WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Saturday, May 29, 2010

4 นายกฯ 4 ยุคการสูญเสีย (ชีวิต)

ที่มา ไทยรัฐ

จอมพลถนอม กิตติขจร - พล.อ.สุจินดา คราประยูร - สมชาย วงศ์สวัสดิ์ - อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ

นับตั้งแต่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองของไทยตั้งแต่ปี 2475 เกิดเหตุการณ์ให้ประวัติศาสตร์ต้องบันทึกไว้หลายต่อหลายเหตุการณ์ มีทั้งการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดี และ เหตุการณ์ที่เลวร้ายสุดๆ ที่ไม่มีใครอยากเกิดขึ้นเลย โดยเฉพาะเหตุการณ์การต่อสู้ทางการเมือง ที่อ้างถึง "ประชาธิปไตย" ต่อสู้ ชุมนุม ยืดเยื้อ กระทั่งมีการปราบปรามจนมี "คนไทย" บาดเจ็บ ล้มตายกันเป็นจำนวนมาก

ท่ามกลางการบริหารประเทศของผู้นำสูงสุดของไทย มีทั้งคนที่เห็นด้วย ชื่นชม ทำตาม ขัดแย้ง ต่อต้าน ไม่ปฏิบัติตาม เป็นธรรมดาการทำงานในบรรยากาศชื่นชมที่เป็นไปอย่างราบรื่น แต่หลายต่อหลายครั้งการบริหารประเทศภายใต้บริบทที่ปกคลุมไปด้วยความขัดแย้ง รุนแรง ต้องจบลงด้วยความสูญเสีย ที่ยากจะลืมลง

"14 ตุลา" ยุค จอมพลถนอม กิตติขจร


เริ่มมาจากการที่ จอมพลถนอม กิตติขจร ทำการรัฐประหารตัวเองในวันที่ 17 พ.ย. 14 เหตุการณ์ครั้งนั้นนักศึกษา และ ประชาชนมองว่าเป็นการสืบทอดอำนาจตนเองจากจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ และ จอมพลประภาส จารุเสถียร บุคคลสำคัญในรัฐบาล ก็ไม่ได้รับการยอมรับเหมือนจอมพลถนอม แต่กลับต่ออายุราชการให้ตัวเอง ประกอบกับการทุจริตคอร์รัปชั่นจำนวนมาก สร้างความไม่พอใจให้กับประชาชน เป็นอย่างมาก กระทั่งวันที่ 6 ต.ค. 14 มีบุคคล 100 คน เช่น นักวิชาการ นักการเมือง นักคิด นักเขียน นิสิต นักศึกษา เป็นต้น ร่วมลงชื่อร้องขอรัฐธรรมนูญ

จากนั้นนักศึกษาได้เดินแจกใบปลิวเรียก ร้องรัฐธรรมนูญตามสถานที่ต่างๆในกรุงเทพมหานคร ส่งผลให้เจ้าหน้าที่ตำรวจได้จับกุมประชาชน และ นักศึกษา ด้วยข้อหา "คอมมิวนิสต์" และ ถูกเรียกขานว่าเป็น "ขบถรัฐธรรมนูญ" สร้างความไม่พอใจอย่างยิ่งให้แก่ นักศึกษา ประชาชนอย่างมาก นำไปสู่การชุมนุมใหญ่ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ ยื่นคำขาดให้ทางรัฐบาลปล่อยตัวทั้งหมด แต่เมื่อถึงเวลาแล้วรัฐบาลก็กระทำการเดินขบวนครั้งใหญ่จึงเริ่มต้นที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อวันที่ 13 ต.ค. ตามถนนราชดำเนิน สู่ลานพระบรมรูปทรงม้า โดยมีแกนนำเป็นนักศึกษาและมีประชาชนเข้าร่วมด้วยจำนวนมาก นำไปสู่การนองเลือดในเช้าตรู่วันที่ 14 ต.ค. เกิดการปะทะระหว่างเจ้าหน้าที่รัฐและประชาชน จึงเกิดการปะทะกันกลายเป็นการจลาจล เฮลิคอปเตอร์ยิงปืนลงมาเพื่อสลายการชุมนุม

