7,700 ล้านบาท) ไปมอบให้กับนายกรัฐมนตรี ณ ทำเนียบรัฐบาล คาดว่าจะได้พบกับ นางนลินี ในฐานะประธานคณะกรรมการกองทุนฯ ด้วย โดยข้อเสนอที่ภาคีเครือข่ายสตรีจะมอบให้นั้น บางส่วนมองว่า ควรแยกการช่วยเหลือให้สตรีเข้าถึงแหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ ออกจากกองทุนจังหวัดละ 100 ล้านบาท เพราะไม่เพียงพอ แต่ต้องทำการสำรวจจำนวนว่า ผู้หญิงที่ยากจน และผู้หญิงที่มีความจำเป็นมีจำนวนเท่าไร ทำอย่างไร ภาครัฐจะเข้ามาทำงานช่วยเหลือโดยไม่ต้องทุ่มเงิน เช่น อาจจะร่วมมือกับธนาคารพาณิชย์ ส่วนกองทุน 100 ล้านบาท พิจารณาการใช้งานภายใต้นโยบายการพัฒนาสตรี.- สำนักข่าวไทย



ที่มา : สำนักข่าวไทย MCOT