ความสัมพันธ์กับพม่า
ไม่ว่าแบบเรียนไหนก็ล้วนพบว่า พม่าเป็นชาติที่ถูกกล่าวถึงมากที่สุด
พม่าเป็นชาติที่เป็นคู่สงครามมหายุทธกัน
ตั้งแต่กรุงศรีอยุธยาในสมัยสมเด็จพระไชยราชาธิราชแล้ว เริ่มจากศึกเชียงกราน
หัวเมืองมอญ (พ.ศ.2081) ต่อเนื่องยาวนานจนกระทั่งกรุงศรีอยุธยาล่มไปแล้ว
ตั้งกรุงใหม่ก็แล้ว ก็ยังทำสงครามพัวพันยืดเยื้อไปจนถึงสงครามครั้งสุดท้าย
นั่นคือ สงครามเชียงตุง ในสมัยรัชกาลที่ 4
แม้ว่าในแบบเรียนประวัติศาสตร์จะเราเขียนถึงพม่ามากที่สุด
ปรากฏในรูปของตัวบทที่เป็นคำบรรยาย ภาพประกอบที่เป็นตัวแทนทางประวัติศาสตร์
สื่อภาพผ่านอนุสาวรีย์ ละคร แสงสี เสียง ฯลฯ
นั่นยิ่งตอกย้ำและทำให้เรารู้จักพม่าเพียงซีกเดียวเท่านั้น นอกจากคมหอก
และกลิ่นดินปืนในสงครามระหว่างกันแล้ว
เราแทบจะไม่มีฐานให้เห็นความเชื่อมโยงกันด้วยระบบเศรษฐกิจ
และการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมระหว่างกันเลย ทั้งยามสงบและยามสงคราม
ยังดีที่แบบเรียนของ
พว.เริ่มมีการอธิบายถึงเหตุผลในการทำสงครามระหว่างกันบ้าง นั่นคือ
หากมองจากฝ่ายอยุธยาก็คือ
ชนวนสงครามก็คือการชิงเมืองเชียงกรานอันเป็นหัวเมืองมอญที่เป็นเมือง
ยุทธศาสตร์ หากมองจากพงศาวดารพม่าก็คือ
การชิงความเป็นจักรพรรดิราชตามคติพุทธศาสนา แต่ในมุมมองเศรษฐกิจ
นี่อาจเป็นการแย่งชิงอำนาจเพื่อควบคุมเมืองทางสำคัญทางฝั่งเบงกอลตะวันออกxlix
อย่างไรก็ตาม
ในแบบเรียนไม่ได้ทำให้เห็นถึงความสัมพันธ์ที่คลี่คลายในยุคหลัง
โดยเฉพาะการที่อูนุ นายกรัฐมนตรีของพม่าที่ได้ทำการขอขมาแทนคนพม่า
ในกรณีที่มาร่วมฉลอง 25 พุทธศตวรรษ ในปี 2500
หลังจากที่ไปเยี่ยมชมโบราณสถานที่กรุงศรีอยุธยาl
ดังนั้นสิ่งที่ยังติดฝังความทรงจำของเราผ่านแบบเรียนเสมอมาก็คือ
ความหยุดนิ่งของความเป็นศัตรูคู่แค้นสงคราม
ทั้งที่สงครามนั้นเป็นสงครามระหว่างชนชั้นนำ
ไม่ใช่การสร้างความบาดหมางกันในระดับไพร่ ชาวบ้าน
ดังที่กระแสชาตินิยมอาศัยความรู้สึกนี้เป็นเชื้อเพลิง
ความสัมพันธ์กับเขมร
ผิดกับเขมรที่หลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีจำนวนมากบ่งบอกถึง
อิทธิพลของเขมรที่มีต่อราชสำนักอยุธยา
ในด้านความสัมพันธ์อารยธรรมเขมรเป็นมหาอำนาจในภูมิภาคมาก่อน
ดังนั้นจึงไม่แปลกที่รัฐแถบลุ่มน้ำเจ้าพระยาจึงหยิบยืมทั้งในด้านภาษา
ราชาศัพท์ สถาปัตยกรรม นาฏศิลป์จากราชสำนักเขมรli
แต่อย่างไรก็ตามมิติทางวัฒนธรรมนี้
กลับถูกเบียดบังด้วยประวัติศาสตร์ความขัดแย้งระหว่างกัน จุดเริ่มต้นนั่นคือ
การพูดย้อนไปถึงการปกครองของเขมรในยุคก่อนสุโขทัย
การขับไล่เขมรออกจากดินแดนจึงเป็นการทำให้เห็นภาพชัดเจนของยุคเริ่มต้นของ
ราชธานีแห่งแรก ไม่เพียงเท่านั้น สิ่งที่ตอกย้ำไปมากกว่านั้นก็คือ
การปราบเขมรที่เคยเป็นจักรวรรดิที่ยิ่งใหญ่ลงได้ในสมัยอยุธยาตอนต้น ในปี
1975 และทำให้เขมรต้องย้ายเมืองหลวง
ในเชิงภูมิศาสตร์การเมืองแล้วเขมรเป็นดินแดนที่อยู่ระหว่างสยามกับญวน
ดังนั้นทั้งสองฝ่ายในยามเข้มแข็งก็พยายามที่จะมีอำนาจเหนือเขมรเสมอมา
และนั่นก็ทำให้เขมรถูกแทรกแซงทางการเมืองจากทั้งสองรัฐ
จึงไม่แปลกที่ราชสำนักเขมรเลือกที่จะรับไมตรี และโจมตีอยุธยาสลับกันไปมา
แต่ทัศนคตินี้ไม่ถูกทำให้เห็นชัดเจนในแบบเรียน
แต่มักจะเสนอข้อมูลที่ชี้ชวนให้เห็นว่า เขมรเป็นประเทศที่ไว้ใจไม่ได้
ความสัมพันธ์เช่นนี้เกิดขึ้นเรื่อยมาตั้งแต่สมัยอยุธยา
ยังไม่นับมิติทางวัฒนธรรมที่มักจะปฏิเสธว่าเขมรในปัจจุบันเป็นคนละพวกกับ
เขมรโบราณที่เคยมีอารยธรรมรุ่งเรือง
ซึ่งนั่นก็เป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นได้ชัดเจนถึงการเหยียดหยาม
และยกตนเหนือกว่าของคนไทยต่อเขมร
ความสัมพันธ์กับญวน
ญวนหรือเวียดนามในปัจจุบัน
เป็นประเทศเดียวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภาคพื้นทวีปที่ไม่มีอาณาเขตติดต่อ
กับไทยในปัจจุบัน ในแบบเรียนได้บรรยายว่า
ญวนเป็นประเทศคู่สงครามที่มีเขมรเป็นรัฐกันชนมาตั้งแต่สมัยอยุธยาlii สงครามที่รู้จักกันดีในยุครัตนโกสินทร์ ก็คือ อันนัมสยามยุทธในสม้ยรัชกาลที่ 3 liiiความ
สัมพันธ์กับญวนจึงไม่ได้มีความสัมพันธ์ที่ดีอะไรต่อกันมากนัก
