WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Saturday, October 3, 2009

พอล แชมเบอร์ส

ที่มา thaifreenews

ทหาร การเมือง คอร์รัปชั่น”
ที่มา ห้องราชดำเนิน พันทิป

โพสโดย จำปีเขียว http://www.pantip.com/cafe/rajdumnern/topic/P8388323/P8388323.html

คอลัมน์ ดุลยภาพ ดุลยพินิจ

โดย ผาสุก พงษ์ไพจิตร



พอล แชมเบอร์ส นักวิชาการชาวอเมริกัน คร่ำหวอดกับการศึกษาเรื่อง บทบาทของกองทัพกับการเมืองไทยมาเป็นเวลานาน งานเขียนของเขาชิ้นล่าสุด ซึ่งเสนอในการสัมมนาที่จุฬาฯ เมื่อเร็วๆ นี้ ความยาวประมาณ 100 หน้า เป็นบทความสำคัญที่ผู้สนใจการเมืองไทยทุกคนควรอ่าน

ในงานชิ้นนี้ พอลแสดงให้เห็นว่า หลังการรัฐประหารปี 2549 ฝ่ายกองทัพได้หวนกลับคืนสู่ศูนย์กลางของอำนาจการเมืองไทยอีกครั้ง หลังจากที่เสียความน่าเชื่อถือไปภายหลังเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ ปี 2535

โดยขณะนี้ ทหารมีบทบาทนำเหนือรัฐบาลพลเรือน (จนกล่าวได้ว่าเป็นอิสระจากรัฐบาลพลเรือน) ในหลายด้านด้วยกัน

โดย เฉพาะอย่างยิ่งกองทัพมีบทบาทสำคัญอยู่เบื้องหลังการเป็นรัฐบาลของพรรคประชา ธิปัตย์และพรรคร่วมรัฐบาล และยังเป็นกำลังสำคัญในการดูแลความมั่นคงของนายกรัฐมนตรีปัจจุบัน และกิจกรรมสำคัญของรัฐบาล ในภาวะซึ่งรัฐบาลไม่สามารถกุมบังเหียนกำกับด้านความมั่นคงภายในได้เต็มที่

พอลเห็นด้วยกับนักวิเคราะห์ไทยท่านหนึ่งที่สรุปว่า "ทหารแต่งตั้งตัวเอง เป็นผู้พิทักษ์และปกป้องการเมืองไทยในอนาคต"


โดย เขาขยายความต่อไปว่า "กองทัพเป็นผู้ปกป้องอนาคตจริงๆ ในเรื่องการพิทักษ์ชาติและสถาบันพระมหากษัตริย์ แต่กองทัพก็แสดงให้เห็นว่า สนใจที่จะปกปักษ์ประชาธิปไตยและรัฐบาลพลเรือนน้อยลงทุกที"

และเขา ยังสรุปอย่างตรงไปตรงมาอีกว่า "เมืองไทยวันนี้ อยู่ภายใต้การคุ้มครองของทหาร เมื่อเป็นดังนี้แล้ว ประชาธิปไตยกำลังอยู่ในช่วงขาลง อาจกล่าวได้เลยว่า เมืองไทยได้ลดฐานะลงไปเป็นประชาธิปไตยไม่สมบูรณ์ หรือประชาธิปไตยปีกหักไปแล้ว"

อีกนัยหนึ่งพอลกำลังบอกว่า รัฐบาลขณะนี้เป็น "นอมินี" ของกองทัพนั่นเอง

พอลชี้ว่าฝ่ายกองทัพซึ่งเป็นฝ่ายนำอยู่ในขณะนี้ (พันธมิตรสามขาระหว่าง พลเอกอนุพงษ์ พลเอกประวิตร และพลเอกเปรม) ได้ตระหนักภายหลังความล้มเหลวของอดีต คมช.ว่า ตั้งรัฐบาลนอมินีที่พอจะควบคุมได้ ดีกว่าทำรัฐประหารแล้วพยายามเป็นรัฐบาลเสียเอง เมื่อรัฐบาลนอมินีล้มเหลว ก็ไม่ถูกว่า ลอยตัวไป แล้วยังมีโอกาสจัดตั้งรัฐบาลนอมินีอื่นๆ แทนได้อีก

