WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Tuesday, September 22, 2009

วิกฤตในบั้นปลายรัชกาลของราชอาณาจักรไทย(3):ศึกสายเลือดชิงราชบัลลังก์

ที่มา Thai E-News


ความยุ่งยากในเรื่องของการสืบราชสมบัติ และวิกฤตการเมืองในบั้นปลายรัชกาล ยังเป็นไปอย่างสืบเนื่องในทุกราชธานี และทุกรัชกาล บางกรณีเช่นเจ้าอ้ายพระยากับเจ้ายี่พระยาต้องยกทัพเข้าชนช้างกัน แต่ตายทั้งคู่ สมบัติจึงตกเป็นของเจ้าสามพระยา บางกรณีใช้วิธีสมบัติผลัดกันชมระหว่างพี่กับน้อง แต่ก็นำไปสู่การเสียกรุงครั้งที่2


โดย ทีมข่าวไทยอีนิวส์
22 กันยายน 2552

ปัญหาเรื่องการสืบราชสมบัติระหว่างพี่น้อง


#ภาพพระสาทิสลักษณ์เจ้าสามพระยาในจินตนาการของจิตรกร

ปัญหาเรื่องสืบราชสมบัติได้กลายเป็นวิกฤตทางการเมืองในบั้นปลายรัชกาลเกือบทุกรัชกาลเรื่อยมา นอกจากปัญหาระหว่างเครือญาติ เช่น ลุงกับหลาน อากับหลานแล้ว อีกกรณีหนึ่งก็คือพี่กับน้อง

กรณีที่ถูกบันทึกไว้ในพงศาวดารให้เป็นที่โจษจันมาจนถึงทุกวันนี้ก็คือ กรณีพิพาทระหว่างเจ้าอ้ายพระยากับเจ้ายี่พระยา ถึงขั้นทำศึกชนช้างกัน ผลสุดท้ายตายทั้งคู่ ราชสมบัติจึงตกเป็นของ"ตาอยู่"คือเจ้าสามพระยา อันเป็นเหตุการณ์ช่วงต้นกรุงศรีอยุธยา

อีกกรณีหนึ่งคือใช้วิธีสมบัติผลัดกันชมระหว่างพี่น้อง คือพระเจ้าเอกทัศน์กับพระเจ้าอุทุมพร จนกระทั่งนำไปสู่การเสียกรุงครั้งที่2ในสมัยปลายกรุงศรีอยุธยา

สงครามกลางเมืองระหว่างเจ้าอ้ายพระยากับเจ้ายี่พระยา

สมัยต้นกรุงศรีอยุธยา เมื่อครั้งพระเจ้าแผ่นดินองค์ที่ 6 คือสมเด็จพระนครินทราธิราช ได้ส่งพระราชโอรสไปปกครองเมืองต่างๆ โดยให้เจ้าอ้ายพระยาไปปกครองเมืองสุพรรณบุรี เจ้ายี่พระยาไปปกครองเมืองสรรค์(แพรกศรีราชา) ส่วนเจ้าสามพระยาได้ไปปกครองเมืองชัยนาท(พิษณุโลก)หัวเมืองสำคัญทางเหนือ

เมื่อสมเด็จพระนครินทราธิราชเสด็จสวรรคตในพ.ศ. 1967 นั้น ก็เกิดปัญหาการสืบราชสมบัติขึ้น โดยเจ้าอ้ายพระยา และเจ้ายี่พระยา ต่างยกทัพเข้ากรุงศรีอยุธยาเพื่อชิงราชสมบัติ ทั้งสองพระองค์ได้กระทำยุทธหัตถีกันที่เชิงสะพานป่าถ่านจนสิ้นพระชนม์ทั้งสองพระองค์ จึงทำให้เจ้าสามพระยาได้ครองราชย์สมบัติเป็นพระมหากษัตริย์ ทรงพระนามว่า สมเด็จพระบรมราชาธิราช


ขุนหลวงหาวัดกับพระเจ้าเอกทัศน์:สมบัติผลัดกันชมจนเสียกรุง


กรณีนี้เป็นช่วงเหตุการณ์ก่อนจะเสียกรุงศรีอยุธยาแก่พม่าครั้งที่ 2 ไม่นานนัก ปัญหาก็เริ่มจากการสืบราชสันตติวงศ์เหมือนเดิม และผู้ที่เกี่ยวข้องในกรณีความขัดแย้งก็ล้วนแต่ได้อาศัยการออกบวชในพระพุทธศาสนาเป็นที่หนีราชภัย หรือเป็นเครื่องมือในการหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้าอย่างแตกหักทางการเมืองทุกพระองค์

โดยเหตุเกิดในปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา ในรัชสมัยแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ปรากฏว่าเกิดเรื่องยุ่งยากในการสืบราชสมบัติ เนื่องจากพระราชโอรสไม่สามัคคีปรองดองกันโอรสทั้ง 3 พระองค์ ที่มีสิทธิในราชสมบัติ คือ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนเสนาพิทักษ์ เจ้าฟ้าธรรมธิเบศร์ (เจ้าฟ้ากุ้ง) สมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนอนุรักษ์มนตรี (เจ้าฟ้าเอกทัศน์) และสมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนพรพินิต (เจ้าฟ้าอุทุมพร)

แถมยังมีพระโอรสเกิดจากพระสนมอีก 4 พระองค์ คือ กรมหมื่นเทพพิพิธ กรมหมื่นจิตสุนทร กรมหมื่นสุนทรเทพ และกรมหมื่นเสพย์ภักดี

ต่อมาพระราชโอรสองค์ใหญ่ คือ สมเด็จเจ้าฟ้าธรรมธิเบศร์ ได้รับพระราชอาญาให้ประหารชีวิตเนื่องจากลักลอบเป็นชู้กับพระสนมของพระราชบิดา

ส่วนราชโอรสองค์กลางคือ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนอนุรักษ์มนตรี (เจ้าฟ้าเอกทัศ) นั้น พระปรีชาและพระอุปนิสัยไม่เหมาะแก่การปกครองบ้านเมือง พระราชบิดาจึงโปรดให้ออกผนวชที่วัดกระโจม นัยว่าเพื่อหลีกทางให้สมเด็จพระอนุชา คือเจ้าฟ้ากรมขุนพรพินิตเป็นอุปราชแทน

หลังจากเจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร์ ซึ่งเป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคล สิ้นพระชนม์ เมื่อปี พ.ศ.2298 แล้ว สมเด็จพระเจ้าบรมโกศ มิได้ทรงแต่งตั้งพระราชโอรสองค์ใด ขึ้นเป็นพระมหาอุปราชแทน เป็นเวลาถึง 11 ปี ต่อมาในปี พ.ศ.2300 จึงทรงตั้งเจ้าฟ้ากรมขุนพรพินิต ขึ้นเป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคล ด้วยทรงเห็นว่าทรงพระปรีชา มีพระสติปัญญาเฉลียวฉลาดกว่าพระเชษฐา ดังกล่าวไปแล้ว

ปัญหามาเกิดขึ้นเมื่อพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศเสด็จสวรรคต สมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนพรพินิต ทรงขึ้นครองราชย์ ทรงพระนามว่า พระเจ้าอุทุมพร ต่อมากรมหมื่นจิตสุนทร กรมหมื่นสุนทรเทพ และกรมหมื่นเสพย์ภักดี คบคิดกันช่วงชิงราชสมบัติแต่ไม่สำเร็จ ถูกสำเร็จโทษด้วยท่อนจันทน์

แต่พระเจ้าอุทุมพรครองราชย์ได้เพียงเดือนเศษ ก็จำต้องทรงสละราชย์สมบัติ แล้วถวายแก่เจ้าฟ้าเอกทัศผู้เป็นพระเชษฐาที่ลาสิกขาออกมาทวงสิทธิในราชบัลลังก์ แล้วพระเจ้าอุทุมพรก็เสด็จออกผนวช โดยประทับอยู่ที่วัดประดู่โรงธรรม

พงศาวดารกล่าวว่า เจ้าฟ้าเอกทัศได้ลาผนวชเสด็จกลับเข้าวังเพื่อแสดงสิทธิ์ของพระองค์ โดยเสด็จเข้าไปในพระที่นั่งสุริยามรินทร์ ประทับนั่งบนพระแท่นพาดพระแสงดาบไว้บนพระเพลา แล้วโปรดฯให้พระเจ้าอุทุมพรเข้าเฝ้า พระอนุชาผู้ขึ้นครองราชย์ได้ไม่กี่วันก็เข้าพระทัย ยอมถวายราชบัลลังก์ให้โดยดี แล้วหลีกเลี่ยงปัญหาที่จะตามมาด้วยการไปผนวชเสียที่วัดประดู่ ทรงธรรมให้หมดเรื่องไป

