WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Wednesday, August 22, 2012

นิสิต มก.ค้านไม่อยู่ ครม.ไฟเขียว "มหา’ลัยเกษตร" ออกนอกระบบ

ที่มา ประชาไท

 
ครม.เห็นชอบร่าง พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พ.ศ. ... ขั้นต่อไปส่งคณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณารายละเอียด ด้านกลุ่มนิสิตเข้ายื่นหนังสือค้าน เรียกร้องให้นำกลับไปสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมกับนิสิต-ประชาชนก่อน

 
กลุ่มตัว แทนนิสิต ม.เกษตรศษสตร์ เดินทางไปยื่นหนังสือที่ทำเนียบรัฐบาล คัดค้านการพิจารณา ร่าง พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ฯ  ออกนอกระบบ
 
วันนี้ (21 ส.ค.55) ที่ทำเนียบรัฐบาล นายนิพิฐพนธ์ คำยศ นิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พร้อมด้วยตัวแทนนิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เดินทางไปยื่นหนังสือคัดค้าน ร่าง พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พ.ศ. ... (ม.นอกระบบ) ที่จะนำเข้าพิจารณาในที่ประชุมคณะรัฐมนตรีในวันนี้ โดยยื่นหนังสือต่อนายสุชาติ ธาดาดำรงเวช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และนางฐิติมา ฉายแสง รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ตามที่มีการรายงานข้อมูลว่า กระทรวงศึกษาธิการจะนำ เข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรีในวันนี้
 
ตัวแทนนิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ระบุว่า การนำมหาวิทยาลัยออกนอกระบบ มีผลกระทบต่อนิสิต นักศึกษา ประชาชนทั่วไปซึ่งกระบวนการในการร่าง นิสิต นักศึกษาและประชาชนไม่มีส่วนร่วม และให้อำนาจผู้บริหารที่มาจากการแต่งตั้งบริหารเงินอย่างเต็มที่ พร้อมทั้งเสนอให้ ครม.มีมติไม่รับร่าง พ.ร.บ.ฉบับดังกล่าว และให้มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์นำร่างกลับไปสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมกับ ประชาคม อย่างแท้จริง อีกทั้ง ยังขอให้รัฐบาลทำหนังสือถึงผู้บริหารมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ให้เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการนำมหาวิทยาลัยออกนอกระบบ
 
ในวันเดียวกันนี้ เครือข่ายนักศึกษาคัดค้านการนำมหาวิทยาลัยขอนแก่นออกนอกระบบ ออกแถลงการณ์แสดงจุดยืนเคียงข้างเพื่อนนักศึกษามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คัดค้านการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ฯ ระบุการนำร่างกฎหมายดังกล่าวเสนอเข้าสู่การพิจารณาขอความเห็นชอบจากคณะ รัฐมนตรีในวันนี้ ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการและสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) นั้น เป็นการกระทำที่ไร้หลักธรรมาภิบาล ใช้อำนาจโดยไม่รับฟังเสียงหรือความคิดเห็นของนักศึกษาและประชาชนเลย
 
แถลงการณ์ระบุด้วยว่า ในความเป็นจริงแล้วยังมีนิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์จำนวนมากที่ยังไม่ทราบ ข้อมูลและยังไม่เห็นด้วยกับการนำมหาวิทยาลัยออกนอกระบบ จึงทำให้เกิดกระแสคัดค้านจากนักศึกษาและมีข้อเรียกร้องให้ยุติกระบวนการ ดำเนินการดังกล่าว และเปิดให้มีกระบวนการการมีส่วนร่วมจากประชาคมในมหาวิทยาลัยอย่างทั่วถึงมา โดยตลอด
 
“เราในนามเครือข่ายนักศึกษาคัดค้านการนำมหาวิทยาลัยขอนแก่นออกนอกระบบ ขอแสดงจุดยืนคัดค้านการพิจารณา ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ออกนอกระบบ ร่วมกับแนวร่วมนิสิตคัดค้านการนำมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ออกนอกระบบอย่างถึง ที่สุด” แถลงการณ์ระบุ
 
