WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Tuesday, February 14, 2012

ทัชมาฮาล อนุสรณ์สถานแห่งความรักหรือความหลง

ที่มา ประชาไท

โสภณ พรโชคชัย

เนื่องในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2555 ผมจึงขออนุญาตเขียนถึงทัชมาฮาล ที่ว่ากันว่าเป็นอนุสรณ์สถานแห่งความรักอันแสนโรแมนติก แต่ผมว่านี่คืออนุสรณ์สถานแห่งความหลง ที่สร้างความอัปยศให้กับประชาชน และสร้างความเสียหายบักโกรกให้กับประเทศชาติในอดีต

ท่านที่เคยเดินทางไปเที่ยว ประชุม สัมมนา หรือค้าขายที่อินเดีย คงต้องมีหรือหาโอกาสแวะไปทัชมาฮาลที่ว่ากันว่าเป็นอนุสรณ์สถานแห่งความรัก และถือเป็นหนึ่งในเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคใหม่ ในแต่ละปีมีนักท่องเที่ยวไปเยี่ยมเยือนนับล้าน ๆ คน แง่มุมหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับอสังหาริมทรัพย์ก็คือ การก่อสร้างอสังหาริมทรัพย์นี้คุ้มค่าหรือไม่

ทัชมาฮาลตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำยะมุนา นครอาครา รัฐอุตตระประเทศ ประเทศอินเดีย สร้างขึ้นโดยชาห์ญะฮาน กษัตริย์แห่งราชวงศ์โมกุลในปี พ.ศ.2196 หรือ 359 ปีมาแล้ว (นับถึงปี 2555) เพื่อเป็นอนุสรณ์สถานแห่งความรักแก่มเหสีมุมตัส มาฮาล ซึ่งสิ้นพระชนม์ไป โดยพระนางมีพระราชโอรสธิดาถึง 14 พระองค์ ทัชมาฮาลใช้เวลาสร้างถึง 22 ปี ใช้แรงงานคนกว่า 20,000 คน และประดับด้วยอัญมณี (ที่ไถหรือซื้อ) จากแหล่งต่าง ๆ ในประเทศอินเดียและเพื่อนบ้าน และได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกตั้งแต่ปี พ.ศ.2526

สิ่งก่อสร้างนี้ออกแบบโดยอุสตาด ไอซา ซึ่งถูกประหารชีวิตหลังจากสร้างเสร็จเพราะชาห์ญะฮานไม่ต้องการให้สถาปนิกนี้ มีโอกาสไปออกแบบสถาปัตยกรรมที่สวยกว่านี้ อาคารหลักมีขนาดกว้างยาวด้านละ 100 เมตร สูง 60 เมตร บริเวณอาคารหลักได้รับการยกสูงจากริมฝั่งแม่น้ำประมาณ 50 เมตร นอกจากนี้ยังมีอาคารทางเข้าและอาคารโดยรอบอีกจำนวนหนึ่ง โดยมีพื้นที่รวม 42 เอเคอร์หรือประมาณ 106 ไร่

อย่างไรก็ตามภายหลังการก่อสร้างทัชมาฮาลไม่นาน ชาห์ญะฮานก็กลับคิดการใหญ่อีก คิดจะสร้างอาคารอีกหลังหนึ่งสำหรับพระองค์เอง โดยใช้หินสีดำ ให้ตั้งอยู่อีกฝั่งหนึ่งของแม่น้ำยะมุนา ตรงข้ามกับทัชมาฮาล เพื่อให้อยู่คู่กัน แต่การนี้คงต้องใช้เงินอีกมหาศาล ดังนั้นออรังเซบ พระราชบุตรของพระองค์เอง จึงทำรัฐประหารเพราะลำพังการก่อสร้างทัชมาฮาลก็ทำให้เศรษฐกิจย่อยยับ “ทรราช” ชาห์ญะฮานจึงถูกขังไว้ ณ ป้องอาครา จนสวรรคตในอีก 8 ปีต่อมา (พ.ศ.2209) ในวันสุดท้ายของพระชนม์ชีพ พระองค์จ้องมองเศษกระจกที่ใช้สะท้อนภาพของทัชมาอาล และสวรรคตในขณะที่มือยังถือเศษกระจกดังกล่าวอยู่ ออรังเซบจึงฝังพระศพของพระราชบิดาเคียงข้างมุมตัส มาฮาล

สำหรับต้นทุนค่าก่อสร้างเมื่อคำนวณเป็นเงินเหรียญสหรัฐอเมริกา เป็นเงินประมาณ 500 ล้านเหรียญในปี พ.ศ.2548 หรือประมาณ 615 ล้านเหรียญสหรัฐ ณ ปี 2555 ซึ่งคิดเป็นเงินไทยประมาณ 19,000 ล้านบาท อย่างไรก็ตามบางแหล่งอาจประมาณการไว้สูงกว่านี้ การนำเงินคงคลังไปใช้มากมายพร้อมกับการเกณฑ์ผู้คนมาใช้แรงงานเป็นจำนวนนับ หมื่นเพื่อมเหสีที่สิ้นพระชนม์ไปเช่นนี้ อาจถือเป็นการโกงประชาชน และทำร้ายประเทศชาติเพื่อสนองความต้องการของตนเองในฐานะ “ทรราช” ในทางหนึ่ง

