WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Thursday, October 1, 2009

ปราสาทพระวิหาร บทเรียนพลาดซ้ำซาก

ที่มา บางกอกทูเดย์

ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช เชื่อมั่นในความเป็นนักเรียนอังกฤษ แต่สุดท้ายไทยก็พลาดเสียปราสาทพระวิหารให้กัมพูชา จนวันนี้หากมองไม่ลึกถึงปมปัญหาและผลประโยชน์ที่แท้จริง... ระวังจะพลาดซ้ำอีก หากรัฐบาลไทยละเลย จนกระทั่งมีการขีดเส้นในแผนที่จากพื้นที่ทับซ้อน เรื่อยลงไปจนถึงในทะเล จะพบความจริงที่น่าตระหนกนั่นคือ เกาะกูดทั้งเกาะอาจจะหายไปจากแผนที่ประเทศไทยเลยก็ได้ทรัพยากรในทะเลจำนวนมหาศาลจะตกเป็นของใครบ้าง

ตราบาป!

ปราสาทพระวิหาร ประกอบด้วยหมู่เทวาลัยและปราสาทหินจำนวนมาก สร้างขึ้นเมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 9 ซากปรักหักพังของเทวาลัยที่เหลืออยู่ มีอายุตั้งแต่สมัยเกาะแกร์ ในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 10 เชื่อว่าโครงสร้างส่วนใหญ่ของปราสาทสร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 ถือเป็นโบราณสถานของขอม ที่กลายมาเป็นกรณีพิพาทระหว่างไทย กับ กัมพูชา เรื่อยมาจนทุกวันนี้ทั้งๆที่ผู้ค้นพบปราสาทพระวิหาร คือ พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ พระราชโอรสองค์ที่ 11 ใน พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยทรงพบเมื่อปี พ.ศ. 2442 ขณะทรงได้รับแต่งตั้งให้เป็น ข้าหลวงต่างพระองค์ เสด็จไปรับราชการที่มณฑลลาวกาว (อีสาน) ในสมัยรัชกาลที่ 5 และได้ทรงจารึกปี ร.ศ. ที่พบเป็นเลขไทย ตามด้วยพระนามไว้ที่บริเวณชะง่อนผาเป้ยตาดี เป็นข้อความว่า “๑๑๘ สรรพสิทธิ”

ต่อมาเมื่อประเทศฝรั่งเศสเข้ายึดครองอินโดจีนได้ทำสนธิสัญญา พ.ศ. 2447 ในการปักปันเขตแดนกับราชอาณาจักรสยาม มาตรา 1 ของสนธิสัญญา ระบุให้ใช้สันปันน้ำเป็นเส้นแบ่งพรมแดน ซึ่งมีผลให้ปราสาทพระวิหารอยู่ในดินแดนไทย แต่พอปี 2451 ฝรั่งเศสได้จัดทำแผนที่ฝ่ายเดียว ส่งมอบให้สยาม 50 ชุด แต่ละชุดมี 11 แผ่นและมีแผ่นหนึ่งคือ “แผ่นดงรัก” ที่ครอบคลุมพื้นที่ปราสาทพระวิหาร และไม่ได้ใช้แนวสันปันน้ำเป็นเส้นแบ่งพรมแดน ทำให้ปราสาทพระวิหารในแผนที่อยู่ในดินแดนของกัมพูชา โดยที่รัฐบาลสยามในขณะนั้นไม่ได้รับรองหรือทักท้วงความถูกต้องของแผนที่ดังกล่าวและกลายเป็นข้อพิพาทที่นำไปสู่การขึ้นศาลโลกในที่สุดเพราะหลังจากที่กัมพูชาได้รับเอกราช เจ้านโรดมสีหนุ กษัตริย์กัมพูชาสละราชสมบัติเข้าสู่การเมือง ได้ดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรี และประกาศเรียกร้องให้ไทยคืนปราสาทพระวิหาร และไทยไม่ยอมรับ เจ้านโรดมประกาศตัดความสัมพันธ์ทางการทูตกับไทย เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2501และ เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2502 เจ้านโรดมสีหนุได้ฟ้องร้องต่อศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (International Court of Justice) หรือศาลโลก ให้ไทยคืนปราสาทพระวิหาร ฝ่ายไทยต่อสู้คดีโดยมี ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช กับคณะรวม 13 คน เป็นทนายฝ่ายไทย ฝ่ายกัมพูชามีนายดีน แอจิสัน เนติบัณฑิตแห่งศาลสูงสุด อดีตรัฐมนตรีต่างประเทศของสหรัฐอเมริกา เป็นหัวหน้าคณะ กับพวกอีกรวม 9 คน

วันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2505 ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ได้ตัดสินให้ปราสาทพระวิหารเป็นของกัมพูชา ด้วยเสียง 9 ต่อ 3ความพ่ายแพ้ในครั้งนั้น ถูกมองว่าส่วนหนึ่งมาจากความเชื่อมั่นที่สูงจนเกินไปของ ม.ร.ว.เสนีย์ ซึ่งจบมาจากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ของอังกฤษเพราะไม่ได้มองในประเด็นที่มีนักกฎหมายเมืองไทย ให้แง่คิดว่า ปกติศาลโลก หากไม่มีการเข้าไปรับฟังคดีพร้อมกันทั้ง โจทก์ และ จำเลยแล้ว จะไม่มีคำพิพากษาใดๆ ออกมาได้เลยซึ่งวันนั้นนักกฎหมายธรรมดาๆ ของไทย เห็นว่า หากไทยอยู่นิ่งๆ จะดีกว่า เพราะศาลโลกก็ทำอะไรไม่ได้ มีคำพิพากษาออกมาไม่ได้แต่กลับกลายเป็นถูกถามว่า “คุณจบมาจากไหน รู้หรือไม่ว่าผมจบมาจากอังกฤษ”หรือว่าความเป็นนักเรียนนอกจากอังกฤษจะเพาะบ่มความเชื่อมั่นดันทุรังเกินพอดีมาทุกยุคทุกสมัย จากอดีต จนแม้ในยุคปัจจุบันก็ยังมีบางคนที่เป็นอาการแบบนี้ให้เห็นกัน!!!สุดท้ายไทยจึงต้องพบกับความพ่ายแพ้ในศาลโลกแม้ว่าหลังจากศาลโลกตัดสินแล้ว 20 วัน ดร.ถนัด คอมันตร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทยในขณะนั้น จะได้มีหนังสือไปยัง นายอูถั่น เลขาธิการสหประชาชาติ เพื่อประท้วงคำพิพากษาของศาลโลก และสงวนสิทธิที่ประเทศไทยจะเรียกร้องปราสาทพระวิหารกลับคืนในอนาคต รวมทั้งหลังจากนั้นจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ จะประกาศก้องว่า จะเอาปราสาทพระวิหารคืนมาให้ได้แต่ว่านับตั้งแต่วันนั้นมาถึงวันนี้ ไม่ได้มีความพยายามอย่างเด่นชัดใดๆ จากผู้นำเหล่าทัพของไทยคนไหนเลยที่จะสานต่อเจตนารมณ์ ทวงคืนปราสาทเขาพระวิหาร

ทั้งๆ ที่หลังจากนั้นไม่นาน กัมพูชาเกิดสงครามกลางเมืองขึ้นภายในประเทศ จนนำไปสู่เหตุการณ์เขมรแตก ประชาชนกัมพูชา หรือแม้แต่ผู้นำกัมพูชา ล้วนมีการพึ่งพาและพึ่งพิงประเทศไทยในการเป็นฐานอพยพบ้าง ในการขอการสนับสนุนบ้างแต่ไทยก็ไม่เคยใช้จังหวะเวลาที่เหมาะสมในการช่วยเหลือสารพัด มาทวงคืนปราสาทหินแห่งนี้เลยจนกระทั่งประมาณปี พ.ศ. 2536 ที่กัมพูชาถูกเขมรแดงเข้าครอบครอง ในขณะที่เขมรแดงเข้มแข็งขึ้น สมเด็จฯ ฮุน เซน มีความเชื่อมั่นเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในช่วงเกือบ 20 ปีมานี้ จนวันนี้เรียกได้ว่าไม่เหลือภาพนายทหารป่า หรือทหารบ้านนอกอีกแล้ว แต่กลายเป็นผู้นำกัมพูชาที่เขี้ยวรอบตัวอย่างที่ประเทศไทย นายกรัฐมนตรีของไทยที่ชื่อนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และบรรดาผู้บัญชาการกองทัพเหล่าทัพต่างๆ ของไทย โดนตอกหน้ากันระนาวอย่างไม่ยี่หระเช่นขณะนี้เป็นบันทึกประวัติศาสตร์ที่น่าเสียดาย ที่ไทยไม่เพียงสูญเสียโอกาส แต่ ณ วันนี้ยังถูกสบประมาท ราวกับว่ารัฐบาลและเหล่าทัพอ่อนแออย่างมาก จนกัมพูชาไม่มีความเกรงใจใดๆแล้วดังนั้นแทนที่ พรรคประชาธิปัตย์ในฐานะแกนนำรัฐบาล จะมัวส่งบรรดาคนฝีปากกล้าของพรรค มาเล่นเกมการเมืองรายวันกับคนนั้นคนนี้ไม่รู้จักหยุดจักหย่อนแทนที่นายอภิสิทธิ์ จะมัววุ่นวายกับการแต่งตั้ง ผบ.ตร. คนใหม่ ให้ได้ดังใจ โดยไม่สนใจฟังคำทักท้วง หรือไม่สนใจข้อมูลพิเศษ สัญญาณพิเศษใดๆ เลยเชื่อมั่นเพียงแต่ว่า มีอำนาจตามกฎหมายให้ทำได้ดันทุรังตั้ง พล.ต.อ.ปทีป ตันประเสริฐ ขึ้นไปรักษาราชการแทน ผบ.ตร.และแม้กระทั่งนายเนวิน ชิดชอบ ภูมิใจไทย CEO ผู้ถูกเว้นวรรคทางการเมือง 5 ปี แต่ก็เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับกลไกการเมืองแทบทุกเรื่อง และล่าสุดก็กำลังปลื้มอก

