WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Wednesday, April 28, 2010

ศาลแจงนิยาม ก่อการร้าย ชุมนุมไม่เกี่ยว

ที่มา ไทยรัฐ


Pic_79642

รองเลขาธิการ สนง.ศาลยุติธรรมแจงชุมนุมเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องความเป็นธรรม ไม่ใช่ความผิดฐานก่อการร้าย แต่ต้องเป็นไปตาม ม.63 ระบุหากมีการฟ้องร้องศาลจะไม่ลงโทษจนกว่าจะแน่ใจว่ากระทำความผิดจริง..

จากกรณีรัฐบาลระบุว่าในการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดงมีลักษณะเป็นการก่อการร้าย และมีการนำกองกำลังทหารออกมารักษาการณ์ตามท้องถนน จนเกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ถึงข้อแตกต่างระหว่างการก่อการร้าย และการชุมนุมโดยสงบ

เกี่ยวกับเรื่องนี้ นายสราวุธ เบญจกุล รองเลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม เปิดเผยเมื่อวันที่ 28 เม.ย. ว่า ความผิดฐานก่อการร้าย ผู้กระทำผิดต้องมีเจตนาพิเศษโดยมีความมุ่งหมายเพื่อขู่เข็ญหรือบังคับรัฐบาลไทย รัฐบาลต่างประเทศ หรือองค์การระหว่างประเทศ ให้กระทำหรือไม่กระทำการใดอันจะก่อให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรง หรือเพื่อสร้างความปั่นป่วน ให้เกิดความหวาดกลัวในหมู่ประชาชน โดยกระทำการดังต่อไปนี้

ใช้กำลังประทุษร้าย หรือกระทำการใดอันก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิต หรืออันตรายอย่างร้ายแรงต่อร่างกาย หรือเสรีภาพของบุคคลใดๆ กระทำการใดอันก่อให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงแก่ระบบการขนส่งสาธารณะ ระบบโทรคมนาคม หรือโครงสร้างพื้นฐานอันเป็นประโยชน์สาธารณะกระทำการใดอันก่อให้เกิดความเสียหายแก่ทรัพย์สินของรัฐหนึ่งรัฐใด หรือของบุคคลใด หรือต่อสิ่งแวดล้อม อันก่อให้เกิดหรือน่าจะก่อให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจอย่างสำคัญ การกระทำความผิดฐานก่อการร้าย มีอัตราโทษประหารชีวิต จำคุกตลอดชีวิต หรือจำคุกตั้งแต่ 3 ปีถึง 20 ปี และปรับตั้งแต่ 60,000 บาท ถึง 1,000,000 บาท

อย่างไรก็ตาม มีเหตุยกเว้นไม่เป็นความผิดฐานก่อการร้าย ถ้าเป็นการกระทำในการเดินขบวน ชุมนุม ประท้วง โต้แย้ง หรือเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องให้รัฐช่วยเหลือหรือให้ได้รับความเป็นธรรมอันเป็นการใช้เสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งต้องเป็นการใช้เสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธ ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 63 เท่านั้น

ต่อข้อถามว่า หากตำรวจจับกุมผู้ชุมนุมและตั้งข้อหาเป็นผู้ก่อการร้าย ศาลจะมีดุลยพินิจอย่างไร นายสราวุธ กล่าวว่า เมื่อมีการกล่าวหา และฟ้องร้องต่อศาลว่ามีการกระทำความผิดฐานก่อการร้าย ศาลยุติธรรมซึ่งมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีอาญาดังกล่าว จะใช้ดุลพินิจวินิจฉัยชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานทั้งปวง ศาลจะไม่พิพากษาลงโทษจนกว่าจะแน่ใจว่ามีการกระทำความผิดจริง และจำเลยเป็นผู้กระทำความผิดนั้น เพื่อเป็นหลักประกันการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน.