WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Thursday, February 3, 2011

พยานทหารนิรนามปากที่ 22 กล่าวหารัฐบาล

ที่มา thaifreenews

โดย bozo

Read more from นปช, ประเทศไทย, สิทธิมนุษยชน



โดย หนังสือพิมพ์สปีเกิ้ล
http://www.spiegel.de/international/world/0,1518,742618,00.html


ภาพถ่ายของเหตุการณ์นองเลือดเดือนพฤษภาคมปี 2553
ที่เกิดขึ้นในกรุงเทพมหานครได้ถูกเผยแพร่ไปทั่งโลก
แต่เรื่องราวของการต่อสู้นท้องถนนยังคงเป็นปริศนาจนถึงทุกวันนี้
ทนายชาวแคนาดาผู้ซึ่งพยายามดำเนินคดีกับนายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
ได้แบ่งปันหลักฐานที่เขารวบรวมกับสปีเกิ้ล

ธงแดงของฝ่ายตรงข้ามโบกสบัดอีกครั้ง
เมื่อผู้ชุมนุมราว 40,000 คนรวมตัวกันในใจกลางเมืองกรุงเทพมหานคร
พวกเขาโบกภาพอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตรและสวมเสื้อสีแดง
ซึ่งเป็นกลายชื่อของการเคลื่อนไหวพวกเขา

ผู้ชุมนุมต่างรู้สึกโกรธแค้น พวกเขาร้องเพลงและโบกธงขับไล่ “อำมาตย์”
กลุ่มผู้นำซึ่งรวมถึงชนชั้นสูง ทหาร และรัฐบาล
ซึ่งเป็นกลุ่มบุคคลที่ฝ่ายตรงข้ามเชื่อว่าเป็นกลุ่มที่ “ทำลายเสรีภาพ” ของประเทศ
พวกเขาเรียกร้องให้อธิบายถึงเหตุการณ์นองเลือดที่เกิดขึ้น
ช่วงหลังการประท้วงรัฐบาลเมื่อเกือบปีก่อน

“รัฐบาลพูดถึงเรื่องการสมานฉันท์ปรองดอง
แต่สำหรับพวกเราแล้วเหตุการณ์ดังกล่าวยังคงเป็นเรื่องที่สุดจะทน ”
วรชัย เหมะ หนึ่งในผู้นำคนเสื้อแดงกล่าว
“ผู้นำส่วนใหญ่ของเรายังอยู่ในคุก
และรัฐบาลไม่ดำเนินการสอบสวนถึงอาชญากรรมที่กองทัพกระทำเลย”

ผู้ชุมนุมได้รวมตัวกันที่แยกราชประสงค์สองครั้ง
ในเดือนมกราคม แยกราชประสงค์เป็นที่ที่ผู้ชุมนุมเลือกให้เป็นสถานที่สัญลักษณ์
ซึ่งเป็นจุดที่ฝ่ายตรงข้ามทางการเมืองหลายสิบรายเสียชีวิตจากการสาดกระสุนของทหาร
และยังใกล้กับห้องเซ็นทรัลเวิร์ล
ซึ่งเป็นแหล่งช้อปปิ้งสิ้นค้าต่างๆและเครื่องใช้ไฟฟ้าราคาแพงถูกเผาวอดวาย

ความรุนแรงครั้งล่าสุดตั้งแต่ยุค 70

เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในปี 2553 ซึ่งเป็นเหตุการณ์
ที่ฝ่ายตรงข้ามรัฐบาลยึดพื้นที่ส่วนใหญ่ใจกลางเมืองมากกว่าสองเดือน
แสดงให้เห็นถึงการปะทุของความรุนแรงทางการเมืองตั้งแต่ยุค 70
ที่รัฐบาลบดขยี้การชุมนุมประท้วงของนักศึกษา

รูปถ่ายที่สร้างความสนใจให้ชาวโลกเหตุการณ์ปี 2553 อย่างมากคือ
ภาพถ่ายนอกพื้นที่สงคราม
–พลซุ่มยิงพรางตัว และฝ่ายตรงข้ามที่ถูกสังหารเพราะถูกยิงศรีษะ
ผู้ชุมนุมที่ไม่อาจป้องกันตัวเองได้รู้สึกโกรธแค้นทันที
ในขณะที่อีกหลายคนเสียชีวิตต่อหน้ากล้อง

