WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Saturday, July 3, 2010

บทเรียนไอร์แลนด์เหนือ...จากมิคสัญญีสู่สันติภาพ

ที่มา มติชน



ท่ามกลางบรรยากาศการคลำทางสู่ความปรองดอง สมานฉันท์ และสันติภาพในสังคมไทย ทั้งจากปมปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองในส่วนกลาง และปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่แทบมองไม่เห็นแสงสว่าง ยังคงมีตัวอย่างความขัดแย้งขนาดใหญ่ที่จบลงได้ด้วยกระบวนการเจรจาให้ศึกษาและถอดบทเรียน

เมื่อกลางเดือน มิ.ย.ที่ผ่านมา ในการเรียนการสอนหลักสูตรเสริมสร้างสังคมสันติสุข หรือ "4 ส." รุ่นที่ 2 สถาบันพระปกเกล้าได้จัดเวทีพูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับสมาชิกสภาไอร์แลนด์เหนือ และอดีตสมาชิกขบวนการไอร์อาร์เอ (Irish Republican Army) ซึ่งเคยมีปัญหาขัดแย้งถึงขั้นเข่นฆ่ากันมาก่อน แต่ปัจจุบันได้หันหน้ามาร่วมมือกันสร้าง "กระบวนการสันติภาพ" อันนำมาสู่การยุติความรุนแรงยืดเยื้อในไอร์แลนด์เหนือได้ในที่สุด

ไอร์แลนด์เหนือตั้งอยู่ทางตอนเหนือของเกาะไอร์แลนด์ และอยู่ทางฝั่งตะวันตกของอังกฤษ ปัญหาบนเกาะเล็กๆ แห่งนี้ปะทุขึ้นมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 16 เมื่อชาวอังกฤษและสก็อตแลนด์ซึ่งนับถือศาสนาคริสต์นิกายโปรแตสแตนท์จำนวนมากได้อพยพเข้าไปตั้งถิ่นฐานอยู่ทางตอนเหนือของเกาะไอร์แลนด์ ทำให้ประชากรดั้งเดิมซึ่งเป็นชาวไอริชนับถือศาสนาคริสต์นิกายคาทอลิกรู้สึกว่าถูกขโมยดินแดนไป และเริ่มเคลื่อนไหวต่อต้านเพื่อเรียกร้องอิสระในการปกครองตนเอง

กระทั่งปี ค.ศ.1921 อังกฤษและไอร์แลนด์ได้ลงนามในสนธิสัญญา Government of Ireland Act โดยอังกฤษยินยอมให้ 26 แคว้นบนเกาะไอร์แลนด์แยกตัวเป็นรัฐอิสระไอร์แลนด์ ขณะที่อีก 6 แคว้นทางตอนเหนือของเกาะยังคงเป็นส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักรต่อไป

การแบ่งประเทศครั้งนั้นทำให้ไอร์แลนด์เหนือซึ่งมีประชากรโปรแตสแตนท์ประมาณร้อยละ 60 และประชากรคาทอลิกราวร้อยละ 40 กลายเป็นพื้นที่ขัดแย้งรุนแรงระหว่างกลุ่ม Unionist ซึ่งเป็นชาวโปรแตสแตนท์ที่ต้องการเป็นส่วนหนึ่งของอังกฤษ กับกลุ่ม Nationalist ซึ่งส่วนใหญ่เป็นคาทอลิก และต้องการแยกตัวเป็นอิสระจากอังกฤษเพื่อไปผนวกกับสาธารณรัฐไอร์แลนด์

กลุ่ม Unionist เป็นเสียงส่วนใหญ่ในไอร์แลนด์เหนือ กุมอำนาจทั้งการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมมานานเกือบ 50 ปี กระทั่งปี ค.ศ.1968 ได้เกิดการเดินขบวนประท้วงเรียกร้องความเท่าเทียมทางสังคม และยุติการกดขี่ชาวคาทอลิก

การประท้วงขยายตัวเป็นความรุนแรงถึงขั้นปะทะกันระหว่างกองกำลังประชาชนทั้งสองฝ่าย หรือที่รู้จักกันในชื่อ The Troubles กินเวลานานถึง 30 ปี ก่อให้เกิดความสูญเสียกว่า 3,600 ชีวิต บาดเจ็บทั้งร่างกายและจิตใจหลายหมื่นคน ทั้งยังมีผู้ถูกจับกุม 36,000 คน