แต่อาศัยเขมรเป็นสมรภูมิทางการเมืองระหว่างกันตั้งแต่จักรวรรดิอันเรืองรอง
ของเขมรร่วงโรย
ความสัมพันธ์กับลาว
ปัญหาใหญ่ของแบบเรียนก็คือ
การสร้างภาพให้ลาวล้านช้างตกเป็นของอยุธยาโดยเบ็ดเสร็จในสมัยสมเด็จพระ
นเรศวร ในยามที่พม่าลดภาวะคุกคามในภูมิภาคลง
ในแบบเรียนเสนอว่าทางเวียงจันทน์ยอมขึ้นกับอยุธยาในยุคนี้liv
แต่อย่างไรก็ตามความสัมพันธ์เฉพาะเวียงจันทน์เช่นนี้ทำให้เกิดความตีความว่า
ดินแดนลาวเคยเป็นของไทยมาอย่างเนิ่นนานแล้ว
โดยเฉพาะการอ้างถึงภาษาตระกูลไท-ลาว
เช่นเดียวกับที่ไทยมักจะอ้างกับคนต่างๆทั่วภูมิภาค
เพื่อใช้อ้างสิทธิ์เหนือดินแดนต่างๆ
ข้อมูลเช่นนี้ก่อความเข้าใจผิดมาถึงปัจจุบัน
เพราะอยุธยาเองก็ไม่ได้มีอำนาจควบคุมลาวอย่างเบ็ดเสร็จเลยแม้แต่ในสมัย
สมเด็จพระนเรศวร
การครอบครองและมีอิทธิพลเหนือลาวที่รวมถึงดินแดนอีสานของไทยในปัจจุบันแทบ
ทั้งหมด
พึ่งเกิดขึ้นในสมัยธนบุรีต่อเนื่องมาถึงรัตนโกสินทร์ที่กินเวลาเพียงสองร้อย
ปีเท่านั้น
อย่างไรก็ตามการนำเอาสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองอย่างพระแก้วมรกตมาไว้
ที่ดินแดนสยาม ก็เป็นการทำลายขวัญกำลังใจของลาวอย่างมาก
ไม่นับว่าแบบเรียนไม่ระบุถึงวีรกรรมของกองทัพไทยที่เผาปล้นเวียงจันทน์ในปี
2360lv
ความสัมพันธ์กับหัวเมืองมลายู
หัวเมืองมลายูเป็นดินแดนที่อยู่ไกลจากศูนย์กลางอำนาจ
ทั้งในด้านระยะทางและทางวัฒนธรรม
โดยเฉพาะเมื่อบริเวณนี้ได้รับอารยธรรมและศาสนาอิสลามเข้าไว้ด้วยแล้ว
สิ่งหนึ่งเป็นแรงผลักดันทางการเมืองของรัฐสยามก็คือ ผลประโยชน์ทางการค้า
นั่นทำให้สยามพยายามเข้าไปควบคุมดินแดนเหล่านี้ จึงปรากฏในแบบเรียนว่า
เกิดความขัดแย้งสลับกับความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างกันตลอดมาlvi
ตั้งแต่สมัยจารีตมาถึงต้นร้ตนโกสินทร์ ดังที่พบว่าหลังจากสงครามเก้าทัพ
ก็ปรากฏว่า สยามได้ยกทัพที่เหลือไปปราบหัวเมืองมลายู
และครั้งนี้เข้าไปจัดการแบ่งแยกเมืองให้อำนาจการปกครองตนเองด้อยลง
ขณะที่กระชับอำนาจเข้าสู่กรุงเทพฯ มากขึ้น
ที่น่าสังเกตก็คือ ความขัดแย้งของหัวเมืองมลายูผิดกับความขัดแย้งอื่น
นั่นคือ มันลงลึกไปถึงความเชื่อ ศาสนา
ความเข้มแข็งของหัวเมืองมลายูไม่ได้อยู่ที่อำนาจที่เข้มแข็งของชนชั้นนำ
ปกครองอย่างเดียว
แต่ยังขึ้นอยู่กับเครือข่ายความสัมพันธ์ทางศาสนาและการเมืองด้วย
ดังนั้นความขัดแย้งของสยามกับหัวเมืองมลายู
จึงล้ำเส้นจากการทะเลาะกับชั้นนำด้วยกันเหมือนกับรัฐจารีตอื่นๆ
ไปสู่หน่วยการเมืองระดับพื้นฐานด้วย
เงื่อนไขความสัมพันธ์และความขัดแย้ง
เงื่อนไขของสงครามในยุคจารีตนั้น
ขึ้นอยู่กับโครงสร้างของสังคมในยุคสมัยด้วย
กาลเวลาช่วงนี้เป็นยุคที่อำนาจอธิปไตยอยู่ในมือชนชั้นนำ และกษัตริย์
โลกทัศน์ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้บนภาคพื้นทวีปนั้นเป็นโครงสร้างที่ได้รับ
อิทธิพลจากอินเดียนั่นคือ โลกทัศน์แบบพุทธ-ฮินดู ไพร่ กษัตริย์
ราชวงศ์และขุนนางเป็นผู้ปกครอง ขณะที่ไพร่และทาสเป็นคนใต้การปกครอง
อาจถือว่าเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าด้วย
ในยุคนี้การเขียนประวัติศาสตร์แทบจะทั้งหมดให้ความสำคัญกับชนชั้นนำ
ที่สถาปนาสถานะอันสูงส่งและศักดิ์สิทธิ์ขึ้น
ด้วยเหตุนี้จึงมีศาสนาและนักบวชเป็นพันธมิตรเพื่อเครื่องมือสร้างความชอบ
ธรรมและขับกล่อมสังคมให้อยู่อย่างสงบและเป็นเอกภาพ ดังนั้นจึงไม่แปลกว่า
ผู้กระทำทางประวัติศาสตร์ก็คือชนชั้นนำทั้งหลาย
สงครามที่เกิดขึ้นแทบทั้งหมดเป็นมาจากความขัดแย้งของชนชั้นนำ
สำหรับยุคจารีตแล้ว
ดินแดนที่แน่นอนตายตัวไม่ใช่เครื่องแสดงบารมีและความมั่งคั่งเท่ากับอำนาจ
การควบคุมคน
เราจึงพบการทำสงครามและกวาดต้อนเชลยไปมากกว่าที่จะยึดพื้นที่แล้วส่งคนไป
ปกครองเพื่อขยายดินแดน นอกจากนั้นสิ่งสำคัญอีกประการก็คือ
การเอาชนะกันด้วยการทำลายความศักดิ์สิทธิ์ การทำลายล้างดังกล่าว
ยังเป็นการยังไปสู่ ความเสื่อมของผู้มีบุญญาธิการด้วย
ดังนั้นการปล้นชิงเอาสิ่งศักดิ์สิทธิ์จากดินแดนต่างๆมาเป็นของตนเองจึงเป็น
