WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Sunday, August 19, 2012

ถือศีลอดแล้วก็ต้องจ่ายซะกาต ตัวอย่างการจัดการที่มัสยิดกลางปัตตานี

ที่มา ประชาไท

 

สัมภาษณ์นายยะโก๊ป หร่ายมณี อิหม่ามมัสยิดกลางปัตตานี ตัวอย่างการจัดการซะกาตหรือทานบังคับของมุสลิม หลักการอิสลามที่อยู่ถัดจากการถือศีลอดในเดือนรอมฎอน
 
 
จ่ายซะกาต - ชาวบ้านตะบิงติงงี อ.มายอ จ.ปัตตานี พากันมาจ่ายซะกาต หรือ ทานบังคับสำหรับมุสลิมในช่วงสุดท้ายของเดือนรอมฎอน ที่มัสยิดประจำหมู่บ้าน (ภาพถ่ายโดย ฮัสซัน โตะดง)
 
เมื่อถือศีลอดแล้วก็ต้องบริจาค นั่นคือหลักการถัดมาหลังจากการถือศีลอดในเดือนรอมฎอนของชาวมุสลิม ก็คือการบริจาคที่เป็นภาคบังคับหรือทำทานบังคับ ที่เรียกว่า “ซากาต” เพื่อแจกจ่ายให้กับผู้มีสิทธิรับซะกาตต่อไปนั่นเอง
 
ในช่วงปลายๆ ของเดือนรอมฎอน ซึ่งเป็นเดือนถือศีลอดของชาวมุสลิม ในทุกมัสยิดจึงมีสิ่งผิดสังเกตเพิ่มขึ้นมา นั่นคือถุงข้าวสารที่ตั้งกองพะเนินอยู่ เพื่อรอจำหน่ายให้สัปบุรุษมาซื้อแล้ว นำไปจ่ายซะกาต โดยมอบหมายให้คณะกรรมการมัสยิดเป็นผู้นำไปแจกจ่าย
 
ที่มัสยิดกลางจังหวัดปัตตานี ก็เช่นกัน ตั้งแต่คืนวันที่ 16 สิงหาคม 2555 เป็นต้น ชาวบ้านต่างทยอยเดินทางมารอซื้อข้าวสารและรอจ่ายซะกาตกันอย่างคึกคัก ซึ่งบรรยากาศจะเป็นเช่นนี้ต่อไปจนถึงวันสิ้นสุดการถือศีลอด หรือวันอีดิ้ลฟิตรี อันเป็นวันฉลองการสิ้นสุดการถือศีลอดหรือวันฮารีรายอนั่นเอง
 
หะยียะโก๊ป หรือ นายยะโก๊ป หร่ายมณี อิหม่ามประจำมัสยิดกลางปัตตานี บอกว่า ซะกาติมี 2 ประเภท ได้แก่ ซะกาตมาล หรือซะกาตทรัพย์สินจากการทำธุรกิจ เป็นซะกาตที่เกี่ยวข้องกับรายได้ ซึ่งเมื่อครบ 1 ปี โดยจะต้องจ่ายในอัตราร้อยละ 2.5 ต่อปี
 
ส่วนซะกาตประเภทที่ 2 คือ ซะกาตฟิตเราะฮ์ ความหมายคือ ความสะอาดบริสุทธิ์ ซะกาตฟิตเราะฮ์เป็นซะกาตจ่ายเพื่อที่จะล้างมูลทินต่างๆในช่วงเดือนรอมฎอน หรือ เป็นซะกาตที่จะไปทดแทนในสิ่งทำให้สูญเสียผลบุญจากการถือศีลอดในช่วงเดือนรอม ฎอน แต่ไม่ใช่สิ่งที่ทำให้การถือศีลอดเป็นโมฆะ ซะกาตประเภทนี้บังคับสำหรับทุกคน
 
หะยียะโก๊ป ระบุต่อไปว่า สำหรับสิ่งของที่จะนำมาการจ่ายซะกาตฟิตเราะฮ์นั้น จะเน้นอาหารหลักที่เป็นของท้องถิ่นหรือสิ่งของที่ใช้การรับประทานอาหารใน ชีวิตประจำวัน ซึ่งในบ้านเราก็คือข้าวสารหรือแปลงเป็นเงินก็ได้
 
