ที่มา บางกอกทูเดย์ นอนกอด พ.ร.ก.ฉุกเฉิน! เอาแต่พูด!! ปรองดองยาก!! ท่าทีของนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรีด้านความมั่นคงและผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) หรือไม่??? ที่ทำให้สังคมไทยจับตามองและเชื่อว่า… รัฐบาลยังไม่อยากเลิก พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน ทุกเหตุการณ์ของความรุนแรงต่างๆ จะถูกตั้งข้อสงสัยเอาไว้ก่อนว่า น่าจะเกี่ยวข้องกับกลุ่มคนที่ตั้งใจจะป่วนสถานการณ์อยู่ตลอดเวลา การระเบิดข้างๆ พรรคภูมิใจไทย ทางนายเนวิน ชิดชอบ ซีอีโอตัวจริงเสียงจริง นายใหญ่ภูมิใจไทยของแท้ ก็ระบุออกมาเลยว่า มีเจตนามุ่งร้ายตนเองแน่ สุดท้ายก็เข้าล็อคเจ้าหน้าที่ตำรวจ เพราะสามารถสรุปเหตุจูงใจได้ง่ายเหมือนกินขนม ว่า เป็นเหตุทางการเมือง เช่นกันกับที่ พล.ต.ท.สัณฐาน ชยนนท์ ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล (ผบช.น.) มีการเรียกนายตำรวจระดับรองผู้บัญชาการ (รอง ผบช.น.) ผู้บังคับการตำรวจนครบาล 1-9 (ผบก.น.) เพื่อดูแลรักษาความปลอดภัยสถานที่ราชการ บ้านพักบุคคลสำคัญในพื้นที่กรุงเทพฯ กันชนิดพรึ่บเต็มพื้นที่ ชนิดที่ว่าหากเห็นว่ากำลังตำรวจมีไม่เพียงพอ ก็จะประสานขอกำลังจากฝ่ายทหารมาร่วมด้วย อะไรไม่สำคัญเท่ากับว่า ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล ถือโอกาสชงลูกป้อน ศอฉ. และรัฐบาล ให้ชนิดเหน่งๆ หน้าประตูกันเลยทีเดียวว่า ขณะนี้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินยังมีความจำเป็น อ้างว่า พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ไม่ได้กระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน แต่สำหรับคนคิดไม่ดีต่อบ้านเมือง พ.ร.ก.ฉุกเฉินจะเป็นเครื่องมือช่วยดูแลความสงบเรียบร้อย... ซึ่งก็เข้าใจ เพราะ พล.ต.ท.สัณฐาน ไม่ได้มีหน้าที่ติดต่อกับต่างประเทศ จึงเป็นธรรมดาที่จะไม่รู้ว่า ประเทศอื่นๆ นั้นมองประเทศไทยที่ใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินด้วยสายตาอย่างไร รวมทั้งว่าธุรกิจท่องเที่ยวของไทยนั้นได้รับผลกระทบมากน้อยเพียงใด มุมมองของ พล.ต.ท.สัณฐาน ดูจะสอดรับกันพอดิบพอดีกับมุมมองของนายสุเทพ ที่ระบุว่า การพิจารณาตัดสินใจเรื่องการต่ออายุ พ.ร.ก. หรือยกเลิกการประกาศใช้มีหลายทางเลือก อย่างเช่นว่า อาจจะต่ออายุ 24 จังหวัดเลยก็ได้ ลดเหลือ 21 จังหวัดก็ได้ หรือแม้แต่จะเหลือแค่ 7 จังหวัดก็ได้เช่นกัน เรียกว่า ลดแรงกดดันจากสายตาของไทยและต่างชาติที่ไม่เห็นด้วยกับ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน แต่ก็ไม่มีการพูดถึงเรื่องที่จะยกเลิกทั้งหมด เพียงแค่ลดจำนวนจังหวัดลงเท่านั้นล่ะพอได้ ฉะนั้นก็คงต้องรอลุ้นการประชุมคณะรัฐมนตรี ในวันที่ 6 ก.ค. ที่จะถึงนี้ เพราะนายสุเทพจะชงเรื่องนี้เข้า ครม. ให้พิจารณาตัดสินใจว่า จะต่ออายุโดยควบคุมกี่จังหวัดดี ท่าที วัตถุประสงค์ของรัฐบาล ตลอดจนแนวคิดในการที่จะต้องหาทาง “สยบทางการเมือง” กับพรรคการเมือง กลุ่มคนทางการเมืองที่เกี่ยวข้องโยงใย ผูกพัน หรือศรัทธาในตัวของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ถือเป็นโจทย์ใหญ่ ที่ต้องตีให้แตกกระจุยให้ได้... ไม่เช่นนั้นภารกิจถือว่ายังไม่บรรลุ เพราะหากยกเลิกไปแล้วก็ไม่แน่ใจว่า จะควบคุมสถานการณ์ได้หรือไม่?? “หากมี พ.ร.ก.ฉุกเฉินก็กระทบกับการท่องเที่ยว เรื่องนี้มันแย้งกันกับเรื่องความมั่นคง เพราะต่างประเทศเขาไม่มั่นใจ ถ้า พ.ร.ก.ฉุกเฉินยังอยู่” นายบรรหาร กล่าว รวมทั้งเรื่องการตั้งคณะกรรมการที่จะมาสร้างความปรองดอง นายบรรหาร กล่าวอย่างน่าคิดว่า ซึ่งเหตุผลที่ว่า ทำไมจึงมองว่าปรองดองไม่ได้นั้น นายบรรหาร มองว่าเป็นเพราะ ถ้าหากความคิดเห็นต่างกัน ก็ปรองดองกันไม่ได้ คณะกรรมการที่ตั้งขึ้นจะสร้างความปรองดองได้หรือไม่ ก็ต้องกลับไปถามรัฐบาลว่า ตั้งขึ้นมาทำไม แล้วจะสร้างความปรองดองได้หรือไม่ “ต้องไปถามรัฐบาลเอง ถามผมไม่ได้ ถ้าความคิดเห็นแตกต่างกันก็ยากจะสร้างความปรองดอง ถ้ายอมๆ เขาหมด ใครว่าอย่างไรมาก็ยอมกันหมด ก็โอเคอย่างนั้นปรองดองได้” นายบรรหารระบุ นั่นคือ มุมมองของนายบรรหาร ที่เชื่อว่า จนถึงวันนี้ สถานการณ์ยังปรองดองยาก แต่น่าจะเป็นการทำให้สังคมเชื่อมั่นในระบบยุติธรรมว่าไม่มี 2 มาตรฐานแล้ว แต่ยังก่อให้เกิดการ “พูดต่อ” กันไม่รู้จบ และทำให้การปรองดองสมานฉันท์ที่แท้จริงเกิดขึ้นได้ยาก หากต้องการให้เกิดการปรองดอง นายบรรหารควรจะรู้ดีกว่าใครว่าควรผลักดันอย่างไร ให้ความรู้สึกกฎหมาย 2 มาตรฐานหมดไป ให้ความรู้สึกการมุ่งทำลายล้างกันทางการเมืองหมดไป ทั้งหมดนายบรรหารรู้ดีอยู่แก่ใจ... ว่าพรรคร่วมรัฐบาลเป็นต้นเหตุสำคัญต้นเหตุหนึ่งที่ทำให้ยังเกิดการขึงพืดเผชิญหน้ากันใช่หรือไม่ นายบรรหาร ซึ่งบอกเองว่า ชาตินี้ไม่รู้ว่าจะปรองดองได้หรือไม่...
เป็นเพราะท่าทีของรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี
และสุดท้ายก็น่าจะคง พ.ร.ก.ฉุกเฉินต่อไปอีกระยะหนึ่ง
ด้วยเหตุผลว่า เพื่อป้องกันผู้ไม่หวังดีก่อเหตุลักษณะเดียวกับที่คลังน้ำมัน กรมพลาธิการทหารบก
แถม พล.ต.ท.สัณฐาน ยืนยันชัดเจนว่า ขณะนี้มีผู้ไม่ต้องการให้บ้านเมืองสงบจริง
ด้วยเหตุนี้หรือไม่ ที่นายบรรหาร ศิลปอาชา ประธานที่ปรึกษาหัวหน้าพรรคชาติไทยพัฒนา และอดีตนายกรัฐมนตรี ออกมาพูดชัดเจนว่า ขณะนี้แม้ถือว่าเรียบร้อยดี แต่เชื่อว่า รัฐบาลคงไม่อยากเลิก พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินในขณะนี้
ซึ่งส่วนตัวคงตอบไม่ได้ว่าควรยกเลิกเมื่อใด ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ แต่หากมีการเลือกตั้งใหญ่ ก็ต้องถึงเวลาที่จะยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน
“ยากจังเลยเรื่องปรองดอง กรรมการที่ตั้งไว้ก็ต้องเหนื่อย ไม่รู้ว่าชาตินี้ จะปรองดองได้หรือเปล่า ชาตินี้คงปรองดองยาก”
ตรงนี้จึงเป็นคำถามที่ต้องพุ่งกลับเข้าหารัฐบาลนายอภิสิทธิ์ ว่า ยังมุ่งมั่นในการสร้างความปรองดองจริงหรือไม่... หากคิดจะปรองดอง สิ่งสำคัญที่สุดไม่น่าจะใช่อย่างที่นายบรรหาร คิด คือ ยอมๆ กันไป
และพิสูจน์ความจริงในเรื่องของผู้เสียชีวิตจากการสลายการชุมนุม โดยเฉพาะที่บริเวณวัดปทุมวนาราม ซึ่งรัฐบาล ศอฉ. สภาความมั่นคงฯ และหน่วยข่าวกรอง ควรจะต้องรู้ดีว่า กรณีพฤษภาอำมหิต ไม่เพียงก่อให้เกิดความเจ็บช้ำ ก่อให้เกิดรอยบาดหมาง
และเช่นกันคำถามก็คงต้องย้อนพุ่งใส่ นายบรรหาร ศิลปอาชา ด้วยเช่นกันว่า ในฐานะนักการเมืองผู้คร่ำหวอด ในฐานะอดีตนายกรัฐมนตรี และในฐานะนายใหญ่พรรคชาติไทยพัฒนา
ต้องการให้เกิดการปรองดองจริงๆ หรือไม่???
ไม่คิดที่จะ “ไถ่บาป” บ้างหรือ???