เรื่องธรรมดาและเป็นการเสริมบารมีให้กับผู้ชนะสงครามเสียด้วยซ้ำ
นอกจากนั้นการเผาทำลายเมืองที่ไม่ใช่เฉพาะพม่าเท่านั้นที่ทำกับกรุง
ศรีอยุธยา แต่สยามยังเคยใช้วิธีนี้กับเวียงจันทน์ด้วย
การกระทำเช่นนี้ก็เพื่อทำลายไม่ให้เมืองเป็นศูนย์กลางการปกครองและความ
ศักดิ์สิทธิ์อีกต่อไป
กระนั้นก็ตาม
ที่ผ่านมันคือสงครามที่เกิดขึ้นจากชนชั้นนำที่ไม่ใช่ความขัดแย้งระหว่างไพร่
ทาส อันเป็นชนกลุ่มใหญ่ในสังคม ทั้งหมดนี้คือ
การจัดความสัมพันธ์แบบรัฐจารีตที่มีศูนย์กลางอยู่ที่อุดมคติของพระเจ้า
จักรพรรดิที่เป็นศูนย์กลาง ปัญหาก็คือ
ในยุคปัจจุบันเรานำเอาโลกทัศน์ที่ตัวเองเป็นศูนย์กลางเช่นนี้มาใช้อธิบายตัว
ตนของเราด้วย
ข. ความสัมพันธ์ต่อกันแบบรัฐชาติสมัยใหม่
ในพุทธศตวรรษที่ 24 ต่อ 25 จักรวรรดิจีนแบบจารีตได้หมดอำนาจลง
และถูกแทนที่โดยความเฟื่องฟูของจักรวรรดินิยมตะวันตกแทน
จักรวรรดิใหม่นี้มากพร้อมกับวิทยาการความก้าวหน้าในยุโรปทั้งในด้านระบบคิด
การปกครอง วิทยาการ
ซึ่งสิ่งเหล่านี้มีผลต่อโลกทัศน์ของชนชั้นนำสยามเป็นอย่างสูง ในทางกลับกัน
แบบเรียนมักทำให้เราตระหนกต่อภัยคุกคามจากตะวันตกมากกว่า
ในตัวบทได้แสดงให้เห็นถึงทัศนะระแวงภัยตะวันตกมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา
ไม่ว่าจะเป็นภัยคุกคามจากดัทช์ หรือกระทั่งจากฝรั่งเศส
ที่มีบทบาททางการเมืองอย่างสูง
จนถึงกับยกย่องกษัตริย์อย่างสมเด็จพระเพทราชา
เป็นบุคคลสำคัญที่สามารถจะกำจัดอิทธิพลของฝรั่งเศส
ตลอดจนชาติตะวันตกออกไปจากกรุงศรีอยุธยาได้lvii และแน่นอนว่าหลังจากยุคนี้แล้วความสัมพันธ์ระหว่างกรุงศรีอยุธยากับตะวันตกก็เสื่อมถอยลงอย่างรวดเร็ว
การก่อเชื้อดังกล่าวไว้กลับมาเชื่อมกับจุดเปลี่ยนสำคัญในยุครัฐชาติสมัย
ใหม่ก็คือ ประวัติศาสตร์การเสียดินแดนให้กับอังกฤษและฝรั่งเศส
รวมไปถึงการสูญเสียสิทธิสภาพนอกอาณาเขต การทำสนธิสัญญาฉบับต่างๆ
แต่ที่เป็นรูปธรรมที่สุดและเชื่อมโยงกับอารมณ์ความรู้สึกที่สุดก็คือ
ความทุกข์ระทมจากการเสียดินแดน ในแบบเรียนแสดง แผนที่แสดงการเสียดินแดน
ตั้งแต่ปี 2410-2452lviiiผลิตซ้ำภาพตัวแทนของดินแดนที่สยามต้องสูญเสียไปและนี่เองที่ทำให้สยามที่สำนึกที่แตกต่างจากเพื่อนบ้านอื่นๆ
ประวัติศาสตร์เช่นนี้ได้สร้างความรับรู้ของชาติผ่านมุมมองของชนชั้นนำ
แต่กลับสร้างความรู้สึกร่วมของคนในปัจจุบันได้มาก มีอย่างน้อย 2 ประการ
นั่นก็คือ ความรู้สึกเจ็บปวดจากการสูญเสียดินแดน
ในขณะเดียวกันก็ต้องหาทางออกในการบำบัดความเจ็บปวดนั้น ซึ่งก็คือ
การสร้างสำนึกใหม่ในเชิงเปรียบเทียบ สิ่งที่เรารู้จักกันดีก็คือ
ความเชื่อที่ว่า ประเทศไทยไม่เคยเป็นเมืองขึ้นของใครlix
หากเปรียบเทียบกับข้อเสนอทางประวัติศาสตร์หลายชิ้นชี้เห็นว่า
อังกฤษและฝรั่งเศสไม่ต้องการจะยึดครองสยามทั้งหมดแต่ต้องการเหลือเป็น
พื้นที่รัฐกันชนระหว่างกัน
ดังนั้นการบำบัดตัวเองด้วยวิธีนี้จึงกลายเป็นการนำเอาตัวตนของชาติที่ดีเลิศ
กว่า ไปเปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆในภูมิภาค
ด้วยความสัมพันธ์ของชาติที่มีอิสรภาพ กับ ชาติที่เป็นเมืองขึ้น
เงื่อนไขความสัมพันธ์และความขัดแย้ง
เมื่อ 100 ปีที่แล้ว รัฐสยามปรับตัวสู่ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์
และการสร้างรัฐชาติสมัยใหม่ที่รวมศูนย์อำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง
ซึ่งนั่นหมายถึงการเปลี่ยนความสัมพันธ์ที่มีระยะห่างของเหล่าหัวเมือง
ประเทศราชให้มามีระยะที่ใกล้ชิดเพื่อที่จะควบคุมได้อย่างสะดวก
ขณะที่ศึกอีกด้านหนึ่งก็คือ
การต่อสู้ช่วงชิงทรัพยากรและดินแดนกับประเทศตะวันตกอย่างอังกฤษและฝรั่งเศส
ในดินแดนหัวเมืองประเทศราชเหล่านั้นนั่นเอง ไม่ว่าจะโดยวิธีทางการทูต
หรือสงคราม
หากมองในแง่นี้สยามจึงเป็นผู้เล่นหนึ่งในเกมแย่งชิงดินแดนเช่นเดียวกัน
เนื่องจากผู้เสียดินแดนที่แท้จริง นั่นคือรัฐขนาดเล็กที่ถูกกลืน
หรือกล่าวได้ว่าในแง่นี้ก็คือปฏิบัติการของจักรวรรดินิยมสยามนั่นเองlx เช่น หัวเมืองล้านนา หัวเมืองมลายู หัวเมืองทางอีสาน
ระบอบนี้มีรากฐานการทำลายศูนย์อำนาจท้องถิ่นให้อ่อนแอ
