WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Wednesday, May 26, 2010

‘เหลิม’นำทัพ ใช้สภาไล่!

ที่มา บางกอกทูเดย์



การที่พรรคเพื่อไทย ใช้รายชื่อ ส.ส.จำนวน 184 รายชื่อ ยื่นญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจ แยกเป็น 2 ญัตติ คือ 1.ญัตติของเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี และ 2.ยื่นญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเป็นรายบุคคล จำนวน 5 คน ได้แก่ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย นายโสภณ ซารัมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม นายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรี

ว่าการกระทรวงการคลัง และนายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ มีการระบุข้อกล่าวหาชัดเจน... นายอภิสิทธิ์ ในฐานะหัวหน้ารัฐบาล มีพฤติการณ์ที่ไม่น่าไว้วางใจให้บริหารราชการแผ่นดินถึง 12 ข้อ คือมุ่งบริหารราชการแผ่นดินเพื่อมุ่งประโยชน์ให้กับตนเองและพวกพ้อง ส่งผลให้เกิดการ

ทุจริตเชิงนโยบายอย่างเป็นรูปธรรม ไม่ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริตเพื่อประโยชน์ของประเทศและประชาชน และกำกับดูแลบริหารราชการแผ่นดินไร้ประสิทธิภาพ รู้เห็นปล่อยปละละเลยให้รัฐมนตรีร่วมรัฐบาลทุจริตคอรัปชันแสวงหาประโยชน์จากงบประมาณแผ่นดินอย่างกว้างขวาง กำหนดนโยบาย

เพื่อเอื้อทุจริตเชิงนโยบาย บริหารราชการแผ่นดินไม่เป็นตามหลักนิติธรรม ไม่มีความเสมอภาค ใช้อำนาจโดยไม่คำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ละเมิดสิทธิมนุษย์ชนอย่างร้ายแรง สั่งการให้ทหารใช้อาวุธสงครามชนิดร้ายแรงเข้าปราบปรามประชาชนหลายครั้ง จนเป็นเหตุให้เกิดการเสียชีวิตหลายครั้ง

กลั่นแกล้งใส่ร้ายป้ายสีให้ประชาชนที่มาชุมนุมโดยสงบ ต้องตกเป็นผู้ต้องหาในคดีอาญาฐานก่อการร้าย แต่กลับละเว้นที่จะดำเนินคดีกับประชาชนอีกกลุ่มหนึ่งที่ทำผิดกฎหมาย โดยยึดสนามบิน ยึดทำเนียบ ไม่อำนวยความยุติธรรมแก่ประชาชนอย่างเท่าเทียม ลุแก่อำนาจบังคับใช้กฎหมายเป็นเครื่อง

มือ!! ปกปิดความผิดของตนเองและพวกพ้อง ครอบงำแทรกแซงการทำหน้าที่ของสื่อมวลชน ใช้อำนาจแทรกแซงการแต่งตั้งข้าราชการปล่อยให้นักการเมืองแสวงหาประโยชน์จากการแต่งตั้ง นี่ขนาดแค่บางส่วน แต่รวมๆแล้วต้องถือว่าเป็นข้อกล่าวหาที่รุนแรงฉกาจฉกรรจ์เป็นอย่างมาก แถมยังครอบคลุมกิน

ประเด็นกว้างไปหมด ซึ่งลำพังเฉพาะ 12 ข้อกล่าวหา ถ้าฝ่ายค้านใส่กันตรงๆ จริงๆ จังๆ แล้ว แค่นายอภิสิทธิ์คนเดียวไม่รู้ว่า 2 วันจะพอหรือไม่? เหลืออีก 1 วัน กับ 5 รัฐมนตรี ซึ่งแต่ละคนก็โดนกล่าวหาร้ายแรงด้วยเช่นกัน อย่างกรณี นายสุเทพ ถูกกล่าวหาว่ามีพฤติกรรมส่อกระทำผิดต่อหน้าที่ตั้งแต่เดือน

มี.ค.-พ.ค. 53 กรณีสลายการชุมนุม ทำให้มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บจำนวนมาก ไม่เป็นไปตามมาตรฐานสากล และทำผิดตามกฎหมาย คือผิดต่อ พ.ร.ก.สถานการณ์ฉุกเฉิน ใช้กำลังทหารเข้าไปข่มขู่คุกคามในสถานีไทยคม และทำการทำลายสัญญาณการสื่อสารโทรทัศน์ ถือเป็นการละเมิดสิทธิเสรีภาพในการสื่อ

