WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Friday, May 28, 2010

ส.ส. ต้องสังกัดพรรค (ตอน 1)

ที่มา บางกอกทูเดย์


บทความนี้อาจจะยาวไปหน่อย...คงต้องแบ่งเป็นตอนๆ แต่จะพยายามเขียนให้อ่านได้อย่างเข้าใจ ทั้งข้อกฎหมายและข้อเท็จจริง ก็ขอให้ติดตามให้ครบนะครับ รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันมีเจตนารมณ์ให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ต้อง “สังกัดพรรคการเมือง” อยู่ตลอดเวลา ถ้า ส.ส.ไม่ได้สังกัดพรรคการเมืองก็จะพ้นจากความเป็น ส.ส.ไปทันที หลักการที่กำหนดให้ ส.ส.ต้องสังกัดพรรคการเมืองนั้น มิ

ได้ทำให้ ส.ส. ขาดความเป็นอิสระในการปฏิบัติหน้าที่ในสภาแต่อย่างใด เพราะรัฐธรรมนูญมาตรา 122 ได้คุ้มครองไว้แล้ว เช่นเดียวกับการทำหน้าที่ของสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) แต่การทำหน้าที่ของ ส.ส. ในสภานั้นจะต้องทำในฐานะที่เป็นของ ส.ส. ของพรรคการเมืองที่สังกัดอยู่เท่านั้น จะไปทำในนามอิสระไม่

สังกัดพรรคการเมืองไม่ได้ หรือจะไปทำหน้าที่ในนามพรรคการเมืองอื่นก็ไม่ได้เช่นกัน ส.ส. อาจพ้นจากตำแหน่งทันที ถ้าพรรคการเมืองมีมติขับ ส.ส. ออกจากพรรค โดยมติดังกล่าวจะต้องไม่น้อยกว่าสามในสี่ของที่ประชุมร่วมระหว่างกรรมการบริหารพรรคการเมืองและ ส.ส. ทั้งนี้ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 106 (7)

มาตรา 106 (7) ระบุเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญไว้ชัดว่า...พรรคการเมืองนั้นสามารถขับ ส.ส. ออกจากพรรคได้ และเมื่อพรรคการเมืองมีมติแล้ว ส.ส. นั้นจะต้องพ้นสิ้นสุดสมาชิกภาพความเป็น ส.ส. ทันที อย่างไรก็ตาม รัฐธรรมนูญเองก็ยังคุ้มครอง ส.ส. ที่พ้นสภาพไปแล้ว ถ้าหาก ส.ส. ที่พ้นสภาพไปแล้ว

นั้น เห็นว่า มติของพรรคการเมือง ทำไปโดยขัดต่อหลักการปฏิบัติหน้าที่หรือสถานนะของ ส.ส. หรือขัดต่อหลักพื้นฐานของประชาธิปไตย รัฐธรรมนูญ มาตรา 65 วรรคสาม ให้หลักการไว้ว่า ส.ส. ซึ่งเป็นสมาชิกของพรรคการเมืองนั้น หากเห็นว่ามติเรื่องใดของพรรคการเมืองขัดต่อการปฏิบัติหน้าที่หรือขัด

ต่อหลักพื้นฐานของประชาธิปไตย ส.ส. ที่เห็นเช่นนั้น หรือได้รับผลจากมติของพรรคการเมือง เช่น มติที่ถูกขับออกจากพรรคอันเป็นเหตุให้สิ้นสภาพความเป็น ส.ส. ลงไปนั้น สามารถอุทธรณ์ต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัยให้มติของพรรคการเมืองนั้นยกเลิกไปได้ (มาตรา 65 วรรคสี่) ส.ส. ผู้ที่พ้นสภาพไป

แล้วตามมติของพรรคการเมือง สามารถโต้แย้งโดยการอุทธรณ์ต่อศาลรัฐธรรมนูญได้ภายในสามสิบวัน ซึ่งถ้าศาลวินิจฉัยว่า มติดังกล่าวขัดมาตรา 65 วรรคสาม ส.ส. ผู้นั้นก็ไปสมัครเป็นสมาชิกพรรคการเมืองอื่นได้ใน 30 วัน หากว่าศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า...มติของพรรคการเมืองไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ

มาตรา 65 วรรคสาม ให้ถือว่า ส.ส. ผู้ที่ถูกขับออกจากพรรคนั้น พ้นสภาพจากความเป็น ส.ส. ในวันที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัย พิจารณาตามความใน มาตรา 106 (7) แล้ว เห็นได้ชัดว่า ส.ส. ต้องสังกัดพรรค เมื่อพรรคการเมืองใดมีมติขับ ส.ส. ออกจากพรรคคือให้พ้นสภาพจากความเป็นสมาชิกของพรรค