จากการดึงดูดทรัพยากรเข้าส่วนกลางรวมถึงอำนาจทางการเมือง
พร้อมไปกับการสร้างระบบการปกครองเพื่อควบคุมท้องถิ่นและให้บริการไปตาม
อัตภาพ
ทั้งยังปลูกฝังความผูกพันความจงรักภักดีให้ตรึงอยู่กับศูนย์กลางของระบอบโดย
เฉพาะเจ้านายในหัวเมืองต่างๆ
อาจกล่าวได้ว่าในช่วงนี้เองได้เกิดเหตุจลาจลเนื่องจากความไม่พอใจ
จากนโยบายที่รัฐสยามได้ทำการรวมศูนย์อำนาจ อันส่งผลให้ท้องถิ่นต่างๆ
สูญเสียผลประโยชน์แต่เดิมด้วย ปัญหาที่สั่งสมจนประทุออกมาอย่างสุดขั้วก็คือ
กรณีปัญหาหัวเมืองมลายู
ซึ่งกลายมาเป็นจังหวัดชายแดนภาคใต้ในปัจจุบันนั่นเอง
ในยุคนี้ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ต่างประสบความยากลำบากของการครอบครองดินแดนของจักรวรรดินิยมตะวันตกlxi
ได้แก่ อังกฤษที่ยึดครอง พม่า มลายู สิงคโปร์ บรูไน, ฝรั่งเศสที่ยึดครอง
เวียดนาม กัมพูชา ลาว, ฮอลแลนด์ ยึดครองอินโดนีเซีย,
สหรัฐอเมริกายึดครองฟิลิปปินส์ และโปรตุเกสยึดครองติมอร์ตะวันออก
การเป็นผู้เล่นในสงครามแย่งชิงดินแดนนี้
ยิ่งทำให้เห็นว่าในระบอบใหม่ที่ผูกอยู่กับกษัตริย์สยามนี้
ทำให้สยามไม่ได้ปกปิดถึงความพยายามยกระดับตัวเองมีฐานะที่ทัดเทียมกับประเทศ
เจ้าอาณานิคมอื่นๆ อย่างอังกฤษ ฝรั่งเศส ฯลฯ ความพ่ายแพ้ในการแย่งชิงดินแดน
ก็เป็นเพียงช่วงขณะแห่งความพ่ายแพ้ที่ขึ้นอยู่กับชนชั้นนำ หาใช่ประชาชนไม่
ค. ความสัมพันธ์ต่อกันแบบรัฐประชาชาติ-ประชาธิปไตย
การปฏิวัติสยาม 2475 น่าจะนำมาสู่ความคิดและความสัมพันธ์ที่เสมอภาค
เท่าเทียมกัน มากกว่ายุคที่ผ่านมา แต่ปรากฏว่า
สิ่งที่รัฐบาลคณะราษฎรล้ำเส้นออกไปก็คือ
การเน้นชาตินิยมชาติเชื้อไทยที่สืบเนื่องมาจากต้นกำเนิดชาตินิยมไทยในสมัย
รัชกาลที่ 6 แบบเรียนได้เขียนไว้ว่า ในช่วงที่จอมพล ป.พิบูลสงคราม
เป็นนายกรัฐมนตรีนั้นรัฐบาลได้ปลุกกระแสชาตินิยมเรียกร้องดินแดนที่เคยเสีย
ให้แก่ฝรั่งเศสจนเกิดปะทะกัน
ในเวลาต่อมาญี่ปุ่นมาช่วยไกล่เกลี่ยทำให้ไทยได้ดินแดนฝั่งขวาแม่น้ำโขงที่
เป็นดินแดนของประเทศลาว และดินแดนเขมรบางส่วนกลับมา
ไม่เพียงเท่านั้นหลังจากที่ไทยร่วมกับฝ่ายอักษะ
และประกาศสงครามกับฝ่ายสัมพันธมิตร ไทยยังได้รับดินแดน 4
รัฐในมลายูพร้อมกับเชียงตุงด้วย แต่ในที่สุดหลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2
จบสิ้น ดินแดนดังกล่าวก็ต้องส่งกลับคืนไปสู่สถานะเดิมก่อนสงครามทั้งหมดlxii
ความสัมพันธ์ดังกล่าวยิ่งทำให้เห็นถึงบทบาทของไทยที่สร้างความตึงเครียด
ให้กับประเทศเพื่อนบ้านอย่างพม่า ลาว และกัมพูชาในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2
อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ไม่ได้ระบุในแบบเรียนก็คือ
ความสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อนบ้านในเวลาใกล้เคียงกัน
นั่นคือความสัมพันธ์กับคณะราษฎรอีกฝ่ายหนึ่งที่นำโดยปรีดี พนมยงค์
ที่พยายามสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อนบ้านเพื่อนำไปสู่การปลดแอกจาก
ประเทศเจ้าอาณานิคม
โดยการปรึกษาหารือกับผู้นำในประเทศเพื่อนบ้านเพื่อร่วมกันตั้งสมาคมสหชาติ
เอเชียอาคเนย์ ขึ้น เพื่อให้ประเทศอย่างเวียดนาม กัมพูชา ลาว
และอินโดนีเซีย จะได้รวมความเป็นเอกราชเข้าด้วยกันlxiii
หลังสงครามโลกครั้งที่ 2
ปรากฏว่าประเทศแทบทั้งหมดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้ปลดแอกประเทศเจ้า
อาณานิคมได้สำเร็จ ซึ่งแต่ละแห่งก็ใช้เครื่องมือทางการเมืองที่แตกต่างกันไป
พร้อมๆไปกับการขับเคี่ยวทางการเมืองระหว่างอุดมการณ์เสรีนิยมประชาธิปไตย
กับ คอมมิวนิสต์กำลังเริ่มขับเคี่ยวกัน
ในแบบเรียนแสดงให้เห็นถึงการเลือกข้างของรัฐบาลไทยที่อยู่กับฝ่ายแรกที่มี
สหรัฐอเมริกาเป็นผู้นำ โดยส่งทหารเข้าไปร่วมรบกับสงครามเกาหลีในปี 2493
ไปจนถึงการร่วมเป็นสมาชิกขององค์การสนธิสัญญาป้องกันร่วมกันแห่งเอเชียตะวัน
ออกเฉียงใต้ (SEATO) ในปี 2497 และในปี 2505 ก็ได้มีการจัดตั้งสมาคมอาสา
เพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม ในหมู่ไทย มาเลเซีย
และฟิลิปปินส์lxiv
ดังนั้นหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 แทนที่ว่า
