WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Monday, August 20, 2012

จาก FTA ไทย-ยุโรป ถึง ACTA เรื่องทรัพย์สินทางปัญญาไม่เข้าใครออกใคร

ที่มา ประชาไท

 

เรื่องของการทำข้อตกลงเขตการค้าเสรี (เอฟทีเอ) ของไทยกับประเทศมหาอำนาจทั้งหลายหลายเงียบไปพักใหญ่ ทั้งจากเงื่อนไขประเทศคู่เจรจา และเขื่อนไขภายในของไทยเอง
เอฟทีเอ วอทช์ หรือหน่วยจับตาการทำเอฟทีเอ ของภาคประชาชน เริ่มส่งเสียงเรื่องนี้อีกครั้ง หลังมีความเคลื่อนไหวเรียกประชุมหน่วยงานด้านการเจรจาเอฟทีเอกับสหภาพยุโรป (อียู)
โดยเฉพาะเมื่อมีข่าวการเร่งนำร่างกรอบการเจรจาเอฟทีเอไทย-อียู เข้าสู่ ครม.ใน 1-2 สัปดาห์นี้เพื่อทันการพิจารณาของรัฐสภาใน ส.ค.นี้
เอกสารการประชุมว่าด้วยกรอบการเจรจาที่เล็ดรอดออกมา ทำให้เห็นข้อเรียกร้องของอียูอย่างชัดเจน และที่ชัดเจนกว่าคือความเห็นของหน่วยงานไทย โดยเฉพาะเรื่องทรัพย์สินทางปัญญา
“กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ให้ความเห็นว่า ควรกำหนดให้ไทยมีท่าทีการเจรจาที่ยืดหยุ่น โดยอาจยอมรับข้อผูกพันที่มากกว่า TRIPs หรือยอมรับ TRIPs Plus ในการจัดทำการค้าเสรีเนื่องจาก การคุ้มครองข้อมูลทดสอบยาเพิ่มเติม 5 ปีจะไม่มีผลกระทบต่อราคายาในปัจจุบัน และการคุ้มครองข้อมูลทดสอบยา อาจมีผลทำให้ยาสามัญ (Generic drugs) วางตลาดได้ช้าลงแต่ไม่เกิน 5 ปี จึงทำให้ผลกระทบต่อยามีจำกัด”
เอกสารร่างกรอบการเจรจาระบุ
หากใครตามเรื่องเอฟทีเอ ก็คงทราบดีว่านักวิชาการและเอ็นจีโอในแวดวงสาธารณสุขค้านกันแข็งขันในเรื่องนี้
ในเอฟทีเอของอียู ในส่วนที่เกี่ยวพันกับทรัพย์สินทางปัญญานั้น มุ่งเน้นให้ไทยยอมรับทริปส์พลัส  บวกเพิ่มเติมข้อกำหนดกันเข้ามาหลายเรื่อง มีความห่วงกังวลว่าการรับทริปส์พลัสที่ว่าจะกระทบกับการเข้าถึงยาของประชาชน
ทริปส์ (เฉยๆ )คือข้อตกลงด้านทรัพย์สินทางปัญญา ขององค์การการค้าโลกที่สมาชิกภาคี 155 ประเทศ รวมทั้งไทย ต้องผูกพัน 
ทริปส์กำหนดข้อปฏิบัติต่างๆ เกี่ยวกับเรื่องทรัพย์สินทางปัญญา พร้อมทั้งมีมาตรการยืดหยุ่นให้ประเทศกำลังพัฒนาได้หายใจหายคอบ้าง อันที่เราน่าจะคุ้นหูดีคือ มาตรการการบังคับใช้สิทธิ หรือ ซีแอล ที่ไทยเคยเอามาใช้นำเข้ายาสามัญ ไม่ว่ายาต้านไวรัส ยารักษาโรคหลอดเลือดฯ เมื่อปี 2550
ส่วนทริปพลัส (หรือทริปส์บวก)  ง่ายๆ คืออะไรก็ตามที่เข้มงวดมากเกินไปกว่าที่ทริปส์กำหนด
หากจะเข้าใจเสียงค้านในประเด็นนี้ ก็คงต้องกล่าวถึงรายละเอียดของเรื่อง
จิราพร ลิ้มปานานนท์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สรุปประเด็นปัญหาไว้ว่า
ข้อกังวลหลักๆ คือ