สำหรับค่าที่ดิน 106 ไร่นั้น จากการสำรวจเบื้องต้นของศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บจก. เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส (www.area.co.th) พบว่าที่ดินในย่านนอกเมืองตกไร่ละ 7 ล้านบาท ส่วนในเมืองที่ดินที่สามารถใช้สร้างโรงแรมใกล้ทัชมาฮาล ตกไร่ละ 48 ล้านบาท หากไม่มีทัชมาฮาล และสมมติให้ที่ดินแปลงนี้เป็นที่ดินในเมืองทั่วไปที่ไม่มีแหล่งท่องเที่ยว ราคาคงจะตกเป็นเงินไร่ละ 40 ล้านบาท ดังนั้นที่ดินทัชมาฮาลนี้จึงน่าจะเป็นเงินประมาณ 4,240 ล้านบาท และเมื่อรวมกับค่าก่อสร้าง 19,000 ล้านบาทแล้ว จึงเป็นเงินต้นทุนค่าก่อสร้างทั้งหมดประมาณ 23,240 ล้านบาท ซึ่งหากนำเงินจำนวนนี้มาสร้างทางด่วนขนาด 4 ช่องจราจร เช่น ทาวด่วนดาวคะนอง จะสามารถสร้างได้เป็นระยะทางประมาณ 43 กิโลเมตร (ตารางเมตรละ 32,000 บาท) ซึ่งเป็นคุณูปการกว่าทัชมาฮาลมาก

คราวนี้มาพิจารณาถึงรายได้จากการเข้าชมทัชมาฮาลนั้น ในกรณีชาวอินเดียเก็บเป็นเงิน 20 รูปีต่อหัว ชาวต่างประเทศทั่วไปเก็บเป็นเงิน 750 รูปีต่อหัว ส่วนชาวเอเชียใต้อื่นเก็บเป็นเงิน 510 รูปีต่อหัว ส่วนเด็กต่ำกว่า 15 ปีไม่เสียค่าใช้จ่าย นอกจากนี้ยังมีค่าเข้าชมในช่วงกลางคืนซึ่งเก็บในอัตราใกล้เคียงกันอีกด้วย แต่ในแต่ละเดือนจะเปิดช่วงกลางคืนอยู่ไม่กี่วันเท่านั้น (ช่วงคืนเดือนเพ็ญ) โดยในแต่ละปี มีนักท่องเที่ยวประมาณ 2-4 ล้านคน โดยเป็นชาวต่างประเทศ 200,000 คน

ในที่นี้สมมติให้เก็บค่าเข้าชมแก่ชาวต่างประเทศเฉลี่ย 700 รูปี และชาวอินเดีย 20 รูปีต่อหัว โดยในแต่ละปี มีนักท่องเที่ยวชาวอินเดียประมาณ 3 ล้านคน เป็นชาวต่างประเทศ 200,000 คน ก็จะสามารถเก็บเงินได้ ประมาณ 200 ล้านรูปีต่อปี หรือคิดเป็นเงินไทย 120.54 ล้านบาท เมื่อหักค่าใช้จ่าย 30% โดยประมาณแล้ว ก็จะเป็นเงินได้สุทธิ 84.4 ล้านบาท หากแปลงรายได้เป็นมูลค่าด้วยอัตราผลตอบแทนที่ 5% เพราะแทบไม่ต้องลงทุนอะไรในขณะนี้ (ยกเว้นการซ่อมแซมและการบำรุงรักษา) ก็จะเป็นเงิน 1,688 ล้านบาท ซึ่งต่ำกว่าต้นทุนค่าก่อสร้างที่ประเมินไว้ 23,240 ล้านบาทเป็นอย่างมาก อย่างไรก็ตามการดำรงอยู่ของทัชมาฮาล ก็ก่อให้เกิดการกระตุ้นเศรษฐกิจอีกหลายเท่าตัว โดยในที่นี้หากสมมติให้มีผลกระทบอีก 4-6 เท่าตัว ก็ยังเป็นเงินน้อยกว่าต้นทุนค่าก่อสร้างที่ประเมินได้อยู่ดี

ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่า การก่อสร้างทัชมาฮาลในเบื้องแรกโดยผู้ปกครองในอดีต เจ๊งตั้งแต่วันแรกที่คิดสร้างแล้ว ส่งผลร้ายต่อระบบเศรษฐกิจ ฐานะของประชาชน และการคลังของประเทศชาติอย่างรุนแรง จนต้องถูกรัฐประหารไปในที่สุด และในปัจจุบัน แม้จะมีผู้คนจากทั่วโลกไปท่องเที่ยว ก็ไม่อาจเกิดความคุ้มทุนจากการท่องเที่ยวแต่อย่างใด

โดยสรุปแล้ว ในแง่หนึ่ง ทัชมาฮาลจึงอาจเป็นอนุสรณ์สถานแห่งความรักอันงดงามมั่นคง แต่ในอีกแง่หนึ่งก็เป็นอนุสรณ์สถานของการขูดรีดแรงงานประชาชนและทรัพยากรของ ชาติและเพื่อนบ้าน หากไม่มีความปรารถนาอันแรงกล้า (บ้า/หลง) และการมีอำนาจอันยิ่งใหญ่ในการบังคับเอา ก็คงไม่สามารถเสกสรรค์สิ่งมหัศจรรย์ของโลกเช่นนี้ให้ชนรุ่นหลังได้ประจักษ์ ในศักยภาพของมนุษย์ได้