ด้านเว็บไซต์ข่าวสดรายงาน ว่า นายสุชาติ ธาดาธำรงเวช รมว.ศึกษาธิการ กล่าวถึงผลประชุม ครม.ระบุ ครม.เห็นชอบตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอร่าง พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พ.ศ.... ให้เป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐแล้ว ซึ่งขั้นตอนต่อไปต้องส่งให้คณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณารายละเอียดของร่าง กฎหมาย หากได้รับความเห็นชอบก็จะเข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรต่อไป อย่างไรก็ตามในส่วนมหาวิทยาลัยอื่น อาทิ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) มหาวิทยาลัยศิลปากร (มศก.) และมหาวิทยาลัยขอนแก่น (มข.) ที่เคยยื่นความประสงค์จะออกนอกระบบนั้น ขณะนี้ยังไม่มีการเสนอเรื่องมา
 
นพ.กำจร ตติยกวี รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) กล่าวว่า สำหรับมหาวิทยาลัยที่ยื่นความประสงค์ขอออกนอกระบบกับสำนักงานคณะกรรมการการ อุดมศึกษา (สกอ.) แล้ว มีดังนี้ มข. มศก. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (มสธ.) มหาวิทยาลัยรามคำแหง (มร.) มธ. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) และมหาวิทยาลัยราชภัฏ (มรภ.) สวนสุนันทา เบื้องต้นก่อนหน้านี้ สกอ.ส่งจดหมายไปยังแต่ละมหาวิทยาลัยให้ยืนยันความประสงค์ขอออกนอกระบบอีก ครั้ง แต่ขณะนี้ยังไม่มีมหาวิทยาลัยใดตอบกลับมา เนื่องจากบางแห่งยังมีปัญหาภายในที่ยังไม่ได้ข้อยุติ หากมหาวิทยาลัยใดยืนยันความพร้อมกลับมา สกอ.ก็พร้อมผลักดันต่อไป
 
นายวุฒิชัย กปิลกาญจน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวว่า การยื่นขอเปลี่ยนฐานะเป็นหน่วยงานในกำกับของรัฐ หรือออกนอกระบบดังกล่าว เป็นเรื่องที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เคยยื่นตั้งแต่ปี 2549 และเป็นการยื่นขอออกนอกระบบต่อจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทั้งนี้ สำหรับข้อกังวลว่า หากออกนอกระบบแล้วค่าเล่าเรียนจะเพิ่มสูงขึ้นนั้น มหาวิทยาลัยไม่สามารถดำเนินการได้ หากไม่มีเหตุผลด้านความจำเป็นรองรับ แต่หากจำเป็นต้องขึ้นค่าเล่าเรียน มหาวิทยาลัยต้องพิจารณาจากข้อเท็จจริงอย่างรอบด้านก่อน และขอยืนยันว่ามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ไม่มีนโยบายผลักภาระให้ผู้ปกครอง และนักศึกษาต้องแบกรับเรื่องนี้
 
หนังสือของนักศึกษามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ระบุเนื้อหา ดังนี้
 
 
แนวร่วมนิสิตคัดค้านการนำมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ออกนอกระบบ
 
 
วันที่ 21 สิงหาคม 2555
 
เรียน      นายกรัฐมนตรี ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
 
เรื่อง      ขอให้ยับยั้งการผ่านร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พ.ศ. ...
 
เนื่องจากการที่กระทรวงศึกษาธิการได้นำร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ พ.ศ. ...  หรือที่เรียกว่าร่าง พ.ร.บ.ในกำกับของรัฐ (ม.นอกระบบ) เข้าสู่กระบวนการพิจารณาของคณะรัฐมนตรีในวันอังคารที่ 21 สิงหาคม พ.ศ.2555  กำหนดให้มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์มีฐานะเป็นหน่วยงานในกำกับของรัฐไม่เป็นส่วน ราชการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดินและกฎหมายว่าด้วยการปรับ ปรุง กระทรวง ทบวง กรม และไม่เป็นรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณหรือกฎหมายอื่น  
 
แนวร่วมนิสิตคัดค้านการนำมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ออกนอกระบบ ในฐานะกลุ่มนิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และเครือข่ายแนวร่วมนิสิตนักศึกษา คัดค้านม.นอกระบบอันประกอบไปด้วยนิสิตนักศึกษาหลายมหาวิทยาลัย  จึงขอคัดค้านร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้เนื่องจาก
 