ประชาชนราว 1,900 ได้รับบาดเจ็บ ในระหว่างเหตุการณ์ความไม่สงบ
ในเดือนเมษายนและพฤษภาคม 2553 และราว 90 รายเสียชีวิต
ซึ่งเป็นการต่อสู้ที่ไม่สมน้ำสมเนื้อ
–เพราะมีทหารเสียชีวิต 9นาย
แต่มีพลเรือนกว่า 80 รายเสียชีวิต รวมถึงพยาบาล
และนักข่าวต่างชาติสองราย

นายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะยังคงดำรงตำแหน่งผู้นำรัฐบาล
แต่ได้ย้ายที่พักอาศัยไปยังกรมทหารราบที่ 11 ในกรุงเทพมหานคร
เพื่อเป็นการป้องกันไว้ก่อน
เขาได้รับการสนับสนุนโดยทหารที่ทำรัฐประหารขับไล่ทักษิณ
ซึ่งนายกรัฐมนตรีก่อนหน้านายอภิสิทธิ์ออกจากตำแหน่ง
และต้องหนีไปอยู่ต่างประเทศ
นอกจากนี้ยังมีหลายคนเชื่อว่า
นายอภิสิทธิ์ได้รับการสนับสนุนจากกษัตริย์


การสอบสวนไม่ค่อยมีความคืบหน้า

ไม่น่าแปลกใจที่
การสอบสวนเกี่ยวกับเหตุการณ์การชุมนุมประท้วงของคนเสื้อแดงไม่มีความคืบหน้า
“กองทัพและตำรวจแทบจะไม่ให้ความร่วมมือกับเรา” สมชาย หอมลออ
หนึ่งในคณะกรรมการค้นหาความจริงและปรองดองสมานฉันท์ที่ตั้งขึ้น
เมื่อปีที่แล้วหลังจากเกิดเหตุการณ์ความรุนแรง
กำหนดการเผยแพร่รายงานสรุปถูกเลื่อนออกไปอย่างไม่มีกำหนด
มันเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ที่จะเปิดเผยความจริง
โดยไม่ที่ไม่มีการตั้งคำถามกับทหารที่เกี่ยวข้อง สมชายกล่าว

แต่สถานการณ์อาจเปลี่ยนไป
เมื่อทนายชาวแคนาดา นายโรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัมได้รวบรวมหลักฐาน
ซึ่งเขานำไปแสดงต่อศาลอาญาระหว่างประเทศในอาทิตย์นี้
และสปีเกิ้ลมีโอกาสได้อ่านแล้ว

เอกสารนี้ไม่เพียงแต่กล่าวหากองทัพไทย
แต่ยังกล่าวหานายกรัฐมนตรีอีกด้วย
หากข้อกล่าวหาดังกล่าวมีมูล
รัฐบาลอภิสิทธิ์มีหน้าที่ที่จะต้องอธิบายเรื่องราวคอคาดบาดตายหลายเรื่อง
หลักฐานหลักของนายอัมสเตอร์ดัมคือ
คำให้การภายใต้คำสาบานของนายทหารตำแหน่งสูงในกองทัพ
ซึ่งในเอกสารของทนายแคนาดาระบุว่าเป็นคำให้การของ “พยานนิรนามปากที่ 22”

คำให้การเหล่านี้ระบุว่า
ทหารรู้ว่าหลังการทำรัฐประหารปี 2549
–ซึ่งเป็นการทำรัฐประหารครั้งที่ 18 ตั้งแต่ปี 2475
—จะมีการชุมนุมต่อต้านครั้งใหญ่จากกลุ่มคนที่สนับสนุนทักษิณจะเกิดขึ้นไม่เร็วก็ช้า
ผู้นำทหารเริ่มวางแผนตั้งแต่เนิ่นๆที่จะใช้ความรุนแรงทำลายการชุมนุม
และเป็นการกระทำที่ “รัฐบาลรับรู้และให้อนุญาติ” พยานเล่าต่อว่า
พวกเขาได้จำลองถนนในกรุงเทพ “ขนาดเท่าจริง” ภายในกรมทหารราบที่ 11
เพื่อเข้ารับฝึกฝนจากพลแม่นปืนติดอาวุธ

