WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Saturday, September 26, 2009

The Economist : นักแสวงบุญอันธพาล

ที่มา ประชาไท

หมายเหตุผู้แปล : หลังจากที่ถูกห้ามจำหน่ายในประเทศไทยหลายฉบับ The Economist กลับมาเสนอบทวิเคราะห์การเมืองไทยแบบเกาะติดต่อเนื่องจากสัปดาห์ที่แล้ว โดยเปิดฉากวิจารณ์พันธมิตรฯ อย่างเผ็ดร้อนในกรณีการประท้วงเรื่องพื้นที่พระวิหารว่า เป็นลัทธิชาตินิยมกวนเมือง เป็นผู้จงรักภักดีที่เป็นอันธพาลของประเทศไทย โดยใช้ชื่อบทความว่า “Thugs Templar” หรือ “นักรบแสวงบุญอันธพาล” ทั้งนี้คำว่า “Thugs” หนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษของไทย เช่น The Nation เคยแปลว่า “กุ๊ย” ในบริบทคำสัมภาษณ์ของนายกษิต ภิรมย์ ต่อสมเด็จฮุนเซ็น ก่อนที่เขาจะเป็นรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศ แต่ในบทความนี้ผู้แปลขอใช้คำว่า “อันธพาล” แทนคำว่า “กุ๊ย”