สาร นอกจากนี้นายสุเทพยังได้แจ้งบัญชีทรัพย์สินหนี้สินอันเป็นเท็จต่อ ป.ป.ช. กระทำการบุกรุกทรัพยากรธรรมชาติของประเทศ โดยการบุกรุกภูเขา กระทำการออกโฉนดอันเป็นเอกสารสิทธิ์และเตรียมการจัดสรรที่ดินขายโดยไม่ชอบ ในขณะที่นายกรณ์ โดนเรื่องการก่อหนี้สาธารณะจนสูงเกินกว่า

60% ซ้ำยังนำเงินที่ได้จากการกู้ไปดำเนินนโยบายเพื่อเอื้อประโยชน์ให้กับรัฐมนตรีในกระทรวงต่างๆ ทั้งที่แต่ละโครงการไม่ได้สร้างประโยชน์กับเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ มีการสูญเปล่าในหลายโครงการ ที่เรียกว่า “กู้มาโกง” นอกจากนี้ยังได้ดำเนินการออก พ.ร.บ.กู้เงิน 4 แสนล้านบาท โดยไม่เป็น

ไปตามแผนนิติบัญญัติ ยิ่งกรณี นายกษิต ภิรมย์ โดนเต็มๆ ว่าทำงานแบบไม่ก่อให้เกิดภาพลักษณ์ที่ดีต่อประเทศในสายต่อประชาคมโลก มีพฤติกรรมข่มขู่ ก้าวร้าวต่อมิตรประเทศ สร้างความขัดแย้งระหว่างประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้าน ส่งผลให้ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเสื่อมทรุดอย่างไม่เคยมีมา

ก่อน มุ่งทำลายล้างนักการเมืองฝ่ายตรงกันข้ามในทุกวิถีทาง โดยไม่คำนึงถึงคุณธรรม จริยธรรม ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ซึ่งการกระทำดังกล่าวถือว่าไม่ปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญและนโยบายที่ได้แถลงไว้ ส่วนนายชวรัตน์ หนีไม่พ้นเช่นกัน เพราะถูกกล่าวหาว่ามีพฤติกรรมที่ส่อไปในทางทุจริตต่อหน้าที่และส่อว่า

กระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ จงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญและกฎหมาย ไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง จากกรณีให้บริษัทเครือญาติเป็นคู่สัญญากับรัฐในหลายโครงการ ทำให้รัฐต้องจ่ายเงินมากกว่าที่ควรจ่ายหลายพันล้านบาท รู้เห็นหรือเกี่ยวข้องกับการทุจริต

เรื่องการสอบเข้าโรงเรียนนายอำเภอ เรื่องการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการ เรื่องการทุจริตจัดซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ของกรมการปกครอง เรื่องอนุมัติให้มีการขออนุญาตจำหน่ายอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนเพื่อมุ่งแสวงหาประโยชน์ สุดท้าย นายโสภณ ที่ถูกระบุว่าบริหารราชการโดยการกำหนดนโยบายเพื่อ

มุ่งแสวงหาประโยชน์ในทางทรัพย์สินและประโยชน์ทางการเมือง รู้เห็นเป็นใจหรือยินยอมให้พวกพ้องหรือผู้สนับสนุนทางการเมืองของตนเองเข้ามาแสวงหาประโยชน์จากโครงการที่ได้กำหนดขึ้น มีพฤติการณ์ส่อไปในทางทุจริตต่อหน้าที่ ส่อว่าจงใจใช้อำนาจหน้าที่เอื้อประโยชน์ ให้บริษัทเอกชนที่เป็น

พวกพ้อง และญาติของรัฐมนตรีในพรรคการเมืองได้ประโยชน์ที่มิควรได้จากการประมูลงาน และเป็นคู่สัญญากับรัฐ ทำให้รัฐต้องสูญเสียเงินงบประมาณเกินกว่าความเป็นจริงหลายพันล้านบาท เพราะกล่าวหารุนแรงและครอบคลุมขนาดนี้ ทำให้คอการเมืองมองกันว่า ระยะเวลา 3 วันจะเพียงพอหรือไม่... ทำให้

มีการมองลึกลงไปว่า หรือจริงๆ แล้ว นี่คือปฏิกริยาที่ต้องการฉีกหน้า ศอฉ.ต้องยอมรับความเป็นจริงว่า แม้นายอภิสิทธิ์ จะเป็นคนที่ชิงเปิดประเด็นเสนอเรื่องแผนปรองดองขึ้นมาก่อนที่ฝ่ายอื่นๆ จะทันขยับตัว แต่ในอีกมุมหนึ่ง ศอฉ. ซึ่งเป็นกลไกและมือไม้ของรัฐบาลที่ถูกตั้งขึ้นมาโดยกฎหมายพิเศษ คือ พ.ร.ก.