วาระการปลดแอกตนเองจากประเทศอาณานิคมในภูมิภาคจะเป็นภาวะแห่งการเฉลิมฉลอง
และสร้างความเข้มแข็งระหว่างกัน แต่กลับเป็นว่า กลายเป็นว่า
อุดมการณ์ทางการเมือง ได้เปลี่ยนสนามทางวัฒนธรรม กลายเป็นสนามรบ
ภูมิภาคนี้จึงถูกชักใยโดยมหาอำนาจทั้งและแยกเป็นสองค่าย
สมรภูมิที่รู้จักกันดีชื่อว่า สงครามเวียดนาม
เป็นสนามรบที่ก่อให้เกิดความเสียหายกันทั้งสองฝ่าย ในแบบเรียนได้ระบุว่า
ไทยได้ลงนามสิ่งที่เรียกว่า ข้อตกลงถนัด-รัสก์ ในปี 2505
เพื่อเป็นสัญญาร่วมมือทางการทหาร
ทำให้สหรัฐอเมริกาเข้ามาตั้งฐานทัพในประเทศไทย
เพื่อสนับสนุนปฏิบัติการทางทหารในอินโดจีน
และมีส่วนทำให้ไทยเข้าไปมีส่วนปฏิบัติการทางทหารในลาว กัมพูชาและเวียดนามlxv ซึ่งนั่นหมายถึงว่า ไทยประกาศตัวเป็นศัตรูกับลาว กัมพูชาและเวียดนามโดยอ้อมนั่นเอง
แม้จะมีการจัดตั้งสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN)
ขึ้นในปี 2510
แต่ก็เป็นเวทีเพื่อการรวมตัวของประเทศในค่ายเสรีประชาธิปไตยเป็นหลัก
สมาชิกก่อตั้งได้แก่ ไทย มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์
องค์กรนี้จึงไม่ผิดอะไรกับเสือกระดาษและของเล่นของการเมืองระหว่างประเทศ
จนกระทั่งสงครามเย็นคลี่คลายด้วยการล่มสลายของคอมมิวนิสต์ ในทศวรรษ 2530
ไทยได้เสนอให้จัดตั้งเขตการค้าเสรี
เพื่อแสวงหาความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาค จากนโยบาย
“แปรสนามรบให้เป็นสนามการค้า” ในปี 2534 lxviซึ่งความสัมพันธ์ในเชิงบวกเช่นนี้กับประเทศเพื่อนบ้าน ส่วนใหญ่ไม่ค่อยได้เน้นย้ำในแบบเรียนที่ผ่านมานัก
เงื่อนไขความสัมพันธ์และความขัดแย้ง
หลังสงครามโลกครั้งที่ 2
พบว่ามีการปะทะกันของอุดมการณ์ทางการเมืองทั้งสองค่าย คือ
โลกเสรีประชาธิปไตยและคอมมิวนิสต์
การเมืองอุดมการณ์จึงขยายฐานไปยังระดับภูมิภาคต่างๆทั่วโลก
ในที่นี้คือ ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
การสร้างภูมิภาคนี้ซึ่งเกิดขึ้นมาจากการรวมประเทศในภาคพื้นทวีปและประเทศใน
หมู่เกาะ ให้อยู่ในกรอบของพื้นที่เดียวกัน
ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จึงเกิดขึ้นมาในด้วยเหตุผลทางการเมืองในยุค
สงครามเย็นโดยแท้ กว่าจะถึงทศวรรษ 2530 กล่าวได้ว่า
ภูมิภาคนี้เป็นสมรภูมิสงครามเย็นที่ร้อนระอุอยู่ระหว่างเส้นขนานที่ 17 ณ
ประเทศเวียดนาม ประเทศที่อยู่ฝ่ายโลกเสรี
ก็ต่างกลายเป็นฐานทัพของกองทัพสหรัฐอเมริกา เช่น ไทย ฟิลิปปินส์
และความตึงเครียดนี้นำไปสู่การตั้งอาเซียนดังที่ทราบกันดี
สงครามอุดมการณ์นี้อาจกล่าวได้ว่า
ไม่มีใครเป็นปิศาจมากไปกว่าใครการทำลายล้างพลเรือนโดยมิได้ตั้งใจของกองทัพ
ฝ่ายขวาอย่างอเมริกัน กับ
การทำลายล้างชีวิตคนร่วมล้านของเขมรแดงในกรณีทุ่งสังหาร
เป็นความหายนะของมนุษยชาติที่เราต้องจดจำ
อย่างไรก็ตามการเดินหน้าสู่สันติภาพและเปิดตลาดค้าขายแก่กันในทศวรรษ 2530
จึงเป็นทางออกหนึ่งที่น่ายกย่อง
อาจกล่าวได้ว่า ความสัมพันธ์แบบรัฐประชาชาติ-ประชาธิปไตยในกระแสหลักกว่า
80 ปีที่ผ่านมา
ยังห่างไกลกับความเข้าใจถึงแนวคิดของความเสมอภาคระหว่างกันในดินแดน
แถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นี้
อันเนื่องมาจากปัญหาแนวคิดแบบอาณานิคมสำหรับสังคมไทย
และแนวคิดอุดมการณ์ที่ขัดแย้งกันในสงครามเย็นที่ยิ่งแยกฝ่ายออกอย่างชัดเจน
จึงยังไม่ใช่เรื่องที่ง่ายนักที่อย่างน้อยสังคมไทยจะยอมรับความเสมอ
ภาคระหว่างประเทศต่างๆในอาเซียน พอๆกับที่พวกเขา ยังถกเถียงอยู่ด้วยซ้ำว่า
ความเสมอภาคทางการเมืองและเศรษฐกิจเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้
ตารางที่ 3
แสดงการเปรียบเทียบเนื้อหาและลำดับเนื้อหาของสำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช
(ท.ว.พ.) สำนักพิมพ์อักษรเจริญทัศน์ (อจท.)
และสำนักพิมพ์สถาบันพัฒนาคุณภาพวิชาการ (พว.) พร้อมทั้งการ
เปรียบเทียบหลักสูตรปี 2544 และ 2551
สำนักพิมพ์/ชั้นปี
|
เนื้อหาแบ่งตามหน่วยการเรียนรู้ (บท) ในแบบเรียนแต่ละเล่ม
|
||
ท.ว.พ. (เฉพาะ ม.1)
อจท. (ม.2-6) ปี 2544
|
อักษรเจริญทัศน์ (อจท.)
