WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Saturday, May 1, 2010

1 พฤษภาคม วันกรรมกรสากล:กรรมกรไทย จงต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย

ที่มา Thai E-News



โดย เปลวเทียน ส่องทาง
1 พฤษภาคม 2553

วันกรรมกรสากล หรือ วันเมย์เดย์ (May Day) มีจุดกำเนิดมาจากการต่อสู้ของชนชั้นกรรมาชีพในยุโรปและอเมริกา

ในยุคของการปฏิวัติอุตสาหกรรม ที่เปลี่ยนแปลงจากสังคมเกษตรไปสู่สังคมอุตสาหกรรมมากขึ้น ที่ส่งผลให้ผู้คนอพยพจากการผลิตภาคเกษตรกรรมไปเป็นแรงงานภาคอุตสาหกรรม ซึ่งผู้ใช้แรงงานต้องประสพกับการถูกกดขี่ขูดรีดจากนายทุนโรงงานอุตสาหกรรม

เช่น ถูกบังคับให้ใช้แรงงานเยี่ยงทาส ต้องทำงานหนักถึงวันละ 14-16 ชั่วโมงโดยไม่มีวันหยุด รวมทั้งไม่มีสวัสดิการและมาตรฐานคุ้มครองความปลอดภัยในการทำงานแต่อย่างใด

สภาพดังกล่าว เป็นสาเหตุทำให้ผู้ใช้แรงงานมีการเคลื่อนไหวเพื่อต่อสู้การกดค่าจ้างแรงงานและให้ลดชั่วโมงการทำงานลง ซึ่งแนวความคิดนี้ได้ขยายไปหลายประเทศทั้งในยุโรป อเมริกา ละตินอเมริกา ญี่ปุ่น และออสเตรเลีย

ช่วงเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2429 คนงานแห่งเมืองชิคาโก ประเทศอเมริกา ได้นัดหยุดงานครั้งใหญ่และจัดการชุมนุมเดินขบวนเพื่อเรียกร้องระบบสามแปด คือ ทำงาน 8 ชั่วโมง พักผ่อน 8 ชั่วโมง และศึกษาหาความรู้ 8 ชั่วโมง การต่อสู้ครั้งนั้นอำนาจรัฐนายทุนได้ใช้กำลังเข้าปราบปรามอย่างรุนแรง

ภายหลังจากนั้น ต่อมาสหพันธ์คนงานแห่งอเมริกาก็ได้ฟื้นการต่อสู้เรียกร้องระบบสามแปดอีกครั้งหนึ่งโดยมีมติให้เดินขบวนทั่วประเทศเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ.2433

ขณะเดียวกันในช่วงนั้นก็เริ่มมีแนวคิดที่จะประกาศวันที่แน่นอนให้เป็นวันสามัคคีต่อสู้ของขบวนการกรรมกรทั่วโลก จนกระทั่ง พ.ศ. 2432 ที่ประชุมของสภาสังคมนิยมสากล ณ กรุงปารีส ฝรั่งเศส ได้มีมติให้วันที่ 1 พฤษภาคม 2433 เป็นวันเดินขบวนเรียกร้องให้ลดชั่วโมงทำงานตามที่สหพันธ์คนงานแห่งอเมริกาได้กำหนดไว้แล้ว

และได้ กำหนดให้วันที่ 1 พฤษภาคมของทุกปี เป็นวันกรรมกรสากล และเป็นวันเดินขบวนแสดงพลังของชนชั้นกรรมาชีพทั่วโลก

และกรรมกรสากลทั่วโลก พวกเขาส่วนใหญ่แล้วล้วนต่อสู้เพื่อให้ประเทศเขาเป็นประชาธิปไตยแทบทั้งสิ้น เพราะประชาธิปไตย นั้น ทำให้มีเสรีภาพในการรวมกลุ่มต่อรอง ในการสร้างพรรคการเมืองของกรรมกรเองได้ ที่สำคัญเคารพว่าคนเท่ากัน

กรรมกรสากล โดยรวมจึงปฏิเสธระบอบอำมาตยาธิปไตย และร่วมต่อสู้กับชนชั้นอื่นๆในการปฏิวัติประชาธิปไตยขอบเขตทั่วโลก
…………

“กรรมกรไทย” ผู้ไร้ปัจจัยการผลิต มีแรงงานเป็นสินค้า เขารักประชาธิปไตยหรือนิยมอำมาตยาธิปไตย?