เหตุการณ์ยังไม่สงบลงง่ายๆ โดยกลุ่มทหารได้เปิดฉากยิงเข้าใส่นักศึกษาและ ประชาชนอีกครั้ง นักศึกษาพยายามพุ่งรถบัสที่ไม่มีคนขับเข้าใส่สถานีตำรวจ ที่อนุเสาวรีย์ประชาธิปไตย ประกาศท้าทายกฎอัยการศึก ประกาศว่าจะอยู่ที่อนุเสาวรีย์ประชาธิปไตย กระทั่งวันที่ 15 ต.ค. ได้มีประกาศว่า จอมพลถนอม จอมพลประภาส และ พ.อ.ณรงค์ กิตติขจร ได้เดินทางออกนอกประเทศแล้ว เหตุการณ์จึงค่อยสงบลง

เหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 หรือ วันมหาวิปโยค เป็นเหตุการณ์ที่นักศึกษาและประชาชนในประเทศไทย มากกว่า 500,000 คน โดยในเหตุการณ์นี้มีผู้เสียชีวิต 77 ราย บาดเจ็บ 857 ราย และสูญหายอีกจำนวนมาก

"35 พฤษภาทมิฬ" ยุค พล.อ. สุจินดา คราประยูร


การรับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของ พล.อ.สุจินดา คราประยูร นำไปสู่การเคลื่อนไหวคัดค้าน ต่อต้านของประชาชนอย่างกว้างขวาง เนื่องจากมองว่า เป็นการสืบทอดอำนาจของคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) โดยการอดอาหารของ ร.ต. ฉลาด วรฉัตร และ พล.ต. จำลอง ศรีเมือง หัวหน้าพรรคพลังธรรม ในขณะนั้น สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย และการสนับสนุนของพรรคฝ่ายค้าน ประกอบด้วย พรรคประชาธิปัตย์ พรรคเอกภาพ พรรคความหวังใหม่และพรรคพลังธรรม มีข้อเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีลาออกจากตำแหน่ง และเสนอให้ผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต้องมาจากการเลือกตั้ง

การชุมนุมยืดเยื้อตั้งแต่เดือน เม.ย. 35 แต่ช่วงที่มีการปะทะกันรุนแรงในช่วงวันที่ 17-20 พ.ค. โดยวันที่ 17 พ.ค. มีการเคลื่อนขบวนประชาชนจากสนามหลวงไปยังหน้าทำเนียบรัฐบาล ตำรวจและทหารได้สกัดการเคลื่อนขบวน จึงก่อให้เกิดการปะทะกันระหว่างประชาชนกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ และมีการบุกเผาสถานีตำรวจ กระทั่งในวันที่ 18 พ.ค. รัฐบาลได้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในกรุงเทพมหานคร และให้ทหารทำหน้าที่รักษาความสงบ แต่ได้นำไปสู่การปะทะกันกับประชาชน มีการใช้กระสุนจริงยิงใส่ผู้ชุมนุมในบริเวณถนนราชดำเนินจากนั้นจึงเข้าสลาย และได้ควบคุมตัว พล.ต. จำลอง และยืนยันว่าไม่มีการเสียชีวิตของประชาชน แต่การชุมนุมต่อต้านของประชาชนยังไม่สิ้นสุด เริ่มมีประชาชนออกมาชุมนุมอย่างต่อเนื่องในหลายพื้นที่ทั่วกรุงเทพ จนวันที่ 19 พ.ค. เจ้าหน้าที่เริ่มเข้าควบคุมพื้นที่บริเวณถนนราชดำเนินกลางได้ และควบคุมตัวประชาชนจำนวนมากขึ้นรถบรรทุกทหารไปควบคุมไว้ จนเหตุการณ์บานปลายรุนแรง

วันพุธที่ 20 พ.ค. 35 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้ ศาสตราจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์ ประธานองคมนตรี และ พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ องคมนตรีและรัฐบุรุษ นำพลเอกสุจินดา และ พลตรี จำลอง เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท โอกาสนี้ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม พระราชทานพระราชดำรัสแก่คณะผู้เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทด้วย หลังจากนั้นประมาณ 1 สัปดาห์ พลเอก สุจินดา จึงกราบถวายบังคมลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และ มอบหมายให้ นายมีชัย ฤชุพันธุ์ รองนายกรัฐมนตรี รักษาการในตำแหน่งนายกรัฐมนตรีไปพลางก่อน

