WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Wednesday, February 2, 2011

เสกชีวิตดีดี รับ"ตรุษจีน" ให้ลั้นลาตลอดปีกระต่าย ลองปฏิบัติตัวดังนี้...สิ

ที่มา มติชน









เทศกาลตรุษจีน เวียนมาบรรจบอีกครั้งหนึ่งแล้ว โดยในปีกระต่ายนี้ ตรงกับวันพฤหัสบดีที่ 3 กุมภาพันธ์ 2554 ตามหลักชาวจีนนั้นจะนับวันตามหลักจันทรคติ จึงทำให้วันตรุษจีนเปลี่ยนไปในทุก ๆ ปี


ตรุษจีน เรียกว่า "วันชิวอิก" ซึ่งเป็นวันแรกของปีตามปฏิทินของชาวจีน จะเริ่มต้นเมื่อหลังเที่ยงคืนของ "วันซาจั๊บ" ซึ่งเป็นวันสุดท้ายของปี เรียกอีกอย่างว่า "วันถือ" เพราะถือเป็นวันเริ่มต้นปีใหม่ ทุกคนจะพูดแต่สิ่งดีๆ สิ่งที่เป็นมงคล


เพื่อความเป็นสิริมงคล และเสริมสิ่งที่ดีงามในชีวิต ในช่วงเบิกศักราชปีเถาะ ตามธรรมเนียมความเชื่อของชาวจีน มติชนออนไลน์ จึงรวบรวมข้อควรปฏิบัติ เกร็ดเล็กเกร็ดน้อย รับตรุษจีน มาให้ผู้อ่านได้รับทราบ เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติตัวต้อนรับสิ่งดีๆ ในชีวิตกัน


1. ไหว้เจ้า ไหว้บรรพบุรุษ และไหว้ผีไม่มีญาติ


ของไหว้จะมีทั้งของคาว-หวาน รวมทั้งเป็ด-ไก่ มากหรือน้อยแล้วแต่ฐานะของผู้ไหว้ ซึ่งในวันซาจั๊บ ช่วงเช้าไหว้ "ตีจูเอี๊ย" เจ้าในบ้าน ต่อด้วยไหว้บรรพบุรุษ ตอนเที่ยงจึงไหว้ผีไม่มีญาติ ทั้งนี้ควรมีเครื่องกระป๋อง ข้าวสาร เกลือ เพื่อให้ผีไม่มีญาติพกไปด้วย พร้อมกับจุดขี้ไต้ 2 ชิ้นไว้ เมื่อไหว้เสร็จจะจุดประทัด จากนั้นจะโปรยข้าวสารผสมเกลือ ขับไล่สิ่งที่ไม่ดีให้หมดไป

2. รวมญาติกินเกี๊ยว

การฉลองปีใหม่ตรุษจีน ชาวจีนจะเคร่งครัดในเรื่องของความเป็นสิริมงคลและการอยู่ "รวมญาติ" พร้อมหน้ากัน โดยทุกคนจะมาร่วมโต๊ะกิน "เจี่ยวจื่อ" หรือ เกี๊ยว การที่สมาชิกครอบครัวนั่งล้อมวงห่อเกี๊ยวด้วยกัน และรับประทานเกี๊ยวด้วยกัน ถือว่ามีบรรยากาศแห่งความสมานฉันท์และความสนุกสนานมากเลยทีเดียว

เจียวจื่อ หรือเกี๊ยว เป็นอาหารสำคัญที่ไม่อาจขาดได้ในวันตรุษจีน นอกจากนี้ ยังมีเหตุผลมาจากรูปลักษณ์ของเจี่ยวจือ ที่เป็นรูปทรงคล้ายเงินในสมัยโบราณการรับประทานเจี่ยวจือ จึงเหมือนการนำเงินทองเข้ามาสู่ตัว นอกจากนั้น ไส้ในเจี่ยวจือก็ยังสะดวกต่อการบรรจุสิ่งที่เป็นมงคลลงไปเป็นการให้ความหวังต่อคนที่รับประทานด้วย เช่น ลูกกวาด ถั่วลิสง พุทราแดง เม็ดเกาลัด เหรียญเงิน โดยคนที่กัดเจอลูกกวาด หมายถึง ชีวิตในปีใหม่ก็จะยิ่งหอมหวาน ในขณะที่ ถั่วลิสง มีความหมายว่า แข็งแรงและอายุยืนนาน ส่วน พุทราแดง และ เกาลัด หมายถึง การจะมีบุตรภายในปีนั้น และหากกัดเจอ เหรียญเงิน ก็จะยิ่งร่ำรวยเงินทอง


