WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Friday, September 25, 2009

การสร้างความสามัคคีแห่งชาติ (ตอนจบ)

ที่มา บางกอกทูเดย์

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสืบทอดพระราชกรณียกิจสร้างประชาธิปไตยขั้นตอนสุดท้าย โดยมี พระบรมราโชบายสถาปนาการปกครองแบบประชาธิปไตย เป็นเครื่องมือรูปธรรม คือ ทรงเตรียมโอนอำนาจของพระองค์สู่ประชาชนผ่านสภากรรมการองคมนตรี ที่เป็น การปกครองเฉพาะกาล(Provisional Government)ทรงเตรียมพระราชทานรัฐธรรมนูญเพื่อรักษาอำนาจอธิปไตยของปวงชนชาวไทย ในโอกาสวันฉลองกรุงเทพฯ ครบ 150 ปีแต่ถูกทักท้วงโดยคนบางวงการ!ด้วยความเป็น “นักประชาธิปไตย” จึงทรงรับฟัง และทบทวนแผนการให้ละเอียดรอบคอบ ณ พระราชวังไกลกังวล หัวหินแต่ได้เกิดเหตุการณ์ 24 มิถุนายน 2475 ขึ้นเสียก่อน...พระบรมราโชบายสถาปนาการปกครองแบบประชาธิปไตยตามรูปธรรมของมาตรการดังกล่าว จึงไม่ได้รับการปฏิบัติให้แล้วเสร็จ มาจนกระทั่งบัดนี้ดังนั้น...ความสำคัญของ สถาบันพระมหากษัตริย์ ที่มีผลต่อการดำรงอยู่ของชาติและด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมวัฒนธรรม โดยการสร้างประชาธิปไตยนั้นจึงมีบทบาทยิ่งทั้งในอดีตที่ผ่านมา และในปัจจุบันรวมทั้งอนาคตดังเช่น กองทัพได้รับใส่เกล้าฯ ในพระบรมราโชบายสถาปนาการปกครองแบบประชาธิปไตย ของ ร.7 มาประยุกต์เข้ากับสถานการณ์สงครามกลางเมืองกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (พคท.)เป็นนโยบาย 66/23 คือ เอาประชาธิปไตยเข้าต่อสู้เอาชนะเผด็จการคอมมิวนิสต์ และ เผด็จการรัฐสภาที่เป็นแนวร่วมสามารถยุติสงครามปฏิวัติลงได้และนำพาคนไทยที่เข้าร่วมกับ พคท. กลับมาเข้าร่วมพัฒนาชาติไทยด้วยประชาธิปไตยระดับสูง คือ ขยายเสรีภาพของบุคคลขยายอธิปไตยของปวงชน เพื่อบรรลุการปกครองแบบประชาธิปไตยนี่คือ ความสำคัญของสถาบันพระมหากษัตริย์ ในด้านหลักการหรือนโยบายประชาธิปไตย