1.ร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้มีผลกระทบต่อนิสิตนักศึกษาและประชาชนโดย ทั่วไป แต่กระบวนการร่าง กลับไม่มีการมีส่วนร่วมจากนิสิตนักศึกษาและประชาชน  เป็นร่าง พ.ร.บ. ที่ออกมาจากฝั่งผู้บริหารเท่านั้น เท่ากับเป็นการใช้อำนาจแบบเบ็ดเสร็จจากฝ่ายผู้บริหารของมหาวิทยาลัย
 
ถึงแม้จะมีการทำประชาพิจารณ์ครั้งล่าสุดเมื่อ พ.ศ.2550 ก็เป็นเพียงแค่กระบวนการเพื่อสร้างความชอบธรรมแก่ให้ฝ่ายบริหาร ซึ่งเป็นเพียงการให้ข้อมูลด้านดีด้านเดียว และมีนิสิตรับรู้ข้อมูลเพียงน้อยนิด ขาดการมีส่วนร่วมอย่างแท้จริงตามหลักวิชาการ 
 
2.เนื้อหาร่าง พ.ร.บ.ฉบับดังกล่าว ให้อำนาจผู้บริหารรวมทั้งสภามหาวิทยาลัยที่มาจากการแต่งตั้ง ไม่ใช่การเลือกตั้งที่มาจากการมีส่วนร่วมจากประชาสังคมในมหาวิทยาลัย มีอำนาจในการบริหารงาน บริหารเงินอย่างเต็มที่ ขาดระบบการตรวจสอบที่รัดกุม แต่กลุ่มบุคคลเหล่านี้กลับเป็นผู้ร่าง พ.ร.บ. ฉบับดังกล่าวเพื่อให้ประโยชน์แก่กลุ่มตนเอง
 
3.จากเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ.2554 รศ.นพ.กำจร ตติยกวี รองเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ได้ทำหนังสือสอบถามไปยังมหาวิทยาลัย 14 แห่ง ที่ได้ส่งร่างพ.ร.บ.ออกนอกระบบมาที่ สกอ.ว่ายังยืนยันออกนอกระบบหรือไม่ มีมหาวิทยาลัยที่ยืนยันกลับมาแล้วว่าจะออกนอกระบบระบบ จำนวน 4 มหาวิทยาลัย ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ทั้งที่นิสิตส่วนใหญ่ในมหาวิทยาลัยยังไม่มีความรู้ ความเข้าใจเรื่อง ม.นอกระบบ และไม่มีการนำร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวมาพิจารณาสอบถาม รับฟังความคิดเห็น ไม่มีการให้ความรู้แก่นิสิตและประชาคม
 
ทางกลุ่มจึงขอเสนอข้อเรียกร้องต่อรัฐบาลดังนี้
 
1.ให้ ครม. มีมติไม่รับร่าง พ.ร.บ.ฉบับดังกล่าว และให้มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์นำร่างกลับไปสร้างกระบวนการการมีส่วนร่วมกับ ประชาคม นิสิตนักศึกษาและประชาชนอย่างแท้จริง
 
ให้รัฐบาลทำหนังสือ ถึงผู้บริหารมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ขอให้เปิดเผยข้อมูลทั้งหมดที่เกี่ยวข้อง กับการนำมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ออกนอกระบบ ให้เป็นที่รับรู้ต่อนิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และสังคมภายนอกอย่างทั่วถึง
 
2.ให้รัฐบาลพิจารณาทบทวนนโยบายมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ (ม.นอกระบบ) โดยจัดเวทีระดมความคิดเห็นจากทุกภาคส่วน ถอดบทเรียนจากมหาวิทยาลัยที่ออกนอกระบบไปแล้วและยังไม่ออก เพื่อกำหนดเป็นนโยบายทางการศึกษาที่ชัดเจนเป็นรูปธรรมและมีส่วนร่วมจากทุก ภาคส่วนตามหลักการประชาธิปไตย
 