สำหรับชาวจีนในประเทศไทยเอง กลับไม่ค่อยนิยมในการรับประทานเกี๊ยว หรือเจียวจื่อกันเท่าไหร่นัก


3. กินเจมื้อเช้า


คนจีนจะกินเจมื้อแรกของปี ในวันชิวอิก โดยเชื่อกันว่าจะได้บุญเหมือนกับกินเจตลอดทั้งปี


4. ทำพิธีรับ "ไช่ซิงเอี้ย"

"ไช่ซิงเอี้ย" เป็นเทพพิทักษ์ทรัพย์ หรือเทพเจ้าแห่งโชคลาภ ส่วนใหญ่จะทำพิธีระหว่างหลังเที่ยงคืนของวันซาจั๊บจนถึงก่อนตี 1


5. ห้ามกวาดบ้าน

ห้ามทำความสะอาด เนื่องจากการทำงานบ้านต่างๆ เท่ากับขับไล่ความโชคดีออกไป แต่ควรทำตั้งแต่ก่อนที่วันตรุษจีนจะมาถึง เราจึงเห็นว่า ตามบ้านคนจีน หรือบริษัทคนจีน จะมีการทำความสะอาดบ้าน ปัดกวาดหยากไย่ครั้งใหญ่ เสียตั้งแต่ปลายปี เมื่อถึงวันปีใหม่จะไม่กวาดบ้านจนถึงวันชิวสี่


6. ติด "ตุ๊ยเลี้ยง" หรือคำอวยพรปีใหม่


คำอวยพรที่เขียน "ตุ๊ยเลี้ยง" ประกอบด้วยตัวอักษร 7 ตัว เขียนเป็นคำกลอน โดยมากจะอวยพรให้ทำมาค้าขึ้น ให้มั่งมีเงินทอง ติดตามสองข้างประตูบ้าน และมีอีกแผ่นสำหรับติดทางขวางตรงกลางทางเข้า-ออก เขียนคำว่า "ชุก ยิบ เผ่ง อัง" แปลว่า เข้า-ออกโดยปลอดภัย


นอกจากนี้ ยังมีการติด"หนี่อ่วย"ซึ่งเป็นภาพเด็กผู้หญิง-เด็กผู้ชายด้วย นับเป็นภาพมงคลอีกอย่างหนึ่งของชาวจีนนอกเหนือจากการตัดกระดาษ มักติดที่ประตูหน้าบ้าน


7. ใส่เสื้อผ้าใหม่สีสันสดใส


โดยเฉพาะเสื้อผ้าสีแดง เป็นสีที่นิยมใส่มาก ในช่วงเทศกาลนี้ ด้วยสีแดงถือเป็นสีแห่งความสุข จะนำความสว่างและเจิดจ้ามาให้แก่ผู้สวมใส่ เชื่อกันว่าอารมณ์และการปฏิบัติตนในวันปีใหม่ จะส่งให้มีผลดีหรือผลร้ายได้ตลอดทั้งปี เด็ก ๆ และคนโสด


8. ส้ม 4 ผล อวยพรผู้ใหญ่

ในวันชิวอิกทุกคนจะนำส้ม 4 ผล ไปกราบผู้ใหญ่ขอพร เจ้าบ้านเองนอกจากจะเตรียมเมล็ดแตงโมย้อมสีแดงไว้ 1 พาน และลูกสมอจีนไว้รับแขกแล้ว เมื่อมีผู้มาอวยพร จะรับส้มขึ้นมา 2 ผล และนำส้มในบ้านที่เตรียมไว้วางคืนลง 2 ผล