ฉุกเฉินนั้น แต่ ศอฉ. ไม่ได้มีท่าทีหรือแนวทางในเรื่องของความปรองดองสะท้อนออกมาให้เห็นเลย มีแต่การให้ความสำคัญกับเรื่องของการใช้อำนาจตาม พ.ร.ก. ฉุกเฉิน และการใช้กำลังเจ้าหน้าที่ทหารและตำรวจ ดังนั้นตรงนี้เองที่เป็นจุดที่ทำให้ไม่ว่าจะมีใครอาสาเข้ามาเป็นคนกลางในการเจรจาเพื่อการ

ปรองดอง จึงไม่สามารถที่จะทำได้สำเร็จ แถมหลังจากที่แกนนำ นปช. ยอมมอบตัว และยุติการชุมนุม แต่ปรากฏว่า กลไกของ ศอฉ. ยังคงเดินหน้าในลักษณะที่ทำให้บรรยากาศของความปรองดองเกิดได้ยากอยู่เช่นเดิม... โดยเฉพาะในเรื่องของการแถลงให้ข้อมูลในลักษณะด้านเดียวอย่างต่อเนื่องตลอด

เวลา นี่คือจุดพลาดที่ควรจะต้องเร่งแก้ไขของ ศอฉ. เพราะการคิดในมิติเดิมๆ ว่าการมีอำนาจตาม พ.ร.ก. ฉุกเฉินอยู่ในมือ สามารถจะออกข่าวผ่านทางฟรีทีวีอย่างไรก็ได้ ... ควรจะต้องทบทวนวิธีคิดใหม่ เพราะการเสนอข่าวด้านเดียวผ่านทีวีนั้น เสนอได้ก็จริง... แต่ก็ไม่สามารถที่จะบังคับในเรื่องของความ

เชื่อถือได้ และในหลักวิชาเกี่ยวกับการนำเสนอข้อมูลข่าวสารก็คือ การพยายามเสนอข่าวเฉพาะด้านมากจนเกินไป จะยิ่งกลายเป็นแรงกระตุ้นในสังคมอยากที่จะรู้ข้อมูลของอีกด้านหนึ่งมากขึ้น ดังนั้น ทางที่ดี ศอฉ. ควรที่จะมีการปรับท่าทีใหม่ ในเมื่อการยิ่งปิด ยิ่งทำให้คนอยากรู้ ในเมื่อการใช้อำนาจมากจน

เหมือนกับการบีบคั้น ยิ่งกลายเป็นทำเกิดฏิกริยาต่อต้าน... แบบนี้แล้วทำไม ศอฉ.ไม่คิดเปลี่ยนท่าที แทนที่จะต่อเคอร์ฟิวไปไม่รู้จบ ซึ่งทำความงุนงงให้กับทุกฝ่าย ว่าอะไรกันนักหนา ก็น่าที่จะเลิกเคอร์ฟิว รวมทั้งรีบยกเลิก พ.ร.ก. ฉุกเฉินไปเสียไม่ดีกว่าหรือ??? เพราะไม่ว่าจะมี พ.ร.ก.ฉุกเฉินหรือไม่มี รัฐบาล

นายอภิสิทธิ์ ก็เป็นรัฐบาลพลเรือนที่สามารถกดปุ่มให้ทหารซ้ายหันขวาหันได้ดั่งใจอยู่แล้ว จึงไม่น่าที่จะมีอะไรต้องกริ่งเกรง การคงอำนาจพิเศษเอาไว้เสียอีก ที่ทำให้กลายเป็นจุดอ่อน เพราะทำให้คนยิ่งสงสัยอยากรู้มากขึ้น ตรงนี้แหละที่ทำให้เกิดมุมมองว่า เมื่อ ศอฉ.เอาแต่แถลงหรือให้ข้อมูลฝ่ายเดียว ฝ่ายค้าน

ก็จำเป็นที่จะต้องใช้เวทีรัฐสภา นำข้อมูลอีกด้านมานำเสนอให้สังคมได้เห็น ว่าจริงๆ แล้วทุกๆ เหตุการณ์มี 2 ด้านเสมอ และที่ไม่ธรรมดาก็คือ ต้องไม่ลืมว่า ดาวสภาอย่าง ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง ส.ส.สัดส่วน ในฐานะประธาน ส.ส.พรรคเพื่อไทยนั้น ฝีมือไม่ใช่ระดับธรรมดา แค่โปรยน้ำจิ้มออกมาวัดกระแส

สังคมว่าการสลายการชุมนุมของรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ มีสิ่งน่าคิดคล้ายๆ กับเหตุการณ์เมื่อวันที่ 6 ต.ค.2519 อยู่ 4 ประเด็น ก็ฮือฮาแล้ว 1. มีการกล่าวหาว่าล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์เช่นเดียวกัน 2. ปี 19 มีการปลุกระดมผ่านสถานีวิทยุยานเกราะและเครือข่ายวิทยุของทหารว่ามีคอมมิวนิสต์ใน

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คราวนี้ก็มีการปลุกระดมผ่านสถานีโทรทัศน์ของรัฐ โดยเชิญคนที่เป็นปฏิปักษ์กับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ไปออกรายการเพื่อใส่ร้ายอย่างต่อเนื่อง 3. ปี 19 หลังเหตุกาณ์สงบ ตนเป็นผู้หนึ่งที่เข้าไปตรวจค้นอาวุธใน มธ.และพบอาวุธจำนวนมาก ซึ่งไม่ทราบว่าเป็นของ

ใคร แต่ฝ่ายรัฐในขณะนั้นได้กล่าวหาว่าเป็นของนักศึกษาและเวียดนาม ที่เอามาซุกซ่อนระหว่างการชุมนุม ทำให้ประชาชนในขณะนั้นเชื่อว่านักศึกษาเป็นคอมมิวนิสต์ เช่นเดียวกันเหตุการณ์ปัจจุบันที่หลังจากสลายการชุมนุม มีการไปพบอาวุธ เจอกระสุนปืนและอาวุธสงคราม รัฐกล่าวหาว่าเป็นของกลุ่มผู้

ชุมนุม และ 4. การเรียกขานกลุ่มผู้ชุมนุมในปี 19 ว่า คอมมิวนิสต์ แต่คราวนี้รัฐเรียกว่าผู้ก่อการร้าย “แสดงให้เห็นว่าแม้เวลาจะผ่านมา 34 ปี แต่แนวคิดรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ไม่เคยเปลี่ยน ผมรำคาญเหลือเกินโดยเฉพาะจอมพล อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี และพล.อ.ปณิธาน วัฒนายากร

รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ปฎิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ที่อยู่กับทหารพักเดียวก็เคลิ้มตาม” ลีลายังเด็ดดวงอยู่เหมือนเดิม เพราะทำให้คนฟังต้องคิดตามกันจ้าละหวั่น... เอ๊ะ ร.ต.อ.เฉลิมไปเอามาจากไหน นายอภิสิทธิ์ เป็นจอมพล และนายปณิธานไปเป็นพล.อ.ตั้งแต่เมื่อไหร่??? แถม

ด้วย... “เผาเซ็นทรัลเวิลด์เป็นการสร้างสถานการณ์ มือที่สาม ตอนเขาประกาศสลาย ระเบิดลงตูม ตูม ตูม ถ้าเขาจะเผาจริงต้องเผาโรงแรมคอนติเนลตัน เพราะลูกเขยเป็นสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ อย่าง หลุยส์วิตตองราคาแพง อยู่ติดที่ชุมนุมไม่มีใครทุบเลย ส่วนมุขงมน้ำแล้วเจอปืน เป็นลิเกบทเก่า ตั้งแต่

ปี 2516 เขาใช้มุขนี้กัน อย่างการขึ้นไปยิงบนอาคารสถานที่ ไม่มีทางที่ตาสีตาสาจะขึ้นไปยิงได้ ถ้าอยากรู้ว่า ยิงแล้วหนีอย่างไร ผมจะบอกให้ในการอภิปราย” แสบๆ คันๆ ดีไหมล่ะ... ฉะนั้นงานนี้ แม้ว่าจะเป็นการอภิปรายไม่ไว้วางใจที่รู้ผลลงคะแนนล่วงหน้า เพราะตราบใดที่พรรคร่วมรัฐบาลยังไร้สำนึกรับ

ผิดชอบ และเกาะหนึบนายอภิสิทธิ์อยู่เช่นนี้ ก็คงไม่สามารถก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงโดยรัฐสภาได้ แต่ข้อมูลจากพรรคฝ่ายค้าน จาก ร.ต.อ.เฉลิม น่าจะเขย่าความน่าเชื่อถือของรัฐบาล และ ศอฉ. ได้ไม่น้อยเลยทีเดียว การต่อสู้ย้ายเวทีมาสู่รัฐสภาแล้ว... แต่นี่ก็คือกลไกประชาธิปไตยไม่ใช่หรือ?!?