“ข้าวสารที่จะนำมาจ่ายซะกาต คือปริมาณคนละ 1 กันตัง (มาตรตวงชนิดหนึ่ง) หรือเท่ากับน้ำหนักข้าวสาร 2.4 กิโลกรัม ปัจจุบันมีราคาประมาณ 60 บาทต่อ 1 กันตัง”
 
สำหรับบุคคลที่มีสิทธิในการรับซะกาตมีทั้งหมด 8 จำพวก ได้แก่ 1.คนยากจน 2.คนที่อัตคัดขัดสน 3.คนที่มีหัวใจโน้มมาสู่อิสลาม (เข้ารับอิสลาม) 4.ผู้บริหารการจัดเก็บและการจ่ายซะกาต 5.ทาส 6.ผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว 7.คนพลัดถิ่นหลงทาง 8.คนที่ต่อสู้ในหนทางของอัลลอฮฺ
 
หะยียะโก๊ป ระบุว่า ในแต่ละปีมีประชาชนมาจ่ายซะกาตที่มัสยิดกลางจังหวัดปัตตานีประมาณ 1,000 กว่าคน ส่วนใหญ่จ่ายเป็นข้าวสารและเงิน แต่ละปีจะได้เงินซะกาตประมาณ 200,000 – 300,000 บาท ทางมัสยิดจะไปแจกจ่ายให้กับกลุ่มบุคคลทั้ง 8 จำพวกข้างต้น ส่วนข้าวสารที่ได้ทางมัสยิดนำไปขายเพื่อนำเงินมาแจกจ่ายแทน
 
“คณะกรรมการมัสยิดจะแจกจ่ายภายใน 2-3 วันหลังจากวันอีดิ้ลฟิตรี โดยให้ตัวแทนกลุ่มต่างๆ ในชุมชน ซึ่งมี 7 ชุมชนที่ขึ้นกับมัสยิดแห่งนี้ เช่น กลุ่มสตรี กลุ่มยุวมุสลิม ไปสำรวจบุคคลที่มีสิทธิจะได้รับซะกาตเป็นประจำทุกปี โดยปกติมัสยิดแต่ละแห่งจะมีบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิที่จะได้รับซะกา ตฟิตเราะฮ์อยู่แล้ว แต่เหตุที่ต้องสำรวจทุกปี เนื่องจากบางคนอาจจะสามารถสร้างเนื้อสร้างตัวได้ จนกระทั่งพ้นหลักเกณฑ์ของการรับซะกาตแล้ว”
 
แต่ละปีมีผู้ที่มีสิทธิได้รับซะกาตที่มัสยิดกลางจังหวัดปัตตานีรับผิด ชอบอยู่ประมาณ 50 – 60 คน ตามบัญชีของมัสยิด เฉลี่ยแต่ละคนจะได้รับเงินซะกาตประมาณ 2,000 -3,000 บาทต่อราย
 
โดยกลุ่มบุคคลที่จะได้รับมากกว่าบุคคลอื่นๆ คือมูอัลลัฟ (คนที่มีหัวใจโน้มมาสู่อิสลามหรือผู้เข้ารับอิสลาม) ซึ่งปีนี้มีประมาณ 30 คน รองลงมาเป็นคนยากจน ส่วนคนเดินทางซึ่งมีสิทธิได้รับเงินซะกาตด้วยไม่ค่อยมี
 
หะยียะโก๊ป ยังยกตัวอย่างด้วยว่า เคยมีชาวบ้านคนหนึ่งที่คณะกรรมการมัสยิดเคยนำเงินซะกาตไปมอบให้ แล้วเขานำไปซื้อรถเข็นมาประกอบอาชีพจนสามารถสร้างตัวได้ ปัจจุบันเขากลับเป็นคนจ่ายให้ซะกาตให้คนอื่นได้แล้ว
 
บรรยากาศค่ำคืนนี้ ทุกมัสยิดก็คงจะยิ่งคึกคักขึ้นไปอีก เพราะทุกคนต่างมุ่งไปยังมัสยิดเพื่อรีบจ่ายซะกาตให้ทันก่อนถึงเวลาละหมาดอี ดิ้ลฟิตรีในวันรุ่งขึ้น หากทางสำนักจุฬาราชมนตรีประกาศว่า มีผู้พบเห็นดวงจันทร์และกำหนดให้เป็นวันสำคัญทางศาสนา “อีดิ้ลฟิตรี” เพราะหากเลยเวลานั้นไปแล้ว ซะกาตจะกลายเป็นแค่การบริจาคทานธรรมดานั่นเอง