WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Monday, February 13, 2012

โครงการท่าเรือน้ำลึกทวาย: ใครได้ ใครเสีย

ที่มา Voice TV

ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์

VoiceTV Member

Bio

นักวิชาการ สถาบันเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา สิงคโปร์


โครงการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึก ณ เมืองทวาย ในพม่า กำลังได้รับความสนใจอย่างยิ่งจากนักลงทุนไทย อาเซียน จีนและอินเดีย พัฒนาการทางการเมืองของพม่าที่กำลังเดินหน้าไปอย่างรวดเร็ว ส่งผลกระทบต่อโครงการ ณ เมืองทวายอย่างมาก การเปิดประเทศครั้งนี้ของพม่า หลายฝ่ายกำลังจับตามองว่า จะมีความจีรังยั่งยืนเพียงใด และพม่าพร้อมมากแค่ไหนที่จะเปิดประตูทางเศรษฐกิจรับพลังทุนนิยม ในส่วนที่เกี่ยวกับไทยนั้น บทบาทของไทยมีความสำคัญอย่างยิ่งในกระบวนการเปิดประเทศครั้งใหญ่ของพม่านี้ ทั้งนี้ เพราะบริษัทอิตาเลียน-ไทยได้เข้าไปลงทุนในการโครงการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึก ของพม่าที่เมืองทวาย ที่มีมูลค่าการก่อสร้างทั้งสิ้น 8.6 พันล้านเหรียญสหรัฐ ไทยจึงจำเป็นต้องจับตามองความเคลื่อนไหวทางการเมืองของพม่าอย่างใกล้ชิด โครงการทวายนี้จะเปลี่ยนโฉมหน้าการพาณิชย์ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่าง มาก บทความนี้ จะวิเคราะห์ถึงผลประโยชน์และผลเสียที่จะเกิดขึ้นกับตัวแสดงหลายๆ ตัวที่มีความเกี่ยวข้องกับโครงการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกในทวาย

Google Maps : แผนที่เมืองทวาย หรือ Dawei ของพม่า

ก่อนอื่น มาทำความเข้าใจกับเมืองทวายก่อน เมืองทวายรู้จักในชื่อภาษาอังกฤษดั้งเดิมว่า Tavoy แต่ต่อมาได้รับการเปลี่ยนชื่อมาเป็น Dawei(ในปี ค.ศ.1989) ตั้งอยู่ในแคว้นตะนาวศรีของพม่า หรือ Tenasserim ที่อยู่รัฐมอญ เขตเมืองทวายนี้มีพื้นที่รวมกว่า 13,750 ตารางกิโลเมตร ตั้งอยู่ ณ ปากแม่น้ำทวายที่ไหลออกสู่ทะเลอันดามัน บริเวณนี้จัดอยู่ในเขตน้ำลึก เหมาะสำหรับการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกที่สามารถเข้าถึงได้โดยเรือพาณิชย์ขนาด ใหญ่ ด้วยความสำคัญของทวาย รัฐบาลพม่าได้เริ่มมองหาลู่ทางในการพัฒนาท่าเรือน้ำลึกเมื่อ 4 ปีก่อน (แม้ว่าความคิดเริ่มแรกจะเกิดขึ้นมากว่าทศวรรษแล้วก็ตาม เมื่อประเทศในภูมิภาคมีความพยายามในการหาช่องทางการเดินเรื่องอื่น หากช่องแคบมะละกาต้องถูกปิดลงด้วยเหตุผลใดก็ตาม) ในระหว่างการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศของอาเซียนในปี ค.ศ.2008 ณ ประเทศสิงคโปร์ รัฐมนตรีต่างประเทศของไทยและพม่าได้ลงนามร่วมกันในบันทึกความเข้าใจ (memorandum of understanding) ในการพัฒนาเมืองทวายให้เป็นท่าเรือน้ำลึก โดยสองฝ่ายได้ลงนามร่วมกันในการจัดสร้างท่าเรือ รวมถึงถนนที่จะเชื่อมต่อระหว่างทวายกับกรุงเทพฯ และการจัดตั้งด่านเข้าเมืองระหว่างทวายและกาญจนบุรี

