WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Saturday, May 1, 2010

บทความดิ อิโคโนมิสท์ "ตัวต่อตัว : การพยายามหลีกเลี่ยงปะทะนองเลือด"

ที่มา ประชาไท


บทวิเคราะห์ล่าสุดจาก ดิ อิโคโนมิสต์วิพากษ์กระแสรอยัลลิสต์และขบวนการรอยัลลิสต์ที่นำทีมโดยจำลอง ศรีเมือง ซึ่งถูกดึงมาใช้อย่างสุดโต่งเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาเข้ามาเป็นอีกปัจจัยแทรกต่อการหาทางลงให้กับวิกฤตการเมืองไทยรอบนี้

000

จำลอง ศรีเมือง เป็นรอยัลลิสท์ตัวป่วนทางการเมืองที่นาน ๆ ครั้งจะพูดอะไรมีเหตุผล แต่ในตอนที่เขาอธิบายว่าประเทศไทย "เหมือนไม่มีรัฐบาล ทหาร หรือตำรวจ" เขาก็มีส่วนถูกอยู่ เมื่อมีผู้ชุมนุมเสื้อแดงจำนวนมากยึดครองพื้นที่ส่วนหนึ่งของกรุงเทพฯ อยู่มามากกว่า 6 สัปดาห์แล้ว ธุรกิจซบเซาลง การโจมตีด้วยระเบิดในวันที่ 22 เม.ย. ที่ทำอันตรายให้กับฝ่ายที่ชุมนุมนับสนุนรัฐบาล จนทำให้ต่างประเทศต้องออกมาเตือนนักท่องเที่ยว ในวันที่ 28 เม.ย. เหตุปะทะกันทำให้มีทหารเสียชีวิต 1 ราย และแน่นอนว่าสาเหตุมาจาก "การยิงโดนพวกเดียวกันเอง" (friendly fire) มีความไม่สงบขยายตัวไปยังหลายจังหวัดจากการที่เสื้อแดงพยายามหยุดตำรวจ-ทหาร ไม่ให้เดินทางมาที่กรุงเทพฯ

จำลอง เข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของผู้ที่ต้องการให้นายกฯ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ทำให้การชุมนุมจบลงโดยไม่เลือกวิธีการ การปะทะกันครั้งใหญ่ระหว่างผู้ชุมนุมกับทหารในวันที่ 10 เม.ย. ที่ผ่านมาทำให้มีผู้เสียชีวิตแล้ว 25 ราย และมีราว 800 ได้รับบาดเจ็บ รัฐบาลบอกว่ามีคนที่ยิงใส่ทหารเป็นไอ้โม่งดำที่เป็น "ผู้ก่อการร้าย" ซึ่งมีความเป็นไปได้ว่าจะเป็นทหารที่อยู่อีกฝ่าย ขณะที่ฝ่ายแกนนำปฏิเสธในเรื่องมือปืน ไม่ว่าความจริงจะเป็นอย่างไรก็ตาม แน่นอนว่าหากมีการโจมตีฐานที่มั่นของเสื้อแดงใจกลางกรุงเทพฯ พวกเขาก็จะถูกตอบโต้ในลักษณะใกล้เคียงกันและยิ่งทำให้เกิดการสูญเสียมากขึ้นไปอีก ส่วน พล.อ. อนุพงศ์ เผ่าจินดา ดูจะต้องการให้มีการประนีประนอมทางการเมืองมากกว่าการปราบปรามการชุมนุม

มาจนถึงตอนนี้ยังไม่มีท่าทีว่าผลลัพธ์จะไปในทางใดเลย ในวันที่ 23 เม.ย. แกนนำเสื้อแดงลดข้อเสนอของตัวเองลงโดยเสนอเส้นตายให้มีการยุบสภาภายใน 3 เดือน อภิสิทธิ์ปฏิเสธข้อเสนอนี้โดยทันที และบอกว่าการยุบสภาจะไม่ช่วยแก้ปัญหาวิกฤติการเมืองไทย ทั้งสองฝายเริ่มแข็งกร้าวต่อกันอีกครั้ง แต่ประตูสู่การเจรจายังคงเปิดอยู่ และความเป็นไปได้คือข้อเสนอที่จะให้มีการเลือกตั้งภายใน 6 เดือน แต่สำหรับเสื้อแดงเดนตายทั้งหลายแล้วนั่นเป็นข้อเสนอที่ถอยหลังเข้าคลองโดยสิ้นเชิง และมันยังเป็นข้อเสนอที่ไมน่าได้รับการยอมรับจากพรรคร่วมของอภิสิทธิ์ด้วย เนื่องจากพวกเขากลัวถูกครอบงำโดยเสื้อแดง แต่มันก็เป้นข้อเสนอที่น่าจะทำให้ประเทศไทยถอยกลับออกมาจากการปะทะกันอย่างรุนแรง

