WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Monday, August 20, 2012

รัฐบาล: “ฟังผล”งานปี 1 เพื่อ “สร้างผล” งานปี 2 ดีกว่ามั๊ย?

ที่มา ประชาไท

 

 
“ขอโอกาสประชาชนให้เวลาเป็นเครื่องพิสูจน์ การทำงานก็เปรียบเหมือนการทำข้อสอบ คงไม่มีใครบอกว่า จะทำข้อสอบถูก 100 % ทุกวิชา แต่ดิฉันก็เชื่อมั่นว่า จะสอบผ่านทุกวิชา” เป็นคำกล่าวปิดท้ายของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ในวันปิดอภิปรายแถลงนโยบายของรัฐบาลต่อรัฐสภา เมื่อสิงหาคม 2554 (ข่าวจาก นสพ.ออนไลน์ค่ายหนึ่ง)
 
เป็นการเปรียบเทียบที่แหลมคม ไม่ผลีผลาม ถ่อมตัวในที แต่ก็มั่นใจในตน นุ่มครับ..เป็นอีกหนึ่งวลีเด็ดผู้นำที่ชวนฟังไม่น้อย
 
จากวันนั้นถึงวันนี้ครบ 1 ปีพอดี เวลาคงเป็นเครื่องพิสูจน์แล้วว่า ผลการสอบของท่านนายกฯ ผ่าน หรือไม่ผ่าน แต่ละวิชาเป็นอย่างไร ทั้งวิชาเศรษฐกิจ วิชาสังคม วิชาการเมือง วิชาความมั่นคง ฯลฯ รวมทุกวิชาแล้วเกิน 50 % หรือไม่ ประการใด
 
หลายคนบอก “ผ่าน” แต่ก็มีไม่น้อยที่เห็นว่า “ไม่ผ่าน” บางคนก็เห็นว่า ผ่านบางวิชา ตกบางวิชา หลากหลายทัศนะ
 
ขึ้นกับมุมมองแต่ละคน แต่ละบริบท
 
ขณะที่รัฐบาลก็ประเมินตนเองเช่นกัน ว่าผลสอบเป็นอย่างไร 1 ปีทำอะไรบ้าง พอใจหรือไม่ เพียงใด โดยจะ “แถลงผลงาน” ในรอบ 1 ปี 23 สิงหาคม นี้
 
พูดถึงการสอบ เราๆ ท่านๆ คงเคยผ่านชีวิตการสอบกันมาทุกคน พอหมดเวลาเดินออกจากห้องสอบ ก็พอจะรู้ตัวเราเองแล้ว ว่า วิชานี้ทำได้มั๊ย จะได้คะแนนประมาณไหน A, B, C หรือ D
 
แต่บางวิชาก็ต้องลุ้นเหมือนกัน เช่น ลุ้น C เป็น B เนื่องเพราะไม่แน่ใจว่าทำถูกหรือเปล่า มันคลุมเครือบอกไม่ถูก
 
ใครเก่ง ลุ้น A ก็ไม่ว่ากัน แต่บางทีหวัง A กลับได้ B หรือ C ก็มี
 
ขณะนี้หมดเวลาสอบ 1 ปีของนายกรัฐมนตรีแล้ว ก็คงพอจะรู้ตัวเอง ว่า แต่ละวิชาได้เกรดอะไร
 
อยู่ที่เนื้อหาที่ทำไป ตรง ไม่ตรง ถูก ไม่ถูก
 
ขึ้นกับรัฐบาล และผู้ประเมินมองเนื้อหาที่ทำไปอย่างไร ถูกทางแต่ไม่ถูกใจ ถูกต้องแต่ไม่ตอบโจทย์ เห็นตรงกันแค่ไหน เพียงใด ?
 
เห็นตรงกันก็ได้ A
 
ถูกทาง แต่ไม่ถูกใจ อาจได้ B
 
ถูกต้อง แต่ไม่ตอบโจทย์ ได้ C
 
เห็นไม่ตรงกัน ได้ D หรือไม่ ประการใด
 
ขณะที่ผู้ประเมินแต่ละภาคส่วน ก็อาจเห็นต่างกันอีก สุดแล้วแต่จะมอง เป็นปกติของการวัดประเมินค่างานใดๆ ซึ่งมันไม่มีหรอกที่จะเป๊ะ 2 + 2 = 4 อยู่ที่หลักคิด หลักการ เหตุผลในการพิจารณา
 
แต่ทำอย่างไรให้คลาดเคลื่อนน้อยที่สุด ใกล้เคียงความจริงมากที่สุด
 
มีคำถามชวนคิด: รัฐบาลประเมินอย่างหนึ่ง ภาคส่วนอื่นๆ ประเมินอีกอย่าง โดยเฉพาะเมื่อไปมองเน้นคนละมุม ซึ่งก็เป็นไปได้ จะทำอย่างไร?
 