การปฏิบัตินโยบาย 66/23 เป็นการปฏิบัติตามแนวทางประชาธิปไตยของสถาบันพระมหากษัตริย์ให้แล้วเสร็จ นั่นเองความดำรงอยู่ของชาติและความเจริญของชาติในทุกด้านขึ้นอยู่กับพระบรมราโชบาย สถาปนาการปกครองแบบประชาธิปไตย ของสถาบันพระมหากษัตริย์ ได้รับการปฏิบัติให้ปรากฏเป็นจริงขึ้นเมื่อใดดังเช่น ข้อเสนอการสร้างประชาธิปไตยโดยการจัดตั้งรัฐบาลแห่งชาติ หรือ รัฐบาลเฉพาะกาล ในสถานการณ์ปัจจุบัน นั่นเองท่ามกลางสถานการณ์ปัจจุบันที่สถาบันพระมหากษัตริย์ถูกแรงกระทบจากการเมือง จะพิทักษ์ ปกป้อง รักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ไว้ได้อย่างไร?ก่อนอื่นขอเรียนว่า...ต้องเห็นให้ถูกต้องเสียก่อนว่า การเมืองที่เป็นแรงกระทบต่อ สถาบันพระมหากษัตริย์ รวมทั้งสถาบันชาติและศาสนา และแม้กระทั่งประชาชนนั้นคือ การเมืองระบอบเผด็จการรัฐสภา ไม่ใช่ การเมืองระบอบประชาธิปไตยและที่เป็นเช่นนี้...เพราะพระบรมราโชบายสถาปนาการปกครองแบบประชาธิปไตยไม่ได้รับการปฏิบัติให้ปรากฏเป็นจริงหรือกล่าวอย่างเป็นรูปธรรม คือ นโยบาย 66/23 ไม่ได้มีการปฏิบัติให้แล้วเสร็จ นั่นเองความมั่นคงของสถาบันพระมหากษัตริย์ทั่วโลก หรือความล่มสลายนั้นขึ้นอยู่กับ “ประชาธิปไตย” นั่นคือ ประสบการณ์ของสถาบันพระมหากษัตริย์ทั่วโลกในอดีตถ้าสถาบันพระมหากษัตริย์ทรงสร้างประชาธิปไตยให้กับประเทศชาติประชาชนก็จะทำให้เกิดความมั่นคงแก่สถาบันอย่างยิ่งยวดยาวนานตลอดไปถ้าสถาบันพระมหากษัตริย์ทรงอยู่ข้างฝ่ายขบวนการประชาธิปไตยในชาตินั้นๆ ก็จะมีความมั่นคงสถิตสถาพรตลอดไปสำหรับประเทศไทย...สถาบันพระมหากษัตริย์เป็นผู้นำแนวทางของขบวนการประชาธิปไตยในประเทศมาตลอดเช่น ร.5 ร.6 และ ร.7 มิใช่เพียงสังกัดพรรคประชาธิปไตยเท่านั้นแต่ได้เกิดเหตุการณ์ 24 มิถุนายน 2475 ขึ้น จึงทำให้บทบาทผู้นำสร้างประชาธิปไตยถูกทำให้ยุติลงไปโดยอัตโนมัติแต่พระมหากษัตริย์ภายใต้ระบอบรัฐธรรมนูญก็ยังคงความเป็นประชาธิปไตยตลอดมา ในฐานะประมุขแห่งรัฐช่วยคานและต่อสู้กับขบวนการเผด็จการตลอดมา และทรงเป็นประมุขของปวงชน มิใช่เป็นประมุขของคนส่วนน้อยที่เป็นเผด็จการ

คือ ทรงอยู่ฝ่ายประชาชนเสมอ ท่ามกลางความขัดแย้งในชาติสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นสถาบันแห่งความยุติธรรมทางการเมืองตลอดมาดังเช่น เหตุการณ์พฤษภาทมิฬ ทรงรับสั่งให้ “พลเอกสุจินดา”และ “พลตรีจำลอง” เข้าเฝ้าและทรงรับสั่งให้ร่วมกันแก้ปัญหาสามัคคีกัน เป็นต้นหลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 ทรงมีพระบรมราชโองการให้รัฐบาลสัญญาฯ สร้างประชาธิปไตยว่า “จัดให้มีการปกครองแบบประชาธิปไตยที่เหมาะสมกับประเทศชาติ”ความจงรักภักดี (Royalty) คืออะไร?ชาวพุทธ ทุกคนล้วนแต่มีความจงรักภักดีต่อ พระพุทธ พระธรรมพระสงฆ์ ทั้งสิ้น เช่นเดียวกับ ชาวมุสลิม มีความจงรักภักดีต่อพระอัลเลาะห์ และ ชาวคริสต์ มีความจงรักภักดีต่อพระผู้เป็นเจ้า (GOD)ศาสนาต่างๆ มีหลักธรรมที่เป็นคุณธรรมอย่างยิ่งที่สูงส่งดีงามมนุษย์จึงมีความจงรัก ภักดีต่อพระพุทธเจ้า พระอัลเลาะห์พระผู้เป็นเจ้า ผู้มีพระธรรมอันดีสูงส่งที่สุดกล่าวคือ จงรักภักดีต่อพระธรรม นั่นเอง!สถาบันพระมหากษัตริย์ไทยมี ทศพิธราชธรรม จากพระพุทธศาสนาเป็นหลักการของสถาบันเมื่อสถาบันพระมหากษัตริย์ได้นำเอาทศพิธราชธรรมสถาปนาขึ้นเป็นหลักการปกครอง จึงยังประ โยชน์และความสุขแก่มหาชนเช่นเดียวกับ...อุดมการณ์ของพระพุทธศาสนา จึงบังเกิดความจงรักภักดีขึ้นเองในหมู่พสกนิกร อาณาประชาราษฎร์สถาบันพระมหากษัตริย์ประเทศอื่นไม่ได้มีลักษณะความจงรักภักดีเพราะสถาบันในประเทศนั้นๆ ไม่มีหลักทศพิธราชธรรมเป็นหลักการของสถาบันฯดังนั้น ความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ไทยคือ ความจงรักภักดีต่อทศพิธราชธรรม อันเป็นหลักการหรือสถาบันฯ พระมหากษัตริย์ในด้านบุคคลก็เป็นส่วนหนึ่งของสถาบันฯ คือเป็นผู้ปฏิบัติหลักการของสถาบันฯ นั่นเองพระพุทธเจ้าทรงเทศนาสั่งสอนมนุษย์ไว้ว่า...ให้ถือเคารพปฏิบัติหลักธรรมเป็นการบูชา