เหตุการณ์ที่ประชาชนเคลื่อนไหวประท้วงดังกล่าวนำไปสู่เหตุการณ์ปราบปรามและปะทะกันระหว่างเจ้าหน้าที่ตำรวจและทหารกับประชาชนผู้ชุมนุม มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บจำนวนมาก

"7 ตุลาวิปโยค" ยุคนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์

17 ก.ย. 51 ทายาทการเมืองของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ รองหัวหน้าพรรคพลังประชาชน รักษาการหัวหน้าพรรค ได้รับการเลือกจากสภาผู้แทนราษฎรให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 26 ของประเทศไทย ต่อจากนายสมัคร สุนทรเวช อดีตนายกรัฐมนตรี ที่เกิดอุบัติเหตุทางการเมือง ท่ามกลางกระแสคัดค้านว่าเป็นนอมินี เป็นสายตรง และ การทำงานต่างๆ ยังคงสืบทอดอำนาจจาก พ.ต.ท.ทักษิณ เต็มรูปแบบจนทำให้ประชาชน นำโดยกลุ่มพันมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ที่มีการชุมนุมคัดค้านรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2548

กระทั่ง วันที่ 7 ต.ค. 2551 แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยรุ่นที่ 2 นำมวลชน ชุมนุมต่อเนื่องหน้ารัฐสภา เพื่อไม่ให้รัฐบาลนายสมชาย แถลงนโยบายต่อรัฐสภา เป็นเหตุให้เจ้าหน้าที่ตำรวจใช้แก๊สน้ำตาและ ได้มีการปะทะระหว่างเจ้าหน้าที่ตำรวจกับกลุ่มผู้ชุมนุม โดยตำรวจอ้างว่าใช้เพียงแก๊สน้ำตาแบบยิง แก๊สน้ำตาแบบขว้างและโล่ ขณะที่กลุ่มพันธมิตรฯมีการใช้ ขวดน้ำ และหิน ปะทะกันจนถึงขั้นมีผู้เสียชีวิต

เหตุการณ์ดังกล่าวทำให้มีผู้เสียชีวิตจำนวน 2 คน และ บาดเจ็บจำนวนกว่า 443 คน 
พล.อ. ชวลิต ยงใจยุทธ รองนายกรัฐมนตรี ตัดสินใจลาออกจากตำแหน่งเพื่อรับผิดชอบเหตุการณ์ครั้งนี้และ ต่อมารัฐบาลนายสมชาย ถูกตัดสินคดีจนทำให้พรรคพลังประชาชน ที่นายสมชาย เป็นหัวหน้าพรรคถูกศาลรัฐธรรมนูญ ตัดสินยุบ ทำให้นายสมชาย หมดสภาพโดยทันที แต่เหตุการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองยังไม่จบสิ้น

"สงกรานต์เลือด"-"พฤษภาเดือด" ยุคนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ

ภายหลังนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 20 ธ.ค. 51 กลุ่มผู้ต่อต้านคัดค้านที่้ชื่อว่า "กลุ่มคนเสื้อแดง" ได้มีการต่อต้านประท้วงอย่างทันที โดยเริ่มจากการชุมนุมที่ท้องสนามหลวงและเคลื่อนขบวนมาปักหลักชุมนุมอย่างยืดเยื้อบนถนนรอบทำเนียบรัฐบาล เรียกร้อง 1. พล.อ. เปรม ติณสูลานนท์ พล.อ. สุรยุทธ์ จุลานนท์ และนายชาญชัย ลิขิตจิตถะ ต้องพิจารณาตัวเองด้วยการลาออกจากตำแหน่งองคมนตรี
 2. นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ต้องลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
 3. การบริหารราชการแผ่นดินดำเนินไปตามครรลองของระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข การปรับปรุงใดๆ ให้ดีขึ้นตามหลักสากล ต้องมีการปรึกษาหารือกันระหว่างนักประชาธิปไตยผู้มีประวัติและพฤติกรรมเชิดชูระบอบประชาธิปไตยเป็นที่ประจักษ์
 ซึ่งแกนนำคนเสื้อแดงได้เรียกร้องให้เวลา 24 ชั่วโมง ไม่เช่นนั้น จะมีการยกระดับการชุมนุม หลังพ้นกำหนด 24 ชั่วโมงตามที่ได้เรียกร้อง ผู้ชุมนุมเสื้อแดงได้ทยอยเดินทางชุมนุมหน้าบ้านสี่เสาเทเวศร์ และปิดกั้นถนนสำคัญหลายสาย เช่น ถนนรอบอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิและอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย

กระทั่งวันที่ 11 เม.ย. 52 มีการบุกเข้าไปในโรงแรมรอยัล คลีฟ บีช รีสอร์ท และขัดขวางการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน ได้ทำการปิดถนนตามแยกต่าง ๆ ภายในกรุงเทพมหานคร ต่อมารัฐบาลได้ประกาศพระราชบัญญัติบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตกรุงเทพมหานครและใกล้เคียง หลังจากที่ได้มีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ในระหว่างมีเหตุการณ์รุนแรงเกิดขึ้นต่อเนื่อง ต่อมาวันที่ 14 เม.ย. 52 กำลังทหารและตำรวจได้ใช้แก๊สน้ำตา กระสุนจริงและกระสุนฝึกหัดเข้าสลายการชุมนุมที่บริเวณแยกดินแดง

จนมีผู้ได้รับบาดเจ็บ 70 คนแกนนำประกาศยุติการชุมนุมบนถนนรอบทำเนียบรัฐบาลเพื่อป้องกันการสูญเสียที่จะเพิ่มขึ้นจากการปราบปรามของรัฐบาล จากนั้นแกนนำ 5 คน คือ นายวีระ มุสิกพงศ์ นายแพทย์เหวง โตจิราการ นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ และนายสุพร อัตถาวงศ์ได้เข้ามอบตัวต่อ พล.ต.อ. พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ และนับเป็นการยุติเหตุการณ์ความไม่สงบดังกล่าว

กระทั่ง มีการรวมกลุ่มใหม่ของแกนนำรุ่น 2 โดยใช้ฤกษ์พฤษภาทมิฬ 17-20 พ.ค.แต่ก็ไม่มีอะไรมาก เป็นเพียงการชุมนุมเป็นครั้งครา ต่อมาได้มีการประกาศชุมนุมใหญ่โดยปักหลักที่บริเวณผ่านฟ้าลีลาศ ตั้งแต่วันที่ 12 มี.ค.53 และขยายไปตั้งเวทีใหญ่ที่สี่แยกราชประสงค์ แต่รัฐบาลเห็นว่ามีการชุมนุมกันเป็นเวลานาน และ กระทำผิดกฎหมายร้ายแรง เป็นที่มาของการ "ขอคืนพื้นที่" 10 เม.ย.จนเป็นเหตุทำให้มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตจำนวนหนึ่ง ต่อเนื่องมาวันที่ 19 เม.ย. รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ นำกำลังทหารเข้าสลายการชุมนุม จนแกนนำต้องประกาศสลายการชุมนุม เดินทางไปมอบตัวกับเจ้าหน้าที่ตำรวจเป็นครั้งที่ 2

ซึ่งการปฏิบัติการ ระหว่างวันที่ 10 เม.ย. และ 19 พ.ค. ศูนย์บริการการแพทย์ฉุกเฉิน กรุงเทพมหานคร (ศูนย์เอราวัณ) ได้รายงานว่ามีผู้เสียชีวิตทั้งสิ้นกว่า 80 ราย บาดเจ็บทั้งส้ินกว่า 1.3 พันคน

ภาวนาและหวังเป็นอย่างยิ่งว่าเหตุการณ์การสูญเสียครั้งที่ผ่านๆ มาจะเป็นบทเรียน อุทาหรณ์สุดท้ายให้กับคนไทยทุกคน (ย้ำว่าทุกคน) ที่จะช่วยไม่ให้ชาติบ้านเมืองติดหล่ม "ประชาธิปไตย" จนเกิดเป็นโศกนาฏกรรมทางการเมือง