หวังเป็นอย่างยิ่งว่าทางรัฐบาลจะรับฟังเสียงของนิสิต และสนใจปัญหาทางการศึกษาที่ถูกหมักหมมมานาน ยิ่งหากมีผ่านร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว จะยิ่งเป็นการซ้ำเติมปัญหาให้หนักขึ้น เป็นการให้อำนาจคนบางกลุ่มเข้ามาแสวงหาผลประโยชน์จากโครงสร้างระบบการศึกษา และหวังว่าคณะรัฐมนตรีซึ่งนำโดยท่านนายกรัฐมนตรีจะไม่ผ่านร่างพระราชบัญญัติ ฉบับดังกล่าว
 
ด้วยจิตคารวะ
 
แนวร่วมนิสิตคัดค้านการนำมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ออกนอกระบบ
 
รายชื่อองค์กรนิสิตนักศึกษา
1.แนวร่วมนิสิตคัดค้านการนำมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ออกนอกระบบ
2.เครือข่ายนักศึกษาคัดค้านการนำมหาวิทยาลัยขอนแก่นออกนอกระบบ
3.เครือข่ายนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาไม่เอาม.นอกระบบ
4.กลุ่มรั้วแดง มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
5.กลุ่มแสงดาว มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
6.กลุ่มปูกฮัก มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
7.กลุ่มลูกชาวบ้าน มหาวิทยาลัยบูรพา
8.กลุ่มสะพานสูง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
9.กลุ่มเสรีนนทรี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
10.ซุ้มเหมราช มหาวิทยาลัยรามคำแหง
11.กลุ่มนกกระจอก มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
12.กลุ่มอาสากลาง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
13.ชมรมมหาวิทยาลัย-ชาวบ้านมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
14.กลุ่มดาวดิน มหาวิทยาลัยขอนแก่น
15.กลุ่มระบายฝัน มหาวิทยาลัยนเรศวร
15.สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (สนนท.)
 
 
 
 
 แถลงการณ์ เครือข่ายนักศึกษาคัดค้านการนำมหาวิทยาลัยขอนแก่นออกนอกระบบระบุเนื้อหา ดังนี้
 
 
แถลงการณ์แสดงจุดยืนเคียงข้างเพื่อนนักศึกษามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
“คัดค้านการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ออกนอกระบบ”
 
จากการที่กระทรวงศึกษาธิการได้นำร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ พ.ศ. ... (ม.นอกระบบ) เสนอเข้าสู่กระบวนการพิจารณาขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี ในวันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2555 เพื่อนำไปสู่การผลักดันมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ออกนอกระบบนั้น ในความเป็นจริงแล้วนั้นยังมีนิสิตนักศึกษามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์จำนวนมาก ที่ยังไม่ทราบข้อมูลและยังไม่เห็นด้วยกับการนำมหาวิทยาลัยออกเกษตรศาสตร์ออก นอกระบบ จึงให้เกิดกระแสคัดค้านจากนักศึกษาและมีข้อเรียกร้องให้ยุติกระบวนการการนำ มหาวิทยาลัยออกนอกระบบและเปิดให้มีกระบวนการการมีส่วนร่วมจากประชาคมใน มหาวิทยาลัยอย่างทั่วถึงมาโดยตลอด
 
จากเหตุการณ์ดังกล่าว เราในนามเครือข่ายนักศึกษาคัดค้านการนำมหาวิทยาลัยขอนแก่นออกนอกระบบ ได้ติดตามสถานการณ์การนำมหาวิทยาลัยออกนอกระบบมาโดยตลอด จึงเห็นว่า การกระทำของรัฐมตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการและสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ที่ได้เสนอเรื่องให้คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบ ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ออกนอกระบบนั้น เป็นการกระทำที่ไร้หลักธรรมาภิบาล ใช้อำนาจโดยไม่รับฟังเสียงหรือความคิดเห็นของนักศึกษาและประชาชนเลย
 
เราในนามเครือข่ายนักศึกษาคัดค้านการนำมหาวิทยาลัยขอนแก่นออกนอกระบบ ขอแสดงจุดยืนคัดค้านการพิจารณา ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ออกนอกระบบ ร่วมกับแนวร่วมนิสิตคัดค้านการนำมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ออกนอกระบบอย่างถึง ที่สุด
 
ด้วยจิตคารวะ
เครือข่ายนักศึกษาคัดค้านการนำมหาวิทยาลัยขอนแก่นออกนอกระบบ
21 สิงหาคม 2555