WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Monday, February 13, 2012

ฅนอำนาจเจริญนับหมื่นร่วมงานวันประกาศธรรมนูญประชาชน กำหนดอนาคตชูจังหวัดจัดการตนเอง

ที่มา Thai E-News


รายงานโดย บรรพต ศรีจันทร์นิตย์

ประชาชนฅนอำนาจเจริญ กว่า ๑๐,๐๐๐ คนตื่นตัว แห่ไปร่วมงานวันประกาศ “ธรรมนูญประชาชนฅนอำนาจเจริญ ฉบับที่ ๑” สร้างสังคมอยู่เย็นเป็นสุข


วันนี้ (๑๓ ก.พ.) เริ่มพิธีตั้งแต่เวลา ๐๗.๐๐ น. ประชาชนฅนอำนาจเจริญ นับหมื่นคนจาก ๗ อำเภอ ๖๓ ตำบล แห่ร่วมงานวันประกาศใช้ธรรมนูญประชาชนฅนอำนาจเจริญ จนแน่นสนามหน้าศาลากลางจังหวัดโดยเริ่มขบวนแห่ธงทิว และธรรมนูญ จากสนามหน้าพระมงคลมิ่งเมือง พระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองไปตามถนนชยางกูรเข้าสู่สนามหน้าศาลากลางจังหวัด ริ้วขบวนยาวเหยียดไปตามถนน

โดยมีแขกผู้มีเกียรติมาร่วมงานหลายฝ่ายด้วยกัน ทั้ง ตัวแทน ตัวแทนจาก ประธานสภาพัฒนาทางการเมือง (สพม.) และสมาชิก สพม. จากทั่วประเทศ ๗๗ จังหวัดๆ ละ ๕ คน รองผู้อำนวยการสำนักงานปฏิรูป (สปร.) ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.) และผู้ว่าราชการจังหวัดมาเป็นประธานในพิธีเปิด



งานประกาศธรรมนูญประชาชนฅนอำนาจเจริญครั้งนี้ใช้สัญลักษณ์สุ่มไก่หงายขึ้น ฟ้ารองรับธรรมนูญฉบับประชาชน มีความหมายว่า ที่ผ่านมาประชาชนถูกครอบงำ และกักขังหน่วงอิสรภาพมานานจากระบบการเมืองการปกครองแบบรวมศูนย์ การช่วงชิงทรัพยากรธรรมของท้องถิ่น จนทำให้ประชาชนตกอยู่ในสถานการณ์ยากลำบาก วันนี้จึงเป็นการปลดปล่อยอิสรภาพ เพื่อให้ประชาชนได้เป็นผู้กำหนดอนาคตของตนเอง ทั้งในด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ การศึกษา งานพัฒนาเศรษฐกิจ-สังคมการเมืองการปกครอง อย่างรอบด้านตามแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืน

จึงได้มีการร่างธรรมนูญประชาชนฅนอำนาจเจริญ โดยพี่น้องมีส่วนร่วมกันจัดทำใช้เวลาดำเนินงานกว่า ๑ ปีจนถึงวันนี้จึงจัดให้มีการประกาศใช้ธรรมนูญประชาชนฅนอำนาจเจริญ ขึ้น และเป็นจังหวัดแรกของประเทศไทยที่ได้ประกาศใช้ เพื่อให้เป็นแบบอย่างแก่จังหวัดอื่นๆ ในประเทศไทย

นายวิรัตน์ สุขกุล แกนนำการจัดงานประกาศในเวทีให้ผู้มาร่วมได้รับทราบเจตนารมณ์งานวันนี้ ท่ามกลางเสียงปรบมือ และสะบัดธงตราสัญลักษณ์ของประชาชนฅนอำนาจเจริญที่มาร่วมงาน

ในงานหลังจากการเปิดพิธีอย่างเป็นทางการจากผู้ว่าราชการจังหวัดอำนาจเจริญ แล้ว ได้มอบธรรมนูญประชาชนฅนอำนาจเจริญแก่ตัวแทนตำบล ๖๓ ตำบลๆ ละ ๑ เล่ม และตัวแทนจาก สมาชิกสภาพัฒนาทางการเมือง (สพม.) ๗๗ จังหวัด เพื่อให้เป็นแบบอย่างในการนำไปประยุกต์ใช้ในพื้นที่ของตนเอง และนำไปสู่การขยายผลทั่วประเทศ จนสามารถสร้างรัฐธรรมนูญของประชาชนฅนไทยอย่างแท้จริงภายใน ๔ ปีนี้ให้ได้สำเร็จ