อภิสิทธิ์ อาจจะพูดถูกที่ว่าการเลือกตั้งอย่างเดียวไม่ได้ช่วยแก้ไขวิกฤติการเมืองที่ฝังรากลึก และอาจทำให้ม็อบผู้โกรธแค้นถูกดำเนินคดีอย่างเลวร้าย แต่เมื่อลองมาดูสิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 2008 ตอนที่จำลองและกลุ่มเสื้อเหลืองพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยปิดสนามบิน นั่นคือสิ่งที่ทำให้อภิสิทธิ์เข้าสู่อำนาจ ในตอนนี้เขาเองก็ดูจะเผยธาตุแท้ออกมาเรื่อยๆ ชาวกรุงเทพฯ เริ่มเบื่อหน่ายกับการชุมนุมและคิดถึงห้างสรรพสินค้าของพวกเขา มีกลุ่มอีกกลุ่มหนึ่งรวมตัวกันรายวันเพื่อร้องเพลงแสดงความรักชาติและตะโกนด่าทอเสื้อแดงว่าเป็นชาวนาโง่ๆ จากบ้านนอก

ภายใต้การประกาศ พรก. ฉุกเฉิน นี้รัฐบาลสามารถสั่งห้ามการชุมนุมอย่างการชุมนุมของกลุ่มเสื้อหลากสีได้ แต่แทนที่จะทำเช่นนั้น พวกเขากลับสนับสนุนอยู่เงียบ ๆ เพื่อต้องการแสดงให้เห็นว่า กลุ่มเสื้อแดงก็เป็นแค่หนึ่งในกลุ่มผลประโยชน์กลุ่มหนึ่งเท่านั้น มาจนถึงตอนนี้พันธมิตรฯ ยังคงไม่ลงมาบนท้องถนน แต่พวกเขาก็คงคัน ๆ อยากจะลงมาเต็มที พวกเขาแสร้งทำให้วิกฤติการเมืองนี้กลายเป็นเรื่องการต่อสู้เพื่อสถาบันจากอดีตนายกฯ ทักษิณ ชินวัตร ผู้ที่ยังคงเป็นฮีโร่สำหรับเสื้อแดงหลาย ๆ คน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชนชั้นแรงงานหรือคนในชนบท ต่างจากกลุ่มอนุรักษ์นิยมที่อยู่ในลำดับชั้น 'ผู้ดี'

การแสดงออกเกินพอดี (hysteria) ของรอยัลลิสท์เป็น 'นามบัตร' ของพันธมิตรฯ มานานแล้ว น่าเป็นห่วงว่ามันถูกดึงขึ้นมาโดยอภิสิทธิ์และหัวหน้ากองรักษาความสงบของเขา ในวันที่ 26 เม.ย. โฆษกของหน่วยงานกลางอ้างว่าพวกเขาได้ขุดคุ้ยถึงแผนการต่อต้านสถาบันจากแกนนำเสื้อแดงและผู้ต่อต้านต้านรัฐบาลคนอื่น ๆ มีการปฏิเสธกลับอย่างรวดเร็วและอย่างแข็งกร้าวรวมไปถึงการเตือนว่า 'การใส่ความ' ดังกล่าวอาจเป็นข้ออ้างหาความชอบธรรมในการใช้กำลังปราบปรามผู้ชุมนุม เช่นเดียวกับที่เกิดในเหตุการณ์ 6 ตุลาฯ 2519 เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดโศกนาฎกรรมจากการปะทะขึ้นอีก ทั้งสองฝ่ายควรจะคอยควบคุมพวกหัวแข็งของตัวเองไว้ให้ดี

ที่มา
Head to Head : Trying to avert another bloody showdown, The Economist, 29-04-2010
http://www.economist.com/world/asia/displayStory.cfm?story_id=16015331&source=hptextfeature