การเมือง ส.ส. นั้นจะต้องพ้นสภาพจากพรรคไปทันที แต่ถ้า ส.ส. นั้นใช้สิทธิอุทธรณ์ต่อศาลรัฐธรรมนูญ สถานภาพของ ส.ส. นั้นจะพ้นไปก็ต่อเมื่อศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า...มติของพรรคการเมืองนั้นไม่ขัดต่อหลักการตามความในมาตรา 65 วรรคสาม จึงมีประเด็นให้ขบคิดกันแล้วว่า ส.ส. ที่พ้นจาก

พรรคการเมืองตามมติของพรรคนั้น และได้ไปใช้สิทธิอุทธรณ์ต่อศาลรัฐธรรมนูญ ส.ส. ผู้นั้นยังสังกัดพรรคการเมืองหรือไม่ ถ้าพิจารณาแล้ว ส.ส. ที่ถูกขับออกจากพรรคนั้นต้องพ้นจากสมาชิกพรรคการเมืองในทันที เพียงแต่สถานภาพความเป็น ส.ส. ยังคงอยู่ในช่วงที่ใช้สิทธิอุทธรณ์เพื่อรอให้ศาลรัฐ

ธรรมนูญวินิจฉัย ถ้าศาลวินิจฉัยว่า...มติของพรรคการเมืองขัดต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 65 วรรคสาม ส.ส. ทีถูกขับออกจากพรรคการเมืองเดิม ก็สามารถไปหาพรรคการเมืองอื่นสังกัดได้ภายใน 30 วันนับจากวันที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัย เมื่อเห็นชัดแล้วว่า ส.ส. ที่ถูกขับออกจากพรรคการเมืองนั้น ไม่มีสถานะ

เป็นสมาชิกพรรคการเมืองทันที นับจากวันที่พรรคการเมืองมีมติ ก็เท่ากับว่า ส.ส. นั้นไม่มีพรรคการเมืองสังกัดแล้ว แสดงว่า ส.ส. นั้นไม่มีพรรคการเมืองสังกัดในระหว่างที่ร้องอุทธรณ์ต่อศาลรัฐธรรมนูญ จึงมีประเด็นที่พิจารณาต่อไปว่า ส.ส. ที่อยู่ระหว่างการพิจารณาสถานภาพความเป็น ส.ส. นั้น จะทำ

หน้าที่ในสภาได้หรือไม่ ถ้าพิจารณาจากเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญที่กำหนดให้ ส.ส. ต้องสังกัดพรรค และแบ่ง ส.ส. ออกเป็นสองชนิดที่มาจากการเลือกตั้งจากประชาชน โดยประชาชนจะเลือก ส.ส. แบบแบ่งเขตตามตัวบุคคล และแบบสัดส่วนตามชื่อพรรคการเมือง ส.ส. จึงถูกกำหนดว่าต้องสังกัดพรรคการ

เมืองตลอดเวลา...ต่างจาก ส.ว. ที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ว่า ห้ามเป็นสมาชิกของพรรคการเมืองใด แต่การทำหน้าที่ของทั้ง ส.ส. และ ส.ว. นั้นจะต้องเป็นไปตามรัฐธรรมนูญมาตรา 122 ด้วย เมื่อเห็นชัดแล้วว่า ส.ส. ที่ถูกขับออกจากพรรคการเมืองและอยู่ระหว่างรอการวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญนั้น ไม่มีพรรค

การเมืองสังกัด การเข้าไปทำหน้าที่ของ ส.ส. ในสภาจะทำไม่ได้ เพราะจะไม่สามารถบอกต่อสภาได้ว่า เป็น ส.ส. ของพรรคใดในสภา ส.ส. ที่ถูกขับออกจากพรรคและใช้สิทธิอุทธรณ์ต่อศาลรัฐธรรมนูญจึงต้องหยุดการปฏิบัติหน้าที่ในสภาไว้...จนกว่าศาลรัฐธรรมนูญจะมีคำวินิจฉัยเป็นอย่างใดอย่างหนึ่งตาม

ที่ รัฐธรรมนูญ มาตรา 106 (7) บัญญัติไว้ ต่อมาเมื่อพิจารณาในอีกด้านหนึ่งตามความใน มาตรา 106 (8) ที่กำหนดว่า ส.ส. จะพ้นสภาพไปเช่นกันหากศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยยุบพรรคการเมืองไป และส.ส. ของพรรคการเมืองนั้นไม่สามารถหาพรรคการเมืองอื่นสังกัดได้ภายใน 60 วัน หลักการของ

มาตรา 106 (8) ก็มีลักษณะที่กำหนดไว้ว่า ส.ส. ต้องสังกัดพรรค เพียงแต่ว่า ในมาตรานี้รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ให้แล้ว ไม่ต้องให้ ส.ส. ของพรรคการเมืองที่ถูกยุบไป ต้องไปร้องอุทธรณ์ต่อศาลอีกครั้งหนึ่ง ส.ส. ของพรรคการเมืองที่ถูกยุบไปจึงมีเวลาตั้งแต่วันที่หนึ่ง ถึงวันที่หกสิบ นับจากวันที่ศาลรัฐธรรมนูญ