การตอบโต้โดยการสังหารและการโฆษณาประชาสัมพันธ์

หลังจากการชุมนุมประท้วงในปี 2552 พยานอ้างว่า
อดีตนายทหารระดับสูง พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ได้สั่งการเป็นการส่วนตัวให้คนกลุ่มนี้
“ สังหารแกนนำคนเสื้อแดงบางคน” เพื่อตอบโต้การประท้วงหน้าบ้านของเขา
ผู้ชุมนุมอย่างน้อย 6รายถูกสังหาร และพวกเขากล่าวว่ามีผู้ได้รับบาดเจ็บกว่า 100 คน
เมื่อไม่มีสื่อต่างชาติให้ความสนใจกับการสังหารนี้
ผู้นำทหารไม่รู้สึกผิดต่อการกระทำของตน พยานกล่าว

ในระหว่างนั้น พวกเขายังใช้ยุทธศาสตร์ทางการทหาร
เพื่อสร้าง “ภาพลักษณ์ที่ผิดๆ” ของคนเสื้อแดงต่อสาธารณชนว่า
“เป็นกลุ่มหัวรุนแรง” อันตรายและเป็นภัยต่อสถาบันกษัตริย์
และส่ง “กลุ่มผู้ยั่วยุ” ออกไป
“สร้างความหวาดกลัวแก่ประชาชนและโทษว่าเป็นฝีมือของคนเสื้อแดง”
โดยเริ่มตั้งแต่ต้นเดือนกุมภาพันธ์ 2553
กลุ่มเหล่านี้จะวางระเบิดในหลายพื้นที่
–และโทษว่าเป็นความผิดของคนเสื้อแดง

ความขัดแย้งระหว่างรัฐบาลและคนเสื้อแดงไต่ขึ้นสู่จุดสูงสุด
ในวันที่ 10 เมษายน 2553 คนเสื้อแดงยึดพื้นที่ราชประสงค์หนึ่งอาทิตย์ก่อนหน้านั้น
และทำให้ศูนย์กลางค้าและโรงแรมบางแห่งในใจกลางกรุงเทพมหานครต้องปิดตัวลง
เมื่อมีการประกาศใช้พรก.ฉุกเฉินได้ราวสามวัน
ทหารได้จัดจุดของพลซุ่มยิงและอาวุธปืนสงครามในจุดสำคัญ
เพื่อไม่ให้การชุมนุมขยายบริเวณ

สิ่งที่ยังไม่รู้คือ รัฐบาลมีบทบาทใดในการเตรียมการกำจัดผู้ชุมนุม
หรือนายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์รู้เรื่องนี้มากน้อยแค่ไหน

หากพยานนายอัมสเตอร์ดัมน่าเชื่อถือ
เขากล่าว่านายกรัฐมนตรีมีส่วนรู้เห็นเกือบทั้งหมด
“นายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์อยู่ในที่ประชุมกับผู้นำรัฐบาล ผู้นำทหาร และศอฉ.
(ศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน) เกี่ยวกับการดำเนินการต่อคนเสื้อแดง ”
พยานยืนกรานว่า “เขาอนุมัติถูกคำสั่งแก่กองทัพ”

การสังหารอย่างไม่เจาะจง

ในวันที่ 10 เมษานย ผู้ชุมนุมหลายพันคนได้รวมกลุ่มกัน
ชุมนุมบริเวณที่ทำการรัฐบาล ตามคำให้การของพยานนิรนามปากที่ 22 ระบุว่า
พลซุ่มยิงยิงใส่ประชาชนแถวแยกคอกวัวเวลาประมาณ 17.00 น.
ซึ่งเป็นการกระทำที่รัฐบาลระบุว่าเป็นการ “ป้องกันตัว”
แต่พยานทหารอ้างว่าเป็นการสร้างสถานการณ์ยั่วยุให้ประชาชนทำร้ายทหาร

หนึ่งชั่วโมงหลังจากนั้น
พลซุ่มยิงบนดาดฟ้าโรงเรียนสตรีวิทยาได้ยิงคนเสื้อแดง
และทหารจากกรมทหารที่ 2 ยิงใส่ฝูงชนใกล้อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย
กระสุนปืนได้คร่าชีวิตของช่างภาพชาวญี่ปุ่น ฮิโร มูราโมโต

พยานนิรนามปากที่ 22 กล่าวว่า
ผู้ชุมนุมแทบจะไม่ตอบโต้กับทหารเลยในตอนนั้น
“แต่อย่างไรก็ตามประชาชนไม่ได้วางเฉยต่อภัยอันตราย”
พยานปากที่ 22 ระบุว่า
“ประชาชนเพียงแค่จุดปะทัดและโยนขวดน้ำพลาสติกใส่ทหาร”