ภาพจากเอเอฟพี
กลยุทธเบี่ยงเบนได้นำการต่อสู้ทางการเมืองของประเทศไทยไปยังกัมพูชา
เจ้าหน้าที่ทางการไทยได้คาดว่าจะเกิดปัญหายุ่งยากในวันที่ 19 กันยายน วันครบรอบ 3 ปีรัฐประหาร เมื่อปี 2006 ทหารและตำรวจหลายพันนายรักษาความปลอดภัยใจกลางกรุงเทพฯ ที่ซึ่งคนเสื้อแดงกว่า 20,000 คนรวมตัวกันภายใต้ท้องฟ้าหม่นครึ้ม เพื่อฟังการปราศัยต่อต้านการรัฐประหารพร้อมกับฟังเพลง
ทักษิณ ชินวัตร ผู้ถูกรัฐประหารขณะเป็นนายกรัฐมนตรี กล่าวผ่านวิดีโอลิ้งค์จากภายนอกประเทศ เจ้าหน้าที่ทางการได้เตือนว่า มีแผนการวางระเบิดในตอนค่ำ รวมถึงความประสงค์ร้ายอื่นๆ กฎหมายความมั่นคงถูกปลุกขึ้นมาประกาศใช้ แต่แล้วก็มีเพียงอันตรายเล็กน้อยอยู่ในอากาศธาตุ เมื่อถึงตอนเที่ยงคืนทุกอย่างก็จบลง
แต่ความยุ่งยากกลับผุดระเบิดขึ้นแทนที่ในพื้นที่ห่างไกลไปกว่าหลายร้อยกิโลเมตรบริเวณชายแดนไทย-กัมพูชา ม็อบถูกปลุกขึ้นโดยพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ผู้จงรักภักดีแต่เป็นอันธพาล ผู้ปิดสนามบินในกรุงเทพฯ เมื่อปีที่แล้ว พวกเขาได้ทะเลาะวิวาทกับตำรวจและชาวบ้านในท้องถิ่น พันธมิตรได้ปิดกั้นทางขึ้นพระวิหาร ปราสาทในศตวรรษที่ 11 ซึ่งตั้งอยู่ในฝั่งกัมพูชา ประชาชนผู้เข้าร่วมในเหตุการณ์จำนวนหนึ่งได้รับการรักษาพยาบาลหลังจากที่ถูกตีหรือถูกยิง
พันธมิตรฯ ปฏิบัติการกร้าวร้าวรุนแรง โดยระบุว่า กัมพูชากำลังทำการก่อสร้างในบริเวณที่มีข้อพิพาท คล้ายกันกับเรื่องที่เกิดขึ้นเมื่อปีที่แล้วซึ่งถูกลากเข้ามาสู่ความขัดแย้งระหว่างกองกำลังไทยกับกัมพูชา นับแต่นั้นมา เกิดการปะทะกันด้วยอาวุธเป็นครั้งคราวจนชีวิตผู้คนต้องสูญเสียไป พร้อมกับกวาดนักท่องเที่ยวออกไปหมด จึงมีความน่าแปลกใจเพียงเล็กน้อย เมื่อชาวบ้านโต้ตอบด้วยความโมโหกับการมาเยือนของกลุ่มอันธพาลเสื้อเหลือง ผู้ซึ่งตัดสินใจเคลื่อนไหวให้เป็นจุดเด่นเพื่อกลบคู่แข่งกลุ่มเสื้อแดงในกรุงเทพ
ในเดือนมิถุนายน 2008 พันธมิตรเดินขบวนประท้วงนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น อันเนื่องมาจากการสนับสนุนให้กัมพูชาเสนอพระวิหารให้อยู่ในบัญชีรายชื่อของยูเนสโก้เพื่อพิจารณาเป็นมรดกโลกจนประสบความสำเร็จ แกนนำพันธมิตรกล่าวอ้าง (อย่างผิดๆ) ว่า นักการฑูตของไทยได้สละการอ้างสิทธิเหนือพื้นที่ 4.6 ตารางกิโลเมตรที่อยู่ติดกับปราสาท รัฐมนตรีต่างประเทศต้องลาออกหลังจากลงนามบันทึกความตกลงกับกัมพูชาโดยไม่ผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภา และคณะรัฐมนตรี 28 คนอาจเผชิญกับความผิดในเรื่องนี้ด้วย
ความขัดแย้งอันล่อแหลมเปิดโอกาสให้นักชาตินิยมไทยนำข้อถกเถียงเก่าๆ ที่ไร้ความน่าเชื่อถือกลับมาสร้างความร้อนแรงอีก ด้วยการให้เหตุผลว่า เหตุใดกรณีพื้นที่พระวิหารจึงควรเป็นของไทยโดยถูกต้อง (แต่ไม่ใช่การตัดสินของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศในปี 1962)
บุคคลคนหนึ่งที่เป็นนักชาตินิยมเยี่ยงนี้คือนายกษิต ภิรมย์ ผู้มีแนวคิดแบบพันธมิตร ผู้ซึ่งในปัจจุบันเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของประเทศไทย ในไม่กี่เดือนที่ผ่านมา เขาพยายามทำให้ความตึงเครียดกับกัมพูชาผ่อนคลายลง แต่เรื่องโลดโผนโจนทยานล่าสุดนี้ เป็นความน่าอับอายสำหรับตัวเขา และสำหรับนายกรัฐมนตรี อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้ขึ้นสู่อำนาจภายใต้การปลุกกระแสประท้วงที่กำลังอ่อนเปลี้ยของพันธมิตรฯ แต่ในอีกด้านหนึ่งก็มีความสัมพันธ์เชิงน้อยใจกับกลุ่มพันธมิตรฯด้วย
ลัทธิชาตินิยมเป็นเครื่องมือที่ทรงพลังสำหรับนักกวนเมืองจอมล่อหลอกทั้งหลาย เช่นพันธมิตรฯ คราวนี้ไม่ใช่อยู่ในขอบเขตจากการประท้วงบนท้องถนน แต่ว่าพันธมิตรจัดตั้งพรรคการเมืองซึ่งอาจล่อหลอกดึงผู้มีสิทธิเลือกตั้งจากฝ่ายพรรคประชาธิปัตย์ของนายอภิสิทธิ์ในการเลือกตั้งในอนาคต
ในขณะเดียวกันพระมหากษัตริย์ของประเทศไทยผู้ทรงครองราชย์อย่างยาวนานได้เข้ารับการรักษาพระอาการประชวรในโรงพยาบาลเมื่อวันที่ 19 กันยายนที่ผ่านมา และตอนนี้กลุ่มเสื้อแดงก็เป็นสิ่งที่ห่างจากความกังวลเพียงอย่างเดียวของนายอภิสิทธิ์