ที่มา บางกอกทูเดย์ เบี้ยเลี้ยง 2 มาตรฐาน เป็นเรื่องที่ทำให้สังคมไทยต้องหันมาพิจารณาอย่างตั้งสติกันมากขึ้น กับกรณีของการใช้งบประมาณของ ศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน หรือ ศอฉ. ว่ามีความเหมาะสมเพียงใด มีเรื่องของผลประโยชน์แอบแฝง หรือตกหล่นใดๆเกิดขึ้นหรือไม่ฯฯฯ เพราะการที่ พ.ต.ท.สมชาย เพศประเสริฐ ส.ส.นครราชสีมา พรรคเพื่อไทย ในฐานะประธานคณะ ไล่จี้สอบถามตัวแทนจากสำนักงบประมาณว่า ตั้งแต่มีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน และตั้งศอฉ.ขึ้นมามีการเบิกจ่ายงบประมาณเพื่อใช้ ในการบริหารจัดการไปแล้วทั้งหมดเท่าใด ที่สำคัญทำไมตัวเลขเบี้ยเลี้ยงของกำลังพลทหารและตำรวจที่ทำงานให้กับ ศอฉ. เปรียบเทียบกับผู้ปฎิบัติหน้าที่ในพื้นสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ถึงได้แตกต่างกันมาก กำลังพลของศอฉ.ได้รับเบี้ยเลี้ยงวัน 400 บาท ในขณะที่เจ้าหน้าที่ซึ่งปฏิบัติหน้าที่อยู่ในพื้นที่ภาคใต้ได้เพียงแค่วันละ 210 บาทเท่านั้น ซึ่งทางนายธรรมศักดิ์ สัมพันธ์สันติกุล ผอ.สำนักจัดทำงบประมาณด้านบริหาร นางดวงตา ตันโช แต่ก็ยอมรับว่า ประเมินคร่าวๆแล้วคาดว่าน่าจะมากกว่า 1,000 ล้านบาท ส่วนเรื่องเบี้ยเลี้ยงที่ ศอฉ.ได้เยอะนั้นเป็นข้อตกลงที่กองทัพบกและหน่วยงานความมั่นคงได้มาทำความตกลงไว้กับกระทรวงการคลังและเสนอมาให้สำนักงบประมาณ ให้จัดสรรงบประมาณตามที่ได้ตกลงกันเอาไว้ จึงไม่น่าแปลกใจ กับการที่ พ.ต.ท.สมชาย ระบุว่า การประชุมกมธ.ในวันที่ 8 ก.ค. จะเชิญผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงการคลังมาชี้แจงถึงความจำเป็นในการจัดสรรงบประมาณจำนวนมากให้กับศอฉ.ว่ามีความจำเป็นหรือไม่ เพราะเห็นว่าการบังคับใช้พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน ตอนนี้เป็นการทำให้สิ้นเปลืองภาษีของประชาชนโดยไม่จำเป็น โดยเฉพาะกับตัวเลขของการที่ต้องจ่ายเบี้ยเลี้ยงให้กับกำลังพลของศอฉ.กว่า 6 หมื่นนายในช่วงที่สถานการณ์คลี่คลายไปแล้ว ประเด็นที่สำคัญในมุมมองของ พ.ต.ท.สมชาย ก็คือ กระทรวงการคลังและรัฐบาลไม่ควรปล่อยให้เกิดความเหลื่อมล้ำในเรื่องเบี้ยเลี้ยงที่ลักลั่นกันมากมายขนาดนี้ เพราะจะกระทบต่อขวัญและกำลังใจของเจ้าหน้าที่ ผู้ปฎิบัติงานซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่ากำลังพลที่ปฎิบัติงานในพื้นที่สาม จังหวัดชายแดนภาคใต้มีความเสี่ยงมากกว่า ประเด็นที่ กมธ.หยิบขึ้นมา จึงเป็นสิ่งที่คนไทยทุกคนซึ่งเป็นผู้เสียภาษี ซึ่งเท่ากับเป็นผู้จ่ายเงินเบี้ยเลี้ยงให้กับ ศอฉ.โดยตรง จะต้องตั้งคำถามว่า จำเป็นอะไรหรือที่ เจ้าหน้าที่ ศอฉ. จะต้องได้เบี้ยงเลี้ยงสูงกว่าเจ้าหน้าที่ในภาคใต้เกือบเท่าตัว หรือร่วม 100% เลยทีเดียวเช่นที่เกิดขึ้น ดังนั้นกระทรวงการคลังและรัฐบาลไม่ควรปล่อยให้เกิดความเหลื่อมล้ำในเรื่องเบี้ยเลี้ยงอย่างที่เป็นอยู่ อย่างในมุมมองของบรรดานักวิชาการ ดร. ฐิตินันท์ พงษ์สุทธิรักษ์ อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ ก็ได้เคยมีการให้ความเห็นเอาไว้ก่อนแล้วว่า ประชาธิปไตยไทยจะมีความเป็นเผด็จการพันธุ์ใหม่มากขึ้น รู้สึก ศอฉ.มีพฤติกรรมคล้ายคณะปฏิวัติ เพราะ ศอฉ.จะเรียกใครไปสอบก็ได้ จะไปแช่แข็งบัญชีใครก็ได้ รวมทั้งมีอำนาจที่จะกักขังคนได้7วัน และสามารถขยายเวลฝากขังต่อไปได้ด้วย ซึ่ง ดร.ฐิตินันท์ ชี้ให้เห็นว่า กรณีอำนาจของศอฉ. เป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วง เพราะไม่มีใครตรวจสอบเลย “ผมได้ยินว่าศอฉ.