แม้ว่าความขัดแย้งหลักในสังคมทุนนิยม จะเป็นความขัดแย้งระหว่างทุนกับกรรมกรก็ตาม แต่เงื่อนไขประวัติศาตร์ที่เป็นจริงดำรงอยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่านสังคมไทย อิทธิพลความคิดอุดมการศักดินาครอบงำสังคมไทยภายใต้ทุนนิยมล้าหลัง และมีความขัดแย้งระหว่างทุนเสรีนิยมกับทุนสามานย์อำมาตย์ ที่เติบโตสะสมทุนผ่านกลไกอำมาย์แบบอภิสิทธิ์ชนมากกว่าการแข่งขันอย่างเสรีและโปร่งใส

ณ ปัจจุบัน ความขัดแย้งรองระหว่างทุนเสรีนิยมกับทุนสามานย์อำมาตย์ เป็นสิ่งที่กรรมกรต้องเลือกว่าจะเป็นแนวร่วมหรือสนับสนุนฝ่ายใด

ความขัดแย้งระหว่างระบอบประชาธิปไตยกับระบอบอำมาตยาธิปไตย เป็นสิ่งที่กรรมกรต้องเลือกว่าจะเป็นแนวร่วมหรือสนับสนุนฝ่ายใด ไม่มีความเป็นกลาง สองไม่ หรือสองเอา?

ประสบการณ์ของ "กรรมกร" ในชีวิตประจำวันนั้น มีกรรมกรจำนวนไม่น้อยได้ตระหนักในสิทธิและได้มีการต่อสู้อย่างต่อเนื่องไม่ได้ยอมจำนนแต่อย่างใด ในรูปแบบการรวมกลุ่มในรูปแบบสหภาพแรงงาน เหมือนเฉกเช่นชนชั้นนายทุน พวกอำมาตย์ ที่รวมตัวในนาม สมาคมนายจ้าง สมาคมธนาคาร สมาคมหอการค้า ฯลฯ

การจัดตั้งสหภาพแรงงานของกรรมกร เป็นโรงเรียนประชาธิปไตยในการจัดการชีวิตของกรรมกรที่ไม่ให้นายจ้างเอารัดเอาเปรียบ
"กรรมกร" ได้เรียนรู้ว่าผู้นำของพวกเขาในการต่อสู้เพื่อไม่ให้นายทุนกดขี่ต้องมาจากการเลือกตั้งของพวกเขาเองมิใช่นนายทุนแต่งตั้งให้ กรรมการสหภาพแรงงานต้องมีวาระตำแหน่งในการบริหารสหภาพแรงงานที่แน่นอนว่ากี่ปี ต้องประกาศเจตนารม มีนโยบาย มีเป้าหมายให้พวกเขาชัดเจนว่าจะนำพาสหภาพแรงงานไปทางไหน เมื่อใดก็ตามที่สหภาพเดินผิดทิศผิดทางเมื่อนั้น พวกเขาก็มีสิทธิ์ที่จะเปลี่ยนผู้นำไม่เลือกคนประเภทนี้อีกได้