ปี 2551
|
สถาบันพัฒนาคุณภาพวิชาการ (พว.) ปี 2551
|
|
ม.1
|
1) วิธีการทางประวัติศาสตร์และความเกี่ยวเนื่องของเวล
2) ความเป็นมาของชนชาติไทย
3) อาณาจักรสุโขทัย
4) ประเทศรอบบ้านของไทย
|
1) เวลาและการแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์
2) วิธีการทางประวัติศาสตร์
3) สมัยก่อนสุโขทัยในดินแดนไทย
4) พัฒนาการของอาณาจักรสุโขทัย
5) พัฒนาการของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
6) แหล่งอารยธรรมในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
|
1) ประวัติศาสตร์ กาลเวลา และวิธีการทางประวัติศาสตร์
2) พัฒนาการของรัฐในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
3) ความเป็นมาและการตั้งหลักแหล่งในดินแดนประเทศไทย
4) อาณาจักรสุโขทัย
|
ม.2
|
1) การแบ่งช่วงเวลาทางประวัติศาสตร์ในเอเชียและวิธีการทางประวัติศาสตร์
2) พัฒนาการความเป็นมาของเอเชีย
3) พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของไทยสมัยอยุธยา
|
1) ความสำคัญของหลักฐานทางประวัติศาสตร์
2) พัฒนาการของอาณาจักรอยุธยา
3) พัฒนาการของอาณาจักรธนบุรี
4) ประวัติและผลงานของบุคคลสำคัญในการสร้างสรรค์ชาติไทย
5) ที่ตั้งและสภาพภูมิศาสตร์ที่มีผลต่อพัฒนาการของทวีปเอเชีย
6) แหล่งอารยธรรมในทวีปเอเชีย
|
1) หลักฐานทางประวัติศาสตร์
2) พัฒนาการของภูมิภาคเอเชีย
3) พัฒนาการของอาณาจักรอยุธยา
4) พัฒนาการของอาณาจักรธนบุรี
|
ม.3
|
1) การแบ่งช่วงเวลาทางประวัติศาสตร์สากล ไทยและวิธีการทางประวัติศาสตร์
2) พัฒนาการความเป็นมาของมนุษยชาติในภูมิภาคต่างๆของโลก
3) พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของไทยสมัยธนบุรีและรัตนโกสินทร์
|
ไม่มีข้อมูล
|
1) วิธีการทางประวัติศาสตร์กับการศึกษาเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์
2) พัฒนาการของภูมิภาคต่างๆของโลก
3) พัฒนาการของชาติไทยสมัยรัตนโกสินทร์
4) บทบาทของชาติไทยในสมัยประชาธิปไตย
5) ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทย |
3.2 เครื่องมือแกะรอยพงศาวดารอาเซียน
ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า แบบเรียนในปัจจุบันได้ออกแบบให้สะดวกต่อการอ่าน สบายตา และมีแทรกเสริมเครื่องมือต่างๆเพื่อการรับรู้ที่ง่ายขึ้น แต่ในความง่ายนั้นก็แฝงไปด้วยสารบางประการให้เราเสพอย่างไม่ระวังด้วย เครื่องมือในแบบเรียนใหม่ๆนี้ได้แก่ แผนที่, เส้นเวลา (Timeline) และภาพจำลองเหตุการณ์สำคัญ สิ่งเหล่านี้ได้ส่งผลต่อการรับรู้เพื่อนบ้านจากตัวตนของตนเอง
1) แผนที่
เป็นเครื่องมือที่สำคัญอย่างยิ่งต่อการสร้างภาพตัวแทนและถูกใช้มาอย่าง ยาวนาน ที่รู้จักกันดีก็คือ แผนที่ของทองใบ แตงน้อย ดังที่ ธงชัย วินิจจะกูลได้ชี้ให้เห็นอย่างชัดเจนแล้วว่า แผนที่นี้ทำงานอย่างไรในฐานะที่แผนที่เป็นส่วนหนึ่งในการสร้างตัวตนของ ประวัติศาสตร์ชาตินิยมและความเป็นไทยขึ้นมาlxvii ในแบบเรียนที่ทำการศึกษาอาจแบ่งตามยุคสมัย เราอาจเริ่มที่อาณาจักรโบราณก่อน แบบเรียนของ พว. แสดงให้เห็นอาณาจักรโบราณที่เกิดขึ้นก่อนสุโขทัย ได้แก่ อาณาจักรศรีเกษตร จักรมอญ พุกาม ทวารวดี ฟูนัน จามปา นามเวียด เขมร ล้านช้าง ศรีวิชัย รัฐบนเกาะชวาlxviii
แบบเรียนบางเล่ม ยังเสนอว่านอกจากสุโขทัยแล้ว ในเวลาใกล้เคียงกันมีรัฐอื่นๆกำเนิดขึ้นจำนวนมากก็ตามที่ร่วมสมัยกับอยุธยา ทั้งยังมีแผนที่ประกอบด้วยได้แก่ โยนกเชียงแสน ล้านนา ศรีโคตรบูร ศรีจนาศะ ล้านช้าง ละโว้ อโยธยา สุพรรณภูมิ นครศรีธรรมราชlxix อย่างไรก็ดี อาณาจักรสุโขทัย ในแบบเรียนมัธยมก็ยังกินพื้นที่หลักในฐานะราชธานีแห่งแรก ดังนั้นการปรากฏตัวของสุโขทัย จึงอยู่ในภาพของแผนที่มหาอาณาจักรอันกว้างใหญ่ไพศาล ภาพตัวแทนนี้จึงผนึกแน่นความทรงจำเกี่ยวกับสุโขทัยอันเป็นรูปธรรมพอๆกับ หลักศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง งานเผาเทียนเล่นไฟ พระพุทธรูปและเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์แบบสุโขทัย
แผนที่แสดงอาณาเขตนอกจากเป็นจินตนาการถึงความจริงชุดหนึ่งไปเป็นข้อสนเทศ บนแผ่นกระดาษแล้ว มันยังเป็นเพียงการเลือกแสดงเสี้ยวหนึ่งของเวลาที่รัฐมีอำนาจไปถึง เนื่องจากว่า อำนาจที่เข้มแข็งของรัฐมักขึ้นอยู่กับระบบขนส่งและข้อมูลข่าวสาร รวมไปถึงการจัดการกำลังทหารที่มีประสิทธิภาพมากพอ สำหรับแผนที่อาณาจักรอยุธยา lxx ที่ถูกนำมาใช้บ่อยครั้งก็คือ อาณาจักรอันเกรียงไกรของกษัตริย์นักรบอย่างสมเด็จพระนเรศวร ที่กินดินแดนหัวเมืองมอญ หงสาวดี เชียงตุง เชียงรุ้ง ล้านนา ล้านช้าง เขมร นครศรีธรรมราช ซึ่งเป็นอาณาเขตที่กว้างขวางสุดลูกหูลูกตา สร้างความอิ่มเอมใจอันเป็นเชื้อที่หล่อเลี้ยงอุดมการณ์ชาตินิยมให้เติบโตกัน ต่อไป
ที่น่าสนใจก็คือ แผนที่ในสมัยธนบุรีที่ตามประวัติศาสตร์แล้วเป็นการรวบรวมดินแดนจากอยุธยา กลับมา และยังสามารถผนวกดินแดนเพิ่มเติมได้อย่างกว้างขวางตามหลักของพระเจ้า จักรพรรดิราช แต่ก็พบว่าแบบเรียน อจท. มีเพียงแผนที่ชุมนุมทางการเมืองที่ปรากฏด้วยกลุ่มก๊กต่างๆlxxi ในทางกลับกันของ พว.lxxiiทำ ให้เห็นอาณาจักรธนบุรีที่กินดินแดนล้านนา ล้านช้าง เขมร หัวเมืองมลายู ขณะที่สมัยรัตนโกสินทร์ที่เต็มไปด้วยแผนที่รัตนโกสินทร์ตอนต้นที่ได้รับสืบ ทอดมาจากสมัยธนบุรีlxxiii หรือกระทั่งแผนที่ระบุสมรภูมิและการเดินทัพในสงครามเก้าทัพ พ.ศ.2328 lxxivแผนที่ นี้ใช้อาณาเขตประเทศไทยปัจจุบันเพื่อแสดงตำแหน่งการเดินทัพ ด้านหนึ่งก็เพื่อสื่อความหมายกับคนในปัจจุบัน แต่ในอีกด้านหนึ่งก็แสดงให้เห็นความลักลั่นของการกำหนดเขตแดนที่ยังไม่ ชัดเจนก่อนสมัยรัฐชาติที่ไม่สามารถระบุและกำหนดได้ตายตัว
นอกจากนั้นแผนที่ฉบับที่ถือได้ว่าเป็นจุดสูงสุดของการความรู้สึกสูญเสียของชาติอันใหญ่หลวงที่จับต้องได้จริง
ก็คือ แผนที่แสดงการเสียดินแดนให้กับจักรวรรดินิยมตะวันตก เหล่านี้คือการประมวลการใช้แผนที่เพื่อสร้างความรับรู้ตัวตนของชาติไทย ไปพร้อมๆ กับการขีดเส้นแบ่งตัวตนออกจากประเทศเพื่อนบ้านในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ภาคพื้นทวีป
แผนที่แสดงดินแดนของประเทศไทย
ในยุคทองของกษัตริย์องค์ต่างๆ
แผนที่ของสำนักพิมพ์ อจท.