อันสูงสุด คือ “ปฏิบัติบูชา” ที่เหนือกว่าอามิสบูชาหรือการบูชาทั้งปวงดังนั้น ความจงรักภักดีที่แท้จริงและดีที่สุด คือ การปฏิบัติตามหลักการของสถาบันพระมหากษัตริย์ ในอดีตสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์คือ ปฐมทศพิธราชธรรมประการเดียวยุคประวัติศาสตร์สมัยใหม่ สถาบันพระมหากษัตริย์ได้ประยุกต์หลักทศพิธราช ธรรมเป็นหลักการปกครองแบบใหม่ คือ ประชาธิปไตยตามพระบรมราโชบายฯฉะนั้น การแสดงความจงรักภักดีแบบปฏิบัติบูชา คือการปฏิบัติพระบรมราโชบายสถาปนาการปกครองแบบประชาธิปไตย ให้ปรากฏเป็นจริงคือ สร้างประชาธิปไตยอย่างสันติ อันเป็นการปฏิวัติสันติ(Peaceful Revolution) ตามหลักพุทธอหิงสาตามที่มาจากหลักทศพิธราชธรรม นั่นเองกระผม ปฏิบัติเช่นนี้ตลอดมา มิใช่เพียงแต่พูดว่าจงรักภักดีอย่างเดียว หรือ พูดโจมตีคนโน้นคนนี้ว่าไม่มีความจงรักภักดีเพื่อกลบเกลื่อนความไม่จงรักภักดีของตัวเองดังที่ได้กล่าวแล้วว่า เกิดความเห็นผิดต่อสถานการณ์จึงทำให้เห็นผิดต่อกระผมด้วย คือ เห็นว่าเผด็จการเป็นประชาธิปไตย เห็นว่าประชาธิปไตยเป็นคอมมิวนิสต์โดยแท้จริงแล้วไม่ใช่ปัญหาของกระผม คือกระผมไม่มีปัญหานี้ ไม่มีปัญหาความเห็นผิดมิจฉา ทิฏฐิ กระผมมีสัมมาทิฏฐิ คือ เห็นถูกแล้วจึงนำมาบอกแก่ทุกท่านที่ยังเห็นผิดอยู่ที่จะต้องแก้ ปัญหาตามความเห็นผิดให้เป็นความเห็นถูก ตามที่กระผมเสนอปัญหาของกระผมแก้แล้ว...แต่ปัญหาท่านยังแก้ไม่ตก กระผมจึงไม่ต้องทำอะไร แต่ท่านที่มีความเห็นผิดนั่นแหละต้องเป็นผู้ต้องแก้ไขความเห็นของตนเองความจริง ตอนนี้ก็เริ่มเห็นถูกกันมากขึ้นเป็นลำดับ ปัญหานี้ทั้งของผมและของท่านเหล่านั้นก็แทบไม่ต้องไปทำอะไรอีกนอกจากร่วมมือกันสร้างประชาธิปไตยตามที่ผมเสนอเท่านั้นเองอันเป็นการแสดงออกถึงความจงรักภักดีเพื่อปกป้อง พิทักษ์รักษา สถาบันพระมหากษัตริย์ให้มั่นคงสืบไป ■