WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Wednesday, February 2, 2011

จดหมายจากเบิร์ดถึงสภาสูงอังกฤษ: “อภิสิทธิ์คือสิ่งที่น่าอับอายของประเทศและสถาบันของท่าน”

ที่มา ประชาไท

คำแถลงต่อสภาสูงของอังกฤษของนายสันติพงษ์ อินจันทร์ หรือเบิร์ด ผู้ได้รับบาดเจ็บสูญเสียดวงตาข้างขวาจากการสลายการชุมนุมเมื่อวันที่ 10เม.ย. 2553 ซึ่งได้รับเชิญจากสภาสูงของอังกฤษไปให้ข้อเท็จจริง แต่ไม่สามารถไปได้เนื่องจากวีซ่าไม่ผ่าน

แม้ว่า นายสันติพงษ์ อินจันทร์จะได้รับเชิญจากสภาสูงของอังกฤษให้ไปชี้แจงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการสลายการชุมนุมคนเสื้อแดงในเดือนเม.ย.-พ.ค. 2553 ทว่า วานนี้ (1 ก.พ.) นายสันติพงษ์ได้รับแจ้งจากเจ้าหน้าที่สถานทูตอังกฤษว่าทางสถานทูตไม่สามารถอนุมัติการ ออกวีซ่าให้เข้าประเทศอังกฤษได้เนื่องจากมีเงินในบัญชีเงินฝากน้อย

อย่างไรก็ตามนายสันติพงษ์ได้เตรียมคำแถลงเอาไว้ก่อนหน้านี้แล้วซึ่งนายสันติพงษ์ร่างจดหมายดังกล่าวด้วยตัวเองเป็นภาษาอังกฤษ ขณะเดียวกันน.ส.ขวัญระวี วังอุดม จากศูนย์ข้อมูลประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากการสลายการชุมนุม( ศปช.) ได้เดินทางล่วงหน้าไปแล้วและเป็นตัวแทนของผู้อยู่ในเหตุการณ์ทำหน้าที่เสนอข้อมูลของผู้ได้รับผลกระทบแทนญาติและผู้บาดเจ็บที่ไม่ได้รับวีซ่าเข้าประเทศ

เนื้อหาด้านล่าง เป็นข้อความในคำแถลงที่นายสันติพงษ์ เตรียมนำไปพูดต่อสภาสูงของอังกฤษ

สวัสดีครับ
ผมชื่อสันติพงษ์ อินจันทร์ ผมปรากฏตัวต่อหน้าท่าน สมาชิกสภาสูงทั้งหลาย ร่วมกับแขกผู้มีเกียรติท่านอื่นๆ ในฐานะเหยื่อของเหตุการณ์สังหารหมู่ที่เกิดขึ้นในประเทศไทยเมื่อปี 2553 ซึ่งมีคนตายกว่า 90 คน และผู้บาดเจ็บเช่นเดียวกับผมกว่า 3,000 คน

เป้าหมายร่วมกันของเราก็คือ การกลาวหาต่อรัฐบาลไทยว่าเป็นอาชญากร ติดตามเอาประชาธิปไตยที่ถูกปล้นไปในการรัฐประหารในปี 2549

ความโหดเหี้ยมจากการปราบปรามประชาชนโดยรัฐบาลส่งผลให้ผมเสียดวงตาข้างหนึ่ง และยังคงเผชิญความเสี่ยงที่จะสูญเสียดวงตาอีกข้าง ผมมาที่นี่ด้วยความหวังถึงประเทศไทยที่มีความเป็นธรรม มีความเป็นประชาธิปไตยและมีความเป็นมิตรกับพลเมืองมากขึ้น

สำหรับผม ประเทศไทยเมื่อปี 2544 เป็นการเริ่มต้นที่ดีของประชาธิปไตย พวกเราซึ่งเป็นประชาชนได้ใช้สิทธิเลือกตั้งรัฐบาลและนโยบายซึ่งนำพาสิ่งที่ดีกว่ามาสู่ชีวิต

การเคลื่อนไหวทางการเมืองของกลุ่มคนเสื้อเหลืองและเสื้อสีชมพูเป็นความพยายามที่จะทำลายรัฐบาลของเรา
ผมตัดสินใจเข้าร่วมการเคลื่อนไหวกับคนเสื้อแดงเพื่อต่อต้านสิ่งเหล่านั้น ผมเข้าร่วมการเคลื่อนไหวไม่ใช่เพราะรักใครคนใดคนหนึ่ง หรือเพื่อผลประโยชน์อื่นใด แต่ผมเข้าร่วมการต่อสู้เพราะผมถูกพรากสิทธิของตัวเองไปอันเป็นผลจากการสมรู้ร่วมคิดทางการเมืองในการรัฐประหารปี 2549

การต่อสู้ของพวกเราเป็นไปอย่างสันติและปราศจากอาวุธ

อย่างไรก็ตาม รัฐบาลไทยปัจจุบัน รัฐบาลและเหล่าชนชั้นนำ เห็นว่าประชาชนอย่างพวกเราเป็นศัตรูของรัฐ ผมไม่เชื่อว่าพวกเขาจะกล้าฆ่าประชาชนของตัวเองอย่างเลือดเย็น แต่พวกเขาก็ทำ และทำลงไปโดยไม่รีรอ ผมถูกกระสุนยางยิงเข้าที่ตาขวาส่งผลให้ตาบอดทันที พวกเขาคงฆ่าผมได้หากพวกเขามีโอกาสอีกครั้ง