ใช้เงินมือเปิบเลยตอนนี้ ใช้ไปเท่าไรแล้ว ได้ข่าวสมาชิกศอฉ.ได้สตางค์พิเศษนอกเหนือเงินเดือน เป็นรายวัน โฆษกศอฉ.ได้เงินพิเศษเป็นรายวันหรือไม่ ขอให้ตรวจสอบบอกมาว่าได้เท่าไร ไม่งั้นใครจะไปตรวจสอบศอฉ. บางครั้ง ตั้งคำถามว่าถ้าไม่มีกองทัพ ปัจจุบันรัฐบาลอภิสิทธิ์จะเป็นอย่างไร ถ้าไม่มีรัฐบาลนายกฯชื่ออภิสิทธิ์ กองทัพจะเป็นอย่างไร 2 คำถามนี้ทำให้เห็นว่าเขาเอื้อกัน พึ่งพาพึ่งพิงกันอย่างแน่นแฟ้นและด้วยดีพอสมควร” คือการตั้งข้อสังเกตุอย่างตรงไปตรงมาของ ดร.ฐิตินันท์ ดังนั้นวันนี้ กระทรวงการคลังและสำนักงบประมาณจะต้องเป็นหน่วยงานที่ต้องให้ความจริงกับสังคมไทย... ว่าเกิดอะไรขึ้นกันแน่ เพราะก่อนหน้านี้ก็เคยมีการตั้งข้อสังเกตุกันมาก่อนแล้วว่า จากช่วงที่มีการสลายการชุมนุมที่สี่แยกคอกวัว จนถึงการสลายการชุมนุมที่แยกราชประสงค์ มีการใช้งบประมาณไปแล้วถึง 5,000 ล้านบาท ที่สำคัญไม่ควรให้นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรีด้านความมั่นคง เป็นคนตอบ แถมยังอ้างด้วยว่าค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่ของศอฉ. เป็นเบี้ยเลี้ยงในการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจและทหาร ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ต่อเนื่องหลายเดือน ส่วนเรื่องที่มีการร้องเรียนว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจได้รับเบี้ยเลี้ยงน้อยกว่าทหาร อีกทั้งการเบิกจ่ายยังล่าช้ากว่านั้น นายสุเทพโยนกลองทันทีว่าถ้าเป็นเรื่องจริงแสดงว่าเป็นความบกพร่องของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) เพราะตั้งงบเบี้ยเลี้ยงให้เจ้าหน้าที่ตำรวจและทหารเท่ากัน ซึ่งต้องตรวจสอบต่อไป “เพราะผมไม่มีหน้าที่ไปรวบรวมตัวเลข เป็นเพียงผู้อนุมัติการเบิกจ่ายเท่านั้น”นายสุเทพกล่าว จริงอยู่ว่า ภายใต้อำนาจ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ที่เป็นเหมือนเกราะที่ทรงอานุภาพสำหรับ ศอฉ. และรัฐบาล การจะใช้จ่ายงบประมาณอย่างไรก็ย่อมเป็นสิ่งที่สามารถจะกระทำได้ โดยไม่มีใครกล้าขัดขวาง แต่อย่างน้อยก็ควรจะแคร์ความรู้สึกของประชาชนผู้เสียภาษีบ้างว่าจะรู้สึกอย่างไร ที่สำคัญ ความโปร่งใส เป็นกระบวนการที่ควรเกิดขึ้นในบ้านเมืองขณะนี้มิใช่หรือ หากต้องการให้เกิดการสมานฉันท์ปรองดอง ก็ถ้าแค่ค่าเบี้ยเลี้ยงยัง 2 มาตรฐาน... อย่างอื่นๆคงไม่ต้องสงสัยกันแล้ว
อ้าปากค้างไปตามๆกัน ศอฉ. ฟาดงบประมาณไปแล้วเป็นพันล้านบาท แถมเจ้าหน้าที่ ศอฉ. ได้เบี้ยเลี้ยงมากกว่าเจ้าหน้าที่ซึ่งเสี่ยงตายอยู่ใน 3 จังหวัดภาคใต้ร่วมเท่าตัว!!!
กรรมาธิการการทหาร สภาผู้แทนราษฎร ออกมาจี้เรื่องหลักเกณฑ์การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2553 ในส่วนของงบกลาง โดยที่ กมธ.ให้ความสนใจในประเด็นการเบิกจ่ายงบประมาณของ ศอฉ.
ผอ.ส่วนสำนักนโยบายและงบกลาง น.ส.กัลยา ฟองสมุทร ผอ.สำนักจัดทำงบประมาณด้านความมั่นคง และ นายสารสิน ศิริถาพร ผอ.ส่วนงบประมาณกลาโหม ชี้แจงสอดคล้องกันว่ายังไม่ได้สรุปตัวเลขงบประมาณของ ศอฉ.อย่างเป็นทางการ เพราะขณะนี้ศอฉ.ยังคงปฎิบัติหน้าที่อยู่
เพราะเรื่องแบบนี้คงยากที่จะให้มีใครเห็นด้วยแน่
ทั้งหมดเป็นเรื่องจริงหรือไม่??? รัฐบาลไม่ควรที่จะปล่อยให้ประชาชนสงสัยแล้วพุดกันขยายวงออกไป
แต่รัฐบาลควรจะต้องเปิดเผยให้โปร่งใส
เพราะในฐานะผู้อำนวยการ ศอฉ. ซึ่งถือเป็นผู้มีส่วนได้เสียโดยตรงด้วยผู้หนึ่ง นายสุเทพก็แบะท่าแล้วว่าไม่แน่ใจว่าตัวเลขที่ กมธ.ตั้งข้อสังเกตุนั้นถูกต้องหรือไม่