WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Saturday, July 3, 2010

มัดมือชก!! ‘ก่อแก้ว’สู้ยาก

ที่มา บางกอกทูเดย์



เลือกตั้งใต้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน
ลำพังหาเสียงเลือกตั้ง ภายใต้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ก็ได้เปรียบเสียเปรียบกันมากแล้ว

หากมาเจอการใช้มาตรการรัฐแจกฟรี ปูทางหาเสียงด้วย... จะไม่ให้ ปชป. ฝันหวานว่าชนะแน่นอนได้อย่างไร

แม้จะป็นเพียงการเลือกตั้งซ่อม แต่สนามเลือกตั้งซ่อม ส.ส. เขต 6 กทม. ถูกสังคมไทยจับตามองเป็นอย่างมาก เพราะไม่เพียงเป็นการลงชนกันระหว่าง 2 พรรคใหญ่อย่างพรรคประชาธิปัตย์ กับ พรรคเพื่อไทย

แต่ยังเป็นการวัดกระแสสังคม ตลอดจนยังเป็นการต่อสู้ทางการเมืองที่แหลมคมอีกด้วย
อะไรไม่สำคัญเท่ากับการเป็นระบอบประชาธิปไตยภายใต้กฎหมายเฉพาะกิจ ที่ถูกมองว่าเป็นอำนาจเผด็จการทางการเมือง... ประเด็นนี้แหละที่สะเทือนมากที่สุด

เนื่องจากการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตยทั่วโลก จะต้องมีการหาเสียง จะต้องมีประชาชนแห่แหนกันมาฟังนโยบาย แนวคิด และจุดยืน เพื่อที่จะได้นำไปตัดสินใจว่าจะเลือกใครดี

แต่ตอนนี้รัฐบาลประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ซึ่งห้ามการชุมนุมทางการเมือง จึงเป็นอะไรที่ลักลั่น และทำลายบรรยากาศประชาธิปไตยในสายตาของสังคมโลกอย่างมาก ซึ่งรัฐบาลเองแม้ว่าจะรู้ แต่ก็ไม่กล้าที่จะเลิกใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ไม่ว่าจะมีเสียงเรียกร้องมากมายเพียงใดก็ตาม

เพราะนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะ ผู้อำนวยการ ศอฉ. ก็ยอมรับว่า พ.ร.ก.ฉุกเฉินเป็นเหมือนเกราะชั้นดีที่ช่วยป้องกันในการทำหน้าที่ของ ศอฉ.
ดังนั้นเมื่อการเลือกตั้งซ่อมเขต 6 เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เช่นเดียวกับ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ที่ต้องคงไว้ รัฐบาลจึงถูกจับตามองเขม็งว่า จะใช้กลไกอำนาจรัฐเป็น “ตัวช่วย” ในการเอาชนะศึกเลือกตั้งในครั้งนี้หรือไม่???

ประเด็น “ไฟฟ้า-รถเมล์-รถไฟฟรี” จึงถูกตั้งข้อสังเกตุอย่างหนักจากสังคม ว่าเป็นการหาเสียงรอบนี้ ตลอดจนปูทางหาเสียงในรอบหน้าด้วยหรือไม่ เพราะเมื่อถูกค่อนขอดว่า 5 มาตรการ 6 เดือนนั้น จริงๆ แล้วไม่ใช่ผลงานการคิดของพรรคประชาธิปัตย์ แต่มาจากผลงาน 6 มาตรการ 6 เดือนของพรรคพลังประชาชน สมัยนายสมัคร สุนทรเวช เป็นนาขยกรัฐมนตรี

แล้วก็ใช้ต่อเนื่องเรื่อยมาจนถึงรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรี... ต่ออายุมาตรการมา 3 รอบแล้ว โดยไม่คิดจะทำอะไรใหม่
แต่พอจะมีการเลือกตั้งซ่อม และมีสัญญาณว่าการเลือกตั้งใหญ่นั้นหลีกเลี่ยงไม่ได้แล้ว ก็ปรากฏว่า นายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้มีการเร่งศึกษา ค่าไฟ-รถเมล์-รถไฟ ฟรีแบบถาวรกันเลยทีเดียว

ทำให้เสียงสะท้อนเกิดขึ้นทันทีว่า นี่คือการหาเสียงทางการเมืองในจังหวะของการเลือกตั้งซ่อมใช่หรือไม่??? คือการปูทางเพื่อเป็นผลงานในการใช้หาเสียงของพรรคประชาธิปัตย์ในอนาคตหรือเปล่า???
พร้อมๆกันกับเสียงคัดค้านของนักวิชาการระงมไปหมดว่า รัฐบาลควรจะนำงบประมาณที่มีอยู่จำกัด ไปพัฒนางานด้านขนส่งมวลชนในต่างจังหวัดให้ดีขึ้นจะเหมาะสมกว่า แถมเรื่องนี้ยังเป็นการบิดเบือนกลไกตลาด และเป็นภาระต่องบประมาณของหน่วยงานที่รับผิดชอบในอนาคตด้วย และที่ผ่านมาก็ยังไม่เคยเห็นว่ามีประเทศไหนทำแบบหาเสียงทางการเมืองเช่นนี้