2) เส้นเวลา (Timeline)
เส้นเวลา (Timeline) เป็นเทคนิคที่ใช้สำหรับทำความเข้าใจลำดับก่อนหลังของเหตุการณ์สำคัญ เป็นเทคนิคที่นำเหตุการณ์ประวัติศาสตร์มาย่อยให้ง่าย พบว่าในแบบเรียนรุ่นหลังถูกนำมาใช้บ่อยครั้งมากขึ้น อย่างไรก็ตามเทคนิคนี้มีข้อจำกัดอยู่ที่เกณฑ์ในการเลือกเหตุการณ์ต่างๆมา บรรจุในเส้นเวลานี้ ในแบบเรียนพบว่ามีการใช้อธิบายเหตุการณ์ในหลายระดับ เช่น เส้นเวลาของอาณาจักร, เส้นเวลาของเหตุการณ์สงคราม, เส้นเวลาของประวัติชีวิตบุคคลสำคัญ อาจกล่าวได้ว่าเส้นเวลานี้ส่วนใหญ่ผูกอยู่กับชนชั้นนำ และการทำสงครามทั้งสิ้น
เส้นเวลาที่แสดงให้เห็นถึงสงครามระหว่างอยุธยากับพม่า 24 ครั้ง ตั้งแต่ปี 2081-2310 lxxvเป็น ตัวอย่างที่น่าสนใจ ซึ่งได้ทำให้เราเห็นถึงความสำคัญของเหตุการณ์ดังกล่าวในเชิงปริมาณอย่างชัด แจ้ง น่าเสียดายที่ว่า แทบจะไม่พบการใช้เส้นเวลาในฐานะความสัมพันธ์นอกจากสงคราม ระหว่างสยามกับประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งที่ความสัมพันธ์ทางการค้าขายและแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมยังมีข้อมูลอีกมาก
เส้นเวลา ที่ถูกใช้อย่างมีประสิทธิภาพในแบบเรียนวิชาประวัติศาสตร์ของสำนักพิมพ์ อจท.
3) ภาพจำลองเหตุการณ์สำคัญ
เพื่อความสมจริงสมจัง พบว่าแบบเรียนได้บรรจุภาพจำลองเหตุการณ์สำคัญlxxvi ภาพแทนดังกล่าวมักจะเป็นส่วนเสริมให้ข้อมูลทางประวัติศาสตร์ที่อัดแน่นเต็ม ไปด้วยตัวอักษรมีความเป็นมิตรกับผู้เรียนมากยิ่งขึ้น ตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์ นั่นคือ ภาพจากหนังสือโคลงภาพพระราชพงศาวดาร พร้อมบทขยายความและบทวิเคราะห์ที่เขียนตามพระราชดำริของรัชกาลที่ 5 เป็นภาพที่เขียนขึ้นในงานพระราชทานเพลิงพระศพ ซึ่งประกอบด้วยภาพที่บรรยายพระราชพงศาวดารถึง 92 เรื่องlxxvii ภาพที่ถูกใช้กันบ่อยในแบบเรียนก็คือ ภาพสมเด็จพระศรีสุริโยทัยขาดคอช้างlxxviii การทำยุทธหัตถีของสมเด็จพระนเรศวรlxxix สมเด็จพระนเรศวรทรงยิงพระแสงปืนต้นข้ามแม่น้ำสะโตงฯlxxx สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกเสด็จกลับจากราชการทัพที่เขมรlxxxi ฯลฯ ภาพเหล่านี้ถูกเขียนด้วยจิตรกรรมใส่กรอบกระจก ซึ่งไม่ใช่ขนบจิตรกรรมฝาผนังหรือจิตรกรรมบนสมุดไทยเหมือนเดิม แต่เป็นจิตรกรรมที่ใช้เพื่อจัดแสดงตามแบบจิตรกรรมตะวันตก อย่างไรก็ตามรูปแบบที่ผลิตออกมาโดยภาพรวมแล้วยังเป็นจิตรกรรมแนวประเพณีอยู่ ลักษณะเช่นนี้จึงทำให้คนทั่วไปยังรับรู้ได้ถึงความรู้สึกเก่าแก่สมจริงของ ภาพ
ขณะที่ภาพพระราชประวัติสมเด็จพระนเรศวร จิตรกรรมฝาผนังวัดสุวรรณดาราม พระนครศรีอยุธยา ซึ่งเขียนในยุคหลังลงมาอีก ได้แสดงให้การเขียนจิตรกรรมสมัยใหม่ ที่ยึดการเขียนตามแบบตะวันตกที่เขียนให้แสงเงา ตามหลักทัศนียภาพแบบตะวันตก โดยเฉพาะการเขียนคนที่มีมัดกล้ามเทียบเคียงได้กับหลักกายภาพแบบตะวันตก การเขียนจิตรกรรมแบบนี้ แสดงให้เห็นพระราชประวัติของสมเด็จพระนเรศวรตั้งแต่ทรงพระเยาว์ไปจนถึงการ แห่พระบรมศพกลับมาจากพม่า แบบเรียนได้นำมาใช้ในหลายภาพเช่น ทรงประกาศอิสรภาพlxxxii ทรงทำยุทธหัตถีกับพระมหาอุปราชlxxxiii
หนังสือรวมโคลงภาพพระราชพงศาวดาร และภาพพระสุริโยทัยขาดคอช้าง
โบสถ์วัดสุวรรณดารามและจิตรกรรมฝาผนังตอนพระนเรศวรทรงทำยุทธหัตถีกับพระมหาอุปราชา
เครื่องมือเหล่านี้ทำหน้าที่เล่าเรื่องอย่างมีประสิทธิภาพด้วยความจริง ชุดหนึ่ง ในขณะเดียวกันภาพตัวแทนทั้งหลายยังสร้างความทรงจำร่วมที่ไม่มิติ แบนราบทำให้เห็นแต่ความสัมพันธ์เฉพาะด้านความขัดแย้ง และการทำสงครามที่มีต่อประเทศเพื่อนบ้านทั้งสิ้น