“ราว 19:15 น. เกิดเหตุระเบิดสองลูกด้านหลังที่ตั้งของกรมทหารราบที่ 2”
พยานกล่าวต่อว่า มีทหารหลายนายเสียชีวิตในการโจมตีนั้น
พยานของนายอัมสเตอร์ดัมจึงไม่รู้ว่าทหารถูกสังหารโดยคนเสื้อแดง
หรือกลุ่มผู้ยั่วยุจากกองทัพ การโจมตีนำไปสู่การนองเลือด
เพราะกรมทหารราบที่ 2 ยิงรัวแบบไม่เลือก
ลงท้ายด้วยการเสียชีวิตของประชาชน 25ราย และอีก 800 รายได้รับบาดจ็บ

นักข่าวตกเป็นเป้าสังหาร

เหตุการณ์ดังกล่าวทำให้ภารกิจของทหารยังไม่ประสบความสำเร็จ
รูปภาพความโหดร้ายของทหารทำให้ผู้นำทหารรู้สึกกระวนกระวาย
พยานปากที่ 22 กล่าวว่า มีคำสั่งให้ทำทุกอย่าง
เพื่อไม่ให้มีการเผยแพร่ภาพและวิดีโอของเหตุการณ์
ซึ่งทำให้กรมทหารราบที่ 2 ต้อง “ตั้งเป้าทำร้ายนักข่าวที่เข้ามาในบริเวณดังกล่าว”
นอกจากนี้พยานยังระบุว่า
กองทัพได้รับคำสั่งให้ “ยิงทุกคนที่พยายามเคลื่อนย้ายศพ”

พวกเขา (พยาน) กล่าวว่าปฏิบัติการที่คล้ายกันนี้สำเร็จเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม
ซึ่งเป็นวันที่แยกราชประสงค์ถูกกวาดล้าง
รถถังได้พังเขาไปในรั้วที่ลุกโชนด้วยเปลวไฟของฝ่ายตรงข้ามในตอนเช้า
พลซุ่มยิงยิงลงมาจากดาดฟ้า
และทหารเข้าไปประจำการบนรางรถไฟฟ้า ไล่ให้ลุ่มคนเสื้อแดงเข้าไปอยู่ในลานวัด

พยานของทนายอัมสเตอร์ดัมระบุว่า
ทหารได้รับคำสั่งให้ยิงผู้ต้องสงสัยที่ถืออาวุธ
ซึ่งไม่ใช่อะไรนอกจากหนังสติ๊ก และให้สังหารแกนนำเสื้อแดงด้วย

มีประชาชนอย่างน้อย 14 รายเสียชีวิตในวันนั้น รวมถึงพยาบาลสองราย
และช่างภาพนักข่าวนายฟาบิโอ โปเลงกี ผู้ซึ่งส่งภาพให้สปีเกิ้ลเป็นประจำ

พยานปากที่ 22 ได้ระบุถึงข้อกล่าวหาที่ร้ายร้าง
โดยกล่าวว่าราว 17:45 น. หลังจากที่ทหารบุกเข้าไปในรั้วกั้นของคนเสื้อแดงรั้วสุดท้าย
และแกนนำเสื้อแดงได้มอบตัวกับตำรวจแล้ว
มีกลุ่มบุคคลร่วมกับทหารได้บุกเข้าไปในห้างเซ็นทรัลเวิร์ลและจุดไฟเผาห้าง
เพื่อเป็นหลักฐานแสดงถึงความโกรธแค้นของคนเสื้อแดง

อัมสเตอร์ดัมได้ว่าจ้างผู้เชียวชาญทางการทหาร โจ วิทตี้
ซึ่งเป็นทหารหน่วยรบพิเศษ
เพื่อเป็นทหารผู้เชี่ยวชาญในคดีนี้ หลังจากศึกษาปากคำให้การของพยาน
และวิดีโอเหตุการณ์ วิทตี้สรุปว่า
“กองทัพตั้งเป้าสังหารประชาชนที่ไม่มีอาวุธครั้งแล้วครั้งเล่า
ในช่วงวันที่ 10 เมษายนและ 19 พฤษภาคม 2553
ซึ่งไม่ใช่การใช้กำลังร้ายแรงตามหลักมาตราฐานของกฎการใช้กำลัง
แต่เป็นการใช้กำลังที่ไม่มีเหตุร้ายประชิดตัว อย่างไม่ชอยธรรม จงใจ
และเป็นการกระทำที่เป็นอาชญากรรม”

http://robertamsterdam.com/thai/?p=688