ที่สำคัญแม้แต่ นายพิเชษฐ พันธุ์วิชากุล ส.ส.กระบี่ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ซึ่งเป็นคนในพรรคประชาธิปัตย์เองด้วยซ้ำ ยังอดเตือนไม่ได้ว่า จะเป็นภาระของรัฐบาลที่จะรับผิดชอบเพิ่มขึ้น เพราะถ้าให้ประชาชน ก็ต้องให้ตลอด จะมายกเลิกง่ายๆ ไม่ได้

และจะเป็นผลให้สัดส่วนของงบประจำเพิ่มมากขึ้นเฉียดๆ 80% ของงบประมาณทั้งปี
รวมทั้งรัฐบาลต้องรับผิดชอบกับภาระหนี้สินที่เพิ่มมากขึ้นด้วย
เช่นกันกับนายพิเชต สุนทรพิพิธ ส.ว.สรรหา ประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาร่างพ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2554 วุฒิสภา ที่ระบุอย่างชัดเจนว่า ไม่เห็นด้วย!!!
เพราะแม้จะอ้างว่าเป็นการบริการทางสังคมของรัฐวิสาหกิจ แต่จะเป็นภาระงบประมาณของรัฐ ในขณะที่การจัดเก็บรายได้ก็ยังมีปัญหา

แต่แน่นอนว่าสไตล์ของนายอภิสิทธิ์ ถ้าไม่แน่จริงก็คงไม่ได้ฉายา “ดื้อตาใส” ที่ออกโรงสวนกลับบรรดานักวิชาการที่วิพากษ์วิจารณ์แสดงความไม่เห็นด้วยกับต่ออายุมาตรการลดค่าครองชีพประชาชน โดยเฉพาะหากมีการใช้เป็นมาตราถาวร ว่าเรื่องนี้ไม่ได้ทำเป็นเรื่องการเมือง
ยืนยันว่าเป็นเรื่องสำหรับผู้ที่มีรายได้น้อยและด้อยโอกาส ซึ่งส่วนตัวแล้วเห็นว่าเป็นมาตการที่ควรทำ อ้างว่าแม้แต่ไอเอ็มเอฟก็เห็นด้วย

“ใครจะคิดหรือพูดอย่างไรก็ได้ แต่ในทางกลับกันถ้าเราทำเป็นระบบจะได้ไม่ต้องนำมาเป็นประเด็นเพื่อหาเสียงกันอีก ดังนั้นคนที่วิจารณ์น่าจะดูให้ดีและครบถ้วนทุกแง่มุม เพราะถ้าปล่อยให้นำเรื่องเหล่านี้ไปหาเสียงกัน ก็อยากจะดูเหมือนกันว่ามีกี่พรรคการเมืองที่บอกว่าจะเลิกมาตรการเหล่านี้”นายอภิสิทธิ์ระบุ
สะท้อนว่า ลึกๆนายอภิสิทธิ์เองก็รู้อยู่แก่ใจว่า ประเด็นเหล่านี้สามารถใช้หาเสียงทางการเมืองได้หรือไม่
จึงไม่แปลกที่นอกจากมาตรการค่าไฟ-รถเมล์-รถไฟ ฟรีแล้ว นายอภิสิทธิ์ ยังสนับสนุนมาตรการการตรึงราคาก๊าซแอลพีจีอีกด้วย โดยยืนยันว่าเป็นการแก้ปัญหาที่ถูกจุด อ้างว่าควรจะกำหนดราคาที่เหมาะสมเอง โดยไม่จำเป็นต้องไปอิงราคากับตลาดโลก

ฉะนั้นมาถึงวินาทีนี้ชัดเจนแล้วว่า ประชาธิปัตย์ไม่สนว่าจะถูกนักวิชาการวิพากษ์วิจารณ์อย่างไร แต่จะต้องกุมชัยชนะในการเลือกตั้งให้ได้
ก็ได้แต่สะกิดเตือนว่าอย่าประมาทนักก็แล้วกัน เพราะนางสดศรี สัตยธรรม กกต.ด้านกิจการพรรคการเมือง ก็เตือนแล้วว่า หากพบว่าประชาธิปัตย์ฮั้วกับพรรคการเมืองใหม่จริงๆ ก็มีสิทธิ์ที่จะถูกยุบพรรค
เพราะว่า เมื่อผู้สมัครพรรคการเมืองใดประกาศตัวว่าจะลงสมัครแล้วต่อมาประกาศถอนตัวภายหลังด้วยการไม่ลงสมัครและยังมีการพูดสนับสนุนว่าจะเทคะแนนให้อีกพรรคการเมืองหนึ่งด้วย
ถือเป็นเรื่องพิศดารจริงๆ