WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Wednesday, February 2, 2011

"พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์" ควง "คำ ผกา" ยำใหญ่ บริษัทยักษ์ใหญ่บนเวที"กินแหนงแคลงใจ"

ที่มา มติชน



เมื่อเร็วๆ นี้ เครือข่ายกินเปลี่ยนโลก และนิตยสารไบโอสโคป โดยการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดเทศกาลภาพยนตร์กับอาหารและการกิน “กินแหนงแคลงใจ” (Food Film Festival) ณ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ระหว่างวันที่ 27 ม.ค. - 30 ม.ค. ที่ผ่านมา โดยมีการชักชวนให้ตั้งคำถามกับระบบการผลิตอาหารร่วมกัน

ดร.พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์ อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมวิพากษ์วิจารณ์ภาพยนตร์สารคดีเรื่อง King Corn ในช่วงเสวนาหัวข้อ “จากแปลงสู่ปาก” โดยชี้ให้เห็นว่า รัฐบาลสหรัฐอเมริกาได้ช่วยสนับสนุนให้คนจนเข้าสู่อาหารราคาถูก ซึ่งถ้าเทียบกับเมืองไทย ก็เคยมีนโยบายบีบราคาอาหารเกษตรให้ถูกลง เพื่อให้แรงงานในเมืองสามารถเลี้ยงตนเองได้ แต่ขณะเดียวกัน กลับสร้างปัญหาให้กับชนบท รวมทั้งยังไม่ตอบโจทย์ยุคโลกาภิวัตน์ เพราะโอกาสการเข้าถึงของคนในชนบทต้องผ่านโครงสร้างบริษัทยักษ์ใหญ่ ในลักษณะระบบการเกษตรแบบมีพันธะสัญญา (Contract Farming) ฉะนั้น โครงข่ายการผลิตอาหารในขณะนี้ จะต้องพูดถึงเรื่องความเป็นธรรมให้มากขึ้น

“เกษตรกรถูกกด เพราะระบบการผลิตขนาดใหญ่ต้องการ “บี้” ให้ทุกอย่างอยู่ในเครือข่าย เพื่อจะเอาประโยชน์จากการส่งออก ขณะเดียวกัน ระบบการผลิตดังกล่าวได้กระทบต่อชีวิตของผู้คนในสังคม จึงเป็นที่น่าสังเกตว่า จะมีความสามารถในการต่อรองกับระบบการผลิตขนาดใหญ่ที่เชื่อมโยงกับการเมืองได้อย่างไร”

ดร.พิชญ์ กล่าวว่า ไทยเป็นประเทศส่งออกข้าว แต่คนในประเทศกลับไม่มีรสนิยมในการกินข้าว ซึ่งต่างจากประเทศฝรั่งเศสที่คนในประเทศล้วนมีรสนิยมในการดื่มไวน์ ซึ่งถ้าเราใช้ความดัดจริตของคนชั้นกลางมาพัฒนารสนิยมดังกล่าว โดยไม่จำเป็นต้องมีเครือข่ายคุณธรรมเข้ามาเกี่ยวข้อง ก็จะช่วยให้คุณภาพข้าวไทยดีขึ้น

ด้าน “ลักขณา ปันวิชัย” นักเขียน นักวิจารณ์ นามปากกา คำ ผกา กล่าวถึงกลไกผูกขาดของอุตสาหกรรมเกษตร ตั้งแต่ขั้นตอนการผลิต กระทั่งจัดจำหน่าย รวมทั้งปัญหาเรื่องการใช้ที่ดินในเมืองไทย เป็นต้นตอความยากจนของเกษตรกรไทย อีกทั้งเมื่อประเทศไทยถดถอยมาถึงจุดที่ไม่มีความเป็นธรรมทางการเมืองและเศรษฐกิจ ก็ไม่สามารถต่อสู้ในเรื่องอื่นต่อไปได้ แม้กระทั่งเรื่องของอาหาร ยิ่งเมื่อชาวนาต้องอยู่กับตลาด อยู่กับทุน ฉะนั้น คำถาม คือ จะทำอย่างไรให้คนเหล่านี้มีศักยภาพในการส่งเสียลูกเรียนได้เทียบเท่ากับคนในเมือง ข้าราชการ โดยไม่ต้องเป็นเครือข่ายบริษัทยักษ์ใหญ่

“กระบวนการต่อสู้เรื่องอาหารไม่สามารถแยกขาดกับการต่อสู้เรื่องความเป็นธรรม เช่นเดียวกับเราไม่สามารถทำให้บริษัทยักษ์ใหญ่หลุดหายจากการเมืองไทยได้ภายใน 5 ปี หรือการเสกประชาธิปไตยให้เกิดขึ้น อีกทั้งการรับรู้ในเมืองที่ไม่มีประชาธิปไตย ผู้คนจะไม่ไว้ใจ ไม่เคารพ ไม่รักกัน และเมื่อคนไม่รักกัน ก็เริ่มไม่สนใจกัน”

คำ ผกา กล่าวด้วยว่า แม้รสนิยมในการกินอาหารจะช่วยรักษาแหล่งผลิตอาหาร แต่รสนิยมดังกล่าวก็ไม่ถึงขั้นขย่มโครงสร้างการผลิตอาหารในปัจจุบันได้ เนื่องจากขาดงานวิจัย ที่มีข้อมูล มีตัวเลข เพื่อใช้ในการต่อสู้เชิงองค์ความรู้ โดยเชื่อมโยงให้เห็นเครือข่ายการเมืองทางอาหาร ถึงวันนี้ทำให้การรณรงค์ในเชิงสัญลักษณ์อย่างเดียวคงไม่เพียงพอแล้ว

( เรื่องและภาพ โดย ณัฐนันท์ อิทธิยาภรณ์ ศูนย์ข้อมูลข่าวสารปฎิรูปประเทศไทย สถาบันอิศรา )