บท วิเคราะห์นี้จึงนำไปสู่คำถาม "เป็นที่ชัดเจนว่ารัฐบาลอภิสิทธิ์จำเป็นต้องมีทหารหนุนหลังจึงจะอยู่ได้ แต่ทหารจำเป็นต้องมี หรือต้องการให้รัฐบาลประชาธิปัตย์อยู่ในอำนาจต่อไปหรือเปล่า"

คำถามนี้แสดงความเปราะบางทางการเมืองปัจจุบันเป็นอย่างยิ่ง กล่าวคือรัฐบาลปัจจุบันต้องพึ่งพากองทัพเป็นอย่างมาก

แต่ ใช่ว่าสถานะภาพของทหารจะแน่นปึ๊กอย่างที่คาดหวัง เนื่องจากขณะนี้ ทั้งกลุ่มคนเสื้อเหลืองและกลุ่มคนเสื้อแดง ล้วนไม่พอใจและแสดงความเป็นปฏิปักษ์กับฝ่ายกองทัพอย่างโจ่งแจ้ง

มาก ขึ้นเรื่อยๆ และเนื่องจากแต่ละกลุ่มสีเสื้อต่างก็มีพรรคการเมืองและพลังมวลชนหนุนหลัง อยู่เป็นจำนวนมาก แผ่กระจายไปหลายภาคของประเทศ

สถานภาพของกองทัพ จึงไม่มั่นคง และอาจจะนำไปสู่สภาวะการสูญเสียความน่าเชื่อถือ หรือความชอบธรรมได้อีกในทำนองเดียวกับที่เคยเกิดขึ้นสมัยหลัง 14 ตุลาคม 2516 และพฤษภาทมิฬ 2535 ตามมาด้วยผลพวงต่างๆ ที่เป็นภาพลบ รวมทั้งการถูกตัดงบประมาณทหารได้อีก

ถ้าฐานะของทหารไม่มั่นคง ความพยายามที่จะเป็น King maker อยู่เบื้องหลังรัฐบาล "นอมินี" ดังที่กำลังทำอยู่ในขณะนี้ อาจจะไปได้ไม่กี่น้ำ

ดังนั้น ทหารจึงยังจะต้องวางแผนอื่นๆ เพื่อเป็นหลักประกันว่าบทบาทของตนจะยังอยู่ในศูนย์กลางของการเมืองไทยภายใต้ กรอบของ "ประชาธิปไตยแบบกำกับได้"

ในบทความชิ้นนี้ พอลจึงพูดถึง ความเป็นไปได้ที่ทหารจะต้องการก่อตั้งพรรคการเมืองที่จะเป็นตัวแทนปกป้องผล ประโยชน์ของกลุ่มตน ดังที่เคยพยายามทำในอดีต (พรรคสามัคคีธรรม)

ซึ่ง ในขณะนี้ก็มีข่าวคราวแล้วว่าในอนาคต พลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน หรือพลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ อาจจะเป็นหัวหน้าพรรคการเมืองใหม่ หรืออาจจะเข้าร่วมมือกับพรรค เช่น ภูมิใจไทย ซึ่งพลเอกประวิตรมีความโยงใยอยู่กับเนวิน ชิดชอบ

ข้อเสนอของพอลมีความเป็นไปได้สูง กองทัพอาจเลือกทำทั้ง 2 อย่าง คือ ทั้งตั้งพรรคใหม่ และทั้งเข้าไปร่วมมือกับพรรคปัจจุบันบางพรรค

การ ตั้งพรรคใหม่มีภาษีตรงที่น่าจะเป็นตัวแทนของฝ่ายกองทัพได้ดีกว่า กรณีที่จะไปร่วมมือกับพรรคเดิมซึ่งมีกลุ่มผลประโยชน์อื่นๆ กำกับอยู่แล้ว

ใน การตั้งพรรคใหม่ ฝ่ายทหารก็ต้องพึ่งนักการเมืองหน้าเก่าๆ อยู่ดี เพราะลำพังฝ่ายทหารคงไม่มีฐานเสียงในระดับพื้นที่ ด้านพลังมวลชนที่แน่นหนาแต่อย่างใด หรือมีบ้างก็คงไม่มากพอ

ใน ประเด็นนี้ ก็มีนักการเมืองหน้าเก่าที่ยังมีฐานเสียง มีกระสุน และมีชนักปัญหาต่างๆ เป็นแรงจูงใจให้ต้องการหวนคืนสู่อำนาจให้ความร่วมมือด้วย (วัฒนา กำนันเป๊าะ ฯลฯ ) เราจึงอาจจะเห็นพัฒนาการหลายรูปแบบ รวมทั้งการร่วมมือกันระหว่างทหารกับนักการเมืองประเภทเจ้าพ่อหน้าเดิมๆ

