WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Wednesday, September 23, 2009

สมควรได้ข้อยุติ

ที่มา มติชน

บทนำมติชน



ในที่สุดศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองได้อ่านคำพิพากษายกฟ้องคดีกล่าวหาคณะรัฐมนตรีสมัยรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร จำนวน 44 คน ประกอบด้วย นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ อดีตรองนายกรัฐมนตรี นายสรอรรถ กลิ่นปทุม อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายเนวิน ชิดชอบ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายวราเทพ รัตนากร อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ฯลฯ รวมทั้งผู้บริหารบริษัทเอกชนที่เกี่ยวข้องว่าทุจริตจัดซื้อต้นกล้ายางพารา จำนวน 90 ล้านต้น มูลค่า 1,440 ล้านบาท

คดีดังกล่าวเกิดขึ้นในขณะที่รัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ได้บริหารราชการแผ่นดิน และมีกลุ่มมวลชนเคลื่อนไหวขับไล่ โดยประเด็นหนึ่งในการขับไล่คือ การทุจริตกล้ายางพารา ซึ่งคณะรัฐมนตรีของ พ.ต.ท.ทักษิณ ได้อนุมัติให้จัดซื้อเพื่อแจกแก่ประชาชนทั่วประเทศ เพื่อเพิ่มผลผลิตยางพารา ซึ่งขณะนั้นมีราคาสูง เนื่องจากตลาดโลกโดยเฉพาะประเทศจีนมีความต้องการเพิ่มขึ้น และเมื่อคณะรัฐประหารที่มี พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน เป็นหัวหน้า ได้ใช้กำลังเข้ายึดอำนาจการบริหารประเทศจากรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร โดยมีเหตุผลประการหนึ่งคือ การทุจริตคอร์รัปชั่น โดยได้แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นมา 1 ชุด ชื่อว่า "คณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ" มีชื่อย่อว่า คตส. ดำเนินการสืบสวนสอบสวนข้อกล่าวหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น

คดีทุจริตกล้ายางพารา จำนวน 90 ล้านต้น มูลค่า 1,440 ล้านบาทนี้ เป็นคดีหนึ่งที่ คตส.ดำเนินการและมีมติว่าคณะรัฐมนตรีและผู้เกี่ยวข้องในสมัยนั้นรวมจำนวน 44 คน กระทำความผิดจริง โดยได้ส่งเรื่องต่อให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือ ป.ป.ช.ดำเนินการต่อเมื่อ คตส.หมดวาระตามคำสั่ง และทาง ป.ป.ช.ได้ดำเนินการทางคดีต่อเนื่องจนกระทั่งส่งฟ้องศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง มีการสืบพยานโจทก์ และพยานจำเลย กระทั่งมีการนัดอ่านคำพิพากษามาแล้วครั้งหนึ่ง แต่นายอดิศัย โพธารามิก อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ หนึ่งในจำเลยไม่ได้เดินทางมาฟังคำพิพากษา ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง จึงเลื่อนอ่านคำพิพากษา และสั่งออกหมายจับนายอดิศัย

กระทั่งวันที่ 21 กันยายน ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองได้นัดอ่านคำพิพากษาอีกครั้งหนึ่ง แม้ว่านายอดิศัยจะไม่เดินทางมาอีกโดยอ้างว่าเจ็บป่วยและรักษาตัวอยู่ในต่างประเทศ ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองจึงตัดสินใจอ่านคำพิพากษาลับหลังนายอดิศัย โดยมีคำพิพากษาให้ยกฟ้อง เนื่องจากเห็นว่าการกระทำดังกล่าวไม่ได้เข้าข่ายทุจริตคอร์รัปชั่นตามข้อกล่าวหา ซึ่งคำพิพากษานี้ถือเป็นคำพิพากษาที่สิ้นสุดเด็ดขาด ไม่สามารถอุทธรณ์หรือฎีกาได้ เป็นอันว่า จำเลยทั้ง 44 คน พ้นจากข้อกล่าวหาทุจริตการจัดซื้อกล้ายางพารา จำนวน 99 ล้านต้น มูลค่า 1,440 ล้านบาท ถือเป็นข้อยุติทางกฎหมาย

แม้คำพิพากษาที่ออกมา จะตรงหรือไม่ตรงใจของบุคคลที่รับฟังคำพิพากษาอยู่ทางสื่อสารมวลชนแขนงต่างๆ แต่ทุกคนก็ต้องน้อมรับคำตัดสินอันเป็นที่สุดนี้ โดยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายผู้กล่าวหา หรือฝ่ายที่ถูกกล่าวหาในคดีอื่นๆ นำไปศึกษาเพื่อใช้ในการดำเนินการทางคดีความให้รอบคอบรัดกุม ซึ่งการยอมรับคำตัดสินซึ่งถือเป็นที่สุดแล้วเช่นนี้ ย่อมดีกว่าการดึงดัน มุทะลุ แล้วนำเอาคำพิพากษาที่ถือเป็นที่สุดนี้ไปเคลื่อนไหวทางการเมือง เพื่อกดดันให้คำตัดสินใดๆ ต้องเป็นไปตามความชอบใจของตนเองหรือกลุ่มของตนเอง