ยึดหลัก “จริงอย่างไรก็จริงอย่างนั้น” ซึ่งใครไปฝืนไม่ได้
 
รัฐบาลประเมินว่าดี แต่มันไม่จริง ไปไม่รอดหรอก
 
ภาคส่วนอื่นๆ ประเมินว่าไม่ดี แต่เป็นประโยชน์กับชาวบ้าน ใครจะเชื่อ
 
เพราะเห็นกันอยู่ สัมผัสกันได้ ถึงบอกว่า จริงอย่างไรก็จริงอย่างนั้น
 
ผลประเมิน จึงมีคุณค่า
 
รู้แล้วยังไงต่อ นี่สิคุณค่ากว่า รับทราบแต่ไม่นำผลประเมินไปใช้ ก็ไร้ความหมาย
 
อย่างไรก็ตาม ผลประเมินของใคร ภาคส่วนไหนจะว่าอย่างไร ดี ไม่ดี ผ่าน ไม่ผ่าน หากอยู่บนความบริสุทธิ์ใจและเจตนาที่ดี รัฐบาลต้อง “ฟัง” ซึ่งเป็นกลไกหนึ่งทางการประชาสัมพันธ์ (PR) ที่ยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง
 
ฟังแล้วนำไปใช้เป็นโอกาส... คุณค่าและความหมายอยู่ตรงนี้ ใช่หรือไม่ ประการใด?
 
ผู้เขียนลองคลิ๊กเข้าไปดูข่าวสารทางสื่อออนไลน์ต่างๆ โดยเฉพาะในมุมมองภาคเอกชน ที่มีต่อการทำงาน 1 ปีของรัฐบาล
 
สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เห็นว่า ผ่านแบบเฉียดฉิว แต่ชื่นชมนายกรัฐมนตรีตั้งใจทำงาน ถ้าคะแนนเต็ม 10 ให้ 6-7 คะแนน (ข่าวจากสื่อออนไลน์ค่ายหนึ่ง)
 
หอการค้าไทย บอกทำได้ดีกว่าที่คาดหวัง ให้ 7 เต็ม 10 ขณะที่เห็นว่า การจัดความสำคัญก่อนหลัง และการตัดสินใจทางการเมืองต่อการยุติปัญหาต่างๆให้ 4 เต็ม 10 (ข่าวจากสื่อออนไลน์ค่ายหนึ่ง)
 
ธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานกรรมการและประธานคณะผู้บริหารเครือเจริญโภคภัณฑ์ เห็นว่า สอบผ่าน (ข่าวจากสื่อออนไลน์ค่ายหนึ่ง)
 
โดยรวมๆ ค่าคะแนนน่าจะอยู่กลางๆ ก็คือ สอบผ่าน
 
ที่ต้องฟัง มิเพียงเป็นกลไก PR หากเพราะภาคธุรกิจเอกชนเป็นสเกลที่ใหญ่ มีบทบาทต่อการผลักดันขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ ทั้งในและต่างประเทศ
 
ผลของการพัฒนาเศรษฐกิจของรัฐบาล จะไปได้แค่ไหน อยู่รอดหรือเติบโตก้าวไกลอย่างไร อยู่ที่ภาคธุรกิจเอกชน
 
รัฐบาลเป็นผู้ส่งเสริมและสนับสนุน เป็นผู้กำหนดนโยบาย ชี้ทิศทางและเป้าหมาย ฟังแล้วนำไปใช้ประโยชน์ต่อการปรับตัว ปรับการทำงาน ปรับนโยบาย
 
รัฐบาล และภาคเอกชน จึงหนุนนำกันและกัน
 
ขณะเดียวกัน ฟังภาคส่วนอื่นๆ ด้วย ทั้งภาคประชาสังคม ภาคความมั่นคง ภาควิชาการ ภาคสื่อมวลชน ภาคการเมืองด้วยกัน ฝ่ายค้าน ฯลฯ มีความเห็น ติชมอย่างไร
 
ยิ่งฟัง ยิ่งได้ !
 