9. รับอั่งเปา


สัญลักษณ์อย่างหนึ่งของตรุษจีน คือ อั่งเปา (ซองแดง) คือ ซองใส่เงินที่ผู้ใหญ่แล้วจะมอบให้ผู้น้อย และมีการแลกเปลี่ยนกันเอง หรือ หรือจะใช้คำว่า แต๊ะเอีย (ผูกเอว) ด้วยที่มาในสมัยก่อน เหรียญจะมีรูตรงกลาง ผู้ใหญ่จะร้อยด้วยเชือกสีแดงเป็นพวงๆ และนำมามอบให้เด็ก ๆ ซึ่งจะนำมาผูกเก็บไว้ที่เอว อย่างไรก็ตาม ทั้งแต๊ะเอีย และอั่งเปา คือสิ่งสร้างสีสัน ความสุข ความตื่นเต้น ให้กับเด็กๆ เป็นอย่างมากที่จะรอลุ้นว่า ในแต่ละปี พวกตนจะได้สตางค์คนละเท่าไหร่กัน


10. ไหว้เจ้าเพื่อเป็นความเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต


--------------------------------------------------------

ความเชื่อโชคลางในวันตรุษจีน

* ห้ามสระผม ความเชื่อบอกไว้ว่า ไม่ควรสระผมในวันเริ่มต้นและวันสุดท้ายของวันขึ้นปีใหม่ เนื่องจากการสระผมถือเป็นการชะล้างความโชคดีที่มาถึงในวันขึ้นปีใหม่


* ห้ามใช้ของมีคม ไม่ควรใช้ของมีคมในวันขึ้นปีใหม่ เช่น มีด , กรรไกร , ที่ตัดเล็บ ซึ่งอาจเป็นการตัดสิ่งหรืออนาคตที่ดี ที่จะนำมา ในวันขึ้นปีใหม่


* หลีกเลี่ยงการโต้เถียง ใช้คำพูดไม่ดี หยาบคาย คำที่เกี่ยวข้องกับการเจ็บป่วยหรือความตาย คำพูดไม่เป็นมงคล คำว่า สี่ ซึ่งออกเสียงคล้ายความตายก็จะต้องไม่พูดออกมา รวมถึงเรื่องผีสางก็เป็นเรื่องที่ต้องห้าม ทั้งไมม่พุดถึงเรื่องราวต่างๆที่เกิดขึ้นในปีเก่าๆ แต่ควรพูดเรื่องอนาคต และทุกอย่างที่ดีกับปีใหม่และการเริ่มต้นใหม่ รวมถึงหลีกเลี่ยงการเข้าร่วมกิจกรรมที่เกี่ยวกับงานศพ และการฆ่าสัตว์ปีกด้วย

* ระมัดระวังอย่าให้ซุ่มซ่ามในการทำสิ่งใดๆ ไม่ว่าจะสะดุด หรือ ทำสิ่งของตกแตก ซึ่งนั่นจะหมายถึงการนำความโชคไม่ดีเข้ามาในอนาคต


* อย่าร้องไห้ในวันปีใหม่ เพราะอาจจะทำให้มีเรื่องเสียใจไปตลอดปี กระทั่งผู้ใหญ่ที่มีลูกหลานเด็กๆ ที่ดื้อ ซน ปฎิบัติตัวไม่ดี ก็จะต้องอดทน ไม่ตีสั่งสอน


* ทำจิตใจให้แจ่มใส อารมณ์ดี ว่ากันว่าอารมณ์และการปฏิบัติตนในวันปีใหม่ จะส่งให้มีผลดีหรือผลร้ายได้ตลอดทั้งปี เด็ก ๆ และคนโสด เพื่อรวมไปถึงญาติใกล้ชิดจะได้

* การใส่เงินอังเปา ก็ควรใช้ซองสีแดง และเป็นธนบัตรใหม่เพื่อความโชคดี


* บุคคลแรกที่พบและคำพูดที่ได้ยินคำแรกของปีมีความหมายสำคัญมาก ถือว่าจะส่งให้มีผลได้ตลอดทั้งปี รวมถึงหากได้ยินนกร้องเพลงหรือเห็นนกสีแดงหรือนกนางแอ่น ก็ถือเป็นโชคดี

* ไม่ควรเข้าไปหาใครในห้องนอนในวันตรุษจีน เพราะถือเป็นโชคร้าย