WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Monday, February 13, 2012

ไขความเข้าใจ มาตรา 8 รัฐธรรมนูญ ของผู้ซึ่งนำไปโยงมาตรา 112

ที่มา ประชาไท

ผมจะอธิบายเรื่องขำ ๆ ให้ท่านอ่านนะครับ

มีคนโยงมาตรา ๘ รัฐธรรมนูญราชอาณาจักรไทย (๒๕๕๐) [๑] กับ มาตรา ๑๑๒ ประมวลกฎหมายอาญา ไว้ด้วยกัน ซึ่งเป็นเรื่องโจ๊กในทางวิชาการ (ไม่ใช่ความเห็นต่างนะครับ โจ๊กยังไง มาดูกันทีละลำดับ)

มาตรา ๘ รัฐธรรมนูญ (๒๕๕๐) มีทั้งสิ้น ๒ วรรค นะครับ วรรคหนึ่ง "องค์พระมหากษัตริย์ทรงดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้" และ วรรคสอง "ผู้ใดจะกล่าวหาหรือฟ้องร้องพระมหากษัตริย์ในทางใด ๆ มิได้"

เรามาดู "ความเป็นมา" ซึ่งมีเรื่องขำๆ เป็นเหตุของเรื่อง "โจ๊ก" ข้างต้นอยู่ดังนี้

ตามรัฐธรรมนูญ ๒๗ มิ.ย.๒๔๗๕ ข้อความมีว่า "กษัตริย์จะถูกฟ้องร้องคดีอาชญายังโรงศาลไม่ได้เป็นหน้าที่ของสภาผู้แทน ราษฎรจะวินิจฉัย" นะครับ (มาตรา ๖)

ดู ข้อความนั้นดีๆ นะครับ

รัฐธรรมนูญ ๑๐ ธ.ค.๒๔๗๕ ข้อความเป็นว่า "องค์พระมหากษัตริย์ดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการ ผู้ใดจะละเมิดมิได้" (มาตรา ๓) ซึ่งมีความหมายเดียวกับ ฉบับ ๒๗ มิ.ย.๒๔๗๕ แต่ตัดอำนาจพิจารณาคดีอาญาที่กษัตริย์กระทำผิด ไปจากสภาผู้แทนราษฎร์ (ดูคำอภิปรายของประธานอนุกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ ๒๔๗๕ ในรายงานการประชุมสภาที่ ๓๕/๒๔๗๕) ต่อมา รัฐธรรมนูญ ๒๔๘๙ หรือแม้กระทั่ง รัฐธรรมนูญ ๒๔๙๐ ก็ยืนตามนี้

ทั้งนี้ อาจเทียบคำอธิบายรัฐธรรมนูญ ของ หยุด แสงอุทัย ฉบับพิมพ์ปี ๒๔๘๙ (หน้า ๓๓ - ๕๑)

กาลวิบัติบังเกิด ในรัฐธรรมนูญ ๒๔๙๒ ได้เอา รัฐธรรมนูญ ๒๗ มิ.ย.๒๔๗๕ รวมๆ กับ รัฐธรรมนูญ ๑๐ ธ.ค.๒๔๗๕ ในเรื่องเดียวกัน แต่เปลี่ยนวิธีเขียน (แม้จะตัดอำนาจตรวจสอบบางประการออกไป แต่ต้องเข้าใจว่าเป็นเรื่องเดียวกันนั่นเอง) รัฐธรรมนูญ ๒๔๙๒ ทำเรื่องตลก คือ นำ ๒ เวอร์ชันมาลงไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับเดียวกัน โดยแยกเป็น ๒ มาตรา ดังนี้ "องค์พระมหากษัตริย์ดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการ ผู้ใดจะละเมิดมิได้" (มาตรา ๕) และ "ผู้ใดจะกล่าวหาหรือฟ้องร้องพระมหากษัตริย์ในทางใดๆ มิได้" (มาตรา ๖) และฉบับ ๒๔๙๕ ก็ยืนตาม