นอกจากนี้แล้ว แกนนำในการจัดงานนี้ นายวานิชย์ บุตรี ประธานเครือข่ายสภาองค์กรชุมชนตำบลจังหวัดอำนาจเจริญได้กล่าวว่าทางเครือ ข่ายฯ ได้เสนอแนวทางแก่องค์กรภาคีต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ให้การสนับสนุนการดำเนินงานสร้างธรรมนูญประชาชนไปสู่จังหวัดการตนเองได้จริง อย่างทั่วประเทศ คือ ผู้ว่าราชการจังหวัด นายกองค์การบริหารส่วนตำบล หน่วยงานราชการ ในด้าน

๑.สนับสนุนให้เกิดเวทีกลางระดับจังหวัด หรือ ผู้ว่าราชการจังหวัด นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด ภาคีพัฒนาอื่น ๆ เพื่อออกแบบการขับเคลื่อนธรรมนูญประชาชนฅนอำนาจเจริญ สู่การปฏิบัติ

๒. สนับสนุนทรัพยากร (คน ทุน อุปกรณ์) ในการดำเนินงานขับเคลื่อนธรรมนูญประชาชนฅนอำนาจเจริญ ในพื้นที่นำร่อง ๓๐ พื้นที่

๓. สนับสนุนการสร้างองค์ความรู้ สร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ ในการขับเคลื่อนธรรมนูญประชาชนฅนอำนาจเจริญสู่การปฏิบัติ

ข้อเสนอต่อสภาพัฒนาการเมือง

๑. การถอดบทเรียนและการจัดการองค์ความรู้ในพื้นที่นำร่อง

๒. สนับสนุนการสร้างกระบวนการเรียนรู้ให้พื้นที่ขยายจังหวัดที่สนใจ

๓. พัฒนาองค์ความรู้ที่ได้จากพื้นที่ปฏิบัติการให้เกิดการเรียนรู้ที่ต่อเนื่อง

๔. สนับสนุนทรัพยากรให้ต่อเนื่อง สอดคล้องกับแผนและบริบทของพื้นที่

๕. สนับสนุนการจัดทำพระราชบัญญัติจังหวัดจัดการตนเอง ข้อเสนอต่อสำนักงานปฏิรูปนำบทเรียนจากพื้นที่จังหวัดอำนาจเจริญ และพื้นที่จังหวัดอื่นๆ ขยายผลสู่นโยบายสาธารณะ และข้อเสนอต่อสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนสนับสนุนกระบวนการดำเนินงานจังหวัด จัดการตนเองไปยังพื้นที่จังหวัดอื่นๆ ให้ครบทุกจังหวัด

นอกจากนี้ นายวานิช ยังได้กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า ในการผลักดันให้มีการนำธรรมนูญประชาชนฅนอำนาจเจริญไปใช้ได้จริงอย่างเป็น รูปธรรม ประชาชนฅนอำนาจเจริญ ยังได้ประกาศร่วมกันอีกว่า จะมีการดำเนินงานผ่านกลไกสภากลาง ทั้งในระดับชุมชน ตำบล และจังหวัด ก็คือ กลไกระดับจังหวัด ออกแบบกระบวนการขับเคลื่อนทำระบบ การคัดเลือกพื้นที่รูปธรรมปฏิบัติการนำร่อง ให้เกิดสภากลาง และ ๑ ตำบล ๑ แผนพัฒนา อย่างน้อย ๓๐ พื้นที่ ทุกตำบลต้องนำธรรมนูญของตำบลตนเองไปสู่การปฏิบัติอย่างจริงจัง ตามศักยภาพของพื้นที่ อย่างน้อย ร้อยละ ๒๐ ของธรรมนูญทั้งหมด มีทีมติดตาม หนุนเสริมทางวิชาการและกระบวนการอย่างต่อเนื่อง มีเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้กระบวนการ ประสบการณ์การทำงานเป็นระยะ มีระบบสื่อสารต่อสาธารณะและภาคีร่วมพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

จังหวัด และ หรือ องค์การบริหารส่วนจังหวัด ต้องสนับสนุนงบประมาณให้เป็นกองทุนกลางในการขับเคลื่อนงานอย่างต่อเนื่อง