ตามที่ชาญวิทย์ เกษตรศิริได้ปรามาส ประวัติศาสตร์ฉบับกระทรวงศึกษาธิการไว้ว่า “ถ้ารู้ประวัติศาสตร์ฉบับกระทรวงศึกษาธิการตาบอดสองข้าง” นั้น อาจไม่ตรงกับลักษณะของแบบเรียนที่ผู้เขียนได้ศึกษาเท่าใดนัก เพราะด้านที่ก้าวหน้าของแบบเรียนนี้ก็ยังมีอยู่ เช่นเดียวกับซากความล้าหลังอันเป็นมรดกของความทรงจำร่วมของสังคมไทยที่ยัง ออกฤทธิ์อยู่ ร่วมไปกับข้อด้อยและปัญหาของแบบเรียนในปัจจุบัน
ความก้าวหน้าที่ค้นพบก็คือ เนื้อหาในหลักสูตรได้ให้ความสำคัญกับกระบวนการเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์เป็น อย่างมาก เพื่อให้เป็นพื้นฐานการทำความเข้าใจกับการเปลี่ยนแปลงประวัติศาสตร์ นอกจากนั้นวิชาประวัติศาสตร์ก็ไม่เป็นเพียงแต่ประวัติศาสตร์ของไทยอย่าง เดียว มีการบทการเรียนรู้เชื่อมโยงกับภูมิภาคจากเล็กไปใหญ่ ตั้งแต่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้, เอเชีย และโลก นอกจากนั้นก็คือ เทคนิคการนำเสนอที่น่าสนใจขึ้นมากกว่าแบบเรียนในอดีต
สิ่งที่ยังมีปัญหาอยู่ก็อาจแบ่งได้คือ ในส่วนของโครงสร้าง แม้เนื้อหาแต่ละส่วนจะมีความน่าสนใจมากขึ้นแต่ ปัญหาอยู่ที่การไม่ได้บูรณาการบทต่างๆเข้าหากัน ไม่ว่าจะส่วนวิธีการทางประวัติศาสตร์, การเชื่อมโยงกับภูมิภาค และส่วนที่เป็นประวัติศาสตร์ไทย ราวกับว่าแต่ละหน่วยแยกกันเขียนอย่างอิสระตามทัศนคติของผู้เขียน ดังนั้นจึงพบข้อกังขาจำนวนมากที่เป็นคำถามอันลักลั่นกัน เช่น ข้อเขียนถึงประวัติศาสตร์สุโขทัยที่กล่าวรัฐขนาดกลางที่เติบโตพร้อมกัน แต่ในแผนที่ยังเป็นอาณาเขตของสุโขทัย หรือกรณีที่อธิบายภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้วยท่าทีที่ระแวดระวังอคติ ระหว่างกัน แต่ในเนื้อหาประวัติศาสตร์ไทยกลับเน้นไปที่ความสัมพันธ์เชิงสงครามมากกว่าทำ ให้เห็นความสัมพันธ์ทางสังคมในด้านอื่นๆ ในส่วนของเนื้อหา เช่น การที่ยังเชิดชูอาณาจักรสุโขทัยว่ามีความกว้างขวางมหาศาล, การสอนประวัติศาสตร์ที่ยังเน้นการสงครามระหว่างรัฐ และการเชิดชูบุคคลที่มีความเป็นชนชั้นนำอย่างเดียว
คำถามก็คือว่า ทุกวันนี้ที่สังคมไทยจะก้าวสู่ประชาคมอาเซียนนั้น เราตั้งใจจะวางตำแหน่งแห่งที่ของตนอยู่ที่ไหน และเป็นใครในโลกที่กำลังจะเปลี่ยนแปลง พฤติกรรมของคนจำนวนมากที่มีต่อประเทศเพื่อนบ้าน จนก่อเหตุพิพาทขนาดย่อมผ่านสงครามออนไลน์ในเฟซบุ๊ค การเยาะเย้ยถากถางเพื่อนบ้านด้วยท่าทีขาดความเคารพกัน ผู้เขียนเห็นว่าความไม่เชื่อความเสมอภาคภายในประเทศ ย่อมส่งผลต่อเนื่องถึงความเชื่อความเสมอภาคกันระหว่างประเทศเพื่อนบ้านไป ด้วย
แบบเรียนประวัติศาสตร์ในสายตาของผู้เขียนจึงไม่ใช่เพียงแค่ เรื่องราวของว่านวงศ์คนแคบๆ ว่าทำอะไรไม่ทำอะไรในประวัติศาสตร์เท่านั้น ไม่ว่าจะเป็นพระราชพงศาวดาร หรือพงศาวดาร โดยความหมาย แต่ควรจะเป็นการอธิบายถึงการกระทำของกลุ่มคนที่กว้างขวาง โดยการเคลื่อนย้ายคำอธิบายจากประวัติศาสตร์สงคราม มาสู่ ประวัติศาสตร์สังคมและประวัติศาสตร์ภาคประชาชนมากยิ่งขึ้น ที่จะทำให้เห็นความเชื่อมโยงระหว่างประเทศต่างๆ
อย่างไรก็ดี นอกจากการเรียกร้องความเสมอภาค และความเห็นอกเห็นใจกันและกันแล้ว ก็ยังมีสิ่งที่ต้องตระหนักถึงความสำคัญที่ไม่แพ้กันด้วยนั่นคือ เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น และการส่งเสริมทัศนวิพากษ์ระหว่างกัน เพราะถึงแม้ว่าในสักวันหนึ่งจะมีแบบเรียนประวัติศาสตร์ที่ได้นักประวัติ ศาสตร์ชั้นยอดมาเขียนตำรา แต่เขาเหล่านั้นก็ล้วนมีจุดยืนและโลกทัศน์ที่แตกต่างกันออกไป การตั้งคำถามและสงสัยจึงเป็นการตรวจสอบความรู้นั้น ซึ่งจะนำไปสู่การต่อยอด โต้แย้ง หรือกระทั่งล้มล้างแนวคิดนั้นๆ เพราะว่าการเขียนประวัติศาสตร์นั้น ก็มีพลวัตมีการเปลี่ยนแปลงที่สอดคล้องไปกับยุคสมัยในตัวของมันเองอยู่ด้วย.
เชิงอรรถ
ในระดับประถมศึกษาชั้นปีที่ 1-6 ก็สามารถดูได้ใน วิชาการ, กรม, กระทรวงศึกษาธิการ. สาระและมาตรฐานการเรียนรู้ กลุ่ม