ที่มา Thai E-News
16 กุมภาพันธ์ 2555
ที่มา: แอนดรูว์ แมคเกรเกอร์ มาแชล – เซนเจอร์นัลลีสต์ เว็ปไซท์
พากย์ไทย โดยไทยอีนิวส์
ใน หอจดหมายเหตุแห่งชาติของประเทศอังกฤษ มีบันทึกการประชุมของกระทรวงการต่างประเทศอังกฤษ และ เอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงลอนดอน ชิ้นหนึ่ง ในปี ๒๔๙๔ รายงานถึง ความไม่พอใจของเอกอัครราชทูตไทย สวน นวรัตน์ ซึ่งมียศทางการว่า “พระบหิท นาคระ” ต้องการร้องเรียนเรื่องสื่อมวลชนอังกฤษ
เรื่อง มีอยู่ว่า เมื่อวันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ มีนิตยสารข่าวการเมือง เอียงซ้ายฉบับหนึ่งของอังกฤษ ชื่อ นิวสเตทแมนแอนเนชั่น ได้พิมพ์บทความสั้น ๆ เกี่ยวกับการพิจารณาคดีของชาย ๓ คน ในข้อหาปลงพระชนม์กษัตริย์ อานันทมหิดลแห่งสยาม ในเดือน มิถุนายน ๒๔๘๙ บทความสั้น ๆ นั้นได้ตั้งข้อสังเกตุว่า คณะทหารที่ได้ทำการรัฐประหาร ยึดอำนาจ เมื่อเดือน พฤศจิกายน ๒๔๙๐ ได้พยายามที่จะพัวพัน อดีตรัฐบุรุษอาวุโส ปรีดี พนมยงค์ ให้มีความผิด ในการสวรรคตของกษัตริย์ แม้ว่า จะไม่มีหลักฐานผูกมัดโดยตรง ที่แสดงถึงความผิดของปรีดี และบุคคลทั้ง ๓ ที่เป็นแพะรับบาป การดำเนินคดี ก็ยังถูกปล่อยให้ดำเนินต่อไป นิตยสารดังกล่าวได้กล่าวเพิ่มเติมว่า เพื่อผลทางจิตวิทยา “การโฆษณาชวนเชื่อ เป็นหลัก”
สำเนาของบทความ ข้อความที่ถูกขีดเส้นใต้ เป็นส่วนที่ ทูตสวนขีดไว้ เป็นการเน้นข้อความที่เขาไม่พอใจมากที่สุด
บทความชิ้นนี้ ทำให้กระทรวงการต่างประเทศไทย โกรธมาก ถึงกับสั่งให้ทูตไทยไปเจรจากับ คิงสลี่ มาร์ติน บ.ก. ของนิตยสาร
ทูต สวนบอกกับมาร์ตินว่า บทความนั้นไม่ตรงกับความเป็นจริง และเรียกร้องให้แก้ไข มาร์ติน ปฎิเสธที่จะแก้บทความ แต่ได้สัญญากับทูตไทยว่า จะพิมพ์ข้อโต้แย้งของทูต ถ้าส่งมาเป็นลายลักษณ์อักษร
วัน ที่ ๒๓ มิถุนายน นิตยสาร นิวสเตทแมนแอนด์เนชั่น ได้พิมพ์หนังสือตอบโต้กลับ ซึ่งน่าเสียดายสำหรับทูตไทย ในหนังสือกล่าวอย่างลอยๆ ว่า จากการ “สอบสวน และ หลักฐาน ยืนยันว่าข้อกล่าวหาทั้งหมด” ต่อ ปรีดี และจำเลยทั้งหมดกระทำผิดจริง โดยลืมไปว่าคดีความยังไม่สิ้นสุด
ประเด็นนี้ คิงสลี่ มาร์ติน บ.ก. ของนิตยสาร ได้โต้กลับอย่างชัดเจนใน นิตยสารฉบับเดียวกัน โดยจัดวางติดกับบทของทูตไทย
คิด ไม่ถึงเลยว่ารัฐบาลไทยสามารถปล่อยไก่ได้ถึงขนาดนี้ ขณะที่คดียังไม่ถึงที่สุด ทูตไทยกล่าวมาได้อย่างไรว่า “จากการสอบสวนที่ตามมา มีหลักฐาน ยืนยันความผิดจริง” แถมยังกล่าวว่า (บทสรุปนี้) “หาใช่เป็นเรื่องของการคาดคะเนไม่” สรุปคือ ทูตยอมรับว่า ผู้ถูกกล่าวหา ถูกจัดมาให้เป็นเหยื่อ, ข้อกล่าวหาถูกยัดมาอย่างลับ ๆ, คดีความ เป็นเรื่องตลก ที่นำผู้ต้องหาสู่การถูกลงโทษถ่ายเดียว
มาร์ ตินยังพาดพิงถึง ข้อกล่าวหา ว่าจำเลยทั้ง ๓ ถูกทรมาน และเสริมว่า การโยงปรีดี กับการปลงพระชนม์ในหลวงอานันทฯ “เป็นสงครามทำลายล้างทางการเมือง ที่เลวทราม”
การ โต้ตอบนี้ แน่นอน ทำให้รัฐบาลไทยในเวลานั้น โกรธจัดเข้าไปใหญ่ ทูตสวน ผู้โชคร้าย ถูกส่งให้ไปยังกระทรวงการต่างประเทศอังกฤษ เพื่อขอความช่วยเหลือ จัดการ บ.ก. แสนดื้อ ผู้ไม่ยอมเชื่อตาม คำอธิบายทางการ กรณีสวรรคตของกษัตริย์อานันทฯ และความไม่ยุติธรรมของการพิจารณาคดีไทย
เจ้าหน้าที่ชาวอังกฤษ กล่าวกับทูตว่า ไม่มีอะไรที่เขาจะช่วยได้ เพราะสหราชอาณาจักรอังกฤษ ยอมรับสิทธิเสรีภาพของสื่อมวลชน
อย่าง น่าสงสาร ทูตไทยได้แต่ขอจดหมายอย่างเป็นทางการ จากเจ้าหน้าที่อังกฤษ ตามที่ได้แจ้ง เพื่อเขาสามารถมีข้ออ้างไปแสดงให้ผู้บังคับบัญชาในกรุงเทพฯ ถึงเหตุที่ไม่สามารถแก้ปัญหาเรื่องนี้ได้