ทุกวันนี้ผมถามตัวเองว่า ทำไมผู้อาวุโสในเมืองไทยซึ่งผมเคยเชื่อว่ารักผมมากถึงกระทำการเช่นนั้นได้ ในความเป็นจริง คำตอบนั้นชัดเจนอย่างยิ่ง ว่าไม่มีนักบุญในชั้นชั้นปกครองอย่างที่เราเคยถูกทำให้เชื่อ และผลประโยชน์ทางการเมืองของพวกเขาย่อมสำคัญกว่าชีวิตอันไร้ค่าของพวกเรา ไม่เพียงแต่ประชาชนชาวไทยเท่านั้นที่ต้องเผชิญกับความทุกข์ แต่ผู้สังเกตการณ์ชาวต่างชาติก็เช่นเดียวกัน นายโปลันกี ซึ่งเป็นผู้สื่อข่าวจากอิตาลีก็ถูกยิงเข้าที่หน้าอกและเสียชีวิต อีกครั้ง...คำถามคือ เพราะอะไร

สิ่งที่ผมต้องการจะเห็นในเมืองไทยมีดังต่อไปนี้
1. ความยุติธรรมสำหรับผู้เสียชีวิต และครอบครัวของพวกเขา รวมถึงผู้ที่ได้รับบาดเจ็บ
2.การเคารพในกฎหมายและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ทั้งนี้ศาลในประเทศไทยมิได้มีความเชื่อถือในหลักการดังกล่าว
3. ความรับผิดชอบโดยจิตสำนึกจากรัฐบาล

นายกรัฐมนตรีของไทย นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้ซึ่งสั่งสังหารประชาชนผู้บริสุทธิ์ เป็นผลผลิตของระบบการศึกษาจากประเทศอังกฤษ ผมหวังใจว่าเพื่อนนักเรียนและเพื่อนร่วมงานของเขาจะใช้โศกนาฏกรรมในครั้งนี้ พินิจพิจารณาเกี่ยวกับตัวเขาอีกครั้งแลปฏิบัติอย่างเหมาะสม ผมคิดว่าเขาเป็นสิ่งที่น่าอับอายสำหรับประเทศและสถาบันของคุณ

ท้ายที่สุด ผมขอแสดงความซาบซึ้งอย่างจริงใจที่ท่านได้สละเวลา และแสดงความเอาใจใส่ การกดดันจากนานาชาติเป็นเพียงความหวังเดียวของพวกเรา

ขอบคุณ

000

Good afternoon,

My name is Santipong Injan. I appear in front of you, distinguished members of the House of Lords as well as other honorable guests, as one of the victims of the massacre that happened in Thailand in the year 2010. There are more than 90 deaths and more than 3,000 injured people like me. Our mutual goal, accused by Thailand’s current regime as crime, is to pursue the stolen democracy, tracing back to the coup of 2006 and its aftermath. The brutal suppression of the government on April 10, 2010 had cost me an eye. And the risk of losing the other still remains. I came here out of hope for a fairer, more democratic, and citizen-friendlier Thailand.

For me, Thailand in 2001 was another good start of Thailand’s democracy. We the people had enjoyed the elected government’s decisions and policies which gave us better lives. The politically-motivated protests of the yellow shirts and pink shirts were an attempt to destroy a government people like myself felt we belonged. I decided to join the red-shirt movement to battle against that. My participation is not out of love for any particular persons and not out of hope for any fringe benefits, but I join them because my rights were taken away from me in the political conspiracy around the coup of 2006. Our struggle has always been peaceful and unarmed.

However, the regime of Thailand today, the government and their aristocratic masterminds, see people like us as enemy of state. I did not believe they would dare killing their own people in cold blood. But they did. And they did it without any restraint and with no reservation. A rubber bullet was shot into my right eye and immediately blinded one side of me. They would have killed me if there was a second chance.

I ask myself to this day: why the elders of Thailand whom I have believed to have loved me so much could do such an act? In fact, the answer is almost too clear: there is no saint in Thailand’s ruling class as we were led to believe, and their grip on the ultimate political power is much more important than our worthless lives. Not only Thais who have suffered. A foreign observer like Mr. Polenghi, who was a reporter from Italy, was also shot in the chest and killed. Again, the question is why.

What I would like to see restored in Thailand are the followings:
1. Justice for the deaths, their families, as well as those who injured.
2. Respect for laws and human dignity, as courts in Thailand today are not dependable
3. A responsible government with conscience

Prime Minister Abhisit Vejjajeeva of Thailand, whose order had killed and maimed innocent people, is a product of the British educational system. I wonder if his fellow students and peers will take this tragedy to re-think about him and react appropriately. I believe he is a disgrace to your country and institutions.

Lastly, let me express my true appreciation to your time, devotion, and caring, Only international pressure now is our real hope.

Thank you.