ปลื้มใจ ที่ได้รับอนุมัติโครงการเช่ารถเมล์ฝังเพชรราคาโคตรแพงระยับ 6.2 หมื่นล้านบาทมาได้หมาดๆและฝันเฟื่องที่จะยึดครองพื้นที่อีสานไว้ในกำมือให้ได้นั้นควรจะต้องตระหนักถึงปัญหาพื้นที่ปราสาทพระวิหาร เพราะเป็นตะเข็บสำคัญของชายแดนอีสานกับกัมพูชาหากทุกฝ่ายหันมาใช้จิตสำนึกรักชาติ หากว่าพึงมีมาวิเคราะห์ให้ดี จะรู้ว่า ประเด็นพื้นที่ทับซ้อน 4.6 ตารางกิโลเมตร ที่กำลังร้อนฉ่าอยู่ในเวลานี้ จริงๆ แล้วมีเงื่อนงำผลประโยชน์ระหว่างประเทศอยู่ด้วยหรือไม่???เป็นเรื่องที่มองให้ลึกๆ แล้วจะเห็นร่องรอยที่โยงไปถึงผลประโยชน์ทรัพยากรธรมชาติจำนวนมหาศาลในทะเลด้วยหรือไม่?หากรัฐบาลไทยละเลย จนกระทั่งมีการขีดเส้นในแผนที่จากพื้นที่ทับซ้อน เรื่อยลงไปจนถึงในทะเล จะพบความจริงที่น่าตระหนกนั่นคือ เกาะกูดทั้งเกาะอาจจะหายไปจากแผนที่ประเทศไทยเลยก็ได้ทรัพยากรในทะเลจำนวนมหาศาลจะตกเป็นของใครบ้างทำไมบริษัทฝรั่งเศสถึงได้รีบเร่งทำสัญญาสำรวจทรัพยากรธรรมชาติในทะเลกับรัฐบาลกัมพูชาการที่หลงเกมการพิพาทว่าเป็นเรื่องของการขอขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก จนถึงขั้นอาศัยแนวร่วมอย่าง ป.ป.ช. ชุดที่ไม่ได้รับการโปรดเกล้าฯ และมีร่องรอยพิรุธทางการเมืองมาโดยตลอด เล่นงานคนไทยด้วยกันเอง อ้างเอาดื้อๆ ว่าผิดสารพัดสุดท้ายจะเข้าทางกัมพูชาและระวัง อนาคตประเทศที่ปัญหาเขตแดนกับไทยจะไม่ได้มีเพียงแค่กัมพูชาผลประโยชน์ในทะเลจำนวนมหาศาล อาจจะทำให้ประเทศฝรั่งเศสเข้ามาร่วมเกมพิพาทนี้ในอนาคตถึงวันนั้น ผลงานนี้จะกลายเป็น “ตราบาป”ของรัฐบาลประชาธิปัตย์และนายอภิสิทธิ์ก็เป็นไปได้

ขึ้นทะเบียนมรดกโลก ปมขัดแย้งจริงหรือ???
8 มีนาคม พ.ศ. 2548 กัมพูชาได้เสนอต่อองค์การยูเนสโกให้ขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกอย่างเป็นทางการ ปี พ.ศ. 2549 วันที่ 30 มกราคม ศูนย์มรดกโลกของยูเนสโกที่ปารีสขอให้กัมพูชายื่นเอกสารใหม่เกี่ยวกับเขตกันชนของปราสาท และมีคำแนะนำให้ร่วมมือกับฝ่ายไทยพ.ศ. 2550 กัมพูชายื่นเอกสารขอขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารอีกครั้ง ขณะที่ไทยยื่นบันทึกช่วยจำต่อเอกอัครราชทูตกัมพูชาและเสนอขึ้นทะเบียนร่วม (Transboundary property) แต่คณะกรรมการมรดกโลกสากลมีมติเลื่อนการขึ้นทะเบียนออกไป โดยให้ไทย-กัมพูชาร่วมมือกันอย่างใกล้ชิด8 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 องค์การยูเนสโกประกาศขึ้นทะเบียนตามคำขอของกัมพูชาให้ตัวปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก เฉพาะเพียงตัวปราสาทเท่านั้น โดยผ่านเกณฑ์การพิจารณาข้อ (i) เพียงข้อเดียว