ต่อมาเมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน ค.ศ. 2010ผู้แทนจากบริษัทอิตาเลียน-ไทย ได้ลงนามร่วมกับผู้แทนของรัฐบาลพม่า ในสัญญาสร้างท่าเรือน้ำลึก ณ เมืองทวายที่มีอายุถึง 60ปี โดยข้อตกลงนี้อนุญาตให้มีการสร้างท่าเรือน้ำลึกและนิคมอุตสาหกรรม ณ เมืองทวาย บนพื้นที่ 250 ตารางกิโลเมตร ข้อตกลงนี้แบ่งขั้นตอนการพัฒนาออกเป็น 3 ส่วน ส่วนแรกได้แก่การสร้างระบบสาธารณูปโภค (ระหว่างปี ค.ศ.2010-2015) โดยผ่านการลงทุนร่วมระหว่างบริษัทอิตาเลียน-ไทยกับอีก 4 บริษัท (ปตท. การไฟฟ้า บริษัท Nippon Steel และบริษัท Petroleum National Berhad ของมาเลเซีย) งานหลักในขั้นตอนนี้คือการสร้างถนนแปดเลน (180 กิโลเมตร) ที่มีรางรถไฟคู่ขนาน โดยจะใช้เวลาสร้างประมาณ 4 ปี และจะใช้งบประมาณสร้างจำนวน 66ล้านเหรียญสหรัฐ นอกจากนี้ ยังมีโครงการสร้างท่อส่งก๊าซธรรมชาติคู่ขนานไปด้วย โดยมีเป้าหมายของการสร้างถนนจากทวาย ตัดข้ามประเทศไทย ผ่านกัมพูชาไปยังเวียดนาม ซึ่งเส้นทางการขนส่งใหม่นี้ ถือเป็นทางเลือกใหม่ในอนาคตสำหรับประเทศที่ต้องการหลีกเลี่ยงการใช้ช่องแคบ มะละกาในการรับส่งขนถ่ายสินค้า

สำหรับการพัฒนาในขั้นที่สองนั้นคือการสร้างท่าเรือน้ำลึก ที่ตั้งเป้าของการรองรับเรือขนส่งขนาดใหญ่จำนวน 25 ลำในเวลาเดียวกัน (เรือขนาดใหญ่นี้จะมีระวางอยู่ที่ระหว่าง 20,000-25,000 เมตริกตัน) ทั้งนี้ หากแล้วเสร็จ ท่าเรือนี้จะสามารถขนถ่ายสินค้าได้มากถึง 100 ล้านเมตริกตันต่อปี ในส่วนของแผนพัฒนาสุดท้ายคือการก่อสร้างนิคมอุตสาหกรรม ซึ่งจะกลายมาเป็นนิคมอุตสาหกรรมที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยจะใช้งบประมาณการก่อสร้างทั้งสิ้น 1.3 พันล้านเหรียญสหรัฐ และจะประกอบไปด้วย 6 โซน ได้แก่ การท่าเรือและอุตสาหกรรมหนัก น้ำมันและก๊าซธรรมชาติ ปิโตรเคมี เวชภัณฑ์ และอุตสาหกรรมประเภทปานกลางและอุตสาหกรรมเบา ทั้งนี้ บริษัทอิตาเลียน-ไทยมีเป้าหมายของการก่อสร้างโรงงานผลิตกระแสไฟฟ้าด้วยที่มี ขนาด 4,000 เมกกะวัต เพื่อรองรับในกรณีที่ระบบไฟฟ้าของพม่าเกิดขัดข้อง การก่อสร้างนี้จะรวมถึงการสร้างเขื่อนที่สามารถบรรจุน้ำได้มากถึง 219 ล้านลูกบาศก์เมตร รวมถึงการสร้างโรงงานผลิตน้ำดื่มที่มีศักยภาพการผลิตมากถึง 975,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน โครงการนิคมอุตสาหกรรมนี้จะเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการในปี ค.ศ.2016 เป็นต้นไป นอกจากนี้ การพัฒนาทวายยังรวมถึงอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวด้วย โดยเฉพาะการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวตามหมู่เกาะต่างๆ ในทะเลอันดามัน

หากโครงการเหล่านี้แล้วเสร็จ ทวายจะกลายมาเป็นเมืองท่าสำคัญของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่จะเป็นสะพานเชื่อมต่อกับมหาสมุทรอินเดีย ตะวันออกกลาง ยุโรปและแอฟริกา ซึ่งจะมีส่วนสำคัญต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของอาเซียน

แต่การก่อสร้างการนี้ไม่ได้ดำเนินต่อไปโดยไม่มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ บางประเทศเป็นผู้ได้ บางประเทศเป็นผู้เสีย ผลประโยชน์ตกอยู่ในมือใคร และใครเป็นผู้รับผลเสียจากโครงการ