วินิจฉัย ให้ไปหาพรรคการเมืองอื่นสังกัด ในระหว่างเวลาดังกล่าวที่พรรคการเมืองเดิมยุบไปนั้น ก็มีเรื่องที่ต้องพิจารณาเช่นกันว่า ส.ส. ของพรรคการเมืองนั้น ไม่มีพรรคการเมืองสังกัดแล้ว คงเหลือแต่สถานภาพของ ส.ส. อยู่ใช่หรือไม่ และสามารถเข้าไปทำหน้าที่ในสภาต่อไป ได้หรือไม่ ถ้าพิจารณาว่า

ส.ส. ต้องสังกัดพรรค ดังนั้นไม่ว่า ส.ส. จะพ้นสภาพจากสมาชิกพรรคการเมืองเพราะถูกขับออกจากพรรคก็ตาม หรือพรรคการเมืองที่ ส.ส. สังกัดอยู่ถูกศาลมีคำสั่งยุบพรรคไปก็ตาม ส.ส. ที่ไม่พรรคการเมืองสังกัดก็ย่อมเข้าไปทำหน้าที่ในสภาไม่ได้ ส่วน ส.ส. ที่พรรคการเมืองโดนยุบไปจะเข้าไปทำหน้าที่

ในสภาในฐานะที่ไม่มีพรรคการเมืองสังกัดได้หรือไม่ มีประเด็นต้องพิจารณาต่อไป อย่างที่ทราบ...คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ถือเป็น “เด็ดขาด” มีผลผูกพันรัฐสภา ทั้งนี้ตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ มาตรา 216 วรรคห้า ดังนั้น เมื่อศาลมีคำสั่งยุบพรรคการเมืองใด พรรคการเมืองที่ถูกยุบจะสิ้นสภาพไป

ทันที เมื่อสิ้นสภาพไปแล้ว พรรคการเมืองนั้นก็จะผูกพันไปถึงรัฐสภาด้วย หมายความว่า พรรคการเมืองนั้นจะถูกนำไปอ้างไว้ในที่ประชุมสภาไม่ได้อีกต่อไป เมื่อพรรคการเมืองไม่มีแล้วตามคำสั่งศาล...แต่ ส.ส. ของพรรคที่ถูกยุบไป ยังมีสิทธิอยู่ 60 วันเพื่อหาพรรคใหม่สังกัด ส.ส. ของพรรคการเมืองที่ถูกยุบไป

จะเข้าไปทำหน้าที่ในสภาได้หรือไม่ ถ้าพิจารณาเพียงความในรัฐธรรมนูญ หลายคนคงคิดว่า ส.ส. ไม่ได้ผิดอะไรจากการที่พรรคการเมืองโดนยุบ และรัฐธรรมนูญคุ้มครองไว้ ถ้า ส.ส. ผู้นั้นไม่ได้เป็นกรรมการบริหารพรรค จึงไม่ได้พ้นสภาพความเป็น ส.ส. และไม่ถูกตัดสิทธิ 5 ปี การทำหน้าที่ในสภาจึงสามารถที่

จะทำได้ โดยอาศัยสถานภาพของความเป็น ส.ส. ที่ยังคงอยู่ เพียงแต่พรรคการเมืองเท่านั้นที่ไม่มี การเข้าไปทำหน้าที่ในสภาโดยที่ยังไม่เข้าไปสังกัดพรรคการเมืองอื่นก่อนนั้นจึงทำได้ ในการทำหน้าที่ของ ส.ส. ในสภา ถ้าพิจารณาจากบันทึกการประชุม หรือชมการถ่ายทอดการประชุมก็จะพบว่า...ในการ

ประชุมของสภาผู้แทนราษฎรนั้น ในที่ประชุมจะได้ยินได้เห็นอยู่เสมอว่า เป็น ส.ส. พรรคการเมืองใด จังหวัดใดแบบใด เป็นเรื่องปกติตลอดมา...ยกเว้นในกรณีที่มีการยุบพรรคการเมืองไป 3 พรรคเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2551 อันทำให้คณะรัฐมนตรีขณะนั้นพ้นสภาพไปด้วย เพราะนายกรัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่ง

เนื่องจากเป็นกรรมการบริหารพรรคการเมืองที่ถูกยุบไป นับจากวันที่ 2 ธันวา 51 ส.ส. ของทั้งสามพรรค ก็ไม่มีพรรคการเมืองที่จะนำไปอ้างต่อที่ประชุมสภาได้อีกต่อไป การเข้าไปประชุมในสภาจึงต้องพิจารณาว่า จะต้องไปหาพรรคการเมืองอื่นสังกัดก่อนหรือไม่?!