แต่เรื่องก็ไม่จบเพียงนั้น เพราะในพ.ศ. 2301-2303 พระเจ้าอลองพญา กษัตริย์พม่าทรงยกทัพมาล้อมกรุงศรีอยุธยาไว้ พระเจ้าเอกทัศ ทรงเห็นเป็นเรื่องใหญ่เกินกว่าจะทรงสู้ศึกได้เอง จึงไปขอให้พระเจ้าอุทุมพรลาผนวชมาบัญชาการรบแทนพระองค์ พระเจ้าอุทุมพรก็ทรงยอมทำตาม ในการศึกครั้งนี้อลองพญาถูกกระสุนปืนใหญ่ของฝ่ายไทยบาดเจ็บสาหัส จำต้องถอยทัพไปสิ้นพระชนม์กลางทาง อยุธยาก็พ้นศึกกลับมาสงบตามเดิม

เมื่อศึกสงบ แทนที่จะทรงมอบหมายให้พระอนุชาครองราชย์อย่างที่ควรจะเป็น พระเจ้าเอกทัศก็ทรงใช้ไม้เดิม คือขึ้นประทับนั่งพาดพระแสง ดาบบนพระเพลาให้รู้ว่าทรงทวงบัลลังก์คืน พระอนุชาก็ว่าง่าย ทูลลากลับไปผนวชอย่างเก่า จนได้สมญาว่า "ขุนหลวงหาวัด"

แล้วก็เกิดสงครามครั้งสุดท้ายของกรุงศรีอยุธยา เมื่อพม่าจัดทัพมารุกรานอีกครั้ง ในปี พ.ศ.2307 พระเจ้ามังระ โอรสพระเจ้าอลองพญา กษัตริย์พม่า ได้ขึ้นเป็นกษัตริย์ ได้ส่งกองทัพมาตีกรุงศรีอยุธยาอีก โดยได้ล้อมกรุงศรีอยุธยายืดเยื้อยาวนาน แล้วก็เข้าตีพระนครได้ เมื่อวันที่ 13 เดือนเมษายน พ.ศ.2310

แต่ก่อนกรุงจะแตกนั้น ไทยเริ่มเป็นฝ่ายเพลี่ยงพล้ำติดต่อกันหลายครั้งหลายคราว จนถึงคับขันจน กรุงใกล้จะแตก ราษฎรหมดความหวังในตัวพระเจ้าเอกทัศ ก็พากันไปถวายฎีการ้องทุกข์ ทูลขอร้องพระเจ้าอุทุมพรให้ลาผนวชมาช่วย บ้านเมืองอีกครั้ง แต่จะด้วยความเกรงพระทัยพระเชษฐาที่ไม่ได้มาร้องขอด้วยพระองค์เอง ท่านก็เฉยไม่ยอมลาผนวช ไม่ว่าราษฎรจะอ้อนวอนแค่ไหนก็ตาม ปล่อยให้พระเจ้าเอกทัศบัญชาการรบไปเอง จนกระทั่งวาระสุดท้ายของอยุธยามาถึงทั้งสองพระองค์

พงศาวดารเล่าว่าพระเจ้าเอกทัศทรงหนีออกจากอยุธยาไปได้ แต่ก็หนีไปไม่ตลอด เพราะอดอาหารมิได้เสวยถึง12วัน จนไปสิ้นพระชนม์ที่ค่ายโพธิ์สามต้น ส่วนพระเจ้าอุทุมพรถูกจับเป็นเชลยพร้อมเจ้านายและขุนนางอื่นๆจำนวนมาก ถูกนำตัวไปพม่า แล้วก ็ทรงอยู่ในเพศบรรพชิตที่พม่าจนสิ้นพระชนม์ไปในที่สุด

ระหว่างนั้นทรงให้ปากคำบันทึกกับชาวพม่า ถึงประวัติศาสตร์ของอยุธยา ต่อมาเรื่องนี้แปลเป็น ไทยชื่อ “คำให้การของขุนหลวงหาวัด”

ในครั้งนั้นยังมีอีกพระองค์หนึ่งที่ออกบวชเพื่อแก้ไขปัญหาบ้านเมือง คือกรมหมื่นเทพพิพิธ เป็นโอรสในสมเด็จพระเจ้าบรมโกศที่เกิดแต่พระสนม พระนามเดิมว่า "พระเจ้าลูกยาเธอพระองค์เจ้าแขก" เป็นพระเชษฐาต่างพระมารดากับ พระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าเอกทัศน์ และพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าดอกมะเดื่อ (พระเจ้าอุทุมพร)

ครั้นเมื่อสมเด็จพระเจ้าบรมโกศเสด็จสวรรคตเมื่อ พ.ศ.2301 กรมหมื่นเทพพิพิธสนับสนุน พระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าดอกมะเดื่อ ซึ่งดำรงตำแหน่งกรมพระราชวังบวรสถานมงคล (ตำแหน่งรัชทายาท) ได้ครองราชสมบัติ แต่พระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าเอกทัศน์ผู้เป็นพี่รีบลาผนวชออกมา ประจวบกับ พระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าดอกมะเดื่อรักสงบ ไม่ชอบการขัดแย้งจึงสละราชสมบัติเสด็จออกทรงผนวช กรมหมื่นเทพพิพิธเกรงราชภัยจะถึงตน จึงออกผนวชที่วัดกระโจม