โดย สรุป เป็นที่ชัดเจนจากงานศึกษาของพอล แชมเบอรส์ และจากการติดตามสถานการณ์ความเป็นจริงที่มองเห็นอยู่ว่าทหารได้หวนคืนสู่ ศูนย์กลางอำนาจการเมืองไทยอีกครั้งหนึ่ง และคงจะพยายามดำรงสถานะนี้อยู่เป็นเวลานาน ด้วยภาวะของการแตกสลายของฟากพรรคการเมือง และด้วยความร่วมมือของพรรคการเมืองบางส่วนเอง

พอลแสดงความวิตก กังวลกับอนาคตของประชาธิปไตยไทยว่าปีกหัก เขาเกรงว่าประชาธิปไตยจะอยู่ในกำกับของทหารต่อไปในอนาคต ซึ่งจะทำให้การเมืองไทยเกิดภาวะไร้เสถียรภาพ และแนวโน้มที่จะเกิดรัฐประหารก็เป็นไปได้อีก โดยฝ่ายกองทัพสามารถอ้างสภาวะความมั่นคงภายในถูกคุกคามจากความไร้เสถียรภาพ ทางการเมืองเป็นเหตุผล

นัยของการหวนคืนสู่ศูนย์กลางอำนาจของฝ่ายทหาร ปรากฏให้เห็นแล้ว จากการที่งบประมาณทหารได้เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 6.2 ของงบประมาณประจำปี 2548 เป็นร้อยละ 8.5 ในปี 2551 ส่งผลให้เห็นเงินงบประมาณที่จะนำไปใช้ในด้านการสังคมการศึกษาและอื่นๆ ต้องลดลงไป

นอกจากนี้ยังมีนัยต่อประเด็นเรื่องปัญหาคอร์รัปชั่น ในการศึกษาของผู้เขียนและคณะร่วมวิจัยที่จุฬาฯ จากผลงานหลายชิ้น เรามีข้อค้นพบว่า สมัยทหารเป็นใหญ่ (สฤษดิ์ ถนอม ประภาส) การคอร์รัปชั่นอาจจะสูงกว่าสมัยประชาธิปไตย และสมัยทหารเป็นใหญ่ การตรวจสอบทำได้ยากกว่า ส.ต.ง.ไม่อาจตรวจสอบงบฯทหารได้ และสื่อถูกปิดปาก ทำให้ไม่อาจเปิดโปงปัญหาการคอร์รัปชั่นได้ จะมารู้ก็ต่อเมื่อรัฐบาลทหารดังกล่าวล่มสลายไปแล้ว

อดีตผู้อำนวย การสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (ส.ต.ง.) ท่านหนึ่งให้สัมภาษณ์กับคณะวิจัยโดยกล่าวว่ารัฐบาลทหารเป็นใหญ่ "...มีโอกาสคอร์รั่ปชันสูงสุด เพราะการกระจุกตัวของอำนาจมีสูง และไม่ต้องแบ่งกับใคร ยุคประชาธิปไตยอัตราการคอร์รัปชั่นน่าจะต่ำกว่า เพราะทำได้ยากขึ้น..."

อนึ่ง กรณีการคอร์รัปชั่นโดยนักการเมืองที่ถูกฟ้องร้องถึงชั้นศาลจนมีนักการเมือง ระดับ ร.ม.ต.และผู้มีอิทธิพลถูกลงโทษรายสำคัญๆ (รักเกียรติ กำนันเป๊าะ วัฒนา ฯลฯ) ล้วนแล้วแต่เกิดขึ้นในสมัยประชาธิปไตยทั้งสิ้น

ขณะนี้เรา พูดถึงการร่วมมือกันระหว่างข้าราชการ นักธุรกิจ และนักการเมืองในการคอร์รัปชั่น ว่าร้ายแรงและแก้ยากพยายามหาทางแก้ไขอยู่ แต่ที่ร้ายแรงกว่าและจะแก้ยากกว่าจะเป็นการร่วมมือกันระหว่างทหารและนักการ เมือง


(ที่มา มติชนรายวัน , 30 กันยายน 2552)