เฉกเช่นเดียว กับการเมืองระดับชาติ ที่กรรมกรต้องส่งเสริมประชาธิปไตย ต้องแดง เพื่อสิทธิของกรรมกรที่ต้องต่อสู้กับทุนและรัฐในระดับนโยบาย เช่น การแก้ไขกฎหมายแรงงานที่ล้าหลัง การมีกฎหมายความปลอดภัยในที่ทำงาน การมีสวัสดิการของคนงาน การนโยบายมีค่าจ้างที่เป็นธรรม ฯลฯ และที่สำคัญต้องแก้ไขรัฐธรรมนูญ 50 ทั้งฉบับ และให้กรรมกรมีสิทธิเลือกตั้งผู้แทนทุกระดับในพื้นที่ที่พวกเขาทำงานหรือในสถานที่ประกอบการ เพื่อให้กรรมกรมีสิทธิเลือกผู้แทนทุกระดับ และต่อรองเสนอนโยบายกับผู้แทนของตนเองได้ มิใช่ต้องกลับบ้านไปเลือกตั้งต่างจังหวัดทั้งๆที่ชีวิตทั้งชีวิตพวกเขาไม่ได้อยู่บ้านภูมิลำเนาเดิมแล้ว และอนาคตกรรมกรก็ตั้งพรรคการเมืองทางชนชั้นของตนเองได้เช่นกัน

บทเรียนในประวัติศาสตร์การเมืองไทย ก็ได้บอกให้ "กรรมกร" รู้ว่า เมื่อใดก็ตามที่สังคมไทยเป็นประชาธิปไตย นายกรัฐมนตรีมาจากการเลือกตั้ง กรรมกรมีเสรีภาพในการเคลื่อนไหวได้อย่างเสรี การเคลื่อนไหวเพื่อชีวิตที่ดีกว่า เพื่อความเป็นธรรมในสังคม เงื่อนไขที่จะประสบความสำเร็จย่อมมีสูง เช่น หลัง 14 ตุลาคม 2516 มีกฎหมายแรงงานรองรับสิทธิกรรมกร หรือกฎหมายประกันสังคม ก็คลอดในยุคนายกรัฐมนตรีชาติชาย ชุณหะวัณที่มาจากการเลือกตั้ง

เมื่อใดก็ตามที่อำนาจเผด็จการอำมาตย์ทหารครอบงำสังคมไทย เมื่อนั้น "กรรมกร" ต้องถูกกำจัดสิทธิเสรีภาพที่พึงมี เช่น ภายหลังคณะรัฐประหารรสช.ยึดอำนาจ รัฐบาลอานันท์ ปันยารชุณ ได้ออกกฎหมายยกเลิกพรบ.รัฐวิสาหกิจเพื่อกีดกันมิให้บทบาทสหภาพรัฐวิสาหกิจในการหนุนช่วยแรงงานพื้นฐาน


ปัจจุบัน ภายหลังรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 รัฐบาลอำมาตย์อภิสิทธิ์ ก็ได้ปล่อยให้เจ้าหน้าที่ตำรวจใช้เครื่องขยายเสียงทำลายโสตประสาทการชุมนุมเรียกร้องความเป็นธรรมของสหภาพแรงงานไทรอัมพ์ ตลอดทั้งล่าสุดได้มีนโยบายจัดระเบียบสหภาพแรงงานหรือลิดรอนสิทธิของกรรมกรอีกแบบหนึ่งนั้นเอง

การต่อสู้เรื่องประชาธิปไตย จึงมิใช่เรื่องไกลตัวจากเรื่องชีวิต "กรรมกร" แต่อย่างใด เป็นภาระกิจทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญของ "กรรมกร" เหมือนเช่น คนรากหญ้าในชนบท ผู้รักความเป็นธรรม รักประชาธิปไตยด้วยเช่นกัน

และมีแต่สังคมที่มีประชาธิปไตยและเสรีภาพเท่านั้น เป็นเงื่อนไขสำคัญให้การเติบโตของพลังชนชั้นกรรมกรได้อย่างกว้างใหญ่ไพศาลและเข้มแข็งได้

"กรรมกร" จึงต้องรัก "ประชาธิปไตย" มิใช่ สยบยอมเป็นทาสต่อ "อำมาตยาธิปไตย"

และวันกรรมกรสากลปีนี้ กรรมกรไทยจึงต้องเรียกร้องให้รัฐบาลยุบสภา เพื่อคืนอำนาจอธิปไตยให้กับประชาชน ต่อต้านการปราบปรามประชาชนผู้ต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยด้วยสองมืออันว่างเปล่า

กรรมกรไทย จงต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย ประชาธิปไตยจงเจริญ