-มีการจัดสินค้าละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา โดยเฉพาะยา ให้เป็น “ยาปลอม” แม้แต่ยาที่ต้องสงสัยว่าละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาก็เข้าข่าย “ยาปลอม” ด้วย ทั้งที่เป็นคนละเรื่อง ยาปลอมในความหมายขององค์การอนามัยโลกหมายถึงยาที่อาจเป็นอันตรายต่อผู้ บริโภค มีฉลากเป็นเท็จ มีส่วนผสมปลอม ฯ การขยายนิยามเช่นนี้ง่ายต่อการกีดกันยาชื่อสามัญ
-มีการคุ้มรองข้อมูลทดสอบยา 5 ปี (Data Exclusivity : DE) คือห้ามใครจดทะเบียนยาชื่อสามัญในระหว่างที่ยาต้นกำเนิดของยุโรปวางตลาดใน 5 ปีแรก  ทำให้หลายคนเรียกมาตรการนี้ว่า การผูกขาดข้อมูลยาแทนด้วย ปัจจุบันในไทยไม่มี DE หรือข้อห้ามนี้ นับเป็นการผูกขาดตลาดผู้เดียวเหนาะๆ 5 ปี ไม่ว่ายาต้นกำเนิดจะมีสิทธิบัตรหรือไม่ หรือยาชื่อสามัญจะใช้วิธีแตกต่างไปหรือไม่
-กรมเจราการค้าบอกว่า “การมี DE อาจมีผลทำให้ยาสามัญ  วางตลาดได้ช้าลงแต่ไม่เกิน 5 ปี จึงทำให้ผลกระทบต่อยามีจำกัด” แต่จากการศึกษาของจิราพรและคณะ 1 ศึกษาผลกระทบต่อการใช้จ่ายด้านยาหากมี DE พบว่า
ถ้ามี DE ค่าใช้จ่ายด่านยา จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และในปีที่ 5 จะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นอยู่ที่ 80,000 ล้านบาท
ถ้าให้มีการขยายเวลาคุ้มครองสิทธิบัตร ในปีที่ 5 ค่าใช้จ่ายด้านยาจะเพิ่มขึ้นอยู่ที่ 20,000 ล้านบาท
ดังนั้น การมี DE จึงเป็นการผูกขาดตลาดที่ไม่ใช่เรื่องเล็กน้อย และสร้างภาระค่าใช้จ่ายอย่างมาก และไม่น่าจะกระทบต่อการเข้าถึงยาอย่าง “จำกัด” อย่างที่กรมเจรจาการค้าคาด
-ให้อียู แล้วต้องให้ประเทศอื่นที่มาทำเอฟทีเอด้วย ตามมาตรา 4 ของ TRIPS ระบุว่าถ้าให้การคุ้มครองด้านทรัพย์สินทางปัญญาแก่ประเทศหนึ่งประเทศใด ก็ต้องทำกับทุกประเทศใน WTO ดังนั้น จึงเชื่อว่าความเสียหายที่เกิดจากเรื่องนี้ซึ่งเกี่ยวพันโดยตรงกับ “ยา” จะสร้างความเสียหายมากกว่าประโยชน์เรื่องอื่นที่ได้รับจาก EU
สภาอียูยังคว่ำ ACTA  เกรงคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาละเมิดสิทธิประชาชน
“แม้ว่า ร่างความตกลง ACTA ล้มไป แต่สาระเนื้อหาที่คล้ายคลึงกันซึ่งจะก่อให้เกิดผลกระทบต่อการเข้าถึงยา การเข้าถึงความรู้และฐานทรัพยากรชีวภาพไม่ได้หายไปด้วย แต่ยังมีความพยายามผลักดันสาระเหล่านี้ในการเจรจาเขตการค้าเสรีหรือ FTA ใน หลายประเทศโดยเฉพาะในเอฟทีเอกับสหภาพยุโรป และ ในการเจรจาการค้าในรูปแบบใหม่ภายใต้ชื่อว่า “ข้อตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ เศรษฐกิจภูมิภาคแปซิฟิค หรือ Trans-Pacific Partnership เรียกย่อๆว่า TPPAโดยมีหลายประเทศเข้าร่วมในวงเจรจาทั้งประเทศ ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคและสหรัฐอเมริกา”
ความเห็นร่วมขององค์กรพัฒนาเอกชนด้านสุขภาพหลายแห่ง
ACTA หรือ Anti-Counterfeiting Trade Agreement  หรือข้อตกลงว่าด้วยการต่อต้านสินค้าปลอมแปลง นับเป็นทริปส์พลัสแบบหนึ่ง เน้นควบคุมสินค้าปลอม ซึ่งรวมถึงยาปลอม การละเมิดทรัพย์สินทางปัญหาทางอินเตอร์เน็ต เข้มข้นกว่าทริปส์
เรื่องนี้ก็อาจเรียกได้ว่าเกี่ยวพันกับเรื่องยาด้วย และเป็นข่าวใหญ่โตเมื่อ สภายุโรปเองก็ยังโหวตไม่รับเรื่องนี้
เฉลิมศักดิ์ กิตติตระกูล จาก FOCUS  เล่าว่า ใน ACTA มีความพยายามขยายนิยาม “ยาปลอม” ซึ่งโดยปกติองค์การอนามัยโลก หรือ WHO พูดถึงมันในแง่คุณภาพ และความปลอดภัย แต่ ACTA คลุมไปถึงเรื่องยาละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา ทำให้ยาชื่อสามัญสุ่มเสี่ยงต่อการละเมิดสิทธิบัตร และยังเป็นอุปสรรคต่อการใช้มาตรการยืดหยุ่นที่มีในทริปส์
ใน ACTA ยังมีมาตรการชายแดน ซึ่งยึดจับยาที่ต้องสงสัยว่าละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาได้ระหว่างขนส่ง และสามารถเอาผิดกับบุคคลที่เกี่ยวข้องได้ทั้งหมด โดยเพิ่มโทษอาญาเข้าไปด้วย นอกจากนี้ยังยกเลิกคำสั่งศาลให้กระทำหรืองดเว้นการกระทำใดๆ ในเรื่องที่เกี่ยวข้อง
ACTA เริ่มเป็นรูปเป็นร่างตั้งแต่ พ.ค.2008 แต่รั่วสู่สายตา NGOs ทั่วโลกเสียก่อนจะมีการเจรจาในเดือน มิ.ย.ปีเดียวกัน คุยกัน 9 ครั้ง จนกระทั่งปี 2011 จึงได้ข้อสรุป และมีการลงนาม โดยประเทศหลักที่ลงนามแล้วได้แก่ สหรัฐอเมริกา, ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น โมรอคโค แคนาดา สิงคโปร์ เกาหลีใต้
จนเมื่อวันที่ 4 ก.ค.ที่ผ่านมา สภายุโปรมีมติไม่ลงนามใน ACTA ด้วยคะแนน 478 ต่อ 39 (165 งดออกเสียง)
ด้วยเหตุผลว่า การเจรจาเป็นความลับตลอดมา ขาดความโปร่งใส และไม่มีการเผยแพร่ข้อมูลต่อสาธารณะ ขาดการรับฟังเสียงประชาชน, เนื้อหามีความคลุมเครือ, ผสมหลายเรื่องเข้าได้กัน ทั้งที่ควรจะแก้ไขแบบแยกส่วน, ละเมิดสิทธิขั้นพื้นที่ของประชาชน, เอื้อประโยชน์ต่อยาชื่อยี่ห้อต้นตำรับ บั่นทอนยาชื่อสามัญ
ถึงที่สุดคงต้องรอดูคำอธิบายใน “ภาพรวม”จากหน่วยงานของรัฐหรือภาคส่วนอื่นด้วยว่า จะได้อะไรบ้าง  คุ้มกับที่เสียหรือไม่  ซึ่งจะเป็นเช่นนั้นได้ก็ต้องผ่านด่านแรกเสียก่อน คือ เปิดโอกาสให้ได้รับรู้และถกเถียงอย่างกว้างขวางโดยแท้จริง

==============
1  จิราพร ลิ้มปานานนท์, นุศราพร เกษสมบูรณ์, วิทยา กุลสมบูรณ์, อุษาวดี มาลีวงศ์, อัจฉรา เอกแสงศรี และปริญญา เปาทอง (2553) โครงการวิจัยผลกระทบของข้อเรียกร้องด้านสิทธิบัตรในข้อตกลงเขตการค้าเสรี ระหว่างประเทศไทยกับสหรัฐอเมริกาต่ออุตสาหกรรมยาชื่อสามัญในประเทศ
และ โครงการวิจัย “ผลกระทบและมาตรการรองรับ กรณีขยายความคุ้มครองสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวกับข้อตกลงเพื่อเปิด เขตการค้าเสรี ไทย – สหรัฐอเมริกา : มิติผลกระทบต่อการเข้าถึงยาและต่อสุขภาพ”, Southeast Asian Journal Tropical Medicine Public Health. หน้า 667-677.