แต่แล้วสิ่งที่ไม่น่าจะเกิดขึ้นได้ก็เริ่มก่อตัวขึ้น เมื่อมีกระบวนการเจรจาสันติภาพระหว่างไออาร์เอกับรัฐบาลอังกฤษ รวมทั้งกลุ่มที่ไม่มีอำนาจรัฐ (Non State Holder) ในปี ค.ศ.1994 นำไปสู่สัญญาณที่ดีของการเริ่มหยุดยิงในบางช่วง

กระทั่งปี ค.ศ.1998 ทั้งสองฝ่ายสามารถบรรลุข้อตกลงสันติภาพจากความพยายามแก้ไขปัญหาทางการเมืองด้วยสันติวิธี โดยให้อังกฤษถ่ายโอนอำนาจการปกครองให้แก่คณะผู้บริหารและสภาของไอร์แลนด์เหนือ ในลักษณะของการแบ่งสรรอำนาจระหว่างพรรคการเมืองหลักของทั้งสองฝ่าย

ผลจากข้อตกลงสันติภาพ ทำให้วันนี้คนที่เคยอยู่คนละขั้วคนละฝ่ายกัน และเคยไล่เข่นฆ่ากัน กลับมานั่งอยู่บนเวทีเดียวกันได้!

"ฟัง"เพื่อสันติภาพ

วิทยากรจากไอร์แลนด์เหนือที่มาแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ประกอบด้วย Alex Maskey สมาชิกสภาไอร์แลนด์เหนือจากเขตเบลฟาสต์ใต้ สังกัดพรรค Sinn Fein มีอุดมการณ์แยกดินแดนจากอังกฤษเพื่อตั้งรัฐอิสระ, Jimmy Spratt สมาชิกสภาไอร์แลนด์เหนือจากเขตเบลฟาสต์ใต้ สังกัดพรรค Democratic Unionist มีจุดยืนต้องการอยู่กับอังกฤษต่อไป, Michael Culbert อดีตสมาชิกขบวนการไออาร์เอ และนักโทษการเมือง ซึ่งวันนี้เป็นผู้อำนวยการ Coiste องค์กรที่ดูแลนักโทษการเมืองของไออาร์เอ และ Ian White ผู้อำนวยการศูนย์ Glencree ซึ่งเป็นเอ็นจีโอไอร์แลนด์เหนือ ทำหน้าที่สร้างพื้นที่ปลอดภัยให้ทุกฝ่ายสามารถพูดคุยกันได้

ความน่าทึ่งก็คือ คนเหล่านี้มานั่งบนเวทีเดียวกัน และพูดกันเรื่องสันติภาพ!

Ian White ถอดประสบการณ์ให้ฟังว่า ปัจจัยสำคัญของกระบวนการสันติภาพคือทุกคนต้องมีส่วนร่วม เพราะทุกฝ่ายล้วนมีคุณูปการต่อกระบวนการสันติภาพ แต่การสร้างกระบวนการสันติภาพนั้น เขาใช้คำว่า "Easy to say but difficult to do" หรือ “พูดง่ายแต่ทำยาก” เพราะมักจะมีคำถามว่าไปคุยกับคนที่ฆ่าเราได้อย่างไร

"ความยากคือการดึงคนที่ไม่ใช่เพื่อนเข้าสู่กระบวนการสันติภาพ" เขาบอก และว่า การส่งกำลังทหารเข้าไปแก้ปัญหาความขัดแย้งไม่ใช่คำตอบอย่างแน่นอน เพราะเป็นเรื่องที่พิสูจน์แล้วจากหลายๆ พื้นที่ ยิ่งไปกว่านั้น รากเหง้าของปัญหาที่ไอร์แลนด์เหนือคือความไม่เท่าเทียม ความพยายามปลูกฝังให้ยอมรับอัตลักษณ์ของอีกฝ่าย ฉะนั้นทางแก้จึงไม่ใช่อาวุธปืน

Alex Maskey เสริมว่า เคล็ดลับความสำเร็จของกระบวนการสันติภาพ คือประชาชนต้องรู้ว่ากำลังเจรจาเรื่องอะไร มีความเข้าใจ และต้องเป็นรูปธรรม ผลของกระบวนการต้องทำให้ชีวิตของประชาชนทุกฝ่ายดีขึ้น