มาปรากฏอีกที ในรัฐธรรมนูญ ๒๕๐๒ ยืนตาม ฉบับ ๑๐ ธ.ค.๒๔๗๕

รัฐธรรมนูญ ๒๕๑๑ ยืนตาม ๒๔๙๒

ดูดีๆ นะครับ

*รัฐธรรมนูญ ๒๕๑๕ สมาส (ชน) สนธิ (เชื่อม) จากเดิม (เรื่องเดียวกัน เปลี่ยนวิธีเขียน) ซึ่งกลายมาเป็น ๒ มาตรา (ตั้งแต่เวอร์ชั่น ๒๔๙๒) ให้แปลงร่างแบบฉบับ ๒๔๙๒ เป็นมาตราเดียว และประโยคเดียว "พระมหากษัตริย์ทรงดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้ และจะกล่าวหาหรือฟ้องร้องในทางใดๆ มิได้" (มาตรา ๔)

แต่ยังไม่นิ่งครับ

รัฐธรรมนูญ ๒๕๑๗ ยืนตาม ๒๔๙๒

*รัฐธรรมนูญ ฉบับ ๒๕๑๙ (มาตรา ๕) รัฐธรรมนูญ ฉบับ ๒๕๒๐ (มาตรา ๔) กลับมายืนตาม ๒๕๑๕ คือ ทำให้เป็นมาตราเดียว และประโยคเดียว

จับตาดูดีๆ นะครับ อันนี้สำคัญ

จากนั้น รัฐธรรมนูญ ๒๕๒๑ แปลงร่าง จากรัฐธรรมนูญ ๒๕๑๕ แตกเซลล์ภายใน โดยเริ่มเขียนไว้ในมาตราเดียวกัน แต่แยกเป็น สองวรรค ดังนี้ วรรคหนึ่ง "องค์พระมหากษัตริย์ดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได" และ วรรคสอง "ผู้ใดจะกล่าวหาหรือฟ้องร้องพระมหากษัตริย์ในทางใดๆ มิได้" (มาตรา ๖)

หากท่านอารมณ์ขันสักนิด อาจย้อนกลับไปดู รัฐธรรมนูญ ๒๔๗๕ ทั้งสองฉบับ

ถัดจาก ๒๕๒๑ ยังไม่นิ่งครับ

รัฐธรรมนูญ ๒๕๓๔ (เวอร์ชัน พลเอก สุนทร คงสมพงษ์ หรือเวอร์ชันต้นปี) ยืนตามเวอร์ชัน ๒๕๑๕ (รวมไว้เป็นมาตราเดียว ประโยคเดียว)

ต่อมา รัฐธรรมนูญ ๒๕๓๔ (เวอร์ชันปลายปี) รัฐธรรมนูญ ๒๕๔๐ และ ๒๕๕๐ ก็ลอกตาม ฉบับ ๒๕๒๑ (มาตราเดียว แบ่งเซลล์เป็น สองวรรค)

ท่านทั้งหลายเห็นอะไรครับ?

ท่านจะเห็นได้ว่า ไม่ว่าจะเขียน "องค์พระมหากษัตริย์ทรงดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้" (ถ้อยคำเวอร์ชัน ๑๐ ธ.ค. ๒๔๗๕)

หรือจะเขียน "กษัตริย์จะถูกฟ้องร้องคดีอาชญายังโรงศาลไม่ได้" (ถ้อยคำที่ใช้ในเวอร์ชัน ดั้งเดิม ๒๗ มิ.ย.๒๔๗๕)

มันก็มีความหมายเดียวกัน แต่เปลี่ยนวิธีเขียน

นั่นคือ มาตรา ๘ ปัจจุบัน วรรคหนึ่ง "องค์พระมหากษัตริย์ทรงดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้" และวรรคสอง "ผู้ใดจะกล่าวหาหรือฟ้องร้องพระมหากษัตริย์ในทางใดๆ มิได้" อธิบาย (ซึ่งจะตลก - แต่จะตลกเพราะ "ต้นตอ - ที่มา" ของมันเอง) ได้ว่า มาตรา ๘ วรรคแรก เป็นบทบัญญัติขยายความ มาตรา ๘ วรรคสอง นั่นเองครับ ซึ่งเป็นการบัญญัติที่แปลกประหลาดดี แต่นี่ล่ะครับ คุณต้องดู "ต้นตอ - ที่มาที่ไป" ของบทบัญญัตินี้ ว่า เขารวม เขาเชื่อมกันอย่างไร