ความสำเร็จ หรือล้มเหลวของนโยบายการบริหารของรัฐบาล ต้องให้ภาคส่วนต่างๆ เป็นผู้บอก เพราะเขาเป็นคนเห็น เป็นคนสัมผัส เป็นผู้ใช้บริการโครงการรัฐ
 
นำมาตรวจสอบตรวจทานกับผลประเมินของรัฐบาล ตรงไหนถูก ตรงไหนผิด ตรงไหนดี-ไม่ดี จริง- ไม่จริง ใช่-ไม่ใช่ อย่างไร แล้วนำไปปรับใช้
 
จริง ก็คือจริง ทุกคนยอมรับ ไม่มีใครสามารถปฏิเสธความจริงได้
 
ที่สำคัญ รู้ความจริงแล้ว จะไปต่ออย่างไร เพื่อพัฒนาเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น สร้างสุข สลายทุกข์ให้ประชาชนได้มากขึ้น
 
กระทั่งแข่งกับเวทีโลก แข่งประชาคมอาเซียน จะเป็นคู่ค้า คู่แข่งกันอย่างไร ก็ว่าไป นี่ก็ใกล้ปี 2558 แล้ว
 
ฟังผลงานปี 1 เพื่อสร้างผลงานปี 2 ดีกว่ามั๊ย
 
อย่าลืมว่า ประชาชน คนยากคนจนรอคอยอยู่ และพึ่งพา พึ่งหวังรัฐบาล เพราะปากท้องเศรษฐกิจ ชีวิตต้องดำเนินต่อไปทุกวัน ชีวิตไม่เคยหยุด ผลประเมินก็ต้องไม่หยุด ทำอย่างไรให้ผลประเมินมีชีวิต เป็นอื่นไปไม่ได้ ต้องนำไปใช้
 
ให้ปี 2 ดีกว่าปี 1 ได้อย่างไร? เป็นโอกาสและความท้าทายไม่น้อย
 
ในฐานะที่สนใจ PR มีมุมมองในเชิง “การประชาสัมพันธ์รัฐบาล” จะใช้การ “ฟัง” ให้เป็นโอกาสได้อย่างไร
 
เป็นการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ผู้อ่านอาจเห็นต่าง เห็นแย้ง เห็นเพิ่ม ถือเป็นประโยชน์หลากหลายมิติ ส่งผลดีต่อประเทศ
 
โดยผู้เขียนมีแง่คิด บางเหลี่ยมบางมุม ดังนี้ ประการแรก ฟังปัญหา โดยการประเมินของภาคส่วนต่างๆ มักพูดถึงปัญหาการทำงานของรัฐบาลอยู่ด้วยเสมอ ฟังแล้ว (ถ้าเห็นว่าใช่) นำมาจัดเป็นกลุ่มๆ เพื่อพิจารณา และหาทางแก้ไข จะดีหรือไม่ ประการใด? เรียงลำดับความสำคัญก่อนหลังของปัญหา หรือทำไปพร้อมกันได้ ทุกข์ของใครเร่งด่วนกว่า รอได้ หรือต้องแก้ทันที
 
รวมถึงปัญหาที่รับฟังมาตลอดทั้งปี นำมาใช้เป็นโอกาส เพื่อสร้างผลงานใหม่ๆ ไม่ต้องเสียเวลาศึกษาปัญหาใดๆ อีกแล้ว หากแก้ไขได้ดีกว่าประชาชนคาดคิด ยิ่งประทับใจ
 
ประการที่ 2 ฟังความต้องการ โดยน่าจะพิจารณาสนองตอบต่อความต้องการของภาคส่วนนั้นๆ ที่เห็นว่าเป็นความต้องการที่ดี ใช่เลย ถูกทิศถูกทางถูกต้อง
 
ไม่สนองตอบไม่ได้ ประเทศเสียหาย และเสียโอกาสประชาชน ไม่ต้องเสียเวลาศึกษาความต้องการใดๆ อีกเช่นกัน
 
ความต้องการของประชาชน บวกวิสัยทัศน์รัฐบาล อาจพบหนทางใหม่ๆ ไปสู่ผลลัพธ์ความสำเร็จใหม่ๆ ตอบโจทย์สังคมยุคใหม่ และศักยภาพการแข่งขันของประเทศ
 