สำหรับประเทศไทยนั้นค่อนข้างเด่นชัดว่า ไทยได้ประโยชน์หลายประการจากโครงการทวาย ที่แน่ๆ การค้าไทยและพม่าจะเพิ่มปริมาณสูงขึ้น (โดยเฉพาะการค้าชายแดนที่ที่ได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 55 ต่อปี โดยตามสถิติ การค้าชายแดนในปี ค.ศ. 2010 มีปริมาณ 1.7พันล้านเหรียญสหรัฐ) นอกจากนี้ การเปลี่ยนให้ทวายเป็นประตูการค้าของภูมิภาคจะส่งผลต่อโครงการ East-West Economic Corridor (EWEC) ซึ่งไทยสามารถแสดงบทบาทนำได้ ในส่วนของรัฐบาลไทยนั้น โครงการทวายทำให้รัฐบาลของสองฝ่ายกระชับความสัมพันธ์ยิ่งขึ้น นายกยิ่งลักษณ์ได้เดินทางไปเยือนพม่าเมื่อเดือนตุลาคมปีที่แล้ว และได้กล่าวให้การสนับสนุนต่อโครงการทวายต่อประธานาธิบดี Thien Sien ของพม่า ซึ่งสองฝ่ายเชื่อมั่นว่าโครงการทวายจะช่วยกระตุ้นการค้าทวิภาคี ซึ่งจะส่งผลดีต่ออาเซียนในทางอ้อม การพัฒนาทวายยังมีส่วนนำความเจริญไปยังจังหวัดทางตะวันตกของไทย รวมถึง กาญจนบุรี ราชบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ สมุทรสงคราม สมุทรสาคร สุพรรณบุรี หรือแม้แต่กรุงเทพฯ จังหวัดเหล่านี้มีความเด่นอยู่ที่การเป็นฐานผลิตสินค้าเกษตรและอาหารของไทย ซึ่งสามารถใช้ประโยชน์จากทวายในการส่งสินค้าออกประเภทนี้ได้ง่ายยิ่งขึ้น

ผลประโยชน์ยังจะตกอยู่ในมืองภาคเอกชนของไทยด้วย ขณะนี้ มีหลายบริษัทขนาดใหญ่ของไทยมีความประสงค์จะร่วมลงทุนในโครงการทวาย (อาทิ บริษัท Loxley) ซึ่งจะมีส่วนสร้างฐานอิทธิพลทางเศรษฐกิจของไทยในพม่าในระยะยาว

แล้วอาเซียนได้อะไร

โครงการทวายนี้ได้รับความชอบธรรมในบริบทของการเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาชุนชน ทางเศรษฐกิจของอาเซียน รวมถึงการมีส่วนช่วยสร้างภาพลักษณ์ใหม่ของพม่า ในฐานะประเทศที่เริ่มเปิดกว้างรับการลงทุนจากต่างประเทศ นอกจากนี้ ความสนใจในโครงการนี้ของมหาอำนาจอื่นๆ อาทิ จีนและอินเดีย ชี้ว่า ประเทศเหล่านี้ให้ความสำคัญต่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจของอาเซียน ที่มีพม่าเป็น “ศูนย์กลางการลงทุนแห่งใหม่” ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่สำคัญที่สุด การเปิดประเทศของพม่าครั้งนี้ ยังสามารถใช้เป็นข้ออ้างของอาเซียนในความสำเร็จของนโยบาย constructive Engagement ที่อาเซียนมีต่อพม่า ที่เน้นการดึงพม่าเข้ามามีส่วนร่วมในภูมิภาคอย่างสร้างสรรค์

ใครที่เสียประโยชน์

แม้โครงการนี้จะเริ่มได้ไม่นาน แต่ก็เกิดข่าวลือต่างๆ นานาเกี่ยวกับปัญหาคอร์รับชั่น และความกังวลใจที่ว่า ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจจะตกอยู่ในมือผู้นำ และจะไม่ถึงมือประชาชน ข่าวลือดังกล่าว เช่น การที่คนสนิทของพลเอกอาวุโสตานฉ่วย (อดีตประธาน State Peace and Development Council: SPDC) ได้แก่ นาย Zaw Zaw ได้รับสัมปทานในโครงการทวายเป็นต้น

แม้ว่าโครงการนี้จะนำไปสู่การจ้างงาน แต่มีคำถามสำคัญ ได้แก่ แรงงานพม่าจะได้รับการปฏิบัติจากนายจ้างต่างชาติอย่างไร และแฟร์มากน้อยแค่ไหน ทำอย่างไรจะไม่ถูกใช้เป็นเครื่องมือของนายทุน สำหรับปัญหาอื่นๆ ก็เช่น ปัญหาที่มากับการก่อสร้าง โดยเฉพาะในแง่นิเวศวิทยา ทั้งนี้ มีรายงานข่าวว่า ชาวบ้านที่มีถิ่นพำนักในบริเวณก่อสร้างต้องถูกไล่ออกจากพื้นที่และไม่ได้รับ ต่าตอบแทนใดๆ ทั้งสิ้น (บริษัท Kaung Myat และ Hein Yadanan Companiesถูกกล่าวหาว่าไล่ที่ชาวบ้าน เพื่อใช้พื้นที่นี้ปลูกยางพารา เพื่อผลิตส่งบริษัทในนิคมอุตสาหกรรมในทวายในอนาคต) นอกจากนี้ ชาวบ้านในพื้นที่อาจต้องเผชิญต่อปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มากับการก่อสร้าง เท่าที่ผ่านมา รัฐบาลพม่าไม่เคยได้กล่าวถึงความสำคัญในการปกป้องสิทธิขั้นพื้นฐานของ ประชาชนในพื้นที่ที่มีการก่อสร้างแต่อย่างใด

ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์