ถ้าท่าน งง ว่า ผมตีความเพี้ยนๆ นะ ได้ยังไง บทบัญญัติวรรคแรก ขยายความวรรคสอง (ทั้งๆ ที่ ควรอธิบายว่า วรรคแรก คือบทบัญญัติทั่วไป ส่วนวรรคสอง เป็นบทบัญญัติเฉพาะเรื่อง) นั่นเพราะ ทั้งสองวรรค คือเรื่องเดียวกันนั่นเองครับ จึงบังคับไปในตัว ให้เราจำต้องอธิบายเช่นนี้ - งง มั้ยครับ? ถ้างง ย้อนกลับไปอ่าน ช่วงต้นบทความเสียใหม่ครับ ขำ ๆ เปลาะแรก ด้วยประการฉะนี้

ดังนั้น เมื่อท่านจะโยงมาตรา ๑๑๒ ประมวลกฎหมายอาญา เข้ากับมาตรา ๘ รัฐธรรมนูญ (เป็นที่เคารพสักการะผู้ใดจะละเมิดมิได้) นั้น ย่อมเป็นความเพี้ยนพิลึกของท่านผู้นั้นเอง

สำหรับการแก้ไขมาตรา ๑๑๒ ก็เป็นการแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา มิได้แก้ไขรัฐธรรมนูญ ทั้งนี้ทั้งนั้น หาได้เกี่ยวข้องกันใดๆ ทั้งสิ้น

บรรทัดนี้ จะซีเรียสเล็กน้อย เพื่อเป็นแก่นสารสาระยิ่งขึ้น : เรื่องจะฟ้องกษัตริย์มิได้นั้น เป็นฐานคิดอย่างสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ซึ่ง รัฐ คือ องค์กษัตริย์ ดัง นั้น จะจับกษัตริย์มิได้ เพราะบังคับคดีต่อ "รัฐ" ไม่ได้นั่นเอง (จะจับ "รัฐ" เข้าคุกไม่ได้) เนื่องจาก "รัฐ คือ อำนาจที่ก่อตัวเป็นระบบ" รัฐเป็นนามธรรมก่อตัวขึ้นเป็น "สถาบัน" (อำนาจที่ก่อตัวขึ้นเป็นระบบ : เป็นเกร็ดให้สังเกตว่า คุณจะเห็นว่า อย่าง "กรรมสิทธิ์" ในทรัพย์สิน ก็มีความเป็น สถาบัน เช่น กัน) ในระบบกฎหมายของรัฐสมัยใหม่ (หมายถึง หลังยุคกลาง) ครั้นคณะราษฎร รัฐธรรมนูญดั้งเดิม ๒๗ มิ.ย.๒๔๗๕ ก็ล้มแนวคิดนี้ นำกษัตริย์ให้ถูกพิจารณาโดยสภาผู้แทนราษฎร แล้วกาลก็วิบัติไปให้เข้าใจเคลื่อนๆ ไปเรื่อยๆ

ผมบอกแล้วว่าเรื่องนี้ เป็นเรื่องโจ๊กของรัฐธรรมนูญที่เขียนไว้ตลกๆ ลอกๆ กันมา แล้วคนที่ไร้เดียงสา ก็อธิบายเป็นตุเป็นตะ - เป็นเรื่อง ขำๆ เปลาะที่สอง แล้ว ผมจะไม่ฮาได้อย่างไรครับ ฮ่า ฮ่า.



[๑]

ถัดจากนี้ “รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย” จะแทนด้วยคำว่า “รัฐธรรมนูญ”