ประการที่ 3 ควรตรวจสอบ ทบทวนนโยบายรัฐบาล 1 ปีที่ผ่านมา ลด ละ เลิกนโยบาย หรืองานโครงการที่ไม่จำเป็นหรือล้าสมัย นอกจากสิ้นเปลืองงบประมาณแล้ว ยังไม่ตอบโจทย์ประชาชนในยุคใหม่จะทำต่อไปทำไม เมื่อประชาชนไม่ต้องการแล้ว ก็ควรจะสร้างความต้องการใหม่ๆ นโยบายไหนควรคงไว้ อันไหนเขย่งอยู่ ควรต้องเขย่า เพื่อให้นโยบายเข้ารูปเข้ารอย ได้เหลี่ยมได้มุมยิ่งขึ้น หากช้า ระวังเสียงบ่นจากประชาชน ดีไม่ดีเจอทวงถาม
 
ประการที่ 4 ใช้กลุ่มเป้าหมายเป็นตัวตั้งในการสร้างผลงานใหม่ๆ ซึ่งกลุ่มเป้าหมายในทางการประชาสัมพันธ์รัฐบาลมีจำนวนมากที่ควรจะเข้าถึง อาจช่วยให้การบริหารงานในปี 2 ง่ายขึ้น เพราะมองจากปลายทางเข้ามาต้นทาง แล้วใส่โครงการเข้าไป การพัฒนาเปลี่ยนแปลงใดๆอยู่ที่คน 2 ฝ่าย คือ รัฐบาล กับประชาชน
 
รัฐบาลอยากเห็นผลวิสัยทัศน์ให้ประชาชน ประเทศเป็นอย่างไร ก็สร้างผลงานตามนั้น
 
ประการที่ 5 กำหนดนโยบายริเริ่มใหม่ๆ เพราะโลกเปลี่ยนทุกวัน สังคมไทยก็เปลี่ยนตามโลก มิเพียงเพื่อให้ทันโลก แต่ต้องนำโลก เห็นอะไรก่อนประเทศอื่น เช่น จะเป็นประชาคมอาเซียนปี 2558 ไทยเห็นอะไรก่อน 8-9 ประเทศบ้าง เห็นแล้วดักความเจริญล่วงหน้าอย่างไรให้ได้ประโยชน์ก่อนคนอื่น ไม่มีใครว่า เพราะประโยชน์นั้นมิใช่ไปเอาเปรียบใคร แต่เราเห็นก่อน คิดได้เอง อ่านขาดกว่า อยู่ที่การออกแบบนโยบายอย่างไร เป็นเรื่องท้าทายไม่น้อย
 
ประการที่ 6 ควรจะต้องบริหารเชิงกลยุทธ์มากขึ้นในปีที่ 2 เพราะย่อมจะพบโจทย์ใหม่ที่ยากขึ้นตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง ยึด 2-3 คำง่ายๆ เจ๋ง ฉีกแนว ไม่ซ้ำใคร จะทำให้ได้ผลงานเหนือผลงานเดิมๆ สะท้อนถึงผลสำเร็จเกินคาดคิด หากทำได้ ก็จะลบครหาจากผู้ประเมินที่บอกว่า ผลงานรัฐบาลยังไม่เป็นรูปธรรมเด่นชัด
 
ที่สำคัญ ทำแล้วอย่าลืมตีปี๊บ PR ออกไป รับรองผลงานเด่นชัดแน่ คนรู้ สังคมเห็น
 
ประการที่ 7 ต้องใช้ฐานะความได้เปรียบของความเป็นรัฐบาล ไม่ว่าใครเป็นรัฐบาล นั่นคืองบประมาณในมือ ในปี 2 นี้จะสร้างผลงานในประการที่ 1 - 6 ให้โดดเด่นอย่างไรก็ได้ ใช้เงินทำงาน ไม่มีใครว่า ใช้เพื่อสร้างประโยชน์ให้ประชาชน และประเทศก้าวหน้า เป็นโอกาสของรัฐบาล ที่จะสร้างความสำเร็จใหม่ๆได้ดั่งใจ
 
หรือใครไม่อยากเห็นประชาชนมีความสุข และประเทศก้าวหน้า ยกมือขึ้น !?