แต่กระนั้นก็ตามเมื่อสมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์ได้ครองราชย์จึงโปรดเกล้าฯ ให้กรมพระตำรวจทั้งแปดไปจับตัวมาหวังจะประหารชีวิตเสีย แต่ขุนนางกราบบังคมทูลว่าเป็นเชื้อพระวงศ์ผู้ใหญ่ไม่มีความผิดชัดเจน ไม่ควรประหารในระหว่างทรงพรตในเพศสมณะ จึงสั่งให้จองจำไว้

ครั้นกำปั่นจะไปลังกาทวีปเพื่อส่งพระวิสุทธาจารย์ และพระวรญาณมุนีไปเผยแผ่พุทธศาสนาสยามวงศ์ที่เมืองลังกา จึงให้เนรเทศกรมหมื่นเทพพิพิธไปกับเรือกำปั่นนั้นด้วย

พระกรมหมื่นเทพพิพิธพำนักที่เมืองลังกาได้ 4-5 ปี ต่อมาภายหลังทราบว่ากรุงศรีอยุธยาถูกกองทัพพม่าล้อมอยู่ จึงหาโอกาสหนีกลับมาเมืองไทยอีก ได้โดยสารเรือกำปั่นแขกลูกค้าเมืองเทศมายังเมืองมะริด เมื่อ พ.ศ.2305 ต่อมาเมื่อ พ.ศ.2307 กองทัพพม่ายกมาตีเมืองมะริด ตะนาวศรี กรมหมื่นเทพพิพิธจึงหนีมาอาศัยอยู่ที่เมืองเพชรบุรี

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอุทุมพร (ลาผนวชมารักษากรุงฯ) ทราบเรื่องราวกรมหมื่นเทพพิพิธตกยากอยู่ที่เพชรบุรี จึงโปรดเกล้าฯ ให้ไปอยู่เมืองจันทบุรีในปีเดียวกันนั้น เมื่อกรมหมื่นเทพพิพิธมาอยู่เมืองจันทบุรีนั้น ข่าวกองทัพพม่าล้อมกรุงฯ ปล้นสะดมชาวเมืองในหัวเมืองใกล้เคียง และเข่นฆ่าชาวบ้านชาวเมืองล้มตายเป็นจำนวนมาก ผู้คนได้รวมตัวกันเป็นชุมนุมตั้งค่ายป้องกันตัว ดังค่ายบ้านบางระจัน เป็นต้น ชาวหัวเมืองในภาคตะวันออกต่างก็เห็นว่า เชื้อพระวงศ์ผู้ใหญ่ได้มาพำนักที่เมืองจันทบรี ต่างพากันมาสวามิภักดิ์ หวังจะให้เป็นหัวหน้าต่อสู้กองทัพพม่า

จนหลังกรุงแตก กรมหมื่นเทพพิพิธก็ไปตั้งก๊กหนึ่งที่เมืองพิมาย นครราชสีมา แต่ในที่สุดก็ถูกก๊กของพระยาตากปราบปรามลง และประหารชีวิตเสีย เพราะกรมหมื่นเทพพิพิธนั้นถือว่า พระองค์ทรงมีสิทธิเหนือมงกุฏอยุธยา ไม่ใช่ลูกเจ๊กอย่างเจ้าตากสิน ดังนั้นจึงต้องถูกขจัดไม่ให้เป็นเสี้ยนหนามในการปราบดาภิเษกของเจ้าตากในที่สุด

ความยุ่งยากในเรื่องของการสืบราชสมบัติ และวิกฤตการเมืองในบั้นปลายรัชกาล ยังเป็นไปอย่างสืบเนื่องในทุกราชธานี และทุกรัชกาลในเวลาต่อมา

(ตอนหน้าติดตามอ่าน การสำเร็จโทษพระเจ้าตาก และชะตากรรมของรัชทายาทพระเจ้าตาก:ความจริงกับนิยายชวนเชื่อ)
00000
อย่าพลาดซีรีส์ชุดนี้:
-ความยุ่งยากวุ่นวายในบั้นปลายรัชกาลของราชอาณาจักรไทย(ตอนที่1):พระเจ้าปราสาททองตลุยเลือดขึ้นครองบัลลังก์
-วิกฤตในบั้นปลายรัชกาลของราชอาณาจักรไทย(2):สงครามกลางเมืองและรัฐประหาร สมัยพระนารายณ์มหาราช