ขณะที่ Jimmy Spratt อดีตตำรวจ ให้ทัศนะว่า กระบวนการสันติภาพใช้เวลายาวนาน ฉะนั้นแต่ละฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นพรรคการเมืองหรือประชาชนทั่วไปต้องแสดงให้เห็นว่าต้องการสันติภาพจริงๆ ก่อน การจะแสวงหาทางออกต้องเปลี่ยนวิธีคิด ต้องรู้จักรับฟังความเห็นของคนอื่นที่ไม่เหมือนกับเรา ต้องฟังว่าคนอื่นมีปัญหาอะไรบ้าง จะได้ช่วยกันแก้ แม้ปัญหาที่เจอจะไม่เหมือนกับเราก็ตาม

"การแก้ปัญหาไม่จำเป็นต้องใช้อาวุธ แต่ใช้จิตใจ การดึงทุกฝ่ายมานั่งด้วยกันเป็นสิ่งสำคัญ เพราะจะทำให้เกิดการถ่วงดุลและได้รับการยอมรับในที่สุด"

ในฐานะอดีตตำรวจ เขาบอกว่า "จุดเปลี่ยน" ในทัศนะของเขาเอง คือการที่ได้ไปงานศพแล้วเห็นน้ำตาของผู้สูญเสีย ไม่ว่าจะฝ่ายไหนทุกคนก็ร้องไห้เหมือนกัน ความสูญเสียร่วมกันทำให้ต้องเข้าสู่กระบวนการสันติภาพ ขณะที่กฎหมายควบคุมสถานการณ์ฉุกเฉินแก้ไขได้ชั่วคราว แต่ไม่ยั่งยืน

Michael Culbert อดีตสมาชิกไออาร์เอ ซึ่งเคยติดคุกนานถึง 16 ปี บอกว่า ในอดีตรัฐบาลอังกฤษไม่เคยรู้เลยว่าอะไรทำให้ ไออาร์เอ ต้องต่อสู้และต้องการประกาศเอกราชจากอังกฤษ หนำซ้ำอังกฤษยังแก้ปัญหาด้วยการสนับสนุนให้คนไอริชบางกลุ่มมีอำนาจปกครอง ประชาชนส่วนที่เหลือจึงต้องต่อสู้

"อังกฤษมองไม่ออกว่าอะไรเป็นปัญหาหลัก อะไรเป็นปัญหารอง อังกฤษมองแบบผู้ปกครอง สร้างโรงเรียนให้ สร้างบ้านจัดสรรให้ แต่ไม่รู้ว่าอะไรที่ประชาชนต้องการอย่างแท้จริง เมื่อคนโดนกดขี่ ก็ต้องหยิบอาวุธขึ้นต่อสู้ เป็นความคิดทั่วๆ ไปที่เกิดขึ้นได้ในทุกๆ ประเทศ ฉะนั้นการใช้กำลังทหารตำรวจเข้าแก้ปัญหา จะทำให้ปัญหายิ่งหนักและบานปลาย”

อดีตสมาชิกไออาร์เอ เสนอว่า แนวทางแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืนคือต้องสร้างเงื่อนไขที่เอื้อต่อการเจรจา และเอื้อต่อกระบวนการสร้างสันติภาพด้วย สิ่งสำคัญคือทุกฝ่ายต้องฟังกันและกัน...

หลายประโยคจากวิทยากรที่สะท้อนปัญหาความขัดแย้ง บางมุมก็ไม่ต่างอะไรกับที่ประเทศไทยกำลังเผชิญ ไม่ว่าจะในบริบทของม็อบเสื้อแดง หรือสามจังหวัดภาคใต้ก็ตาม แต่ความต่างก็คือประเทศอื่นเขาเริ่มสร้างกระบวนการสันติภาพกันแล้ว หลายชาตินับไปถึงสิบแล้วด้วยซ้ำ...

เมื่อไหร่ไทยจะเริ่มนับหนึ่ง?!?

( หมายเหตุ รายงานชิ้นนี้ ผลิตโดย ทีมข่าวอิศรา โต๊ะข่าวภาคใต้ สถาบันอิศรา )